ยุทธการที่เซ็กเพ็ก
ยุทธการที่เซ็กเพ็ก | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น | |||||||||
อักษรแกะสลักบนหน้าผาใกล้กับพื้นที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นสถานที่เกิดการรบในยุทธการที่เซ็กเพ็ก อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับนครชื่อปี้ มณฑลหูเป่ย์ อักษรแกะสลักมีอายุ 1,000 ปีเป็นอย่างน้อย และแกะเป็นอักษรจีนว่า 赤壁 (ชื่อปี้หรือเซ็กเพ็ก 'ผาแดง') เขียนจากขวาไปซ้าย | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
โจโฉ | |||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
โจโฉ | |||||||||
กำลัง | |||||||||
50,000[3] | |||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ไม่ทราบ | สูญเสียอย่างหนัก |
ยุทธการที่เซ็กเพ็ก | |||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 赤壁之戰 | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 赤壁之战 | ||||||||||||||||||||
|
ยุทธการที่เซ็กเพ็ก หรือ ยุทธการที่ผาแดง (จีนตัวย่อ: 赤壁之战; จีนตัวเต็ม: 赤壁之戰; พินอิน: Chìbì zhī zhàn) เป็นยุทธนาวีในประเทศจีนที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ. 208-209[4] เป็นการรบในแม่น้ำแยงซีระหว่างทัพของขุนศึกที่ควบคุมอาณาเขตของจีนต่างภาคกันในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น ทัพพันธมิตรของซุนกวน เล่าปี่ และเล่ากี๋ซึ่งมีฐานที่มั่นทางฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซีได้เอาชนะทัพของโจโฉขุนศึกทางภาคเหนือที่มีกำลังมากกว่าลงได้ จากชัยชนะนี้ เล่าปี่และซุนกวนจึงป้องกันโจโฉจากการยึดครองอาณาเขตฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซี ทำให้ความพยายามของโจโฉที่ต้องการจะรวมดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกกลับมาเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งต้องล้มเหลว
ชัยชนะของทัพพันธมิตรที่เซ็กเพ็กทำให้เล่าปี่และซุนกวนอยู่รอดและควบคุมแม่น้ำแยงซีต่อไป และสร้างแนวชายแดนป้องกันที่ต่อมาจะกลายเป็นรากฐานของรัฐจ๊กก๊กและง่อก๊กในยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220-280)[5] นักประวัติศาสตร์ได้ข้อสรุปที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการพยายามเรียงลำดับเหตุการณ์ของยุทธการที่เซ็กเพ็ก ตำแหน่งของสถานที่ที่มีการรบเกิดขึ้นก็ยังคงเป็นประเด็นถกเถียง[6] โดยนักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่าตำแหน่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครอู่ฮั่นในปัจจุบัน หรือตำแหน่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของปากิ๋วในนครเยว่หยาง มณฑลหูหนานในปัจจุบัน เป็นสถานที่ที่น่าจะเป็นไปได้ว่ามีการรบเกิดขึ้น
ภูมิหลัง
[แก้]ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 3 ราชวงศ์ฮั่นซึ่งมีอายุเกือบสี่ศตวรรษกำลังเสื่อมถอย พระเจ้าเหี้ยนเต้จักรพรรดิเป็นผู้นำทางการเมืองตั้งแต่ปี ค.ศ. 189 โดยไร้ซึ่งอำนาจที่จะควบคุมเหล่าขุนศึกในภูมิภาค โจโฉเป็นหนึ่งในขุนพลที่ทรงอำนาจมากที่สุด โจโฉให้จักรพรรดิประทับในนครหลวงฮูโต๋ ซึ่งทำให้โจโฉมีอำนาจควบคุมเหนือจักรพรรดิ ปี ค.ศ. 200 โจโฉเอาชนะอ้วนเสี้ยวที่เป็นอริหลักในยุทธการที่กัวต๋อ รวมภาคเหนือของจีนและได้มีอำนาจควบคุมที่ราบจีนเหนือ ในฤดูหนาว ค.ศ. 207 โจโฉยึดครองพื้นที่ทางเหนือโดยการเอาชนะชนเผ่าออหวนในยุทธการที่เป๊กลงสาน เมื่อกลับมาที่ฮูโต๋ในปี ค.ศ. 208 โจโฉได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดีตามที่โจโฉได้เสนอขึ้นมาเอง ส่งผลทำให้โจโฉสามารถควบคุมราชสำนักได้อย่างแท้จริง[7]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุทธการ
[แก้]ยุทธการที่เซ็กเพ็กเริ่มต้นด้วยความพยายามของทัพโจโฉที่ยึดหัวหาดเพื่อข้ามแม่น้ำแยงซีแต่ล้มเหลว จากนั้นทั้งสองฝ่ายจึงล่าถอยไปยังที่มั่นของตนบนสองฝั่งของแม่น้ำแยงซี จากนั้นการรบทางเรือก็เริ่มต้นในแม่น้ำ โดยมีการบุกทางบกของทัพพันธมิตรของซุนกวนและเล่าปี่ร่วมด้วย ทัพพันธมิตรได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทัพโจโฉต้องล่าถอย แต่ระหว่างทางกองกำลังของโจโฉหยุดชะงักในพื้นที่ที่เป็นโคลนและล้มป่วยเป็นจำนวนมาก ในที่สุดโจโฉก็หนีมาถึงด่านฮัวหยง (華容 หฺวาหรง)[9]
ทัพผสมของซุนกวนและเล่าปี่ล่องเรือทวนน้ำจากแฮเค้า (夏口 เซี่ยโข่ว) หรือจากฮวนเค้า (樊口 ฝันโข่ว) ไปยังเซ็กเพ็ก ที่ซึ่งเผชิญหน้ากับทัพหน้าของโจโฉ กองกำลังของโจโฉต้องเผชิญหน้ากับโรคระบาดและขวัญกำลังใจตกต่ำเพราะต้องเดินทัพอย่างหนักตลอดการทัพบุกใต้ที่ยืดเยื้อ [10] ทัพโจโฉไม่สามารถชิงความได้เปรียบในการปะทะกันครั้งย่อย ๆ จึงล่าถอยไปยังฮัวหลิม (烏林 อูหลิน) ฝั่งเหนือของแม่น้ำ ส่วนทัพพันธมิตรก็ล่าถอยไปทางใต้[11]
โจโฉให้ใช้โซ่ผูกเรือเข้าด้วยกันตั้งแต่หัวจรดท้าย อาจเพื่อลดอาการเมาเรือในหมู่ทหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวภาคเหนือที่ไม่คุ้นเคยกับการอยู่บนเรือ อุยกายแม่ทัพของฝ่ายซุนกวนรู้เรื่องนี้จึงส่งหนังสือแสร้งยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉและเตรียมกองเรือรบ[b] ประกอบด้วยเรือใหญ่ที่เรียกว่า เหมิงชงโตวเจี้ยน (蒙衝鬥艦) เรือเหล่านี้ถูกดัดแปลงให้เป็นเรือไฟโดยการบรรทุกด้วยฟืน ต้นอ้อแห้ง และน้ำมัน เมื่อกองเรือรบ "แปรพักตร์" ของอุยกายแล่นมาถึงกลางแม่น้ำ ทหารในเรือก็จุดไฟในเริือใหญ่ก่อนจะย้ายลงเรือเล็ก เรือไฟที่ไร้ทหารถูกพัดให้แล่นตามลมตะวันออกเฉียงใต้ พุ่งเข้าหาทัพเรือของโจโฉและเกิดเพลิงไหม้เผาทัพเรือ ทหารหลายนายและม้าหลายตัวถูกไฟคลอกตายหรือไม่ก็จมน้ำตาย[13]
หลังจากโจมตีระลอกแรก จิวยี่และพันธมิตรนำกองกำลังติดอาวุธเบาถือโอกาสนี้เข้าโจมตี ทหารภาคเหนือเกิดความสับสนวุ่นวายและถูกตีแตกพ่ายยับเยิน เมื่อโจโฉเห็นว่าสถานการณ์ไม่มีหวังจึงออกคำสั่งให้ถอยทัพ โดยให้ทำลายเรือที่เหลืออยู่จำนวนหนึ่งก่อนล่าถอย[14]
ทัพโจโฉพยายามล่าถอยไปตามเส้นทางฮัวหยง รวมถึงถนนยาวที่ผ่านหนองบึงทางเหนือของทะเลสาบต้งถิง เกิดฝนตกหนักทำให้ถนนยิ่งเดินทัพได้ยากลำบาก ทหารป่วยหลายนายต้องแบกมัดหญ้าขึ้นหลังและนำมาถมถนนเพื่อให้ทหารม้าผ่านไปได้ ทหารเหล่านี้จำนวนมากจมโคลนตายหรือถูกเหยียบตายขณะพยายามถมถนน ทัพพันธมิตรนำโดยจิวยี่และเล่าปี่ยกไล่ตามตีทั้งทางบกและทางน้ำจนถึงลำกุ๋น (南郡 หนานจฺวิ้น) การถูกตามตีรวมถึงการขาดเสบียงและโรคระบาดที่ทำให้กองกำลังที่เหลืออยู่ของโจโฉได้รับความเสียหาย จากนั้นโจโฉจึงล่าถอยไปยังฐานที่มั่นที่เงียบกุ๋น โดยให้โจหยินและซิหลงรักษากังเหลง (江陵 เจียงหลิง) งักจิ้นประจำการที่ซงหยง (襄陽 เซียงหยาง) และหมันทองประจำการที่ตงหยง (當陽 ตางหยาง)[14]
การโต้กลับของทัพพันธมิตรอาจพิชิตโจโฉและทัพทั้งหมดได้ แต่การข้ามแม่น้ำแยงซีได้ถูกยกเลิกไปเพราะความวุ่นวายในทัพพันธมิตรที่มารวมตัวริมฝั่งแม่น้ำและแย่งกันขึ้นเรือข้ามฟากที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นเพื่อฟื้นคืนความมีระเบียบ กองกำลังแยกที่นำโดยกำเหลงขุนพลของซุนกวนจึงไปประจำที่หัวหาดที่อิเหลงทางเหนือ ด้านฝ่ายโจโฉมีการดำเนินการป้องกันที่แนวหลังอย่างมั่นคงโดยโจหยินที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากกว่านี้[15][16]
วิเคราะห์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลสืบเนื่อง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตำแหน่ง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลสะท้อนทางวัฒนธรรม
[แก้]ผลงานที่มีชื่อเสียงบางส่วนโดยซู ตงพัว กวีสมัยราชวงศ์ซ่งพรรณาถึงการสู้รบและสภาพแวดล้อมโดยรอบ โดยขณะถูกเนรเทศไปที่หฺวางโจว (黃州; ปัจจุบันคือหฺวางกาง) เขาแต่งผลงานสามชิ้นที่มีการรวบรวมไว้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับลวดลายเซ็กเพ็ก:[17] ฟู่ 2 แบบ และ ฉือแบบเดียว[18]
วิดีโอเกมหลายดกมใช้ฉากในสามก๊ก เช่น ชุดไดนาสตีวอริเออร์ของโคเอ, ซังโงกูชิ โคเมเด็ง, ชุดวอริเออร์โอโรจิ, Destiny of an Emperor, เค็สเซ็ง 2 และโททัลวอร์: ทรีคิงดัมส์ มีฉากยุทธการนี้ที่สามารถเล่นได้[19] ภาพยนตร์ สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ ใน ค.ศ. 2008[20] ที่กำกับโดยจอห์น วู ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวฮ่องกง เป็นเรื่องดัดแปลงจากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเกี่ยวกับยุทธการนี้[21] หลังเผยแพร่ในประเทศจีน สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ ทำสถิติบอกซ์ออฟฟิศใหม่สำหรับภาพยนตร์ที่ผลิตในประเทศ[22]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ de Crespigny (2007), p. 538.
- ↑ Farmer (2019), p. 69.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 de Crespigny (2010), pp. 183–184.
- ↑ de Crespigny (1990), p. 264, "The engagement at the Red Cliffs took place in the winter of the 13th year of Jian'an, probably about the end of 208."
- ↑ de Crespigny (1990), p. 273.
- ↑ de Crespigny (1990), p. 256 (§n78).
- ↑ Sima & de Crespigny (1969), pp. 253, 465 (§n6).
- ↑ de Crespigny (2010), p. 267.
- ↑ Sima & de Crespigny (1996), pp. 398–401.
- ↑ de Crespigny (2003).
- ↑ de Crespigny (1990), p. 257.
- ↑ de Crespigny (1990), p. 265.
- ↑ Chen (c. 280), pp. 54, 1262–1263.
- ↑ 14.0 14.1 Chen (c. 280).
- ↑ Eikenberry (1994), p. 60.
- ↑ de Crespigny (2007), p. 239.
- ↑ Pease, Jonathan O. (2021). His Stubbornship: Prime Minister Wang Anshi (1021–1086), Reformer and Poet. Sinica Leidensia, vol. 153. Brill. p. 539. doi:10.1163/9789004469259_019. ISBN 978-90-04-46925-9.
- ↑ Tian (2018), p. 302.
- ↑ Lopez, Vincent (2010). "Fanning the Flames of War: Considering the Military Value of the Three Kingdoms Period in Chinese History at the Battle of Chi Bi". American Journal of Chinese Studies. American Association of Chinese Studies. 17 (2): 146. JSTOR 44288933.
- ↑ Lau, Dorothy Wai Sim (2018). "Filmography". Chinese Stardom in Participatory Cyberculture. Edinburgh: Edinburgh University Press. p. 198. doi:10.1515/9781474430357-012.
- ↑ Tian (2018), pp. 335–343.
- ↑ "John Woo breaks Chinese box-office record". France24. France Médias Monde. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2023.
บรรณานุกรม
[แก้]- Chen Shou (陳壽) (1959) [c. 280], Sānguó zhì 三國志 [History of the Three Kingdoms] (ภาษาจีนคลาสสิก) (Reprint ed.), Beijing: Zhonghua shuju, ISBN 978-7-101-00307-9, OCLC 1076113050
- Sima Guang (司馬光), บ.ก. (1969) [1084]. The Last of the Han. แปลโดย de Crespigny, Rafe. Canberra: Centre of Oriental Studies, Australian National University. ISBN 978-0-7081-0163-6. Annotated translation of chapters 58–68 of the Zizhi Tongjian.
- Sima, Guang, บ.ก. (2020) [1996]. To Establish Peace (PDF). แปลโดย de Crespigny, Rafe (2020 Internet ed.). Canberra: Australian National University. hdl:1885/42049. ISBN 978-0-7315-2537-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-14.
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) Annotated translation of chapters 59–63 of the Zizhi Tongjian. - de Crespigny, Rafe (2018) [1990]. Generals of the South: The Foundation and Early History of the Three Kingdoms State of Wu (Internet ed.). Canberra: Australian National University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2012. สืบค้นเมื่อ 9 November 2023.
{{cite book}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ——— (2003), The Three Kingdoms and Western Jin: A History of China in the Third Century AD (Internet ed.), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2012, สืบค้นเมื่อ 3 December 2023
- ——— (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Leiden, Boston: Brill. ISBN 978-90-04-15605-0.
- ——— (2010). "Red Cliffs. 208". Imperial Warlord: A Biography of Cao Cao 155–220 AD. Sinica Leidensia, vol. 99. Leiden: Brill. pp. 241–286. doi:10.1163/ej.9789004185227.i-554.39. ISBN 978-90-04-18830-3.
- Dien, Albert E.; Knapp, Keith N., บ.ก. (2019). Volume 2: The Six Dynasties, 220–589. The Cambridge History of China. Cambridge University Press. doi:10.1017/9781139107334. ISBN 978-1-107-02077-1.
- Farmer, J. Michael. "Shu-Han". In Dien & Knapp (2019), pp. 66–78.
- Eikenberry, Karl W. (1994). "The campaigns of Cao Cao". Military Review. 74 (8): 56–64. ISSN 0026-4148.
- Fitzgerald, Charles P. (1985). Why China? Recollections of China 1923–1950 (ภาษาอังกฤษ). Melbourne University Press. ISBN 978-0-522-84300-2. OCLC 13352788.
- Chen Shou (陳壽) (1977) [429]. Pei Songzhi (裴松之) (บ.ก.). Annotations to Records of the Three Kingdoms 三國志注 (ภาษาจีนคลาสสิก). Taipei: Dingwen Printing. OCLC 41367032.Yu Pu (虞溥) (c. 300). Jiāng biǎo zhuàn 江表傳 (private history) (ภาษาจีนคลาสสิก).
- The Military Documents Research Organization of the Wuhan Military District (武汉部队司令部軍事资料研究组编) (1979), 中國古代戰争一百例 [One Hundred Battles of Ancient Chinese History] (ภาษาจีน), Wuhan: Hubei renmin chubanshe, OCLC 23071752
- Tian, Xiaofei (2018). "Restoring the Broken Halberd". The Halberd at Red Cliff: Jian'an and the Three Kingdoms. Harvard–Yenching Monograph Series. Vol. 108. Harvard University Press. pp. 281–345. doi:10.1163/9781684170920_007. ISBN 978-1-68417-092-0. LCCN 2016056558. OCLC 969438901.
- Zhang Xiugui (張修桂) (2006). แปลโดย Han Zhaoqing; Fabien Simonis. "Ancient "Red Cliff" battlefield: a historical-geographic study". Frontiers of History in China. 1 (2): 214–235. ISSN 1673-3401.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- de Crespigny, Rafe. "Wei". In Dien & Knapp (2019), pp. 27–49.
- ———. "Wu". In Dien & Knapp (2019), pp. 50–65.
- Chang, Taiping (2014). "Yu Pu 虞溥 (fl. 280–300), zi Yunyuan 允源". ใน Knechtges, David R.; Taiping Chang (บ.ก.). Ancient and Early Medieval Chinese Literature: A Reference Guide. Part Three. Handbook of Oriental Studies, Section Four: China. Vol. 25/3. Brill. pp. 1998–1999. ISBN 978-90-04-27185-2.
Originally published as 張修桂 (2004). "Chìbì gǔ zhànchǎng lìshǐ dìlǐ yánjiū" 赤壁古战场历史地理研究. 复旦学报社會科學版 [Fudan Academic Journal of Social Sciences] (ภาษาจีน). No. 3. pp. 94–103.