ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยเชื้อสายญวน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 89: บรรทัด 89:


เสนาะวิณิน : นายสิบโท มาณิต
เสนาะวิณิน : นายสิบโท มาณิต

วันเจริญ : พระวิจิตโอภาส(ผ่าน)


เอกะสิงห์ : หลวงอนุกรรณกิจ(ชื้น) , ขุนอัครปรีชา(ชุ่ม)
เอกะสิงห์ : หลวงอนุกรรณกิจ(ชื้น) , ขุนอัครปรีชา(ชุ่ม)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:04, 14 กุมภาพันธ์ 2563

ชาวไทยเชื้อสายญวน
เวียดนาม/แกว
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
กาญจนบุรี จันทบุรี, พระนครศรีอยุธยา, กรุงเทพมหานคร, สกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, อุบลราชธานี, อุดรธานี, หนองคาย, บึงกาฬ, เลย, หนองบัวลำภู, สระแก้ว, ชลบุรี, เชียงใหม่, พิจิตร ขอนแก่นไทย ประเทศไทย
ภาษา
ภาษาไทย, ภาษาญวนถิ่นไทย
ศาสนา
ศาสนาพุทธ, ศาสนาคริสต์

ชาวไทยเชื้อสายญวน บ้างอาจปรากฏว่า แกว หรือ เวียดนาม หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายญวนแบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ญวนเก่า และญวนใหม่ กลุ่มญวนเก่าได้อพยพเข้ามายังสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดส้มเกลี้ยงเหนือบ้านเขมร เพราะนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เช่นเดียวกับชาวเขมรที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ ชาวโปรตุเกสที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินส่วนพระองค์ ซื้อที่ดินสวนแปลงใหญ่ใกล้เคียงกัน พระราชทานให้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งชาวญวนเก่าปัจจุบันได้ผสมกลมกลืนไปกับคนไทยหมดแล้ว และบางส่วนก็แต่งงานอยู่อาศัยกับชาวเขมรและชาวโปรตุเกสบริเวณวัดคอนเซ็ปชัญ[2] ส่วนญวนใหม่คือคนที่อพยพเข้ามาในไทยในปี พ.ศ. 2488 (เริ่มการประกาศราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง) และในปี พ.ศ. 2489 (ปีที่คอมมิวนิสต์ครอง) และชาวญวนใหม่เหล่านี้ได้ทยอยเข้ามาในไทยจนถึงปี พ.ศ. 2499[3]

สาเหตุสำคัญที่ชาวญวนอพยพเข้าสู่ดินแดนสยามคือ เพื่อลี้ภัยทางการเมือง และลี้ภัยทางศาสนา[4] เนื่องจากสยามเป็นเพื่อนบ้านที่มีเสถียรภาพ อุดมสมบูรณ์ และพวกเขาสามารถอาศัยอยู่อย่างสงบสุขได้[4]

ประวัติ

ภาษาและวัฒนธรรม

ปัจจุบันชาวญวนเก่าในประเทศไทยถูกกลืนจนสิ้นแล้ว ยังคงเหลือแต่ชาวญวนเก่าที่นับถือศาสนาคริสต์ในกรุงเทพฯ (สามเสน) และจันทบุรีเท่านั้นที่ยังรักษาภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมไว้ได้[5] ซึ่งต่างจากญวนเก่าที่เป็นพุทธที่เข้ากับคนไทยได้ดีเนื่องจากมีศาสนาเดียวกัน[5]

แม้ชาวญวนเก่าที่นับถือศาสนาคริสต์ในไทยจะไม่ติดต่อกับชาวญวนในเวียดนามเลยนานนับศตวรรษ แต่พวกเขาเหล่านั้นก็อยู่กันตามเชื้อชาติโดยแยกต่างหากจากคนไทย ทำให้พวกเขายังสามารถรักษาภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีไว้ได้ ทั้งนี้พวกเขามีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของเขา จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกเขาไม่กระตือรือร้นที่จะเป็นคนไทยหรือปรับตัวเข้ากับสังคมไทยอย่างรวดเร็ว[6] รวมไปถึงการตั้งถิ่นฐานแออัดกันรอบ ๆ โบสถ์ และการแต่งงานกับคนที่นับถือศาสนาและเชื้อชาติเดียวกัน[7]

ในปี พ.ศ. 2500 ชาวเวียดนามสูงอายุที่อาศัยอยู่ในสามเสน และจันทบุรียังคงการใช้ภาษาเวียดนามอยู่แต่เป็นสำเนียงเวียดนามใต้ ซึ่งเป็นภาษาเวียดนามเก่าซึ่งในประเทศเวียดนามไม่ได้ใช้แล้วจึงทำให้ไม่สามารถติดต่อกับชาวเวียดนามได้ง่าย รวมไปถึงคำศัพท์และสำนวนหลายคำนั้นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาไทย[8] พวกเขามีคำสวดที่ใช้ทุกวัน และหนังสือสอนศาสนาเป็นภาษาเวียดนามอักษรโกว๊กหงือ (Quốc Ngữ) ภาษาเวียดนามในไทยปัจจุบันนั้นมีคำไทยปะปนอยู่มาก ทั้งสำเนียงก็ยังเป็นแบบไทย[9] การสนทนาระหว่างคนญวนจากประเทศเวียดนามกับคนญวนในไทยจึงต้องอาศัยล่ามช่วยอธิบาย[9] ดังนั้นราวหนึ่งหรือสองช่วงคน หรืออีก 50 ปีเป็นอย่างมาก คนญวนในไทยจะถูกผสมกลมกลืนทางภาษาได้สำเร็จ[9]

กลุ่มที่สามารถใช้ภาษาเวียดนามได้นั้น ในปัจจุบันล้วนเป็นผู้สูงอายุทั้งสิ้น ขณะที่เด็กรุ่นใหม่บางคนฟังได้พอเข้าใจแต่ไม่สามารถพูดได้[10] ขณะที่ผลการวิจัยของ Bui Quang Tung ได้กล่าวถึง คนที่ยังพูดภาษาเวียดนามได้เป็นผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีทั้งสิ้น ที่อายุน้อยกว่านี้พอเข้าใจแต่พูดไม่ได้ที่พูดได้บ้างก็ไม่ดีนัก ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายกลืนชาติของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ที่นำนโยบายชาตินิยมมาใช้ และมีผลกระทบต่อชาวญวนในไทย[9]

ชาวไทยเชื้อสายญวนผู้มีชื่อเสียงและตระกูลชาวไทยเชื้อสายญวน

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ,

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก,

เด่น อยู่ประเสริฐ,

จิรายุ ละอองมณี,

ชีรณัฐ ยูสานนท์

และโทนี่ รากแก่น


ตระกูลชาวไทยเชื้อสายญวน : ต้นสกุล


กาญจนารัณย์ : อำมาตย์โท พระนราภิบาลบดี(เปลี่ยน)

กายะสุต : รองอำมาตย์โท ขุนประวิชโทรรัฐ(บา)

โคษาภิรมย์ : รองอำมาตย์เอก ขุนวิเศษกสิกิจ(บุญรอด)

จุลสุคนธ์ : นายร้อยเอก หลวงภูเบนทร์นุรักษ์(ผ่าน)

ตัณสถิตย์ : ขุนทะเบียนโอสถ(สังวาลย์)

ชมจินดา : ขุนอาชัพสุรทัณฑ์(ดวง)

ชมไพศาล : หลวงพิศาลสรพล (สงวน)

ชีรานนท์ : รองอำมาตย์เอก หลวงแผลงสะท้าน(สิน)

บิณบุรี : พระโอวาทวรวิทย์(เริ่ม)

พันธุมจินดา : พลเสือป่า จ่าง

มีเฟื่องศาสตร์ : ขุนธรนินทร์สะท้าน(เกวียน) , ขุนประสานดุริยางค์(รอด)

วรรณางกูร : หลวงพิพัฒนโอสถ(เภา) , ขุนตรีโลกลั่น(เตือย)

วาศิกคุตตะ : ร้อยตำรวจตรี นายแพทย์ ทองอยู่

วิลักษณานนท์ : รองอำมาตย์เอก หลวงวิจารณ์ปัสตุระกิจ(แทน)

วิลัยทอง : หลวงโรมปรปักษ์(เลื่อม)

ศรจิตติ : พระยาราชอัครนิรักษ์(พาด)

ศรีมังกร : ขุนศรีมังกร(หล่า)

เสนาะวาทิน : ว่าที่ร้อยตำรวจตรี รองเสวกเอก หลวงดนตรีบรรเลง(กุล)

เสนาะวิณิน : นายสิบโท มาณิต

วันเจริญ : พระวิจิตโอภาส(ผ่าน)

เอกะสิงห์ : หลวงอนุกรรณกิจ(ชื้น) , ขุนอัครปรีชา(ชุ่ม)

อิศรภักดี : พระยาพรหมาภิบาล(แขก)




อ้างอิง

  1. ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 44
    หนังสือเล่มดังกล่าวได้ข้อมูลมาจากสำนักงานสถิติแห่งชาติประจำ พ.ศ. 2503 และการสำรวจสำมะโนประชากรบางส่วนในปี พ.ศ. 2508
  2. ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 5
  3. ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 4
  4. 4.0 4.1 ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 22
  5. 5.0 5.1 ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 122
  6. Joanne Schrock. Minority Groups in Thailand. Washington D.C.:Headquaters Department of the Army, 1970. หน้า 45
  7. ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 123
  8. Bui Quang Tung. "Contribution a I'Etude des Colonies Vietnamiennes en Thailand". Fance Asie, CXLV III (Sept, 1958). หน้า 10
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 125
  10. ปราณี กล่ำส้ม. ย่านเก่า ในกรุงเทพ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพ:เมืองโบราณ, หน้า 229