ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฮร์รี่ พอตเตอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Kuruni (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 144: บรรทัด 144:
แต่ในทางตรงกันข้าม เฟย์ เวลดอน นักเขียนผู้ยอมรับว่านวนิยายชุดนี้ "ไม่ใช่งานที่กวีจะชื่นชอบ" แต่ก็ยอมรับว่า "มันไม่ใช่กวีนิพนธ์ มันเป็นร้อยแก้วที่อ่านเข้าใจง่าย อ่านได้ทุกวัน และขายได้"<ref name="Rowling books 'for people with stunted imaginations'">{{cite news|url=http://www.guardian.co.uk/uk/2003/jul/11/books.harrypotter|publisher=''The Guardian''|title=Rowling books 'for people with stunted imaginations'|date=2003-07-11|accessdate=2008-08-01|last=Allison|first=Rebecca}}</ref> เอ. เอ็น. วิลสัน นักวิจารณ์วรรณกรรม ยกย่องนวนิยายชุดนี้ใน ''The Times'' โดยระบุว่า "มีนักเขียนไม่มากนักเหมือนอย่างเจ. เค. ผู้มีความสามารถดังหนึ่ง[[ชาลส์ ดิกคินส์|ดิกคินส์]] ที่ทำให้เราต้องรีบพลิกอ่านหน้าต่อไป ทำให้เราร้องไห้อย่างไม่อาย พอไม่กี่หน้าถัดไปเราก็ต้องหัวเราะกับมุกตลกที่แทรกอยู่สม่ำเสมอ ... เรามีชีวิตอยู่ตลอดทศวรรษที่เฝ้าติดตามงานตีพิมพ์อันมีชีวิตชีวาที่สุด สนุกสนานที่สุด เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กที่โดดเด่นที่สุดเท่าที่เคยมีมา"<ref>{{cite news|url=http://entertainment.timesonline.co.uk/tol/arts_and_entertainment/books/children/article2139573.ece|title=Harry Potter and the Deathly Hallows by JK Rowling|last=Wilson|first=A. N.|date=2007-07-29|publisher=Times Online|accessdate=2008-09-28}}</ref> ชาลส์ เทย์เลอร์ แห่ง salon.com นักวิจารณ์ภาพยนตร์ เห็นด้วยกับความคิดของไบแอต แต่เขาก็ยอมรับว่าผู้ประพันธ์อาจจะ "มีจุดยืนทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง คือความเป็นวัยรุ่น มันเป็นแรงกระตุ้นของพวกเราที่จะเข้าใจความเหลวไหลของยุคสมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างกับความซับซ้อนของศิลปะยุคเดิม"<ref name="A.S. Byatt and the goblet of bile">{{cite news| title=www.purevolume.com/rendermn|url=http://archive.salon.com/books/feature/2003/07/08/byatt_rowling/index.html|publisher=Salon.com|title=A. S. Byatt and the goblet of bile|date=2003-07-08|accessdate=2008-08-03|first=Charles|last=Taylor}}</ref>
แต่ในทางตรงกันข้าม เฟย์ เวลดอน นักเขียนผู้ยอมรับว่านวนิยายชุดนี้ "ไม่ใช่งานที่กวีจะชื่นชอบ" แต่ก็ยอมรับว่า "มันไม่ใช่กวีนิพนธ์ มันเป็นร้อยแก้วที่อ่านเข้าใจง่าย อ่านได้ทุกวัน และขายได้"<ref name="Rowling books 'for people with stunted imaginations'">{{cite news|url=http://www.guardian.co.uk/uk/2003/jul/11/books.harrypotter|publisher=''The Guardian''|title=Rowling books 'for people with stunted imaginations'|date=2003-07-11|accessdate=2008-08-01|last=Allison|first=Rebecca}}</ref> เอ. เอ็น. วิลสัน นักวิจารณ์วรรณกรรม ยกย่องนวนิยายชุดนี้ใน ''The Times'' โดยระบุว่า "มีนักเขียนไม่มากนักเหมือนอย่างเจ. เค. ผู้มีความสามารถดังหนึ่ง[[ชาลส์ ดิกคินส์|ดิกคินส์]] ที่ทำให้เราต้องรีบพลิกอ่านหน้าต่อไป ทำให้เราร้องไห้อย่างไม่อาย พอไม่กี่หน้าถัดไปเราก็ต้องหัวเราะกับมุกตลกที่แทรกอยู่สม่ำเสมอ ... เรามีชีวิตอยู่ตลอดทศวรรษที่เฝ้าติดตามงานตีพิมพ์อันมีชีวิตชีวาที่สุด สนุกสนานที่สุด เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กที่โดดเด่นที่สุดเท่าที่เคยมีมา"<ref>{{cite news|url=http://entertainment.timesonline.co.uk/tol/arts_and_entertainment/books/children/article2139573.ece|title=Harry Potter and the Deathly Hallows by JK Rowling|last=Wilson|first=A. N.|date=2007-07-29|publisher=Times Online|accessdate=2008-09-28}}</ref> ชาลส์ เทย์เลอร์ แห่ง salon.com นักวิจารณ์ภาพยนตร์ เห็นด้วยกับความคิดของไบแอต แต่เขาก็ยอมรับว่าผู้ประพันธ์อาจจะ "มีจุดยืนทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง คือความเป็นวัยรุ่น มันเป็นแรงกระตุ้นของพวกเราที่จะเข้าใจความเหลวไหลของยุคสมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างกับความซับซ้อนของศิลปะยุคเดิม"<ref name="A.S. Byatt and the goblet of bile">{{cite news| title=www.purevolume.com/rendermn|url=http://archive.salon.com/books/feature/2003/07/08/byatt_rowling/index.html|publisher=Salon.com|title=A. S. Byatt and the goblet of bile|date=2003-07-08|accessdate=2008-08-03|first=Charles|last=Taylor}}</ref>


[[สตีเฟน คิง]] เรียกนวนิยายชุดนี้ว่า "ความกล้าหาญซึ่งผู้มีจินตนาการอันล้ำเลิศเท่านั้นจึงจะทำได้" และยกย่องการเล่นถ้อยคำสำนวนตลอดจนอารมณ์ขันของโรว์ลิงในนิยายชุดนี้ว่า "โดดเด่น" แม้เขาจะบอกว่านิยายชุดนี้จัดว่าเป็นนิยายที่ดี แต่ก็บอกด้วยว่า ในตอนต้นของหนังสือทั้งเจ็ดเล่มที่พบแฮร์รี่ที่บ้านลุงกับป้านั้นค่อนข้างน่าเบื่อ<ref>"Wild About Harry". ''The New York Times''. 2000-07-23.</ref> คิงยังว่า "โรว์ลิงจะไม่ใช้คำขยายความที่เธอไม่ชอบ!" เขายังทำนายด้วยว่า นวนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ "จะยืนยงท้าทายการทดสอบของกาลเวลา และอยู่บนหิ้งที่เก็บหนังสือดีที่สุดเท่านั้น ผมคิดว่าแฮร์รี่ได้เทียบขั้นกับ[[อลิซในแดนมหัศจรรย์|อลิซ]], [[ฮัค]], [[โฟรโด แบ๊กกิ้นส์|โฟรโด]] และ[[โดโรธี]]แล้ว นิยายชุดนี้จะไม่โด่งดังเพียงทศวรรษนี้ แต่จะยืนยงตลอดกาล"<ref>Fox, Killian (2006-12-31). [http://www.guardian.co.uk/books/2006/dec/31/harrypotter.jkjoannekathleenrowling "JK Rowling:The mistress of all she surveys"]. Guardian Unlimited. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-02-10.</ref>
[[สตีเฟน คิง]] เรียกนวนิยายชุดนี้ว่า "ความกล้าหาญซึ่งผู้มีจินตนาการอันล้ำเลิศเท่านั้นจึงจะทำได้" และยกย่องการเล่นถ้อยคำสำนวนตลอดจนอารมณ์ขันของโรว์ลิงในนิยายชุดนี้ว่า "โดดเด่น" แม้เขาจะบอกว่านิยายชุดนี้จัดว่าเป็นนิยายที่ดี แต่ก็บอกด้วยว่า ในตอนต้นของหนังสือทั้งเจ็ดเล่มที่พบแฮร์รี่ที่บ้านลุงกับป้านั้นค่อนข้างน่าเบื่อ<ref>"Wild About Harry". ''The New York Times''. 2000-07-23.</ref> คิงยังว่า "โรว์ลิงจะไม่ใช้คำขยายความที่เธอไม่ชอบ!" เขายังทำนายด้วยว่า นวนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ "จะยืนยงท้าทายการทดสอบของกาลเวลา และอยู่บนหิ้งที่เก็บหนังสือดีที่สุดเท่านั้น ผมคิดว่าแฮร์รี่ได้เทียบขั้นกับ[[อลิซท่องแดนมหัศจรรย์|อลิซ]], [[ฮัค]], [[โฟรโด แบ๊กกิ้นส์|โฟรโด]] และ[[โดโรธี]]แล้ว นิยายชุดนี้จะไม่โด่งดังเพียงทศวรรษนี้ แต่จะยืนยงตลอดกาล"<ref>Fox, Killian (2006-12-31). [http://www.guardian.co.uk/books/2006/dec/31/harrypotter.jkjoannekathleenrowling "JK Rowling:The mistress of all she surveys"]. Guardian Unlimited. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-02-10.</ref>


=== การวิจารณ์ทางวัฒนธรรม ===
=== การวิจารณ์ทางวัฒนธรรม ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:54, 7 ธันวาคม 2558

แฮร์รี่ พอตเตอร์
The Harry Potter logo, used first in American editions of the novel series and latฃฃer in films.
1. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์
2. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ
3. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน
4. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี
5. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์
6. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม
7. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต
ผู้ประพันธ์เจ. เค. โรว์ลิง
ชื่อต้นฉบับHarry Potter
ผู้แปลไทย สุมาลี บำรุงสุข
ไทย วลีพร หวังซื่อกุล
ไทย งามพรรณ เวชชาชีวะ
ประเทศสหราชอาณาจักร
ภาษาอังกฤษ
ประเภทหนังสือวรรณกรรมเยาวชน, แฟนตาซี, ลึกลับ, เรื่องตื่นเต้น, การเปลี่ยนผ่านของวัย
สำนักพิมพ์สหราชอาณาจักร สำนักพิมพ์บลูมส์บรี
สหรัฐ สำนักพิมพ์สกอแลสติก
ไทย สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์
วันที่ตีพิมพ์29 มิถุนายน พ.ศ. 2540 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (ตีพิมพ์ครั้งแรก)
ประเภทสิ่งตีพิมพ์

แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดนวนิยายแฟนตาซีจำนวนเจ็ดเล่ม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิง เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดวัยรุ่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเพื่อนสองคน รอน วีสลีย์ และเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดมืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้มีเป้าหมายเพื่อพิชิตประชากรที่ไม่มีอำนาจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมด และทำลายทุกคนที่ขัดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์

หนังสือเล่มแรกในชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ วางจำหน่ายในฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และนับแต่นั้น หนังสือก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ทั้งได้รับการยกย่องอย่างสำคัญและประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ทั่วโลก[1] อย่างไรก็ดี ชุดนวนิยายดังกล่าวก็มีข้อวิจารณ์บ้าง รวมถึงความกังวลถึงโทนเรื่องที่มืดมนขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ชุดหนังสือทำยอดขายประมาณ 450 ล้านเล่มทั่วโลก และมีการแปลไปเป็นภาษาต่าง ๆ 67 ภาษา หนังสือเล่มสุดท้ายของชุดยังเป็นหนังสือที่มีสถิติจำหน่ายออกหมดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์[2]

ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์สามารถจัดเป็นวรรณกรรมได้หลายประเภท (genre) รวมทั้งแฟนตาซีและการเปลี่ยนผ่านของวัย (coming of age) โดยมีองค์ประกอบของวรรณกรรมประเภทลึกลับ ตื่นเต้นสยองขวัญ ผจญภัย และโรแมนซ์ และมีความหมายและการสื่อถึงวัฒนธรรมหลายอย่าง[3][4][5][6] ตามข้อมูลของโรว์ลิง แก่นเรื่องหลักของเรื่อง คือ ความตาย[7] แม้โดยพื้นฐานแล้วหนังสือชุดนี้ถูกมองว่าเป็นผลงานวรรณกรรมเด็ก นอกจากนี้ยังมีแก่นเรื่องอื่นอีกมากมายในชุด เช่น ความรักและอคติ

หนังสือทั้งเจ็ดเล่มถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์สจำนวนแปดภาค โดยเนื้อเรื่องในหนังสือเล่มที่เจ็ด ผู้สร้างได้แบ่งออกเป็นสองตอน ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เป็นชุดภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล นอกจากนี้ ยังได้มีการผลิตสินค้าควบคู่กันอีกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ชื่อยี่ห้อแฮร์รี่ พอตเตอร์มีมูลค่ามากกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 เนื้อหาที่ไม่ได้เปิดเผยในหนังสือได้เริ่มเผยแพร่ในรูปแบบอีบุ๊กผ่าน "พอตเตอร์มอร์"[9]

จักรวาลของเรื่อง

ฮอกวอตส์ สถานที่แห่งหนึ่งในโลกเวทมนตร์

โลกในนิยายเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้น เป็นโลกของพวกพ่อมดและแม่มดที่อยู่ร่วมกันกับโลกของมนุษย์เรานี้ในลักษณะคู่ขนาน ในเรื่องจะเรียกพวกมนุษย์ทั่วไปว่า มักเกิ้ล หรือมนุษย์ผู้ไร้เวทมนตร์ โลกพ่อมดจะมีอาณาเขตที่เชื่อมต่อกับโลกของมักเกิ้ลโดยมีสิ่งต่าง ๆ เช่นกำแพง เป็นสิ่งที่กั้นขอบเขตระหว่างทั้งสองโลก พ่อมดสามารถไปมาหาสู่กันได้โดยการผ่านกำแพงกั้นระหว่างโลกมักเกิ้ลกับโลกพ่อมด เช่นการผ่านแผงกั้นชานชาลาที่เก้าเศษสามส่วนสี่ พวกมักเกิ้ลจะไม่สามารถเห็นแผงกั้นระหว่างทั้งสองโลกได้ หรืออาจจะเห็นแต่ก็จะเห็นเป็นกำแพงหรือสิ่งของธรรมดาเท่านั้น มักเกิ้ลไม่มีทางเข้าสู่โลกพ่อมดได้แม้ว่าวิธีใด ๆ ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นกับมักเกิ้ลบางคนที่มีพลังเวทมนตร์ เช่น เฮอร์ไมโอนี่ เป็นต้น แต่สถานที่บางแห่งก็ไม่มีเขตกั้นระหว่างทั้งสองโลก พวกมักเกิ้ลสามารถเดินเข้าไปในโลกของพ่อมดได้ ทำให้บ่อยครั้งที่มีผู้พบเห็นพวกสัตว์วิเศษที่อาศัยอยู่ตามสถานที่ที่ไม่มีเขตกั้น

พวกพ่อมดแม่มดนอกจากจะมีโลกที่เป็นของตัวเองแล้ว ยังมีสถานที่ที่แอบซ่อนไว้ตามที่ต่าง ๆ ของโลกมักเกิ้ลอีกด้วย มีทั้งซ่อนไว้ใต้ดิน แต่ละที่มีเพียงพ่อมดแม่มดเท่านั้นที่จะมองเห็นและเข้าไปตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ แต่กระทรวงเวทมนตร์เป็นข้อยกเว้นเนื่องจากมักเกิ้ลมักพบเห็นพ่อมดเสกเวทมนตร์คาถาอยู่บ่อย ๆ จึงต้องพาตัวมักเกิ้ลมาที่กระทรวงเพื่อลบความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องโลกเวทมนตร์เพื่อไม่ให้ความลับเรื่องโลกเวทมนตร์ถูกเปิดเผย

นอกจากนั้นพวกพ่อมดแม่มดยังใช้สถานที่ของมักเกิ้ลเป็นที่จัดการแข่งขันกีฬาควิดดิชอีกด้วย กีฬาประเภทนี้มักจัดตามที่ราบต่าง ๆ หรือตามป่าที่ไม่มีมักเกิ้ลอาศัยอยู่ แต่ถึงกระนั้นพวกพ่อมดก็ไม่อาจวางใจได้ พวกเขาต้องตั้งแนวป้องกันด้วยคาถาต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้พวกมักเกิ้ลที่บังเอิญหลงทางมาพบเห็นเข้า นอกจากนั้นพวกพ่อมดยังมีคาถาที่ทำให้มักเกิ้ลที่เข้ามาใกล้เปลี่ยนใจเดินออกไปให้ไกลได้อีกด้วย

การป้องกันมักเกิ้ลถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อพวกพ่อมดแม่มด เพราะหากมีมักเกิ้ลพบเห็นว่าพวกเขาเสกเวทมนตร์ ความลับเรื่องเวทมนตร์ที่พวกเขาปกปิดก็อาจจะถูกเปิดเผย ฉะนั้นจึงต้องมีพ่อมดที่คอยป้องกันมักเกิ้ลไว้เสมอ นอกจากจะมีการป้องกันมักเกิ้ลไม่ให้พบพวกพ่อมดเสกเวทมนตร์แล้ว พวกพ่อมดยังต้องป้องกันไม่ให้มักเกิ้ลพบเห็นสัตว์วิเศษ เช่น มังกร ยูนิคอร์น เอลฟ์ โทรลล์ เพราะสัตว์บางพวกอาจทำร้ายมักเกิ้ลได้

ลำดับเวลา

เหตุการณ์ต่าง ๆ ในหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ไม่มีการระบุถึงปีตามปฏิทินจริงมากนัก อย่างไรก็ตามมีการอ้างอิงถึงปีจริงบางส่วนในเนื้อเรื่อง ซึ่งทำให้สามารถวางเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์ตามปีปฏิทินจริงได้ ซึ่งต่อมาข้อมูลได้รับการยืนยันจากการยอมรับของผู้แต่ง ลำดับเวลาซึ่งนำเสนอในดีวีดีภาพยนตร์ และแผนผังตระกูลแบล็กซึ่งผู้แต่งได้นำออกประมูลการกุศล

ลำดับเวลาที่ยอมรับกันทั่วไปคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นเกิดในปี พ.ศ. 2523 และเรื่องราวในหนังสือเล่มแรกเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2534 เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ลำดับเวลาได้อยู่ในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ บทที่ 8 ซึ่งแฮร์รี่ ได้เข้าร่วม"งานเลี้ยงวันตาย ปีที่ห้าร้อย" ของตัวละครนิกหัวเกือบขาด และมีการระบุปีบนเค้กวันตายว่า "ตายวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1492" (พ.ศ. 2035) ซึ่งแปลว่าเรื่องราวนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535[10]

โครงเรื่อง

นวนิยายเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัวแฮร์รี่ พอตเตอร์ เด็กกำพร้าผู้พบว่าตนเองเป็นพ่อมดเมื่ออายุได้สิบเอ็ดปี อาศัยอยู่ในโลกแห่งผู้ไม่มีอำนาจวิเศษหรือมักเกิล ซึ่งถือเป็นประชากรปกติ[11] ความสามารถของเขานั้นมีมาโดยกำเนิดและเด็กจำพวกนี้จึงได้รับเชิญให้เข้าศึกษาในโรงเรียนซึ่งสอนทักษะที่จำเป็นแก่การประสบความสำเร็จในโลกพ่อมด[12] แฮร์รี่กลายมาเป็นนักเรียนที่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ และเรื่องราวส่วนใหญ่ในนวนิยายเกิดขึ้น ณ สถานที่แห่งนี้ เมื่อแฮร์รี่เติบโตขึ้นผ่านช่วงวัยรุ่น เขาเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามปัญหาที่เผชิญกับเขา ทั้งทางเวทมนตร์ สังคมและอารมณ์ รวมทั้งความท้าทายอย่างวัยรุ่นทั่วไป เช่น มิตรภาพและการสอบ ตลอดจนบททดสอบอันยิ่งใหญ่กว่าที่เตรียมพร้อมเขาสำหรับการเผชิญหน้าที่คอยอยู่เบื้องหน้า[13]

หนังสือแต่ละเล่มบันทึกเหตุการณ์หนึ่งปีในชีวิตของแฮร์รี่[14] โดยเนื้อเรื่องหลักเกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1991-98 หนังสือยังมีการเล่าย้อนไปในอดีตหลายครั้ง ซึ่งมักอธิบายโดยตัวละครมองความทรงจำในอุปกรณ์ที่เรียกว่า เพนซิฟ

สภาพแวดล้อมที่เจ. เค. โรว์ลิงสร้างขึ้นนั้นแยกจากความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง แต่ยังเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด ขณะที่ดินแดนแฟนตาซีแห่งนาร์เนียเป็นอีกเอกภพหนึ่ง และมัชฌิมโลกแห่งลอร์ดออฟเดอะริงส์เป็นตำนานโบราณ โลกเวทมนตร์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นเกิดขึ้นคู่ขนานกับโลกแห่งความจริง และจึงเป็นว่า โลกของพอตเตอร์มีแบบเวทมนตร์ที่คล้ายคลึงกับชีวิตประจำวัน สถาบันและสถานที่หลายแห่งนั้นมีอยู่จริง เช่น กรุงลอนดอน[15] สถานที่ในโลกเวทมนตร์นั้นได้กระจัดกระจายอยู่ในสถานที่ต่างๆ เช่น ถนนที่ถูกซ่อน ผับเก่าแก่ที่ถูกมองข้าม คฤหาสน์ชนบทที่โดดเดี่ยว และปราสาทที่ตัดขาดจากโลกภายนอกซึ่งประชากรมักเกิลไม่อาจมองเห็นได้[12]

ช่วงปีแรก

เมื่อเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์เปิดฉากขึ้น เป็นที่แน่ชัดว่ามีเหตุการณ์บางอย่างที่สำคัญเกิดขึ้นในโลกพ่อมด แม้แต่มักเกิลก็ยังสังเกตเห็นสัญญาณบางอย่างได้ เบื้องหลังทั้งหมดของเรื่องและบุคลิกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ค่อยๆ เปิดเผยออกมาตลอดทั้งเรื่อง ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ แฮร์รี่ค้นพบว่า เมื่อครั้งเป็นเด็ก เขาได้เป็นพยานการฆาตกรรมบิดามารดาของตนโดยพ่อมดมืดผู้หลงใหลในอำนาจ ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ซึ่งขณะนั้นพยายามฆ่าเขาด้วยเช่นกัน[16] ด้วยเหตุผลที่ยังไม่เปิดเผยในทันที คาถาที่โวลเดอมอร์พยายามปลิดชีพแฮร์รี่สะท้อนกลับไปยังตัวเขาเอง แฮร์รี่รอดชีวิตโดยหลงเหลือแผลเป็นรูปสายฟ้าบนหน้าผากเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น และโวลเดอมอร์ได้หายสาบสูญไป ด้วยการเป็นวีรบุรุษโดยไม่ได้ตั้งใจจากการสิ้นสุดยุคสมัยแห่งความหวาดกลัวของโวลเดอมอร์ แฮร์รี่ได้กลายมาเป็นตำนานมีชีวิตในโลกพ่อมด อย่างไรก็ดี ด้วยคำสั่งของพ่อมดผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียง อัลบัส ดัมเบิลดอร์ แฮร์รี่ซึ่งกำพร้าพ่อแม่ ถูกทิ้งไว้ในบ้านของญาติมักเกิลผู้ไม่น่าพิสมัยของเขา ครอบครัวเดอร์สลีย์ พวกเดอร์สลีย์ให้ความคุ้มครองเขาให้ปลอดภัยแต่ปกปิดพลังที่แท้จริงจากเขาด้วยหวังว่าเขาจะเติบโตขึ้น "อย่างปกติ"[16]

เมื่อย่างใกล้วันเกิดครบรอบปีที่สิบเอ็ดของแฮร์รี่ พ่อมดครึ่งยักษ์ รูเบอัส แฮกริด เปิดเผยประวัติของแฮร์รี่และนำเขาเข้าสู่โลกเวทมนตร์[16] ด้วยความช่วยเหลือของแฮกริด แฮร์รี่เตรียมตัวและเข้าเรียนในปีแรกที่ฮอกวอตส์ เมื่อแฮร์รี่เริ่มต้นสำรวจโลกเวทมนตร์นั้น เรื่องราวได้ระบุสถานที่สำคัญหลายแห่งที่ใช้ตลอดเนื้อเรื่อง แฮร์รี่พบกับตัวละครหลักส่วนใหญ่ และมีเพื่อนรักที่สุดสองคน รอน วีสลีย์ สมาชิกที่รักสนุกแห่งครอบครัวพ่อมดที่ใหญ่ เก่าแก่ มีความสุขแต่ยากจน และเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ แม่มดที่มีพรสวรรค์ เกิดจากพ่อแม่ที่ไม่มีเวทมนตร์และจริงจังกับการเรียน[16][17] แฮร์รี่ยังพบกับอาจารย์สอนวิชาปรุงยาของโรงเรียน เซเวอร์รัส สเนป ผู้แสดงความไม่ชอบอย่างลึกซึ้งมั่นคงแก่เขา โครงเรื่องสรุปเมื่อแฮร์รี่เผชิญหน้ากับลอร์ดโวลเดอมอร์ครั้งที่สอง ผู้ซึ่งกำลังตามหาความเป็นอมตะ โดยปรารถนาการได้รับอำนาจแห่งศิลาอาถรรพ์[16] แต่สุดท้ายก็เป็นแฮร์รี่ที่ได้รับชัยชนะอีกครั้งหนึ่ง

เรื่องราวดำเนินต่อด้วยแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ซึ่งอธิบายปีที่สองของแฮร์รี่ที่ฮอกวอตส์ เขาและเพื่อนของเขาสืบสวนตำนานอายุ 50 ปีซึ่งกลายเป็นว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ลางร้ายล่าสุดที่โรงเรียน น้องสาวของรอน จินนี่ วีสลีย์ ซึ่งกำลังเรียนอยู่ปีหนึ่งที่ฮอกวอตส์ พบสมุดบันทึกซึ่งกลายเป็นบันทึกของโวลเดอมอร์เมื่อครั้งเป็นนักเรียน จินนี่ถูกครอบงำโดยโวลเดอมอร์ผ่านบันทึก และเปิด "ห้องแห่งความลับ" ปลดปล่อยบาซิลิสก์ สัตว์ประหลาดโบราณซึ่งเริ่มโจมตีนักเรียนที่ฮอกวอตส์ ตอนนี้เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ฮอกวอตส์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับห้องลับแห่งนี้ เป็นครั้งแรกที่แฮร์รี่ตระหนักถึงอคติด้านชาติกำเนิดว่ามีอยู่ในโลกพ่อมด และเขาเรียนรู้ว่า ยุคสมัยแห่งความหวาดกลัวของโวลเดอมอร์นั้นมักมุ่งไปยังพ่อมดผู้สืบเชื้อสายจากมักเกิล เขายังพบความสามารถของตนในการพูดภาษาพาร์เซล ซึ่งเป็นภาษาของงู พบได้ยากและมักเกี่ยวข้องกับศาสตร์มืด นิยายเล่มนี้จบลงหลังแฮร์รี่ช่วยชีวิตของจินนี่โดยการฆ่าบาซิลิสก์และทำลายสมุดบันทึกที่โวลเดอมอร์เก็บรักษาส่วนหนึ่งของวิญญาณเขาไว้ (แฮร์รี่ไม่ทราบเรื่องนี้จนกระทั่งเปิดเผยภายหลัง) แนวคิดการเก็บรักษาส่วนหนึ่งของวิญญาณไว้ในวัตถุเพื่อป้องกันความตายนั้นปรากฏครั้งแรกในนิยายเล่มที่หกในชื่อของ "ฮอร์ครักซ์"

นิยายเล่มที่สาม แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ติดตามปีที่สามของแฮร์รี่ในการศึกษาเวทมนตร์ และเป็นเพียงเล่มเดียวในเรื่องที่มิได้มีโวลเดอมอร์ปรากฏ เขาต้องรับมือกับข้อมูลที่ว่าเขาตกเป็นเป้าหมายของซิเรียส แบล็ก ฆาตกรหลบหนีผู้เชื่อกันว่ามีส่วนในการตายของพ่อแม่แฮร์รี่ เมื่อแฮร์รี่ได้ต่อสู้กับปฏิกิริยาต่อผู้คุมวิญญาณ สิ่งมีชีวิตชั่วร้ายที่มีความสามารถในการกลืนกินวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งกำลังคุ้มครองโรงเรียนอยู่ เขาก็ได้พบกับรีมัส ลูปิน ครูสอนวิชาการป้องกันต้องจากศาสตร์มืดคนใหม่ ซึ่งเปิดเผยภายหลังว่าเป็นมนุษย์หมาป่า ลูปินสอนมาตรการป้องกันแก่แฮร์รี่ ซึ่งเหนือไปจากระดับเวทมนตร์ที่มักพบในบุคคลที่มีอายุเท่าเขา แฮร์รี่พบว่าทั้งลูปินและแบล็กเคยเป็นเพื่อนสนิทของบิดา และแบล็กถูกใส่ร้ายจากเพื่อนคนที่สี่ ปีเตอร์ เพ็ตดิกรูว์[18] ในเล่มนี้ มีการเน้นย้ำแก่นเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำอีกประการหนึ่งตลอดเรื่อง คือ ทุกเล่มจะต้องมีครูสอนการป้องกันตัวจากศาสตร์มืดคนใหม่เสมอและไม่มีคนใดทำงานอยู่ได้นานเกินหนึ่งปี

การหวนคืนของโวลเดอมอร์

ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ระหว่างปีที่สี่ของแฮร์รี่ที่ฮอกวอตส์ แฮร์รี่เป็นหนึ่งในผู้เข้าแข่งขันการประลองเวทไตรภาคีโดยไม่เต็มใจ ซึ่งเป็นการประลองอันตรายที่แฮร์รี่จะต้องแข่งขันกับตัวแทนพ่อมดและแม่มดจากโรงเรียนที่มาเยือน เช่นเดียวกับนักเรียนฮอกวอตส์อีกคนหนึ่ง[19] แฮร์รี่ได้รับการชี้นำผ่านการประลองโดยศาสตราจารย์อลาสเตอร์ "แม้ด-อาย" มู้ดดี้ แต่กลับกลายเป็นว่าเป็นคนอื่นปลอมตัวมา ซึ่งก็คือบาร์ตี้ เคร้าช์ จูเนียร์ หนึ่งในผู้สนับสนุนของโวลเดอมอร์ จุดที่ปริศนาคลายปมออกนั้นเป็นจุดเปลี่ยนของเรื่อง โดยแผนการของโวลเดอมอร์คือให้เคร้าช์อาศัยการประลองในครั้งนี้เพื่อนำตัวแฮร์รี่มาให้โวลเดอมอร์สังหาร และแม้ว่าแฮร์รี่จะสามารถหลบหนีจากเขามาได้แต่เซดริก ดิกกอรี่ ตัวแทนฮอกวอตส์อีกคนหนึ่งในการประลองถูกสังหาร และโวลเดอมอร์ได้กลับฟื้นคืนชีพขึ้นอีกครั้ง

ในหนังสือเล่มที่ห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ แฮร์รี่ต้องเผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ที่คืนชีพขึ้นมา และเพื่อเป็นการรับมือ ดัมเบิลดอร์ได้ให้ภาคีนกฟีนิกซ์กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ภาคีนั้นเป็นสมาคมลับที่ดำเนินงานโดยอาศัยบ้านลึกลับประจำตระกูลของซิเรียส แบล็กเป็นกองบัญชาการ เพื่อเอาชนะสมุนของโวลเดอมอร์และให้ความคุ้มครองเป้าหมายของโวลเดอมอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแฮร์รี่ อย่างไรก็ตามรายละเอียดของแฮร์รี่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวล่าสุดของโวลเดอมอร์ ได้ถูกกระทรวงเวทมนตร์และคนส่วนใหญ่ในโลกเวทมนตร์ปฏิเสธที่จะเชื่อว่าโวลเดอมอร์ได้หวนกลับคืนอีกครั้ง[20] ด้วยความพยายามที่จะตอบโต้และทำลายชื่อเสียงดัมเบิลดอร์ ผู้ซึ่งอยู่เคียงข้างแฮร์รี่และถือเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญที่สุดในโลกเวทมนตร์ในการพยายามเตือนภัยถึงการกลับมาของโวลเดอมอร์ กระทรวงจึงได้แต่งตั้งโดโลเรส อัมบริดจ์ ขึ้นเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนใหญ่แห่งฮอกวอตส์ เธอได้เปลี่ยนแปลงการปกครองในโรงเรียนไปอย่างเข้มงวดและปฏิเสธที่จะอนุญาตให้นักเรียนเรียนรู้วิธีป้องกันตนเองจากเวทมนตร์มืด[20]

แฮร์รี่ได้ก่อตั้ง "กองทัพดัมเบิลดอร์" กลุ่มเรียนลับเพื่อสอนทักษะการป้องกันตัวจากศาสตร์มืดระดับสูงที่เขาเคยเรียนมาแก่เพื่อนร่วมชั้นของเขา ภายหลังมีการเปิดเผยถึงคำพยากรณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับแฮร์รี่และโวลเดอมอร์[21] แฮร์รี่ค้นพบว่าเขากับโวลเดอมอร์สามารถเชื่อต่อถึงกันได้ และทำให้แฮร์รี่ได้เห็นการกระทำบางอย่างของโวลเดอมอร์ผ่านทางกระแสจิต ในช่างท้ายของเรื่อง แฮร์รี่กับเพื่อนของเขาเผชิญหน้ากับผู้เสพความตายของโวลเดอมอร์ แม้การมาถึงทันเวลาของสมาชิกภาคีนกฟีนิกซ์จะช่วยชีวิตของเด็กๆได้ แต่ซิเรียส แบล็กก็ถูกสังหารไปในคราวเดียวกัน[20]

โวลเดอมอร์เริ่มทำสงครามอย่างเปิดเผยในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม แม้แฮร์รี่กับเพื่อนจะค่อนข้างได้รับการคุ้มครองจากภัยอันตรายเป็นอย่างดีที่ฮอกวอตส์ แต่พวกเขาต้องเผชิญกับความยากลำบากในช่วงวัยรุ่นหลายอย่าง แฮร์รี่เริ่มต้นออกเดทกับจินนี่ วีสลีย์ รอนเองก็หลงใหลในตัวลาเวนเดอร์ บราวน์ เพื่อนสาวของเขาอย่างรุนแรง ส่วนเฮอร์ไมโอนีก็เริ่มที่จะรู้ตัวว่าเธอนั้นรักรอน ในช่วงต้นของนิยายแฮร์รี่ได้รับหนังสือเรียนปรุงยาเล่มเก่าซึ่งเต็มไปด้วยความเห็นประกอบและข้อแนะนำที่เขียนโดยนักเขียนลึกลับชื่อ เจ้าชายเลือดผสม แฮร์รี่ยังได้เรียนพิเศษเป็นการส่วนตัวกับดัมเบิลดอร์ ที่ได้แสดงให้เขาเห็นความทรงจำทั้งหลายเกี่ยวกับชีวิตช่วงต้นของโวลเดอมอร์ผ่านเพนซิฟ พร้อมแสดงให้เห็นว่าวิญญาณของโวลเดอมอร์ได้แยกไปอยู่ในฮอร์ครักซ์หลายชิ้น ซึ่งเป็นวัตถุวิเศษชั่วร้ายที่ซ่อนอยู่ยังที่ต่างๆ [22] เดรโก มัลฟอย คู่ปรับของแฮร์รี่ พยายามโจมตีดัมเบิลดอร์ และหนังสือจบลงด้วยการสังหารดัมเบิลดอร์โดยศาสตราจารย์สเนป ซึ่งเป็นเจ้าของชื่อเจ้าชายเลือดผสม

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต นิยายเล่มสุดท้ายในชุด ดำเนินเรื่องต่อจากหลังเหตุการณ์ในหนังสือเล่มก่อนในทันที โวลเดอมอร์ประสบความสำเร็จในการเถลิงอำนาจและควบคุมกระทรวงเวทมนตร์ แฮร์รี่ รอน และเฮอร์ไมโอนีออกจากโรงเรียนเพื่อที่พวกเขาจะสามารถค้นหาและทำลายฮอร์ครักซ์ที่เหลืออยู่ของโวลเดอมอร์ เพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยของพวกตน เช่นเดียวกับความปลอดภัยของครอบครัวและเพื่อนฝูง พวกเขาถูกบีบให้แยกตัวออกจากทุกคน ระหว่างการค้นหาฮอร์ครักซ์ ทั้งสามได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของดัมเบิลดอร์ เช่นเดียวกับเจตนาที่แท้จริงของสเนป ที่ทำภารกิจตามความต้องการของดัมเบิลดอร์นับแต่แม่ของแฮร์รี่ถูกฆาตกรรม

นิยายเดินทางมาถึงจุดสำคัญในการต่อสู้ที่ฮอกวอตส์ แฮร์รี่ รอนและเฮอร์ไมโอนี ร่วมกับสมาชิกภาคีนกฟีนิกซ์ ตลอดจนครูและนักเรียนหลายคน ได้ป้องกันฮอกวอตส์จากโวลเดอมอร์ ผู้เสพความตายของเขา และสิ่งมีชีวิตเวทมนตร์ทั้งหลาย ตัวละครหลักหลายคนถูกสังหารในการต่อสู้ระลอกแรก รวมถึงรีมัส ลูปินและเฟร็ด วีสลีย์ และหลังทราบว่าตัวเขาเองเป็นฮอร์ครักซ์ แฮร์รี่มอบตัวต่อโวลเดอมอร์ที่ป่าต้องห้าม ซึ่งได้ร่ายคำสาปพิฆาตเพื่อปลิดชีพเขา อย่างไรก็ดี กลุ่มป้องกันฮอกวอตส์ยังไม่ยอมจำนนแม้จะทราบถึงข้อเท็จจริงนี้และยังคงสู้ต่อไป หลังกลับมาจากความตาย แฮร์รี่เผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ในท้ายที่สุด ซึ่งฮอร์ครักซ์ทั้งหมดได้ถูกทำลายลงแล้ว ในการต่อสู้ครั้งสุดท้าย คำสาปพิฆาตขของโวลเดอมอร์ได้ถูกคาถาปลดอาวุธของแฮร์รี่สะท้อนกลับและฆ่าโวลเดอมอร์เองในที่สุด ในบทส่งท้ายอธิบายถึงชีวิตของตัวละครที่เหลือรอด และผลกระทบต่อโลกพ่อมดหลังการตายของโวลเดอมอร์

งานสมทบ

โรว์ลิงขยายจักรวาลแฮร์รี่ พอตเตอร์ด้วยหนังสือเรื่องสั้นหลายเล่มซึ่งผลิตออกมาให้การกุศลหลายอย่าง[23][24] ใน พ.ศ. 2544 เธอวางจำหน่ายสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (หนังสือที่สมมติขึ้นว่าเป็นหนังสือเรียนในฮอกวอตส์) และควิดดิชในยุคต่าง ๆ (หนังสือที่แฮร์รี่อ่านเอาสนุก) รายได้จากการขายหนังสือทั้งสองเล่มนี้ได้มอบให้แก่มูลนิธิคอมมิครีลิฟ[25] ใน พ.ศ. 2550 โรว์ลิงประพันธ์นิทานของบีเดิลยอดกวีฉบับเขียนด้วยมือเจ็ดเล่ม ซึ่งเป็นหนังสือที่รวมเทพนิยายซึ่งปรากฏในเล่มสุดท้าย หนึ่งในนั้นถูกประมูลขายเพื่อระดมทุนแก่ชิลเดรนส์ไฮเลเวลกรุ๊ป กองทุนเพื่อเด็กพิการในประเทศยากจน หนังสือนี้ได้รับตีพิมพ์ระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551[26][27] โรว์ลิงได้เขียนพลีเควล 800 คำ ใน พ.ศ. 2551 เป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุนซึ่งจัดโดยร้านขายหนังสือวอเทอร์สโตนส์[28] ใน พ.ศ. 2554 โรว์ลิงออกเว็บไซต์ใหม่ในชื่อ พอตเตอร์มอร์ ซึ่งเป็นการรวบรวมเนื้อหาต่างๆที่ไม่ได้รับการเปิดเผยในหนังสือ[29]

โครงสร้างและประเภท

นวนิยายแฮร์รี่ พอตเตอร์จัดอยู่ในประเภทวรรณกรรมแฟนตาซี อย่างไรก็ดี ในหลายแง่มุม ยังเป็นนวนิยายการศึกษา (bildungsromans) หรือการเปลี่ยนผ่านของวัย และมีส่วนที่เป็นประเภทลึกลับ ตื่นเต้นเขย่าขวัญ และโรแมนซ์ นวนิยายชุดนี้อาจถูกมองว่าเป็นประเภทโรงเรียนกินนอนเด็กของอังกฤษ เพราะเรื่องราวส่วนใหญ่ในชุดเกิดขึ้นในฮอกวอตส์ ซึ่งเป็นโรงเรียนกินนอนอังกฤษสำหรับพ่อมดในนวนิยาย โดยมีหลักสูตรรวมถึงการใช้เวทมนตร์ด้วย[30] ชุดนวนิยายนี้ยังเป็นประเภทที่สตีเฟน คิงใช้คำว่า "เรื่องลึกลับหลักแหลม"[31] และแต่ละเล่มมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับการผจญภัยลึกลับแบบเชอร์ล็อก โฮมส์ เรื่องราวเล่าโดยบุคคลที่สามจำกัดมุมมองโดยมีข้อยกเว้นเล็กน้อย (เช่น บทแรก ๆ ของศิลาอาถรรพ์และเครื่องรางยมทูต และสองบทแรกของเจ้าชายเลือดผสม)

ช่วงกลางของหนังสือแต่ละเล่ม แฮร์รี่ต่อสู้กับปัญหาที่เขาประสบ และการจัดการปัญหาเหล่านั้นมักเกี่ยวข้องกับความต้องการละเมิดกฎโรงเรียนบางข้อ หากนักเรียนถูกจับได้ว่าละเมิดกฎ พวกเขาจะถูกลงโทษโดยศาสตราจารย์ฮอกวอตส์ ซึ่งใช้รูปแบบวิธีการลงโทษที่มักพบในประเภทย่อยโรงเรียนกินนอน[30] อย่างไรก็ดี เรื่องราวถึงจุดสูงสุดในช่วงภาคเรียนฤดูร้อน ช่วงใกล้หรือช่วงเพิ่งสอบปลายภาคเรียนเสร็จ โดยมีเหตุการณ์บานปลายขึ้นเกินการวิวาทและการดิ้นรนอยู่ในโรงเรียน และแฮร์รี่ต้องเผชิญกับโวลเดอมอร์หรือหนึ่งในผู้ติดตามของเขา ผู้เสพความตาย โดยเดิมพันเรื่องคอขาดบาดตาย ประเด็นหนึ่งเน้นย้ำว่า เมื่อเรื่องราวดำเนินไป มีตัวละครหนึ่งตัวหรือมากกว่าถูกฆ่าในแต่ละเล่มในสี่เล่มสุดท้าย[32][33] หลังจากนั้น เขาเรียนรู้บทเรียนสำคัญผ่านการชี้แจงและการอภิปรายกับอาจารย์ใหญ่และที่ปรึกษา อัลบัส ดัมเบิลดอร์

ในนวนิยายเล่มสุดท้าย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต แฮร์รี่กับเพื่อนใช้เวลาส่วนใหญ่นอกฮอกวอตส์ และเพียงกลับมาเพื่อเผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ในตอนจบ[32] ด้วยรูปแบบนวนิยายการศึกษา ในส่วนนี้แฮร์รี่ต้องเติบโตขึ้นก่อนวัยอันควร ละทิ้งโอกาสปีสุดท้ายในฐานะนักเรียนโรงเรียนและจำต้องปฏิบัติตนเหมือนผู้ใหญ่ ซึ่งคนอื่นต้องพึ่งพาการตัดสินใจของเขา ซึ่งรวมถึงผู้ใหญ่ด้วย[34]

แก่นเรื่อง

ผู้ประพันธ์ เจ. เค. โรว์ลิง

โรว์ลิงว่า แก่นเรื่องหลักของชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์คือ ความตาย "หนังสือของฉันเกี่ยวข้องกับความตายเป็นส่วนใหญ่ เรื่องราวเกิดขึ้นด้วยการตายของพ่อแม่แฮร์รี่ มีความคิดครอบงำของโวลเดอมอร์เรื่องการพิชิตความตายและภารกิจของเขาเพื่อความเป็นอมตะไม่ว่าจะต้องเสียอะไรไปก็ตาม เป้าหมายของทุกคนที่มีเวทมนตร์ ฉันเข้าใจดีว่าทำไมโวลเดอมอร์ต้องการพิชิตความตาย เราทุกคนกลัวมัน"[7]

อาจารย์และนักหนังสือพิมพ์ได้พัฒนาการตีความแก่นเรื่องอื่นอีกมากในหนังสือ บ้างก็ซับซ้อนกว่าแนวคิดอื่น และบ้างก็รวมถึงการแฝงนัยทางการเมืองด้วย แก่นเรื่องนี้อย่างเช่น ปกติวิสัย การครอบงำ การอยู่รอด และการก้าวข้ามความแปลกประหลาดที่เพิ่มขึ้นมาล้วนถูกมองว่าพบเห็นได้บ่อยตลอดทั้งเรื่อง[35] โรว์ลิงว่า หนังสือของเธอประกอบด้วย "ข้อพิสูจน์ยืดเยื้อแก่ความอดกลั้น คำขอร้องยาวนานให้ยุติความเชื่อไร้เหตุผล" และว่ายังผ่านข้อความเพื่อ "ตั้งคำถามถึงทางการและ ... ไม่สันนิษฐานว่าสถาบันหรือสื่อบอกความจริงแก่คุณทั้งหมด"[36]

ขณะที่อาจกล่าวได้ว่าหนังสือนั้นประกอบด้วยแก่นเรื่องอื่นอีกหลากหลาย เช่น อำนาจ การละเมิดอำนาจ, ความรัก, อคติ และทางเลือกเสรี ซึ่งทั้งหมดนี้ ตามคำกล่าวของเจ. เค. โรว์ลิง ว่า "ฝังลึกอยู่ในโครงเรื่องทั้งหมด" ผู้เขียนยังพึงใจปล่อยให้แก่นเรื่อง "การเติบโตทางชีวิต" มากกว่านั่งลงและเจตนาพยายามที่จะบอกแนวคิดนั้นแก่ผู้อ่านของเธอ ในบรรดาแก่นเรื่องนั้นคือ แก่นเรื่องที่มีอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับวัยรุ่น ซึ่งในการพรรณนา โรว์ลิงมีจุดประสงค์ในการรับรองเพศภาพตัวละครของเธอและไม่ทิ้งให้แฮร์รี่ ตามคำพูดของเธอ "ติดอยู่ในสภาพก่อนวัยหนุ่มสาวไปตลอดกาล"[37] โรว์ลิงกล่าวว่า สำหรับเธอ ความสำคัญทางศีลธรรมของเรื่องนี้ดู "ชัดเจนมากอย่างที่สุด" สิ่งสำคัญสำหรับเธอคือทางเลือกระหว่างสิ่งที่ง่ายกับสิ่งที่ถูก "เพราะว่า ... คือสิ่งที่ทรราชเริ่มต้น โดยคนไม่ยินดียินร้ายและเลือกเส้นทางที่ง่าย และทันใดนั้นก็พบว่าตนเองอยู่ในปัญหาร้ายแรง"[38]

จุดกำเนิดและประวัติการตีพิมพ์

"ดิเอลิฟันต์เฮาส์" ร้านกาแฟในเอดินบะระที่โรว์ลิงเขียนส่วนแรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์

ใน พ.ศ. 2533 เจ. เค. โรว์ลิงอยู่ในรถไฟที่มีคนเนืองแน่นจากแมนเชสเตอร์ไปยังลอนดอน เมื่อแนวคิดแฮร์รี่ "ตกลงมาใส่หัวของเธอ" ทันใดนั้นเอง โรว์ลิงเล่าถึงประสบการฯณ์บนเว็บไซต์ของเธอโดยระบุว่า

ฉันเคยเขียนค่อนข้างต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่อายุได้หกขวบ แต่ฉันไม่เคยตื่นเต้นกับแนวคิดไหนมาก่อน ฉันเพียงแค่นั่งลงและคิด เป็นเวลาสี่ (รถไฟล่าช้า) ชั่วโมง และทุกรายละเอียดก็ผุดขึ้นในสมองของฉัน และเด็กชายผอมกะหร่อง ผมดำ สวมแว่นตาผู้ไม่รู้ว่าตนเองเป็นพ่อมดนี้ก็ค่อย ๆ กลายเป็นจริงขึ้นสำหรับฉัน[39]

โรว์ลิงเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์เสร็จใน พ.ศ. 2538 และต้นฉบับถูกส่งไปยังตัวแทนผู้ซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือหลายคน (prospective agent)[40] ตัวแทนคนที่สอง คริสโตเฟอร์ ลิตเตล เสนอเป็นตัวแทนเธอและส่งต้นฉบับไปยังสำนักพิมพ์บลูมส์บรี หลังสำนักพิมพ์อื่นแปดสำนักปฏิเสธศิลาอาถรรพ์ บลูมส์บรีเสนอค่าตอบแทนล่วงหน้าเป็นเงิน 2,500 ปอนด์แก่โรว์ลิงเป็นค่าจัดพิมพ์[41][42] แม้เธอจะไม่ได้วางกลุ่มอายุเป้าหมายไว้ในใจเมื่อเริ่มต้นเขียนหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ สำนักพิมพ์เดิมตั้งเป้าไว้ที่เด็กอายุระหว่างเก้าถึงสิบเอ็ดปี[43] วันก่อนวันจัดพิมพ์ โรว์ลิงได้รับการร้องขอจากสำนักพิมพ์ให้ใช้นามปากกาที่ไม่บ่งบอกเพศมากกว่านี้ เพื่อดึงดูดกลุ่มอายุที่เป็นชายมากขึ้น ด้วยกลัวว่าพวกเขาอาจไม่สนใจอ่านนวนิยายที่พวกเขารู้ว่าผู้หญิงเขียน เธอเลือกใช้ชื่อ เจ. เค. โรว์ลิง (โจแอนน์ แคทลีน โรว์ลิง) โดยใช้ชื่อย่าของเธอเป็นชื่อที่สอง เพราะเธอไม่มีชื่อกลาง[42][44]

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (Harry Potter and the Philosopher's Stone) ได้รับตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บลูมส์บรี ผู้จัดพิมพ์หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกเล่มในสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540[45] และวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2541 ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สกอแลสติก สำนักพิมพ์หนังสือของอเมริกา ในชื่อ Harry Potter and the Sorcerer's Stone หลังโรว์ลิงได้รับเงิน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐเป็นค่าลิขสิทธิ์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนสำหรับหนังสือเด็กโดยนักเขียนที่ขณะนั้นยังไร้ชื่อ[46] ด้วยกลัวว่าผู้อ่านชาวอเมริกันจะไม่เชื่อมโยงคำว่า "philosopher" (นักปราชญ์) กับแก่นเรื่องเวทมนตร์ (แม้ศิลานักปราชญ์จะเกี่ยวข้องกับการเล่นแร่แปรธาตุก็ตาม) สกอแลสติกจึงยืนยันว่าหนังสือควรให้ชื่อนี้สำหรับตลาดอเมริกัน

หนังสือเล่มที่สอง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 และในสหรัฐอเมริกาวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันตีพิมพ์อีกหนึ่งปีให้หลังในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 และในสหรัฐอเมริกา 8 กันยายน ปีเดียวกัน[47] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีตีพิมพ์เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เวลาเดียวกันทั้งบลูมส์บรีและสกอแลสติก[48] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์เป็นหนังสือเล่มยาวที่สุดในชุด ด้วยความหนา 766 หน้าในรุ่นสหราชอาณาจักร และ 870 หน้าในรุ่นสหรัฐอเมริกา[49] ตีพิมพ์ทั่วโลกในภาษาอังกฤษเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2546[50] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมตีพิมพ์วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทำยอดขาย 9 ล้านเล่มในการวางขาย 24 ชั่วโมงแรกทั่วโลก[51][52] นิยายเล่มที่เจ็ดและสุดท้าย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[53] ทำยอดขาย 11 ล้านเล่มในช่วงวางขาย 24 ชั่วโมงแรก แบ่งเป็น 2.7 ล้านเล่มในสหราชอาณาจักร และ 8.3 ล้านเล่มในสหรัฐอเมริกา[54]

การแปล

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตฉบับภาษายูเครน

หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นอีกอย่างน้อย 67 ภาษา เล่มแรกนั้นได้รับการแปลเป็นภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ[55] โดยเป็นงานเขียนภาษากรีกโบราณที่ยาวที่สุดนับแต่นวนิยายของเฮลิโอโดรัสแห่งอีเมซาในคริสต์ศตวรรษที่ 3[56] ทำให้โรว์ลิงเป็นผู้ประพันธ์ที่ผลงานได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นมากที่สุดในโลก[57] การแปลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นมีความยากลำบากหลายประการ เช่น จากการถ่ายทอดวัฒนธรรมโรงเรียนประจำแบบอังกฤษ การใช้ภาษาที่แสดงถึงบุคลิกภาพหรือสำเนียง รวมถึงการคิดค้นศัพท์ใหม่ ๆ ของผู้แต่งด้วย[58]

นักแปลบางคนที่ได้รับว่าจ้างมาแปลหนังสือนั้นเป็นผู้ประพันธ์มีชื่อเสียงก่อนมีผลงานกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ วิกตอร์ โกลูเชฟ ผู้ควบคุมการแปลหนังสือเล่มที่ห้าเป็นภาษารัสเซีย การแปลหนังสือเล่มสองถึงเจ็ดเป็นภาษาตุรกีอยู่ภายใต้การดูแลของเซวิน ออคเย นักวิจารณ์วรรณกรรมและผู้บรรยายวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยม[59] ด้วยเหตุผลด้านความลับ การแปลสามารถเริ่มต้นได้เฉพาะหลังหนังสือนั้นออกมาในภาษาอังกฤษแล้วเท่านั้น ซึ่งทำให้รุ่นภาษาอังกฤษถูกขายให้แก่แฟนที่รอไม่ไหวในประเทศที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกที จนทำให้เล่มที่ห้าในชุดกลายมาเป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกและเล่มเดียวที่ขึ้นเป็นที่หนึ่งของรายการหนังสือขายดีในฝรั่งเศส[60]

รุ่นสหรัฐอเมริกาของนวนิยายแฮร์รี่ พอตเตอร์ต้องผ่านการดัดแปลงข้อความเป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเสียก่อน เพราะคำหลายคำและหลายแนวคิดที่ใช้โดยตัวละครในนวนิยายนั้นอาจไม่เป็นที่เข้าใจแก่ผู้อ่านชาวอเมริกัน[61]

ผลงานในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับแปลภาษาไทยได้รับการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ในขณะที่ฉบับภาษาอังกฤษได้ออกมาแล้วสี่เล่ม โดยต้องเร่งแปลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้งสี่เล่มให้เสร็จโดยเร็วเพื่อง่ายต่อการแปลแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มที่ห้า ซึ่งโรว์ลิงยังเขียนไม่เสร็จ มีผู้แปลทั้งสิ้นสามคน ได้แก่ สุมาลี บำรุงสุขแปลเล่มที่หนึ่ง สอง ห้า หกและเจ็ด วลีพร หวังซื่อกุลแปลเล่มที่สาม และงามพรรณ เวชชาชีวะแปลเล่มที่สี่ หน้าปกฉบับภาษาไทยนั้นใช้ภาพแบบเดียวกับหน้าปกฉบับอเมริกัน ซึ่งเป็นผลงานของแมรี กรองด์เปร ส่วนฉบับภาพยนตร์ที่สร้างโดย Warner Bros. ฉบับพากย์ไทย โดย บริษัท แคททาลิสต์ แอตลายแอนส์ (ประเทศไทย) เป็นผู้จัดจำหน่าย

ความสำเร็จ

แรงกระทบทางวัฒนธรรม

บรรดานักอ่านผู้ชื่นชอบนิยายชุดนี้ล้วนเฝ้ารอการวางจำหน่ายตอนล่าสุดที่ร้านหนังสือทั่วโลก เริ่มจัดงานให้ตรงกับวันวางจำหน่ายวันแรกตอนเที่ยงคืน เริ่มตั้งแต่การตีพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีใน พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา กิจกรรมพิเศษระหว่างรอจำหน่ายมีมากมาย เช่น การแต่งกายเลียนแบบตัวละคร เล่นเกม ระบายสีหน้า และการแสดงอื่น ๆ ซึ่งได้รับความนิยมจากบรรดาแฟนพอตเตอร์และประสบความสำเร็จอย่างสูงในการดึงดูดแฟนและขายหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมได้เกือบ 9 ล้านเล่ม จากจำนวนที่พิมพ์ไว้ครั้งแรก 10.8 ล้านเล่ม ภายใน 24 ชั่วโมงแรกของการวางแผง[62][63] หนังสือเล่มสุดท้ายของชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต เป็นหนังสือที่ขายได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยขายได้ 11 ล้านเล่มในยี่สิบสี่ชั่วโมงแรกของการวางจำหน่าย[64]

นวนิยายชุดนี้ยังสามารถครองใจกลุ่มนักอ่านผู้ใหญ่ได้ด้วย ทำให้มีการจัดพิมพ์หนังสือออกเป็น 2 ฉบับในแต่ละเล่ม ซึ่งในนั้นมีเนื้อหาเหมือนกันหมด เพียงแต่ฉบับหนึ่งทำปกสำหรับเด็ก อีกฉบับหนึ่งสำหรับผู้ใหญ่[65] นอกเหนือไปจากการพบปะกันออนไลน์ผ่านบล็อก พ็อตแคสต์และแฟนไซต์แล้ว แฟนผู้คลั่งไคล้แฮร์รี่ พอตเตอร์ยังสามารถพบปะกันที่สัมมนาแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ด้วย คำว่า "มักเกิ้ล" (Muggle) ได้แพร่ออกไปนอกเหนือจากการใช้ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ และกลายเป็นหนึ่งในคำวัฒนธรรมสมัยนิยมไม่กี่คำได้บรรจุลงพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด[66] แฟนแฮร์รี่ พอตเตอร์ฟังพ็อตแคสต์เป็นประจำ โดยมากทุกสัปดาห์ เพื่อเข้าใจการอภิปรายล่าสุดในหมู่แฟน ทั้งมักเกิ้ลแคสต์และพอตเตอร์แคสต์[67] ได้แตะระดับอันดับสูงสุดของไอทูนส์และได้รับการจัดอันดับอยู่ในพ็อตแคสต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 50 อันดับแรก[68]

รางวัลและเกียรติยศ

แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย ตั้งแต่การพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ครั้งแรก รวมทั้งรางวัลหนังสือวิตเทกเกอร์แพลตินัมสี่รางวัล (ทั้งหมดได้รับเมื่อ พ.ศ. 2544)[69] รางวัลหนังสือเนสเล่สมาร์ตตีส์สามรางวัล (พ.ศ. 2540-42)[70], รางวัลหนังสือสภาศิลปะสกอตสองรางวัล (พ.ศ. 2542 และ 2544)[71], รางวัลหนังสือเด็กแห่งปีวิตเบรดเล่มแรก (พ.ศ. 2542)[72], และหนังสือแห่งปีดับเบิลยูเอชสมิท (พ.ศ. 2549)[73] และอื่น ๆ ใน พ.ศ. 2543 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันได้รับเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลฮิวโกนวนิยายยอดเยี่ยม และใน พ.ศ. 2544 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีได้รับรางวัลดังกล่าว[74] เกียรติยศที่ได้นั้นมีทั้งการมอบเหรียญรางวัลคาร์เนกี (พ.ศ. 2540)[75], รายชื่อสั้นสำหรับรางวัลเด็กการ์เดี้ยน (พ.ศ. 2541) และอยู่ในรายการหนังสือมีชื่อเสียง หนังสือที่คัดเลือกโดยบรรณาธิการ และรายการหนังสือดีที่สุดของสมาคมหอสมุดอเมริกา, เดอะนิวยอร์กไทมส์, หอสมุดสาธารณะชิคาโก และพับลิชเชอร์วีกลี[76]

ความสำเร็จทางการค้า

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต หนังสือที่ขายได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์

ความสำเร็จของนวนิยายชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่ เจ. เค. โรว์ลิง ผู้ประพันธ์ ตลอดไปจนถึงสำนักพิมพ์และผู้ถือสิทธิ์ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้งหมด โรว์ลิงได้รับผลตอบแทนมากจนกระทั่งนับได้ว่าเป็นนักเขียนเพียงคนเดียวที่ติดอันดับ "มหาเศรษฐี" ของโลก[77] มีการจำหน่ายหนังสือไปแล้วกว่า 400 ล้านเล่มทั่วโลก และช่วยนำกระแสนิยมให้แก่ภาพยนตร์ชุดดัดแปลงโดย วอร์เนอร์บราเธอร์ส ด้วย ภาพยนตร์ดัดแปลงในแต่ละตอนต่างประสบความสำเร็จไปตามกัน นับแต่ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ได้เป็นภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลอันดับที่ 5 ส่วนตอนอื่น ๆ อีก 4 ตอนก็ติดอันดับภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลใน 20 อันดับแรก[78][79]

ภาพยนตร์ได้รับการดัดแปลงไปเป็นวิดีโอเกม 8 ชุด และยังได้รับค่าลิขสิทธิ์ในการดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ มากกว่า 400 รายการ (รวมถึงไอพอด) นับถึงปี พ.ศ. 2548 ยี่ห้อ แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีมูลค่าสูงถึง 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้โรว์ลิงกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้าน[80] ในรายงานเปรียบเทียบบางแห่งยังกล่าวว่าเธอร่ำรวยกว่าสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเสียอีก[81][82] ทว่าโรว์ลิงชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง[83]

ความต้องการอย่างสูงในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ทำให้ นิวยอร์กไทมส์ ตัดสินใจเปิดอันดับหนังสือขายดีอีก 1 ประเภทสำหรับวรรณกรรมเด็กโดยเฉพาะเมื่อปี พ.ศ. 2543 ก่อนการวางจำหน่าย แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และหนังสือของโรว์ลิงก็อยู่บนอันดับหนังสือขายดีนี้ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานถึง 79 สัปดาห์ โดยที่ทั้งสามเล่มแรกเป็นหนังสือขายดีในประเภทหนังสือปกแข็งด้วย[84] การจัดส่งหนังสือชุด ถ้วยอัคนี ต้องใช้รถบรรทุกของเฟดเอกซ์กว่า 9,000 คันเพื่อการส่งหนังสือเล่มนี้เพียงอย่างเดียว[85] วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2550 ร้านหนังสือ บาร์นส์แอนด์โนเบิล ประกาศว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ได้ทำลายสถิติหนังสือจองผ่านเว็บไซต์โดยมียอดจองมากกว่า 500,000 เล่ม[86] เมื่อนับรวมทั้งเว็บของบาร์นส์แอนด์โนเบิล กับอเมซอนดอตคอม จะเป็นยอดจองล่วงหน้ารวมกันมากกว่า 700,000 เล่ม[85] แต่เดิมสถิติการพิมพ์หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3.8 ล้านเล่ม[85] แต่ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์ ทำลายสถิตินี้ด้วยยอดพิมพ์ครั้งแรก 8.5 ล้านเล่ม และต่อมาก็ถูกทำลายสถิติลงอีกด้วย แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม ที่ 10.8 ล้านเล่ม[87] ในจำนวนนี้ได้ขายออกไป 6.9 ล้านเล่มภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากวางจำหน่าย ส่วนในอังกฤษได้ขายออกไป 2 ล้านชุดภายในวันแรก[88]

คำชื่นชมและวิจารณ์

การวิจารณ์ทางวรรณกรรม

ในช่วงแรก ๆ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้รับคำวิจารณ์ค่อนข้างดี ทำให้นวนิยายชุดนี้ขยายฐานผู้อ่านออกไปอย่างมาก หนังสือเล่มแรกของชุดคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ได้จุดประเด็นความสนใจแก่หนังสือพิมพ์ของสกอตแลนด์หลายเล่ม เช่น The Scotsman บอกว่าหนังสือเล่มนี้ "มีทุกอย่างของความคลาสสิก"[89] หรือ The Glasgow Herald ตั้งสมญาให้ว่าเป็น "สิ่งมหัศจรรย์"[89] ไม่นานหนังสือพิมพ์ของทางอังกฤษก็เข้าร่วมวงด้วย มีหนังสือพิมพ์มากกว่า 1 เล่มเปรียบเทียบงานเขียนชุดนี้กับงานของโรอัลด์ ดาห์ล หนังสือพิมพ์ The Mail on Sunday เรียกหนังสือเล่มนี้ว่าเป็น "งานเขียนที่เปี่ยมจินตนาการนับแต่ยุคของโรอัลด์ ดาห์ล"[89] ส่วน The Guardian เรียกหนังสือนี้ว่า "นวนิยายอันงดงามที่สร้างโดยนักประดิษฐ์อัจฉริยะ"[89]

ครั้นเมื่อหนังสือออกวางจำหน่ายถึงเล่มที่ห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ นวนิยายก็ได้รับการวิจารณ์ที่หนักหน่วงขึ้นจากเหล่านักวิชาการด้านวรรณกรรม เฮโรลด์ บลูม ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเยล นักวิชาการวรรณศิลป์และนักวิจารณ์ เป็นผู้ยกประเด็นการวิจารณ์วรรณกรรมเกี่ยวกับศีลธรรม เขากล่าวว่า "ในใจของโรว์ลิงมีแต่เรื่องอุปมาเกี่ยวกับความตายวนไปวนมา ไม่มีลีลาการเขียนแบบอื่นเลย"[90] เอ. เอส. ไบแอต นักเขียนประจำนิวยอร์กไทมส์ บอกว่าจักรวาลในเรื่องของโรว์ลิงสร้างขึ้นจากจินตนาการที่ผสมปนเปจากวรรณกรรมเด็กหลาย ๆ เรื่อง และเขียนขึ้นเพื่อคนที่มีจินตนาการหมกมุ่นกับการ์ตูนทีวี โลกในฟองสบู่ที่เว่อร์เกินจริง รายการรีแอลิตี และข่าวซุบซิบดารา[91]

นักวิจารณ์ชื่อ แอนโทนี โฮลเดน เขียนความรู้สึกของเขาจากการตัดสินรางวัลวิทเบรด ปี พ.ศ. 2542 ส่วนที่เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ไว้ใน The Observer โดยที่ค่อนข้างมีมุมมองไม่ค่อยดี เขากล่าวว่า "มหากาพย์พอตเตอร์เป็นงานอนุรักษนิยม ย้อนยุค โหยหาความเป็นอดีตและระบบอุปถัมภ์ในอดีตของอังกฤษที่ผ่านไปแล้ว" เขายังวิจารณ์อีกว่าเป็น "งานเขียนร้อยแก้วที่ผิดไวยากรณ์ ใช้สำนวนตลาด"[92]

แต่ในทางตรงกันข้าม เฟย์ เวลดอน นักเขียนผู้ยอมรับว่านวนิยายชุดนี้ "ไม่ใช่งานที่กวีจะชื่นชอบ" แต่ก็ยอมรับว่า "มันไม่ใช่กวีนิพนธ์ มันเป็นร้อยแก้วที่อ่านเข้าใจง่าย อ่านได้ทุกวัน และขายได้"[93] เอ. เอ็น. วิลสัน นักวิจารณ์วรรณกรรม ยกย่องนวนิยายชุดนี้ใน The Times โดยระบุว่า "มีนักเขียนไม่มากนักเหมือนอย่างเจ. เค. ผู้มีความสามารถดังหนึ่งดิกคินส์ ที่ทำให้เราต้องรีบพลิกอ่านหน้าต่อไป ทำให้เราร้องไห้อย่างไม่อาย พอไม่กี่หน้าถัดไปเราก็ต้องหัวเราะกับมุกตลกที่แทรกอยู่สม่ำเสมอ ... เรามีชีวิตอยู่ตลอดทศวรรษที่เฝ้าติดตามงานตีพิมพ์อันมีชีวิตชีวาที่สุด สนุกสนานที่สุด เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กที่โดดเด่นที่สุดเท่าที่เคยมีมา"[94] ชาลส์ เทย์เลอร์ แห่ง salon.com นักวิจารณ์ภาพยนตร์ เห็นด้วยกับความคิดของไบแอต แต่เขาก็ยอมรับว่าผู้ประพันธ์อาจจะ "มีจุดยืนทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง คือความเป็นวัยรุ่น มันเป็นแรงกระตุ้นของพวกเราที่จะเข้าใจความเหลวไหลของยุคสมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างกับความซับซ้อนของศิลปะยุคเดิม"[95]

สตีเฟน คิง เรียกนวนิยายชุดนี้ว่า "ความกล้าหาญซึ่งผู้มีจินตนาการอันล้ำเลิศเท่านั้นจึงจะทำได้" และยกย่องการเล่นถ้อยคำสำนวนตลอดจนอารมณ์ขันของโรว์ลิงในนิยายชุดนี้ว่า "โดดเด่น" แม้เขาจะบอกว่านิยายชุดนี้จัดว่าเป็นนิยายที่ดี แต่ก็บอกด้วยว่า ในตอนต้นของหนังสือทั้งเจ็ดเล่มที่พบแฮร์รี่ที่บ้านลุงกับป้านั้นค่อนข้างน่าเบื่อ[96] คิงยังว่า "โรว์ลิงจะไม่ใช้คำขยายความที่เธอไม่ชอบ!" เขายังทำนายด้วยว่า นวนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ "จะยืนยงท้าทายการทดสอบของกาลเวลา และอยู่บนหิ้งที่เก็บหนังสือดีที่สุดเท่านั้น ผมคิดว่าแฮร์รี่ได้เทียบขั้นกับอลิซ, ฮัค, โฟรโด และโดโรธีแล้ว นิยายชุดนี้จะไม่โด่งดังเพียงทศวรรษนี้ แต่จะยืนยงตลอดกาล"[97]

การวิจารณ์ทางวัฒนธรรม

นิตยสารไทมส์ประกาศให้โรว์ลิงเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิ์เป็น "บุคคลแห่งปี" ของไทมส์ในปี พ.ศ. 2550 ในฐานะที่มีผลงานโดดเด่นทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งสร้างแรงบันดาลใจอย่างมากต่อกลุ่มแฟนคลับของเธอ[98] ทว่าคำวิพากษ์วิจารณ์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อนิยายชุดนี้ก็มีทั้งด้านดีและไม่ดีปะปนกัน นักวิจารณ์หนังสือจากวอชิงตันโพสต์ รอน ชาลส์ แสดงความเห็นของเขาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ว่าจำนวนผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่จำนวนมากซึ่งอ่านหนังสืออื่นค่อนข้างน้อย อาจสะท้อนถึงตัวอย่างที่ไม่ดีของวัฒนธรรมวัยเด็ก รูปแบบการนำเสนอแบบตรงไปตรงมาในเรื่องที่แยกระหว่าง "ความดี-ความเลว" อย่างชัดเจนนั้นก็เป็นแนวทางแบบเด็ก ๆ เขายังบอกว่า ไม่ใช่ความผิดของโรว์ลิงเลย แต่วิธีทางการตลาดแบบ "ฮีสทีเรีย" (กรี๊ดกร๊าดคลั่งไคล้อย่างรุนแรง) ที่ปรากฏให้เห็นในการตีพิมพ์หนังสือเล่มหลัง ๆ "ทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่พากันหลงใหลเสียงกรีดร้องในโรงมหรสพ ประสบการณ์สื่อแบบมหาชนซึ่งนิยายอื่นอาจจะทำให้ไม่ได้"[99]

เจนนี่ ซอว์เยอร์ เขียนไว้ใน Christian Science Monitor เมื่อ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ว่า หนังสือชุดนี้เป็นตัวแทนถึง "จุดเปลี่ยนค่านิยมการเล่านิทานและสังคมตะวันตก" โดยที่ในนิยายชุดนี้ "หัวใจแห่งศีลธรรมกำลังเหือดหายไปจากวัฒนธรรมยุคใหม่... หลังจากผ่านไป 10 ปี, 4195 หน้า และ 375 ล้านเล่ม ท่ามกลางความสำเร็จอย่างสูงยิ่งของ เจ. เค. โรว์ลิง แต่เสาหลักของวรรณกรรมเด็กอันยิ่งใหญ่กลับขาดหายไป นั่นคือการเดินทางของวีรบุรุษเพื่อยืนหยัดความถูกต้อง" ซอว์เยอร์กล่าวว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ ไม่เคยประสบความท้าทายทางศีลธรรม ไม่เคยตกอยู่ใต้ภาวะลำบากระหว่างความถูกผิด ดังนั้นจึง "ไม่เคยมีสถานการณ์ใดที่ความถูกผิดไม่เป็นสีขาวและสีดำ"[100]

คริส ซุลเลนทรอพ ให้ความเห็นคล้ายคลึงกันใน Slate Magazine เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เขาเปรียบพอตเตอร์ว่าเป็น "เด็กผู้เป็นที่ไว้วางใจและชื่นชมที่โรงเรียน อันเป็นผลงานส่วนมากจากของขวัญที่เพื่อนและครอบครัวทุ่มเทให้" เขาสังเกตว่า ในนิยายของโรว์ลิงนั้น ศักยภาพและความสามารถทางเวทมนตร์เป็น "สิ่งที่คุณเกิดมาพร้อมกับมัน ไม่ใช่สิ่งที่คุณจะไขว่คว้ามาได้" ซุลเลนทรอพเขียนว่า คำคมของดัมเบิลดอร์ที่ว่า "เราต้องเลือกเองที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริงที่ยิ่งใหญ่กว่าความสามารถของเรา" เป็นเรื่องโกหกทั้งเพ ในเมื่อโรงเรียนที่ดัมเบิลดอร์บริหารอยู่นั้นให้ความสำคัญกับพรสวรรค์ที่มีมาแต่กำเนิดมากกว่าอะไรทั้งนั้น[101] อย่างไรก็ดี ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550 คริสโตเฟอร์ ฮิทเชนส์ รีวิว แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต โดยยกย่องโรว์ลิงว่าได้ปรับเปลี่ยน "นิทานเกี่ยวกับโรงเรียนในอังกฤษ" ที่มีมาแต่ไหนแต่ไร ที่เคยมีแต่เรื่องเพ้อฝัน ความร่ำรวย ชนชั้น และความเป็นผู้ดี ให้กลายเป็น "โลกของประชาธิปไตยและความเปลี่ยนแปลงของวัยหนุ่มสาว"[102]

การโต้แย้งต่าง ๆ

หนังสือชุดนี้ตกเป็นประเด็นโต้แย้งทางกฎหมายมากมายหลายคดี มีทั้งการฟ้องร้องจากกลุ่มคริสเตียนอเมริกันว่าการใช้เวทมนตร์คาถาในหนังสือเป็นการเชิดชูศิลปะของพวกพ่อมดแม่มดให้แพร่หลายในหมู่เด็ก ๆ รวมถึงข้อขัดแย้งอีกหลายคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า การที่นวนิยายชุดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและครอบครองมูลค่าตลาดสูงมาก ทำให้โรว์ลิง สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ของเธอ รวมถึงวอร์เนอร์ บราเธอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของตน ทั้งนี้รวมถึงการห้ามจำหน่ายสินค้าลอกเลียนแบบแฮร์รี่ พอตเตอร์ เหล่าเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ใช้ชื่อโดเมนคาบเกี่ยวกับคำว่า "แฮร์รี่ พอตเตอร์" พวกเขายังฟ้องนักเขียนอีกคนหนึ่งคือ แนนซี สโตฟเฟอร์ เพื่อตอบโต้การที่เธอออกมากล่าวอ้างว่า โรว์ลิงลอกเลียนแบบงานเขียนของเธอ[103][104][105] กลุ่มนักอนุรักษนิยมทางศาสนาจำนวนมากอ้างว่า หนังสือชุดนี้เชิดชูศาสตร์ของพ่อมดแม่มด ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก[106] นอกจากนี้ยังมีนักวิจารณ์อีกจำนวนหนึ่งวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังสือชุดนี้มีแง่มุมทางการเมืองซ่อนอยู่หลายประการ[107][108]

การดัดแปลงไปยังสื่ออื่น

ภาพยนตร์

ในปี พ.ศ. 2542 เจ. เค. โรว์ลิง ขายสิทธิ์การสร้างภาพยนตร์จากหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์สี่เล่มแรกให้กับวอร์เนอร์บราเธอร์ส ในราคาหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง[109] โรว์ลิงยืนยันให้นักแสดงหลักเป็นชาวสหราชอาณาจักร รวมถึงใช้ภาษาอังกฤษบริเตน[110] ภาพยนตร์สองภาคแรกกำกับโดยคริส โคลัมบัส ภาคที่สามโดยอัลฟอนโซ กวารอน ภาคที่สี่โดยไมค์ นิวเวลล์ และภาคที่ห้าถึงภาคสุดท้ายโดยเดวิด เยตส์[111] บทภาพยนตร์ของสี่ภาคแรกเขียนโดยสตีฟ โคลฟ โดยร่วมงานกับโรว์ลิง บทภาพยนตร์มีความเปลี่ยนแปลงจากหนังสือบ้างตามรูปแบบการนำเสนอของภาพยนตร์และเงื่อนไขเวลา อย่างไรก็ตาม โรว์ลิงได้กล่าวว่าบทภาพยนตร์ของโคลฟนั้นมีความตรงต่อหนังสือ[112] ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาค มีนักแสดงหลักคือแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เอ็มม่า วัตสันและรูเพิร์ท กรินท์ โดยแสดงเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และรอน วีสลีย์ตามลำดับ โดยสามคนนี้ได้รับเลือกในปี พ.ศ. 2543 จากเด็กหลายพันคน[113]

ภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ถูกแบ่งเป็นสองตอน[114] กำกับโดยเดวิด เยตส์และสตีฟ โคลฟ ทำหน้าที่เขียนบทเช่นเดิม และทาง เจ. เค. โรว์ลิง ทำให้รวมแล้วตั้งแต่ภาคแรกจนถึงภาคสุดท้ายใช้เวลานานกว่า 10 ปีในการถ่ายทำ

ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องรายได้ของภาพยนตร์ทั้ง 8 ภาคทำรายได้รวมมากกว่า 7,706 ล้านดอลลาร์สหรัฐและภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล[115] โดยภาคที่ทำรายได้ไปมากที่สุดคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ซึ่งทำรายได้ไปกว่า 1,341 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[116]

ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์แต่ละภาคได้รับคำวิจารณ์จากแฟนหนังสือมากมาย ในภาคแรกและภาคที่สองซึ่งกำกับโดยคริส โคลัมบัส ตัวภาพยนตร์เองได้รับการดัดแปลงเล็กน้อยแต่ก็ยังคงเนื้อเรื่องในหนังสือไว้ แต่เนื้อหาของภาพยนตร์ก็เป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสำหรับเด็ก จึงทำให้เด็กชมภาพยนตร์ภาคแรกและภาคสองมากกว่าผู้ใหญ่ ในภาคที่สามกำกับโดยอัลฟอนโซ กวารอน ที่ได้ปรับเปลี่ยนตัวปราสาทฮอกวอตส์และใช้บรรยากาศแบบมืดครึ้ม แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องมากกว่าเดิมทำให้ฉากแอ็กชันที่มีในหนังสือลดลงไป ส่วนในภาคที่สี่กำกับโดยไมค์ นิวเวลล์ เน้นหนักในเรื่องฉากแอ็กชันและฉากต่อสู้ที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แต่การทำฉากแอ็กชันมากเกินไป จึงทำให้เนื้อหาและบทบาทตัวละครในเรื่องลดลงตามไปด้วย และในภาคที่ห้าที่กำกับโดยเดวิด เยตส์ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องและตัดเนื้อเรื่องบางตอนออกไป เนื่องจากเนื้อหาในหนังสือที่มากกว่าเล่มอื่น ๆ ฉากแอ็กชันจึงลดลงทำให้ภาพยนตร์ออกมาในแนวดรามา แต่ทางทีมงานก็ได้ใช้เทคนิคพิเศษมากกว่าภาคก่อน ๆ ทำให้ภาพยนตร์ภาคที่ห้านี้ทำรายได้ไปถึง 939 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[117] ส่วนในภาคที่หกเดวิด เยตส์ทำหน้าที่กำกับภาพยนตร์เช่นเคยโดยจะเน้นบทดรามามากกว่าฉากแอ็กชันซึ่งมีอยู่น้อยมากและจะเน้นในเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละครต่าง ๆ แทน[118] ซึ่งก็ได้รับคำวิจารณ์ที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ภาคที่หกนี้ก็ได้สร้างสถิติใหม่นั่นก็คือ ภาพยนตร์ทำเงินทั่วโลกสูงสุดในสัปดาห์แรก โดยทำเงินไปทั้งสิ้น 394 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[119]ทำลายสถิติของไอ้แมงมุม 3ที่เปิดตัวด้วยรายรับทั่วโลก 381 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำรายได้รวมไป 934 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายหลังภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1เข้าฉายและทำรายได้รวม 955 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [120] โดยเนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับการเดินทางตามหาฮอร์ครักซ์ของพวกแฮร์รี่และจบลงที่การตายของด๊อบบี้ ทำให้โทนหนังของภาคนี้จะเป็นแนวโร้ดมูฟวี่หรือภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการเดินเสียเป็นส่วนใหญ่

และเมื่อภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เข้าฉายก็ได้สร้างสถิติต่าง ๆ มากมาย อาทิ ภาพยนตร์ที่เปิดตัววันแรกสูงสุดตลอดการ ทำรายได้วันแรกสูงถึง 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำลายสถิติเดิมของแวมไพร์ ทไวไลท์ 2 นิวมูน[121] ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สุดสัปดาห์ที่สูงสุดทำลายสถิติของแบทแมน อัศวินรัตติกาล โดยทำรายได้สัปดาห์แรกที่ 169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[122]ซึ่งต่อมาถูกทำลายสถิติโดยดิ อเวนเจอร์สและไอรอนแมน 3 ทำลายสถิติภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดทั่วโลกสัปดาห์แรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคหก โดยทำเงินรวมทั่วโลกในสัปดาห์แรกสูงถึง 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[123] และทำรายได้ปิดที่ 1,341 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ณ ตอนนั้นสามารถรั้งอยู่ในอันดับที่ 3 ของภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลเป็นรองเพียงแค่ภาพยนตร์เรื่องอวตารและไททานิกเท่านั้น นอกจากนั้นยังได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกอย่างล้นหลาม โดยเว็บไซต์ Rotten Tomatoes ให้คะแนนสูงถึง 96%[124]สูงที่สุดในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ จึงถือว่าภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดนี้ประสบควมสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์ก็ว่าได้

วิดีโอเกม

แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ถูกดัดแปลงในรูปแบบของวิดีโอเกมหลังจากที่ภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ เข้าฉายได้ไม่นานนัก ผลิตและพัฒนาโดยบริษัทเกมอิเลคโทรนิค อาร์ตที่ผลิตออกมาเป็นเกมรูปแบบผจญภัย ในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับวิดีโอเกมที่สามารถเล่นได้กับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 และต่อมาได้พัฒนาจนสามารถเล่นได้ทั้งเครื่องเอกซ์บอกซ์ 360, วี เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการผลิตเกมที่ดำเนินตามเนื้องเรื่องในภาพยนตร์ออกมาแล้วจำนวนหกเกม นอกจากนี้ยังมีเกมควิดดิชเวิลด์คัพซึ่งไม่ได้ดำเนินตามเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ แต่จะเป็นรูปแบบเกมกีฬาแทน ผลิตโดยบริษัทอิเลคโทรนิค อาร์ตเช่นกัน โดยเกมควิดดิชเวิลด์คัพนี้สามารถเล่นได้กับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 และเอกซ์บอกซ์

เกมชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการสร้างภาคต่อขึ้นและมีการพัฒนารูปแบบของเกมไปเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ภาค เช่น การทำภาพสมจริง และเสียงประกอบ เป็นต้น นอกจากนั้นตัวละครในเกมบางส่วนยังได้รับเสียงพากย์จากนักแสดงตัวจริงที่แสดงในภาพยนตร์อีกด้วย

ละครเพลง

แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการวางแผนให้ได้รับการดัดแปลงในรูปแบบละครเพลงซึ่งจะนำเนื้อหาจากหนังสือนิยายต้นฉบับมาดัดแปลง โดยจะใช้การร้องเพลงเป็นตัวดำเนินเรื่องและในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เจ.เค.โรว์ลิ่งได้ประกาศว่าเธอกำลังทำงานในฐานะผู้อำนวยการสร้างของแฮร์รี่ พอตเตอร์ในรูปแบบละครเวที โดยเธอระบุว่าเนื้อหาของละครเวทีเรื่องนี้จะเป็นเรื่องราวซึ่งยังไม่เคยถูกเล่า เกิดในช่วงก่อนที่แฮร์รี่จะกำพร้าพ่อแม่และถูกพวกเดอร์สลีย์รับมาเลี้ยง [125][126]

อิทธิพลและผลสืบเนื่อง

วงดนตรี

แฮร์รี่ พอตเตอร์มีอิทธิพลต่อสื่อทางด้านวงดนตรีร็อกของกลุ่มวัยรุ่นชายเป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีผลสำรวจว่ามีวงดนตรีร็อกของกลุ่มวัยรุ่นที่ได้รับแรงบันดาลใจหรืออิทธิพลจากแฮร์รี่ พอตเตอร์มากมายหลายร้อยวงด้วยกัน [127] วงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือวง "แฮร์รีแอนด์เดอะพอตเตอร์ส" ซึ่งเป็นวงดนตรีอินดี้ร็อกที่นำเสนอเพลงแบบเรียบง่าย พวกเขาได้นำเนื้อหาบางส่วนในหนังสือมาแต่งเป็นบทเพลงของตน

สวนสนุก

ไฟล์:ХогвартсПаркГП.jpg
ปราสาทฮอกวอตส์ในสวนสนุก

หลังจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วางแผงได้ไม่นานนัก ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนและทำแบบแปลนการสร้างสวนสนุกที่ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา โดยจำลองสถานที่ต่างๆ ในวรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เกี่ยวกับสถานที่ในโลกเวทมนตร์เช่น ฮอกวอตส์และหมู่บ้านฮอกส์มี้ด เป็นต้น สวนสนุกแห่งนี้วางแผนการสร้างโดย จิม ฮิล มีแบบจำลองปราสาทฮอกวอตส์ รวมไปถึงหมู่บ้านฮอกส์มีดส์อีกด้วย ผู้สร้างสวนสนุกยังได้เชิญ เจ. เค. โรว์ลิง ให้มาร่วมทำการเนรมิตสวนสนุกแห่งนี้ เพื่อทำให้เหมือนกับสถานที่ในหนังสือของเธอให้มากที่สุด ซึ่งโรว์ลิงก็ตอบตกลง สวนสนุกตั้งอยู่ในไอส์แลนด์ส ออฟ แอดเวนเจอร์ซึ่งเป็นเกาะรวมเครื่องเล่นแนวผจญภัยของยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต โดยได้ใช้ชื่อว่าอย่างเป็นทางการว่าโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์และเปิดให้เข้าชมในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553[128] โดยมีทั้งนักแสดงจากภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ (แฮร์รี่ พอตเตอร์), ไมเคิล แกมบอน (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์), รูเพิร์ท กรินท์ (รอน วีสลีย์) แมทธิว ลิวอิส (เนวิลล์ ลองบัตท่อม) และทอม เฟลตัน (เดรโก มัลฟอย) รวมถึง เจ.เค. โรว์ลิ่ง และผู้ประพันธ์เพลงให้กับภาพยนตร์ 3 ภาคแรกอย่าง จอห์น วิลเลียมส์ มาร่วมงานครั้งนี้ด้วย

และด้วยความสำเร็จของสวนสนุกที่สามารถเพิ่มยอดผู้เข้าชมได้มากกว่า 36เปอร์เซ็นต์ ทางผู้สร้างจึงได้ริเริ่มโครงการที่สอง เป็นการสร้างส่วนขยายของสวนสนุกโดยการได้ทำการสร้างขึ้นในสวนสนุกยูนิเวอร์แซล ฟลอริดา ในส่วนของโครงการที่สองได้มีการสร้างสถานที่ในโลกเวทมนตร์อย่างตรอกไดแอกอน ประกอบด้วยร้านค้าต่างๆ รวมถึงธนาคารกริงก็อตส์[129] ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของเครื่องเล่นว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์กับการหลบหนีจากกริงก็อตส์ และยังรวมไปถึงสถานนีรถไฟของรถด่วนขบวนพิเศษฮอกวอตส์ซึ่งสร้างเชื่อมกับไอส์แลนด์ส ออฟ แอดเวนเจอร์ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถเดินทางไปได้อย่างสะดวก[130][131] โดยในส่วนของสถานีรถไฟได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 และตามด้วยการเปิดตัวของตรอกไดแอกอนในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556[132]

สวนสนุกโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้มีการขยายสาขาไปเปิดยังต่างประเทศ ที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556[133] นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างสวนสนุกที่ยูนิเวอร์แซล ฮอลลีวูด ใกล้กับเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่ง ณ ขณะนี้อยู่ภายใต้การก่อสร้างและมีกำหนดเปิดตัวในปีพ.ศ. 2559 [134]

มักเกิ้ลควิดดิช

ควิดดิช ถือเป็นกีฬายอดฮิตในโลกเวทมนตร์ ที่บรรดาพ่อมดแม่มดจะขึ้นไปขี่บนไม้กวาดและเล่นกับลูกบอลสี่ลูกด้วยกัน แต่มนุษย์ทั่วไปหรือที่โลกพ่อมดเรียกกันว่ามักเกิ้ลก็พยายามเล่นกีฬาประเภทนี้ในวิธีอื่น ๆ โดยใช้จักรยานหรือจักรยานยนต์แทนไม้กวาด นักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งพยายามเลียนแบบการเล่นกีฬานี้ในแบบฉบับของมักเกิ้ล มีการทดลองเล่นกีฬาควิดดิชในแบบฉบับของมักเกิ้ลเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2548[135] ที่เลียนแบบควิดดิชจากโลกเวทมนตร์ โดยใช้ห่วงติดกับท่อ ใช้ลูกบอลขนาดต่าง ๆ เช่น ลูกวอลเลย์บอล ลูกบาสเกตบอล แทนลูกควัฟเฟิล ใช้ไม้เทนนิสแทนบีตเตอร์ และใช้คนแทนลูกสนิช

อ้างอิง

  1. Allsobrook, Dr. Marian (18 June 2003). "Potter's place in the literary canon". BBC. สืบค้นเมื่อ 15 October 2007.
  2. 'Harry Potter' tale is fastest-selling book in history
  3. Fry, Stephen (10 December 2005). "Living with Harry Potter". BBC Radio 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2009. สืบค้นเมื่อ 10 December 2005.
  4. Jenson, Jeff (2000). "Harry Up!". ew.com. สืบค้นเมื่อ 20 September 2007.
  5. NancypCarpentier Brown (2007). "The Last Chapter" (PDF). Our Sunday Visitor. สืบค้นเมื่อ 28 April 2009.
  6. J. K. Rowling. "J. K. Rowling at the Edinburgh Book Festival". สืบค้นเมื่อ 10 October 2006.
  7. 7.0 7.1 Geordie Greig (11 January 2006). "'There would be so much to tell her...'". Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 4 April 2007.
  8. Thompson, Susan (2 April 2008). "Business big shot: Harry Potter author JK Rowling". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 14 July 2009.
  9. Ed, Pottermore. "Pottermore Insider: You ask, we answer". Pottermore. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  10. The Years in Which the Stories Take Place The Harry Potter Lexicon เรียกข้อมูลวันที่ 24-05-2550 (อังกฤษ)
  11. Lemmerman, Kristin (14 July 2000). "Review: Gladly drinking from Rowling's 'Goblet of Fire'". CNN. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  12. 12.0 12.1 "A Muggle's guide to Harry Potter". BBC. 28 May 2004. สืบค้นเมื่อ 22 August 2008.
  13. Hajela, Deepti (14 July 2005). "Plot summaries for the first five Potter books". SouthFlorida.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2010. สืบค้นเมื่อ 29 September 2008.
  14. Foster, Julie (October 2001). "Potter books: Wicked witchcraft?". Koinonia House. สืบค้นเมื่อ 15 May 2010.
  15. Farndale, Nigel (15 July 2007). "Harry Potter and the parallel universe". Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 Memmott, Carol (19 July 2007). "The Harry Potter stories so far: A quick CliffsNotes review". USA Today. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  17. "J K Rowling at the Edinburgh Book Festival". J.K. Rowling.com. 15 August 2004. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
  18. Maguire, Gregory (5 September 1999). "Harry Potter and the Prisoner of Azkaban". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  19. King, Stephen (23 July 2000). "Harry Potter and the Goblet of Fire". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  20. 20.0 20.1 20.2 Leonard, John (13 July 2003). "'Harry Potter and the Order of the Phoenix'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  21. A Whited, Lana (2004). The Ivory Tower and Harry Potter: Perspectives on a Literary Phenomenon. University of Missouri Press. p. 371. ISBN 9780826215499.
  22. Kakutani, Michiko (16 July 2005). "Harry Potter Works His Magic Again in a Far Darker Tale". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  23. Atkinson, Simon (19 July 2007). "How Rowling conjured up millions". BBC. สืบค้นเมื่อ 7 September 2008.
  24. "Comic Relief : Quidditch through the ages". Albris. สืบค้นเมื่อ 7 September 2008.
  25. "The Money". Comic Relief. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2010. สืบค้นเมื่อ 25 October 2007.
  26. "JK Rowling book fetches £2 m". BBC. 13 December 2007. สืบค้นเมื่อ 13 December 2007.
  27. "Amazon purchase book". Amazon.com Inc. สืบค้นเมื่อ 14 December 2007.
  28. Williams, Rachel (29 May 2008). "Rowling pens Potter prequel for charities". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010. Retrieved on 31 May 2008.
  29. "J.K. Rowling Has Mysterious New Potter Website". NPR.org. June 16, 2011. สืบค้นเมื่อ June 16, 2011.
  30. 30.0 30.1 "Harry Potter makes boarding fashionable". BBC. 13 December 1999. สืบค้นเมื่อ 1 September 2008.
  31. King, Stephen (23 July 2000). "Wild About Harry". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 August 2010.
  32. 32.0 32.1 Grossman, Lev (28 June 2007). "Harry Potter's Last Adventure". Time Inc. สืบค้นเมื่อ 1 September 2008.
  33. "Two characters to die in last 'Harry Potter' book: J.K. Rowling". CBC. 26 June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2010. สืบค้นเมื่อ 1 September 2008.
  34. "Press views: The Deathly Hallows". Bloomsbury Publishing. 21 July 2007. สืบค้นเมื่อ 22 August 2008.
  35. Understanding Harry Potter: Parallels to the Deaf World
  36. "JK Rowling outs Dumbledore as gay". BBC News. BBC. 21 October 2007. สืบค้นเมื่อ 21 October 2007.
  37. "About the Books: transcript of J.K. Rowling's live interview on Scholastic.com". Quick-Quote-Quill. 16 February 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2010. สืบค้นเมื่อ 28 July 2008.
  38. Max, Wyman (26 October 2000). ""You can lead a fool to a book but you cannot make them think": Author has frank words for the religious right". The Vancouver Sun (British Columbia). สืบค้นเมื่อ 28 July 2008.
  39. Rowling, JK (2006). "Biography". JKRowling.com. สืบค้นเมื่อ 21 May 2006.
  40. "Final Harry Potter book set for release". Euskal Telebista. 15 July 2007. สืบค้นเมื่อ 21 August 2008.
  41. Lawless, John (2005). "Nigel Newton". The McGraw-Hill Companies Inc. สืบค้นเมื่อ 9 September 2006.
  42. 42.0 42.1 A Whited, Lana (2004). The Ivory Tower and Harry Potter: Perspectives on a Literary Phenomenon. University of Missouri Press. p. 351. ISBN 9780826215499.
  43. Huler, Scott. "The magic years". The News & Observer Publishing Company. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  44. Savill, Richard (21 June 2001). "Harry Potter and the mystery of J K's lost initial". London: Telegraph.com. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
  45. "The Potter phenomenon". BBC. 18 February 2003. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
  46. Rozhon, Tracie (21 April 2007). "A Brief Walk Through Time at Scholastic". The New York Times. p. C3. สืบค้นเมื่อ 21 April 2007.
  47. "A Potter timeline for muggles". Toronto Star. 14 July 2007. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
  48. "Speed-reading after lights out". London: Guardian News and Media Limited. 19 July 2000. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
  49. Harmon, Amy (14 July 2003). "Harry Potter and the Internet Pirates". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 21 August 2008.
  50. Cassy, John (16 January 2003). "Harry Potter and the hottest day of summer". London: Guardian News and Media Limited. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
  51. "July date for Harry Potter book". BBC. 21 December 2004. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
  52. "Harry Potter finale sales hit 11 m". BBC News. 23 July 2007. สืบค้นเมื่อ 21 August 2008.
  53. "Rowling unveils last Potter date". BBC. 1 February 2007. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
  54. "Harry Potter finale sales hit 11 m". BBC. 23 July 2007. สืบค้นเมื่อ 20 August 2008.
  55. Reynolds, Nigel. Harry Potter and the Latin master's tome take on Virgil, Telegraph.co.uk 02-12-2001 เรียกข้อมูลวันที่ 11-05-2550 (อังกฤษ)
  56. Castle, Tim. Harry Potter? It's All Greek to Me เรียกข้อมูลวันที่ 11-05-2550 (อังกฤษ)
  57. KMaul (2005). "Guinness World Records: L. Ron Hubbard Is the Most Translated Author". The Book Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2010. สืบค้นเมื่อ 19 July 2007.
  58. Cheung, Grace. The magic words, ThaiDay 01-12-2548 เรียกข้อมูลวันที่ 11-05-2550 (อังกฤษ)
  59. Güler, Emrah (2005). "Not lost in translation: Harry Potter in Turkish". The Turkish Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2010. สืบค้นเมื่อ 9 May 2007.
  60. Staff Writer (1 July 2003). "OOTP is best seller in France — in English!". BBC. สืบค้นเมื่อ 28 July 2008.
  61. "Differences in the UK and US Versions of Four Harry Potter Books". FAST US-1. 21 January 2008. สืบค้นเมื่อ 17 August 2008.
  62. Freeman, Simon (2005-07-18). "Harry Potter casts spell at checkouts". Times Online. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
  63. "Potter book smashes sales records". BBC. 2005-07-18. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
  64. "'Harry Potter' tale is fastest-selling book in history". The New York Times. 23 July 2007. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  65. "Harry Potter at Bloomsbury Publishing — Adult and Children Covers". Bloomsbury Publishing. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  66. McCaffrey, Meg (2003-05-01). "'Muggle' Redux in the Oxford English Dictionary". School Library Journal. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.
  67. "Book corner: Secrets of Podcasting". Apple Inc. 8 September 2005. สืบค้นเมื่อ 31 January 2007.
  68. "Mugglenet.com Taps Limelight's Magic for Podcast Delivery of Harry Potter Content". PR Newswire. 8 November 2005. สืบค้นเมื่อ 31 January 2007.
  69. "Book honour for Harry Potter author". BBC. 21 September 2001. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  70. "JK Rowling: From rags to riches". BBC. 20 September 2008. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  71. "Book 'Oscar' for Potter author". BBC. 30 May 2001. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  72. "Harry Potter casts a spell on the world". CNN. 18 July 1999. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  73. "Harry Potter: Meet J.K. Rowling". Scholastic Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2010. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
  74. "Moviegoers get wound up over 'Watchmen'". MSNBC. 22 July 2008. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  75. "Harry Potter beaten to top award". BBC. 7 July 2000. สืบค้นเมื่อ 28 September 2008.
  76. Levine, Arthur (2001–2005). "Awards". Arthur A. Levine Books. สืบค้นเมื่อ 21 May 2006.
  77. Watson, Julie (2004-02-26). "J. K. Rowling And The Billion-Dollar Empire". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2007-12-03.
  78. "J.K. Rowling publishes Harry Potter spin-off". Telegraph.com. 2007-11-01. สืบค้นเมื่อ 2008-09-28.
  79. "All Time Worldwide Box Office Grosses". Box Office Mojo, LLC. 1998–2008. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
  80. (JK) -Rowling_CRTT.html "The World's Billionaires:#891 Joanne (JK) Rowling". Forbes. 2007-03-08. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  81. "J. K. Rowling Richer than the Queen". BBC. 2003-04-27. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
  82. "Harry Potter Brand Wizard". Business Week. 2005-07-21. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  83. "Rowling joins Forbes billionaires". BBC. สืบค้นเมื่อ 2008-09-09.
  84. Smith, Dinitia (24 June, 2000). "The Times Plans a Children's Best-Seller List". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-09-30. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  85. 85.0 85.1 85.2 Fierman, Daniel (2005-08-31). "Wild About Harry". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ 2007-03-04. When I buy the books for my grandchildren, I have them all gift wrapped but one...that's for me. And I have not been 12 for over 50 years. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  86. "New Harry Potter breaks pre-order record". RTÉ.ie Entertainment. 2007-04-13. สืบค้นเมื่อ 2007-04-23.
  87. "Harry Potter hits midnight frenzy". CNN. 2005-07-15. สืบค้นเมื่อ 2007-01-15.
  88. "Worksheet: Half-Blood Prince sets UK record". BBC. 2005-07-20. สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.
  89. 89.0 89.1 89.2 89.3 Eccleshare, Julia (2002). A Guide to the Harry Potter Novels. Continuum International Publishing Group. p. 10. ISBN 9780826453174.
  90. Bloom, Harold (2003-09-24). "Dumbing down American readers". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 2006-06-20. {{cite web}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  91. Byatt, A. S. (2003-07-07). "Harry Potter and the Childish Adult". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-01. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  92. Holden, Anthony (2000-06-25). "Why Harry Potter does not cast a spell over me". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2008-08-01. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  93. Allison, Rebecca (2003-07-11). "Rowling books 'for people with stunted imaginations'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-01. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  94. Wilson, A. N. (2007-07-29). "Harry Potter and the Deathly Hallows by JK Rowling". Times Online. สืบค้นเมื่อ 2008-09-28.
  95. Taylor, Charles (2003-07-08). "A. S. Byatt and the goblet of bile". Salon.com. สืบค้นเมื่อ 2008-08-03.
  96. "Wild About Harry". The New York Times. 2000-07-23.
  97. Fox, Killian (2006-12-31). "JK Rowling:The mistress of all she surveys". Guardian Unlimited. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-02-10.
  98. "Person of the Year 2007 Runners-Up: J. K. Rowling". Time magazine. 2007-12-23. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-12-23.
  99. Charles, Ron (2007-07-15). "Harry Potter and the Death of Reading". The Washington Post. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-04-16.
  100. Sawyer, Jenny (2007-07-25). "Missing from 'Harry Potter" – a real moral struggle". The Christian Science Monitor. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-04-16.
  101. Suellentrop, Chris (2002-11-08). "Harry Potter: Fraud". Slate Magazine. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-04-16.
  102. Hitchens, Christopher (2007-08-12). "The Boy Who Lived". The New York Times. 2. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-04-01.
  103. "SScholastic Inc, J.K. Rowling and Time Warner Entertainment Company, L.P, Plaintiffs/Counterclaim Defendants, -against- Nancy Stouffer: United States District Court for the Southern District of New York". ICQ. 2002-09-17. สืบค้นเมื่อ 2007-06-12.
  104. McCarthy, Kieren (2000). "Warner Brothers bullying ruins Field family Xmas". The Register. สืบค้นเมื่อ 2007-05-03.
  105. "Fake Harry Potter novel hits China". BBC. 2002-07-04. สืบค้นเมื่อ 2007-03-11.
  106. Olsen, Ted. "Opinion Roundup: Positive About Potter". Cesnur.org. สืบค้นเมื่อ 2007-07-06.
  107. Bonta, Steve (2002-01-28). "Tolkien's Timeless Tale". The New American. 18 (2). {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  108. Liddle, Rod (2007-07-21). "Hogwarts is a winner because boys will be sexist neocon boys". The Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-17. {{cite web}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  109. "WiGBPd About Harry". Australian Financial Review. 19 กรกฎาคม 2543. สืบค้นเมื่อ 12-05-2550. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  110. "Harry Potter and the Philosopher's Stone". Guardian Unlimited. 16 พฤศจิกายน 2544. สืบค้นเมื่อ 12-05-2550. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  111. "David Yates to Direct Harry Potter and the Order of the Phoenix for Warner Bros. Pictures". Time Warner. 19 มกราคม 2548. สืบค้นเมื่อ 12-05-2550. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  112. "Mzimba, Lizo, moderator. Interview with Steve Kloves and J.K. Rowling". Quick Quotes Quill. กุมภาพันธ์ 2546. สืบค้นเมื่อ 12-05-2550. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  113. "Press Release: Radcliffe, Grint, and Watson Selected". Warner Brothers. 21 สิงหาคม 2543. สืบค้นเมื่อ 12-05-2550. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  114. ประกาศอย่างเป็นทางการในการแบ่งภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูตเป็นสองตอน (อังกฤษ)
  115. "All Time Worldwide Box Office Grosses". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
  116. Harry Potter and the Deathly Hallows Part 2
  117. "Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 2009-02-05.
  118. โปรดิวเซอร์ เผย Harry Potter 6 ไม่เหมือนภาคอื่น
  119. All Time Worldwide Opening
  120. [1]
  121. [2]
  122. [3]
  123. [4]
  124. [5]
  125. "J.K. Rowling to Work on Harry Potter Stage Play". 20 December 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
  126. "J.K. Rowling to produce Harry Potter stage play". USA Today. 20 December 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
  127. Wizrocklopedia band listings
  128. The Wizarding World of Harry Potter
  129. MacDonald, Brady (April 6, 2011). "Universal Studios wonders how and when to expand Wizarding World of Harry Potter". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ May 18, 2013.
  130. Thurston, Susan (23 January 2014). "Harry Potter's Diagon Alley plans Escape from Gringotts ride, new stores". Tampa Bay Times. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
  131. Bevil, Dewayne (23 January 2014). "New details about Harry Potter Diagon Alley: Lots of shops, Gringotts ride gets name". Orlando Sentinel. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
  132. Bevil, Dewayne (July 17, 2014). "Universal's Diagon Alley: Answers to your burning questions". Orlando Sentinel. สืบค้นเมื่อ 15 September 2014.
  133. Cripps, Karla (16 July 2014). "Universal Studios Japan's 'Wizarding World of Harry Potter' opens". CNN. สืบค้นเมื่อ 12 September 2014.
  134. Barnes, Brooks (8 April 2014). "A Makeover at Universal Studios Hollywood Aims at Disney". The New York Times. Universal City, California. สืบค้นเมื่อ 12 September 2014.
  135. ควิดดิชแข่งขันได้จริงแล้วในโลกของมักเกิ้ล

แหล่งข้อมูลอื่น