ข้ามไปเนื้อหา

ตำนานแห่งนาร์เนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นาร์เนีย)
ตำนานแห่งนาร์เนีย  
ปกหนังสือ ตำนานแห่งนาร์เนีย ฉบับภาษาอังกฤษทั้ง 7 เล่ม
ผู้ประพันธ์ซี. เอส. ลิวอิส
ชื่อเรื่องต้นฉบับThe Chronicles of Narnia
ผู้แปลสุมนา บุณยะรัตเวช
ประเทศสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ภาษาอังกฤษ
ชุดตำนานแห่งนาร์เนีย
ประเภทนวนิยายแฟนตาซี
วรรณกรรมเยาวชน
สำนักพิมพ์สหราชอาณาจักร สำนักพิมพ์ HarperTrophy
ไทย สำนักพิมพ์ผีเสื้อ
วันที่พิมพ์สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2493
ไทย พ.ศ. 2545

ตำนานแห่งนาร์เนีย (อังกฤษ: The Chronicles of Narnia) เป็นชุดนิยายแฟนตาซีจำนวน 7 เล่ม เขียนโดย ซี.เอส. ลิวอิส ระหว่าง พ.ศ. 2492–2497 ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมเยาวชนคลาสสิกเรื่องหนึ่ง และเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของผู้เขียน ปัจจุบันถูกจำหน่ายไปมากกว่า 100 ล้านเล่มใน 41 ภาษา[ต้องการอ้างอิง] ได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์, ละครวิทยุ, ภาพยนตร์ และละครเวทีหลายครั้ง

ตำนานแห่งนาร์เนีย เป็นเรื่องของเด็กที่เข้าไปผจญภัยในดินแดนแห่งนาร์เนีย และเรื่องของเด็กที่อยู่ในดินแดนใกล้เคียงกับดินแดนแห่งนาร์เนีย ซึ่งสัตว์สามารถพูดภาษามนุษย์ เต็มไปด้วยเวทมนตร์และสัตว์ประหลาดในเทพนิยาย ตัวเอกในหนังสือแต่ละเล่มจะแตกต่างกันไป แต่ทุกเล่มจะจับความตามช่วงเวลาในอาณาจักร์นาร์เนีย โดยมีสิงโตอัสลานเป็นตัวละครสำคัญ

ชุดนาร์เนียฉบับภาษาไทยได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง ครั้งล่าสุดจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แปลโดยสุมนา บุณยะรัตเวช

หนังสือในชุด

[แก้]

เรียงตามลำดับการจัดพิมพ์

  1. ตู้พิศวง พิมพ์ปี พ.ศ. 2493
  2. เจ้าชายแคสเปี้ยน พิมพ์ปี พ.ศ. 2494
  3. ผจญภัยโพ้นทะเล พิมพ์ปี พ.ศ. 2495
  4. เก้าอี้เงิน พิมพ์ปี พ.ศ. 2496
  5. อาชากับเด็กชาย พิมพ์ปี พ.ศ. 2497
  6. กำเนิดนาร์เนีย พิมพ์ปี พ.ศ. 2498
  7. อวสานการยุทธ์ พิมพ์ปี พ.ศ. 2499

ลำดับการอ่าน

[แก้]

การจัดพิมพ์หนังสือในชุดนาร์เนียนั้นไม่เรียงตามลำดับเวลาในท้องเรื่อง ซึ่งลำดับการอ่านนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าควรอ่านแบบไหน กลวิธีเล่าเรื่องไม่ตามลำดับเวลาอาจยากเกินกว่าความเข้าใจของเยาวชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของหนังสือชุดนี้ แต่การอ่านตามลำดับเวลาในเรื่องอาจทำให้เสียอรรถรสเนื่องจากการรู้ที่มาที่ไปของเหตุการณ์บางส่วนก่อน

ลำดับการพิมพ์ vs. ลำดับเวลาในเรื่อง
ลำดับการพิมพ์ ลำดับเวลาในเรื่อง
1. ตู้พิศวง 1. กำเนิดนาร์เนีย
2. เจ้าชายแคสเปี้ยน 2. ตู้พิศวง
3. ผจญภัยโพ้นทะเล 3. อาชากับเด็กชาย
4. เก้าอี้เงิน 4. เจ้าชายแคสเปี้ยน
5. อาชากับเด็กชาย 5. ผจญภัยโพ้นทะเล
6. กำเนิดนาร์เนีย 6. เก้าอี้เงิน
7. อวสานการยุทธ์ 7. อวสานการยุทธ์

การปรากฏตัวของตัวละครในหนังสือเล่มต่างๆ

[แก้]
ตัวละคร หนังสือ
ตู้พิศวง (1950) เจ้าชายแคสเปี้ยน (1951) ผจญภัยโพ้นทะเล (1952) เก้าอี้เงิน (1953) อาชากับเด็กชาย (1954) กำเนิดนาร์เนีย (1955) อวสานการยุทธ์ (1956)
อัสลาน ตัวละครหลัก
ปีเตอร์ พีเวนซี่ ตัวละครหลัก ตัวประกอบ
ซูซาน พีเวนซี่ ตัวละครหลัก ตัวละครรอง
เอ็ดมันด์ พีเวนซี่ ตัวละครหลัก ตัวละครรอง ตัวประกอบ
ลูซี่ พีเวนซี่ ตัวละครหลัก ตัวละครรอง ตัวประกอบ
ยูสตาซ สครับบ์ ตัวละครหลัก ตัวละครหลัก
จิลล์ โพล ตัวละครหลัก ตัวละครหลัก
ดิกอรี่ เคิร์ก ตัวละครรอง ตัวละครหลัก ตัวประกอบ
พอลลี่ พลัมเมอร์ ตัวละครหลัก ตัวประกอบ
แคสเปี้ยน ตัวละครหลัก ตัวละครรอง ตัวประกอบ
แม่มดขาว ตัวละครหลัก ตัวละครหลัก
ชาสต้า ตัวละครหลัก ตัวประกอบ

แรงบันดาลใจ

[แก้]

ลิวอิสได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตวัยเด็กของเขา ประกอบกับความเชื่อในตำนานและคริสต์ศาสนา เขายังเป็นผู้นำกลุ่มอิงคลิงส์อีกด้วย ตัวละคร ฟอน เซนทอร์ หรือคนแคระ นำมาจากเทพนิยายกรีกและนอร์ส มีผู้วิเคราะห์ว่า ลิวอิสอาจได้รับแรงบันดาลใจทางการเมืองจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์ระหว่างอังกฤษและไอร์แลนด์ด้วย (ในฉบับแปลภาษาไทย บทความท้ายเล่มที่แนะนำหนังสือชุดนี้และตัวผู้ประพันธ์ ก็กล่าวถึงความเป็นไปได้ข้อนี้) ในการสร้างตัวละครมนุษย์ฝ่ายที่มิใช่ฝ่ายดี (หรือฝ่ายพระเอกนางเอก) คือเผ่าพันธุ์ คาร์โลเมน มีผู้เห็นว่าลิวอิสได้ใช้ภาพต้นแบบที่เจือปนด้วยอคติของชาวยุโรปผิวขาวที่มีต่อชนผิวสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพลักษณ์ของชาวอาหรับ หรือตะวันออกกลาง หรือชาวมุสลิม ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้วิจารณ์ว่างานชุดนาร์เนียของลิวอิสมีลักษณะเหยียดผิวและมีอคติทางเชื้อชาติศาสนา

นาร์เนียในรูปแบบอื่นๆ

[แก้]

ตู้พิศวง ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในชื่อ อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ราชสีห์, แม่มด กับตู้พิศวง (The Chronicles of Narnia: The Lion, the Witch and the Wardrobe) โดยบริษัทวอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส เข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2548 และประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้และคำวิจารณ์ ทั้งยังมีภาคสองอีกคืออภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน เจ้าชายแคสเปี้ยน (The Chronicles of Narnia: Prince Caspian) แต่รายได้ไม่ดีเท่าภาคแรกอย่างมาก ทั้ง ๆ ที่คำวิจารณ์และผู้ชมก็ชื่นชม บริษัทจึงไม่สนใจภาพยนตร์ชุดนี้อีกต่อไป บริษัททเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ได้ตกลงทำสัญญากับบริษัท วอลเดน มีเดีย เจ้าของลิขสิทธิ์ดั้งเดิมแทนดิสนีย์ และสร้างเป็นภาพยนตร์ ชื่อว่า อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ผจญภัยโพ้นทะเล (The Chronicles of Narnia: The Voyage of The Dawn Treader)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]