ควิดดิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ควิดดิช (อังกฤษ: Quidditch) เป็นเกมกีฬาที่ได้รับความนิยมมากในโลกเวทมนตร์ มีการกล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับ ศิลาอาถรรพ์ โดยถือว่าเป็นกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างบ้านพักนักเรียนแต่ละหลัง ซึ่งบ้านที่มักได้รับแชมป์ในการแข่งขัน คือ กริฟฟินดอร์

ควิดดิช จะประกอบไปด้วยผู้เล่นแต่ละทีมจำนวน 7 คน 4 ตำแหน่ง ได้แก่ 3 เชสเซอร์ , 2 บีตเตอร์ , 1 คีปเปอร์ และ 1 ซีกเกอร์ มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น คือ ลูกบอลจำนวน 4 ลูก ได้แก่ ควัฟเฟิล (ลูกสีแดง) จะใช้ในการทำแต้ม , บลัดเจอร์ (ลูกสีดำ) จะใช้เพิ่มอุปสรรคให้กับผู้เล่น โดยจะสามารถชนกระแทกผู้เล่นให้ตกจากไม้กวาดได้ , และ โกลเด้นสนิช (ลูกสีทองมีปีก) จะใช้ในการทำคะแนนสูงสุดถึง 150 แต้ม และ เมื่อจับได้จะถือว่าสิ้นสุดเกม โดยที่ฮอกวอตส์จะมีการแข่งขันควิดดิชระหว่างบ้านเป็นประจำทุก ๆ ปี

นอกจากนี้กีฬาควิดดิชยังได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วโลก ถือว่าเป็นกีฬาสุดฮิตของประชานชนผู้วิเศษ โดยมีการจัดการแข่งขัน Quidditch World Cup โดยแต่ละครั้งจะมีนักกีฬาจากหลากหลายประเทศเข้าร่วมแข่งขัน ( ปรากฏในหนังสือเล่ม 4 ) และ นักกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้คือ วิกเตอร์ ครัม นักกีฬาทีมชาติบัลแกเรีย

กติกาการเล่น และ การทำคะแนน[แก้]

ในกีฬาควิดดิชนั้น การทำคะแนนถือเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยผู้เล่นในตำแหน่ง เชสเซอร์ จะมีหน้าที่เลี้ยงลูกบอล ควัฟเฟิล ที่มีค่า 10 คะแนน เมื่อสามารถโยนเข้าห่วงใดห่วงหนึ่งของฝ่ายตรงข้ามได้สำเร็จ ซึ่งห่วงดังนั้นจะอยู่บนเสาสามเสาด้วยกัน ดังนั้นแต่ละฝ่ายจะมีห่วงถึง 3 ห่วงที่สามารถทำคะแนนได้ ทั้งนี้การปกป้องการทำประตู หรือ หน้าที่ผู้รักษาประตู จะเป็นหน้าที่ของ คีปเปอร์

ระหว่างการเล่นเกมนั้น อุปสรรคที่สามารถทำให้ผู้เล่นเกิดการบาดเจ็บได้มากที่สุดคือ ลูกบอลบลัดเจอร์ มีหน้าที่ชนกระแทกผู้เล่นให้ตกจากไม้กวาด ส่งผลให้ผู้เล่นในสนามลดลงได้หากเกิดการบาดเจ็บร้ายแรง ดังนั้นแต่ละทีมจะมีตำแหน่ง บีตเตอร์ 2 คนเพื่อช่วยป้องกันสมาชิกในทีมจากลูกบอลบลัดเจอร์ ซึ่งบีตเตอร์แต่ละคนจะมีไม้จับถนัดมือสำหรับหวดบลัดเจอร์ ทั้งนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการทำร้ายฝั่งตรงข้ามได้โดยการหวดลูกบลัดเจอร์ ไปที่สมาชิกผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ซึ่งถือว่าไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

สำหรับการทำคะแนนสูงสุดในเกมการแข่งขันสามารถทำได้โดยการจับ ลูกโกลเด้นสนิช ที่มีคะแนนถึง 150 แต้ม โดยหน้าที่นี้จะเป็นหน้าที่ของตำแหน่ง ซีกเกอร์ ซึ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ก็ได้รับตำแหน่งนี้ในทีม กริฟฟินดอร์ การแข่งขันจะสิ้นสุดเมื่อ ซีกเกอร์ จับลูกโกลเด้นสนิชได้เท่านั้น ทั้งนี้การจับลูกโกลเด้นสนิชไม่ได้การันตีว่าทีมที่จับได้จะชนะเสมอไป

ระเบียบข้อบังคับ[แก้]

ระเบียบข้อบังคับเหล่านี้ ถูกกำหนดไว้โดยกองควบคุมดูแลเกม และ กีฬาเวทมนตร์ Snitch เมื่อการก่อตั้งกองขึ้นใน ค.ศ. 1750 เพื่อใช้เป็นเงื่อนไข และ กติกาในการแข่งขันกีฬาดวิดดิชสากล

- สนามการแข่งขันเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 500 ฟุต กว้างประมาณ 180 ฟุต ตรงกลางมีวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ฟุต มีเขตทำคะแนนสำหรับ เชสเซอร์ ในเขตทำคะแนนมี ห่วงข้างละ 3 ห่วง แต่ละห่วงจะมีความสูงต่ำไม่เท่ากัน

- ระดับการบินแม้จะไม่มีการกำหนดว่าระดับความสูงใด ๆ ถือว่าผิดกติกา แต่การบินนั้นต้องอยู่ในพื้นที่เขตสนาม หากฝ่ายใดออกนอกเขตสนามถือว่าผิดกติกา ต้องให้ลูกควัฟเฟิลกับฝ่ายตรงกันข้ามทันที

- การขอเวลานอกสามารถกระทำได้โดยหัวหน้าทีม หรือ กัปตัน ส่งสัญญาณขอเวลานอกให้กรรมการได้รับทราบ การขอเวลานอกอาจจะยืดได้มากถึง 2 ชั่วโมง

- ห้ามเท้าของผู้แข่งขันทุกท่านแตะพื้นสนาม เว้นแต่ช่วงขอเวลานอกเท่านั้น ทั้งนี้ผู้แข่งขันสามารถไช้ไม้กวาดยี่ห้อใด , รุ่นใด , แบบใดก็ได้เข้าร่วมการแข่งขัน

- ผู้แข่งขันสามารถแย่งลูกควัฟเฟิล จากมือของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้เลย แต่ห้ามแตะต้องส่วนอื่น ๆ ของร่ายกายที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้

- ในกรณีผู้เข้าแข่งขันบาดเจ็บจนไม่สามารถเล่นต่อได้ การแข่งขันจะดำเนินต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนตัวเป็นผู้เล่นสำรอง

- ผู้วิเศษทุกท่านสามารถนำไม้กายสิทธิ์ติดตัวเข้าไปในสนามกีฬาได้ แต่กระนั้นในช่วงที่อยู่ในสนาม ห้ามผู้วิเศษใช้ไม้กายสิทธิ์กับนักกีฬา , ไม้กวาดที่ใช้ในการแข่งขัน , กรรมการ , ลูกบอล และ คนดู

- เกมการแข่งขันควิดดิช จะยุติได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถจับลูกโกลเด้นสนิชได้ หรือ อาจเป็นไปด้วยความยินยอมพร้อมใจของกัปตันทีมทั้ง 2 ฝ่าย

ลักษณะการกระทำผิด[แก้]

Blagging - ผู้แข่งขันคว้าปลายไม้กวาดของฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้บินได้ช้า หรือขัดขวางการเล่น

Blatching - ผู้แข่งขันตั้งใจบินไปชนอีกฝ่ายหนึ่งโดยตรง

Blurting - ผู้แข่งขันใช้ไม้กวาดงัดไม้กวาดฝ่ายตรงข้าม ดันให้กระเด็นออกไปนอกทาง

Blumphing - บีตเตอร์หวดบลัดเจอร์ไปทางคนดู ทำให้ต้องหยุดการแข่งขันชั่วขณะ

Cobbing - ผู้แข่งขันใช้ข้อศอกอย่างรุนแรง กับ ฝ่ายตรงข้าม

Flacking - คีปเปอร์ยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายผ่านห่วงประตู

Havesacking - เชสเซอร์จับลูกควัฟเฟิลเข้าประตูโดยตรง

Quafflepocking - เชสเซอร์ ทำการดัดแปลงลูกควัฟเฟิล

Snitchnip - ผู้แข่งขันคนอื่นนอกจากซีกเกอร์แตะต้องลูกสนิช

Stooging - เชสเซอร์มากกว่า 1 คน เข้าไปในเขตทำคะแนน

Penalty - ผู้เล่นเข้าสกัดฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรง หรือ ทำฟาวล์ในเขตทำคะแนน ฝ่ายที่เสียเปรียบจะได้ดวล 1-1 กับคีปเปอร์ในระยะทำคะแนน

Out of Bound - ผู้เล่นบินออกนอกเหนือจากสนามแข่ง (ยกเว้นในกรณีของซีกเกอร์ที่ไล่จับโกลเด้นสนิช)

ผู้เล่น[แก้]

เชสเซอร์ (Chaser) มีหน้าที่จับลูกควัฟเฟิล แล้วขว้างใส่ในห่วงของทีมตรงข้าม 1 ทีมมี 3 คน

คีปเปอร์ (Keeper) มีหน้าที่ ป้องกันห่วงของทีมตนเองไว้ไม่ให้อีกฝ่ายทำคะแนน 1 ทีมมี 1 คน

บีตเตอร์ (Beater) มีหน้าที่ ตีลูกบลัดเจอร์ให้พ้นจากทีมตัวเอง หรือตีใส่ทีมตรงข้าม 1ทีมมี 2 คน

ซีกเกอร์ (Seeker) มีหน้าที่ จับลูกโกลเด้นสนิชให้ได้ 1 ทีมมี 1 คน.

ชนิดของบอล[แก้]

ควัฟเฟิล เป็นลูกสีแดงขนาดเท่าลูกฟุตบอล มีหลุมขนาดใหญ่เต็มไปหมด บินไม่ได้ ในสนามมีแค่ 1 ลูก (คล้ายลูกฟุตบอล)

บลัดเจอร์ เป็นลูกสีดำ ทำจากโลหะ หนักแต่บินเร็วมาก ดังนั้นถ้าโดนลูกบลัดเจอร์อัดเต็ม ๆ ละก็ มีจุก ในสนามมี 2 ลูก (มีขนาดเล็กกว่าลูกฟุตบอล)

โกลเด้นสนิช บินได้เร็ว ขนาดเล็ก จึงมองเห็นยากมาก สีทอง ในสนามมี1ลูก (มีขนาดเท่าลูกปิงปอง)

การให้คะแนน[แก้]

  1. ถ้าทีมไหนเลี้ยงลูกให้ลูกควัฟเฟิลเข้าห่วงของทีมตรงข้ามได้ จะได้คะแนนลูกละ 10 แต้ม
  2. ถ้าซีกเกอร์ทีมไหนจับลูกสนิชได้ จะได้ 150 แต้มและเกมจะยุติลงทันที

อ้างอิง[แก้]

เว็บไซต์แฟนคลับ แฮร์รี่ พอตเตอร์