ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
[[ไฟล์:Thai Highway-365.svg|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 365|365]] (ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) ใน [[อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา|อ.เมือง]] [[จังหวัดฉะเชิงเทรา|จ.ฉะเชิงเทรา]]<br/>
[[ไฟล์:Thai Highway-365.svg|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 365|365]] (ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) ใน [[อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา|อ.เมือง]] [[จังหวัดฉะเชิงเทรา|จ.ฉะเชิงเทรา]]<br/>
[[ไฟล์:Thai Highway-319.svg|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 319|319]] ใน [[อำเภอพนมสารคาม|อ.พนมสารคาม]] [[จังหวัดฉะเชิงเทรา|จ.ฉะเชิงเทรา]]<br/>
[[ไฟล์:Thai Highway-319.svg|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 319|319]] ใน [[อำเภอพนมสารคาม|อ.พนมสารคาม]] [[จังหวัดฉะเชิงเทรา|จ.ฉะเชิงเทรา]]<br/>
[[ไฟล์:Thai Highway-331.svg|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331|331]] ใน [[ต.เขาหินซ้อน]] [[อ.พนมสารคาม]] [[จ.ฉะเชิงเทรา]]<br/>
[[ไฟล์:Thai Highway-331.svg|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331|331]] ใน ต.เขาหินซ้อน [[อ.พนมสารคาม]] [[จ.ฉะเชิงเทรา]]<br/>
[[ไฟล์:Thai Highway-359.svg|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 359|359]] ใน [[อำเภอพนมสารคาม|อ.พนมสารคาม]] [[จังหวัดฉะเชิงเทรา|จ.ฉะเชิงเทรา]]<br/>
[[ไฟล์:Thai Highway-359.svg|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 359|359]] ใน ต.เขาหินซ้อน [[อ.พนมสารคาม]] [[จ.ฉะเชิงเทรา]]<br/>
[[ไฟล์:Thai HW-blank.png|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3079|3079]] ใน [[อำเภอศรีมหาโพธิ|อ.ศรีมหาโพธิ]] [[จังหวัดปราจีนบุรี|จ.ปราจีนบุรี]]<br/>
[[ไฟล์:Thai HW-blank.png|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3079|3079]] ใน [[อำเภอศรีมหาโพธิ|อ.ศรีมหาโพธิ]] [[จังหวัดปราจีนบุรี|จ.ปราจีนบุรี]]<br/>
[[ไฟล์:Thai Highway-33.svg|20px]] [[ถนนสุวรรณศร|สุวรรณศร]] ใน [[อำเภอกบินทร์บุรี|อ.กบินทร์บุรี]] [[จังหวัดปราจีนบุรี|จ.ปราจีนบุรี]]<br/>
[[ไฟล์:Thai Highway-33.svg|20px]] [[ถนนสุวรรณศร|สุวรรณศร]] ใน [[อำเภอกบินทร์บุรี|อ.กบินทร์บุรี]] [[จังหวัดปราจีนบุรี|จ.ปราจีนบุรี]]<br/>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:36, 6 เมษายน 2558

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304
ถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนรามอินทรา, ถนนสุวินทวงศ์, ถนนมหาจักรพรรดิ, ถนนศุขประยูร, ถนนฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี, ถนนกบินทร์บุรี-ปักธงชัย, ถนนสืบศิริ
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ (ฉะเชิงเทรา-นครราชสีมา)
ความยาว294.065 กิโลเมตร (182.724 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2493–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถนนติวานนท์ (ห้าแยกปากเกร็ด) ใน อ.ปากเกร็ด นนทบุรี
  เลี่ยงเมืองปากเกร็ด ใน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

เมืองทองธานี ใน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
ทางพิเศษศรีรัช ใน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
ประชาชื่น ใน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ในเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
กำแพงเพชร 6 ในเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
วิภาวดีรังสิต ในเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
พหลโยธิน ในเขตบางเขน กรุงเทพฯ
ลาดปลาเค้า ในเขตบางเขน กรุงเทพฯ
วัชรพล ในเขตบางเขน กรุงเทพฯ
นวมินทร์ ในเขตคันนายาว กรุงเทพฯ
กาญจนาภิเษก ในเขตคันนายาว กรุงเทพฯ
หทัยราษฎร์ ในเขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
ร่มเกล้า ในเขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
นิมิตใหม่ ในเขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
รามคำแหง ในเขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
ราษฎร์อุทิศ ในเขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
เชื่อมสัมพันธ์/ฉลองกรุง ในเขตหนองจอก กรุงเทพฯ
อยู่วิทยา/ร่วมพัฒนา ในเขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ทหารอากาศอุทิศ ในเขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ศรีโสธร ใน อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
365 (ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) ใน อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
319 ใน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
331 ใน ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
359 ใน ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
3079 ใน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
สุวรรณศร ใน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
3290 ใน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
24 ใน อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

290 (ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา)ใน อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ปลายทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนมิตรภาพ (สะพานต่างระดับนครราชสีมา) ใน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายปากเกร็ด - สะพานต่างระดับนครราชสีมา เป็นถนนที่เชื่อมการจรระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดในภาคตะวันออกและภาคอีสาน จุดเริ่มต้นอยู่ที่แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 ถนนติวานนท์ (ห้าแยกปากเกร็ด) ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และปลายทางอยู่ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยผ่านหลายจังหวัด เป็นทางหลวงแผ่นดินสายจังหวัดที่ยาวที่สุด โดยมีระยะทาง 335 กม. และแบ่งออกเป็น 7 ช่วงคือ

  1. ถนนแจ้งวัฒนะ
  2. ถนนรามอินทรา
  3. ถนนสุวินทวงศ์
  4. ถนนมหาจักรพรรดิ
  5. ถนนศุขประยูร
  6. ถนนฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี
  7. ถนนกบินทร์บุรี-ปักธงชัย
  8. ถนนสืบศิริ

ถนนแจ้งวัฒนะ

ถนนรามอินทรา

ถนนรามอินทรา (อังกฤษ: Thanon Rarm Intra) เริ่มจากอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ณ วงเวียนหลักสี่ ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ตัดออกไปทางตะวันออก เฉียงไปทางใต้เล็กน้อย ผ่านถนนลาดปลาเค้า ถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่เขตบึงกุ่ม (ตอนเหนือ) เขตคันนายาว ผ่านถนนนวมินทร์ ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันออก ถนนรัชดาภิเษก-รามอินทรา ถนนสวนสยาม เข้าสู่เขตมีนบุรี สิ้นสุดที่แยกเมืองมีน

ถนนรามอินทราตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ พลตำรวจโท พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์) อธิบดีกรมตำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2488-พ.ศ. 2489

ทางแยกสำคัญ

สถานที่สำคัญ

ถนนสุวินทวงศ์

ถนนสุวินทวงศ์ (อังกฤษ: Thanon Suwinthawong) เริ่มต้นจากปลายถนนรามอินทราที่สี่แยกเมืองมีน เขตมีนบุรี เลี้ยวซ้ายขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านถนนหทัยราษฎร์ ถนนสามวา คลองสามวา ถนนร่มเกล้า และถนนนิมิตใหม่ แล้ววกลงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ เข้าแขวงแสนแสบ ตัดกับถนนรามคำแหง ถนนราษฎร์อุทิศ ถนนบึงขวาง และถนนคุ้มเกล้า เข้าสู่แขวงโคกแฝดและแขวงลำผักชี เขตหนองจอก ผ่านถนนเชื่อมสัมพันธ์ ถนนฉลองกรุง ถนนอยู่วิทยา และถนนร่วมพัฒนา เข้าสู่แขวงลำต้อยติ่งและแขวงกระทุ่มราย ผ่านถนนทหารอากาศอุทิศ สถานีตำรวจนครบาลสุวินทวงศ์ แล้วออกนอกเขตกรุงเทพมหานคร เข้าสู่ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านตลาดสดสุวินทวงศ์ เข้าสู่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา สิ้นสุดที่สะพานข้ามทางรถไฟฉะเชิงเทรา

ถนนสุวินทวงศ์เดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายมีนบุรี-ฉะเชิงเทรา-ปราจีนบุรี"[1] ได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493[1] ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่นายเกษม สุวินทวงศ์ ผู้ดำรงตำแหน่งนายช่างกำกับการเขตการทางปราจีนบุรีในขณะเริ่มก่อสร้างถนนสายนี้[1]

ทางแยกสำคัญ

เขตกรุงเทพมหานคร

เขตจังหวัดฉะเชิงเทรา

สถานที่สำคัญ

ถนนมหาจักรพรรดิ

ถนนมหาจักรพรรดิ (อังกฤษ: Thanon Maha Chakkraphat) สันนิษฐานว่าตั้งชื่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อครั้งที่ทรงปรับปรุงหัวเมืองต่าง ๆ หลังจากที่เสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ในสงครามช้างเผือก

เริ่มต้นที่ทางแยกต่างระดับโสธราเวช ตัดไปทางตะวันออก ผ่านสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา ถนนศรีโสธร (ทางเข้าวัดโสธรวราราม) ข้ามแม่น้ำบางปะกงที่สะพานฉะเชิงเทรา

ถนนศุขประยูร

ถนนศุขประยูร (อังกฤษ: Thanon Suk Prayun) เริ่มจากสะพานฉะเชิงเทรา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านวัดสุวรรณาราม สิ้นสุดที่ทางแยกคอมเพล็กซ์ ใกล้ที่ตั้งกองพลทหารราบที่ 11 ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมถนนศุขประยูรเป็นชื่อที่กำหนดให้กับทางหลวงสายฉะเชิงเทรา - พนัสนิคม - ชลบุรี ต่อมาเมื่อมีการตั้งชื่อทางหลวงโดยใช้ระบบหมายเลข กรมทางหลวงจึงได้รวมถนนศุขประยูรช่วงสะพานฉะเชิงเทราถึงทางแยกคอมเพล็กซ์เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 และกำหนดให้ถนนศุขประยูรช่วงที่เหลือเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315

ถนนฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี

เริ่มต้นที่ปลายถนนศุขประยูรที่ทางแยกคอมเพล็กซ์ เลี้ยวซ้ายไปทางตะวันออก ผ่านพื้นที่อำเภอบางคล้าและอำเภอพนมสารคาม ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 ที่ทางแยกต่างระดับชำขวาง ใกล้กับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 359 (สายสระแก้ว-เขาหินซ้อน) ในตำบลเขาหินซ้อน แล้วตัดตรงขึ้นเหนือเข้าสู่พื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ผ่านนิคมอุตสาหกรรม 304 1 และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคกบินทร์ เข้าสู่พื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี ตัดกับถนนสุวรรณศร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33) ที่ทางแยกกบินทร์บุรี (สามทหาร) โดยช่วงนี้จะเรียกโดยทั่วไปว่า ถนนฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี

ทางแยกสำคัญ

  • ทางแยกคอมเพล็กซ์
  • ทางแยก (เข้า) บางคล้า
  • ทางแยกหนองปลาตะเพียน
  • ทางแยกพนมสารคาม
  • ทางแยกหนองเค็ด
  • ทางแยกต่างระดับชำขวาง
  • ทางแยกเขาหินซ้อน
  • ทางแยกกบินทร์บุรี

ถนนกบินทร์บุรี-ปักธงชัย

เริ่มจากถนนสุวรรณศร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33) แล้วมุ่งขึ้นเหนือ ผ่านอำเภอนาดี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทับลาน เข้าสู่อำเภอวังน้ำเขียวและอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ผ่านค่ายปักธงชัย อ่างเก็บน้ำบ้านโนนแดง กู่เกษม และศูนย์วัฒนธรรมผ้าไหมปักธงชัย ก่อนถึงตัวอำเภอปักธงชัยมีทางแยกสองทาง โดยแยกไปเป็นทางเลี่ยงเมืองปักธงชัย สิ้นสุดที่หน้าโรงพยาบาลปักธงชัย โดยช่วงนี้ชาวบ้านจะเรียกโดยทั่วไปว่า "ถนนกบินทร์บุรี-ปักธงชัย"

ถนนในช่วงนี้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2498 เป็นถนนลูกรังตลอดสาย จนกระทั่งในช่วงสงครามเวียดนาม เมื่อประเทศไทยประกาศเป็นมิตรร่วมรบกับสหรัฐอเมริกา จึงยินยอมรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอเมริกันในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 สหรัฐอเมริกาได้เดินทางมาถึงประเทศไทย และเริ่มก่อสร้างค่ายพักทหารห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมา 42 กิโลเมตร จึงมีการก่อสร้างถนนลาดยาง ระยะทาง 132.5 กิโลเมตร ความกว้าง 22 ฟุต เพื่อประโยชน์ทางด้านยุทธศาสตร์และเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออกกับภาคอีสาน ด้วยมูลค่าโครงการ 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ถนนสายนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ต่อมากรมทางหลวงได้รับมอบถนนสายนี้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2512 ขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี-นครราชสีมา โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิด

บริเวณสามแยกปักธงชัย กิโลเมตรที่ 132+500 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 กับทางแยกถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ได้มีการก่อสร้างอนุสรณ์ซึ่งก่อขึ้นด้วยปูนซีเมนต์และทาสีขาว แสดงข้อมูลในอนุสรณ์ว่า “ทางหลวงสายที่ ๓๐๔ นครราชสีมา-กบินทร์บุรี ทำการก่อสร้างโดยกองพันทหารช่างพิเศษที่ ๒๓ (ประเทศไทย) กองพันทหารช่างที่ ๕๓๘ (สหรัฐอเมริกา) และกองพันทหารช่างที่ ๘๐๙ (สหรัฐอเมริกา) โดยการควบคุมของกองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งประเทศไทย ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม ๒๕๑๑ ก้าวหน้า เพื่อมิตรภาพ ความปลอดภัย”

อนุสรณ์ดังกล่าวตั้งอยู่ใต้สะพานต่างระดับที่กรมทางหลวงได้ก่อสร้างทางแยกต่างระดับปักธงชัย อีกทั้งยังมีการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาเพิ่มเติม จนกระทั่งสำนักงานแขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 ได้เคลื่อนย้ายไปไว้บริเวณทางลงสะพานต่างระดับสามแยกปักธงชัย โดยได้ถอดเหล็กที่เป็นแผ่นป้ายข้อความจารึกการก่อสร้างถนนสาย 304 ออก เพื่อนำมาติดตั้งกับฐานจารึกใหม่

ทางแยกสำคัญ

ถนนสืบศิริ

ถนนสืบศิริ (อังกฤษ: Thanon Suep Siri) เริ่มจากตรงจุดแยกก่อนถึงอำเภอปักธงชัย แต่เป็นแยกเข้าเมืองปักธงชัย ไปบรรจบกับทางเลี่ยงเมืองที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลปักธงชัย จากนั้นมุ่งขึ้นเหนือตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 เข้าสู่อำเภอเมืองนครราชสีมา ผ่านสวนสัตว์นครราชสีมา สิ้นสุดเมื่อบรรจบกับถนนมิตรภาพ ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ถนนสืบศิริเดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายนครราชสีมา-กบินทร์บุรี"[1] ต่อมาได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493[1] ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่นายจำรัส สืบศิริ อดีตนายช่างกำกับการเขตการทางนครราชสีมา[1]

ทางแยกสำคัญ

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  • อนุสรณ์ 2 ชาติ ถนน 304 "โคราช-กบินทร์บุรี" [1]
  • บัญชีรายชื่อสายทาง "กรมทางหลวง"[2]