ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศซีเรีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎การเมือง: ลบเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์
บรรทัด 74: บรรทัด 74:
== การเมือง ==
== การเมือง ==
รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (นับแต่ปี ค.ศ.1963) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เลือกตั้งคราวละ 7 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (นับแต่ปี ค.ศ.1963) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เลือกตั้งคราวละ 7 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

ประมุขของรัฐ Bashar al-ASAD (ตั้งแต่ 17 กรกฎาคม 2543)

หัวหน้าฝ่ายบริหาร นาย Mustafa Mohammed Miro (นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 13 มีนาคม 2543)

รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Walid Al-Mualem <br/><br/>

'''รู้จักประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย'''

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย เมื่อวันที่ 25 ส.ค. พาไปทำความรู้จักกับประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย ผู้นำประเทศเล็กๆบนคาบสมุทรอาหรับ ที่ทั่วโลกกล่าวถึงมากที่สุดตลอดกว่า 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชนที่ต้องการโค่นอำนาจเขา ซึ่งบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมือง ที่อัสซาดประกาศกร้าวมาตลอดว่า เป็น “เรื่องภายใน” ของซีเรีย “คนนอก” อย่าเข้ามายุ่ง ถ้าไม่อยาก “เจ็บตัว”

อัสซาดเกิดเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2508 ที่กรุงดามัสกัส เป็นบุตรคนที่ 3 จากทั้งหมด 5 คน ของนายพลฮาเฟซ อัล-อัสซาด ซึ่งปกครองซีเรียมานานเกือบ 30 ปี จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่งเมื่อปี 2543 เดิมทีอัสซาดไม่ได้รับการวางตัวจากบิดาให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจ ทว่าเมื่อพี่ชายคือ บาสเซล เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ กอรปกับการที่บุตรคนแรกของครอบครัวเป็นบุตรสาว อัสซาดจึงลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ที่เป็นไปในแนวของ “การลงประชามติ” มากกว่า เนื่องจากไม่มีผู้สมัครคนอื่น และแน่นอนว่า อัสซาดได้รับคะแนน “ความเห็นชอบ” จากประชาชนอย่างท่วมท้นกว่า 97%

สำหรับชีวิตส่วนตัว อัสซาดสมรสกับนางสาวอัสมา อัล-อัคห์ราส ชาวอังกฤษเชื้อสายซีเรีย เมื่อปี 2543 และมีบุตรร่วมกัน 3 คน ทั้งนี้ นอกจากภาษาอาหรับที่เป็นภาษาแม่แล้ว อัสซาดยังสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว และสามารถสนทนาภาษาฝรั่งเศสระดับพื้นฐานได้ด้วย

แม้จะมีอำนาจล้นมือในทุกด้าน จนสามารถชี้เป็นชี้ตายใครก็ได้ แต่อัสซาดไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวเรื่องการเมืองมากนัก เขามุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาสมาคมคอมพิวเตอร์ซีเรีย และการขยายการวางโครงข่ายอินเตอร์เน็ทในประเทศมากกว่า แต่ก็ยังไม่วายที่เขาจะสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ชื่อดังทั้ง “กูเกิ้ล” “ยูทูบ” “เฟซบุ๊ค” และ “วิกิพีเดีย”

อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง และสื่อต่างชาติอีกหลายสำนัก เริ่มเสนอรายงานตีแผ่การที่อัสซาดตั้งหน่วยตำรวจลับเพื่อจับกุมผู้ที่แสดงตนว่าต่อต้านรัฐบาลมาจำคุก ทรมานร่างกาย หรือสังหารอย่างเหี้ยมโหด หลายฝ่ายเริ่มจับจ้องมายังซีเรีย ซึ่งแน่นอนว่า อัสซาดออกมาปฏิเสธเรื่องราวทั้งหมด

เวลาล่วงเลยไปจนกระทั่งถึงวันที่ 15 มี.ค. 2554 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นการเดินขบวนประท้วงของประชาชนจำนวนมาก เพื่อขับไล่อัสซาดออกจากตำแหน่ง และหยุดการยึดอำนาจในรัฐสภาของฝ่ายรัฐบาล นำโดยพรรคบาธ ( Ba’ath ) ของอัสซาด ที่ครองเสียงข้างมากมานานกว่า 4 ทศวรรษ อย่างไรก็ตาม การชุมนุมเริ่มยืดเยื้อ มีทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนและทหารที่แปรพักตร์ไปร่วมกับฝ่ายต่อต้านมากขึ้น กองทัพรัฐบาลกระจายกำลังลงพื้นที่หลายเมืองทั่วประเทศ เพื่อปราบปรามกลุ่มนักรบฝ่ายต่อต้าน เกิดเป็น “การขัดกันด้วยอาวุธ” ภายในประเทศ หรือสงครามกลางเมืองครั้งใหญ่ ทั่วโลกรุมประณาม ด้านสันนิบาตอาหรับประกาศระงับสมาชิกภาพของซีเรีย

ขณะที่อัสซาดเริ่มออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ ในตอนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เอบีซีของสหรัฐ เมื่อ 2 ปีก่อน ผู้นำซีเรียวัย 47 ปียืนยันว่า รัฐบาลไม่เข่นฆ่าประชาชนของตัวเอง เว้นเสียแต่ว่าจะมี “คนบ้า” เป็นผู้นำ เขายังประณามสหรัฐผ่านสื่อหลายแห่งโดยเฉพาะสื่อของยุโรป ว่ารวมหัวกับฝ่ายต่อต้านและประเทศพันธมิตรตั้ง “แก๊ง” เพื่อมารุกรานประเทศของเขา พร้อมกับประกาศว่า วอชิงตันจะต้อง “ชดใช้” หากใช้วิธีแทรกแซงทางทหาร หรือมอบความช่วยเหลือด้านอาวุธแก่ฝ่ายกบฏ เขาจะสร้าง “ผลกระทบแบบโดมิโน” ให้เดือดร้อนกันไปทั้งหมด

ผ่านมาแล้วกว่า 28 เดือน รายงานของสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) ระบุจำนวนผู้เสียชีวิตว่าอยู่ที่อย่างน้อย 100,000 ศพ และมีชาวซีเรียมาขึ้นทะเบียนเป็นผู้อพยพของยูเอ็นแล้วเกือบ 2 ล้านคน สะท้อนให้เห็นว่า วิกฤตสงครามกลางเมืองในซีเรียยังคงยืดเยื้อ และกลับเข้าสู่ภาวะตึงเครียดอย่างหนักอีกครั้ง หลังเกิดเหตุการณ์โจมตีด้วย “อาวุธเคมี” ที่ชานกรุงดามัสกัส เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,300 ศพ โดยส่วนใหญ่เป็นเด็ก

ฝ่ายรัฐบาลและกบฏซีเรียต่างออกมากล่าวโทษซึ่งกันและกัน แต่ดูเหมือนประชาคมโลกจะพุ่งเป้าไปที่รัฐบาลของอัสซาดมากกว่า ซึ่งหากเป็นจริงก็สอดคล้องกับคำกล่าวของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ ที่ว่าฝ่ายดามัสกัส “ล้ำเส้น” และเขาคงต้อง “จัดการ” แต่ยังระวังเลี่ยงการกล่าวเรื่องการแทรกแซงทางทหาร แม้จะมีข่าวว่า เรือพิฆาตของกองทัพเรือสหรัฐเตรียมเคลื่อนเข้าไปประชิดน่านน้ำซีเรีย รอเพียง “ไฟเขียว” จากโอบามาเท่านั้นก็ตาม

ทว่าการแสดงบทบาทของสหรัฐครั้งนี้อาจไม่สะดวกอย่างที่ผ่านมา “คำเตือน” ของอัสซาดที่ว่า หากสหรัฐหรือยุโรปเข้ามายุ่ง เพื่อนบ้านของซีเรียจะต้องได้รับแรงกระเพื่อม บวกกับการที่เขายืนกรานจะไม่ลาออก เพราะนั่นคือการ “หนี” โดยจะรอให้ชาวซีเรียเป็นผู้ตัดสินเอง ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่ตามกำหนดจะมีขึ้นในปีหน้า และการจะขอตายบนแผ่นดินซีเรียเท่านั้น บางทีอัสซาด ผู้ที่ภายนอกดูนิ่งเฉยมาตลอด แต่ภายในอาจเต็มไปด้วยความคิดที่ “เหนือความคาดหมาย” ก็เป็นได้ <ref>http://www.dailynews.co.th/world/228497</ref>

<br/>

'''ด้านการเมืองสำหรับประเทศไทย'''<br/>

ไทยกับซีเรียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2499 (ค.ศ. 1956) แต่การติดต่อสัมพันธ์ การค้าและการลงทุนระหว่างกันมีน้อย อดีตรองนายกรัฐมนตรี วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้เดินทางเยือนซีเรีย เมื่อมิถุนายน 2547 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านต่างๆ ซึ่งซีเรียแสดงความสนใจที่จะร่วมมือในด้านการท่องเที่ยว การส่งออกยาและเวชภัณฑ์ เสื้อผ้า และอาหาร แปรรูป <ref>http://www.apecthai.org/apec/th/profile1.php?continentid=2&country=a6</ref>

{{โครงส่วน}}


== การแบ่งเขตการปกครอง ==
== การแบ่งเขตการปกครอง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:24, 22 เมษายน 2557

สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย

الجمهورية العربية السورية (อาหรับ)
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติHomat el Diyar
"ผู้พิทักษ์บ้านเกิด"
ที่ตั้งของซีเรีย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ดามัสกัส
ภาษาราชการภาษาอาหรับ
การปกครองชะรีอะฮ์
บัชชาร อัลอะซัด
• นายกรัฐมนตรี
วาอีล นาดิร อัลฮัมกี
เอกราช 
• ประกาศ (1)
กันยายน พ.ศ. 24791
• ประกาศ (2)
1 มกราคม พ.ศ. 2487
• เป็นที่ยอมรับ
17 เมษายน พ.ศ. 2489
พื้นที่
• รวม
185,180 ตารางกิโลเมตร (71,500 ตารางไมล์) (88)
0.06
ประชากร
• ก.ค. 2548 ประมาณ
19,043,000 (55)
103 ต่อตารางกิโลเมตร (266.8 ต่อตารางไมล์) (96)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
• รวม
71.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (65)
5,348 ดอลลาร์สหรัฐ (101)
เอชดีไอ (2547)0.716
สูง · 107
สกุลเงินปอนด์ซีเรีย (SYP)
เขตเวลาUTC+2 (EET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (EEST)
รหัสโทรศัพท์963
โดเมนบนสุด.sy
1ฝรั่งเศสไม่ได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาเอกราชฝรั่งเศส-ซีเรีย (Franco-Syrian Treaty of Independence 1936)

ซีเรีย (อังกฤษ: Syria; อาหรับ: سورية) หรือ สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (อังกฤษ: Syrian Arab Republic; อาหรับ: الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนจากใต้ไปเหนือ ติดกับประเทศเลบานอน ประเทศอิสราเอล ประเทศจอร์แดน ประเทศอิรัก และประเทศตุรกี พรมแดนกับประเทศอิสราเอลยังคงเป็นกรณีพิพาท จนกว่าจะมีการสะสางข้อโต้แย้งที่ยังค้างอยู่ เกี่ยวกับการครอบครองที่สูงโกลัน (Golan Heights)

ประวัติศาสตร์

ซีเรียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2489 ต่อมาในปี 2513 พันเอก Hafez al - Assad ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศ [1] และในปี 2514 ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของซีเรียจนถึงอสัญกรรมเมื่อมิถุนายน 2543 เดือนต่อมา บุตรชายของอดีตประธานาธิบดี Dr. Bashar Al-Assad ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของซีเรีย


ซีเรียเป็นประเทศค่อนข้างปิด โดยเฉพาะในสมัยของประธานาธิบดี Hafez al- Assad เป็นประเทศนิยมอาหรับและมีนโยบายต่อต้านตะวันตก และอิสราเอล นอกจากนั้น ซีเรียมีอิทธิพลต่อเลบานอนในด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ ทำให้การเจรจาใด ๆ ระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเจรจาระหว่างซีเรียกับอิสราเอลด้วย อย่างไรก็ดี การที่ Dr. Bashar Al -Assad ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตกทำให้เห็นความสำคัญของการปฏิรูปประเทศทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ และเห็นความจำเป็นต้องเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุน และความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล Dr. Bashar Al -Assad คงยึดมั่นนโยบายของบิดา สำหรับความสัมพันธ์กับเลบานอน การถอนกองกำลังอิสราเอลออกจากเลบานอนตอนใต้ เมื่อต้นปี 2543 ได้สร้างแรงกดดันให้ซีเรียทบทวนและพิจารณาความจำเป็นและเหตุผลของการคงกองกำลังของตนประมาณ 30,000 นาย อย่างไรก็ตามในปี 2548 ซีเรียได้ถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากเลบานอนหลังจากเหตุการณ์ลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอนนาย Rafik Al-Hariri


แม้ซีเรียปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้มีความทันสมัยมากขึ้น เช่น การเปิดเสรีธนาคารพาณิชย์ แต่โดยรวมกลไกทางเศรษฐกิจก็ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ

การเมือง

รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (นับแต่ปี ค.ศ.1963) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เลือกตั้งคราวละ 7 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

การแบ่งเขตการปกครอง

ซีเรียแบ่งเป็น 14 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah) ซึ่งการแต่งตั้งผู้ว่าจะเสนอโดยรัฐมนตรีมหาดไทย รับรองโดยคณะรัฐมนตรี และประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา เป็นผู้นำของแต่ละเขต ผู้ว่าจะมีสภาเขตที่ได้รับเลือกมาช่วยเหลือ

  1. ดามัสกัส; ดิมัชก์; อัชชาม (Damascus; Dimashq; ash-Shām)
  2. ริฟดิมัชก์ (Rif Dimashq)
  3. กุเนหหตรา; กุไนตีเราะห์ (Quneitra; Al Qunaytirah')
  4. ดะรา; ดาร์อา (Dara; Dar`a)
  5. อัสซุไวดา (As Suwaydā')
  6. ฮอมส์; ฮิมส์ (Homs; Ḥimṣ)
  7. ตอร์ตูส (Tartous; Tartus)
  8. ลาตาเกีย; อัลลาซีกียะห์ (Latakia; Al-Ladhiqiyah)
  9. ฮะมา (Hama)
  10. อิดลิบ (Idlib)
  11. อะเลปโป; ฮะลับ (Aleppo; Halab)
  12. อาร์รอกเกาะห์ (Ar Raqqah)
  13. ไดร์อัซเซาร์ (Dayr az Zawr)
  14. อัลฮะซะกะห์ (Al Hasakah)
แผนที่เขตการปกครองของประเทศซีเรีย
แผนที่เขตการปกครองของประเทศซีเรีย

ภูมิศาสตร์

1 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 18 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ30 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทิศเหนือติดตุรกี ทิศใต้ติดจอร์แดน ทิศตะวันออกติดอิรัก ทิศตะวันตกติดเลบานอน อิสราเอลและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

สภาพภูมิประเทศ

ที่ราบทะเลทรายที่มีฝนตกเพียงเล็กน้อย มีที่ราบแคบๆชายฝั่ง มีภูเขาอยู่ทางทิศตะวันตก

สภาพภูมิอากาศ

ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนอากาศชื้น ตอนกลางและทางตะวันออกมีอุณหภูมิสูงในหน้าร้อนถึง 43 องศาเซลเซียส ในหน้าหนาวมีอากาศที่พอเหมาะ มีความหนาวเย็นในบางครั้ง ทางเหนือมีฝนตกจำนวนมาก

ทรัพยากรธรรมชาติ

ปิโตรเลียม ฟอสเฟต โครเมียม แมงกานีส แร่เหล็ก หินเกลือ หินอ่อน และยิปซั่ม

เศรษฐกิจ

การเกษตร ได้แก่ กาแฟ ผลไม้ ถั่ว อินทผลัม

ประชากร

22,457,336 ล้านคน (ค่าประมาณ เดือนกรกฎาคมคม พ.ศ. 2556)

โบสถ์ของนักบุญซิเมโอน สไตไลทส์

ศาสนา

อิสลาม (สุหนี่) 74% Alawite, ดรูซและมุสลิมนิกายอื่น ๆ 16% คริสเตียน 10%

ภาษา

อาหรับเป็นภาษาราชการ ฝรั่งเศส อังกฤษ ใช้กันอย่างกว้างขวาง

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ซีเรียมุ่งเน้นการกระชับความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาหรับเป็นสำคัญ นอกจากนั้น การที่ซีเรียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ทำให้ซีเรียมีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสในระดับหนึ่ง แต่ไม่แน่นแฟ้นเหมือนกับความสัมพันธ์ที่เลบานอนมีต่อฝรั่งเศส

การท่องเที่ยว

มีนักท่องเที่ยวจากซีเรียเดินทางมาไทยค่อนข้างน้อย ในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวจากซีเรียเข้ามาในไทยประมาณ 2,803 คน

การศึกษา

มีนักเรียนไทยในซีเรียประมาณ 80 คน ส่วนใหญ่มาจากภาคใต้ ได้รับการศึกษาด้านศาสนาและกฎหมายอิสลามโดยได้รับทุนโดยตรงจากซีเรีย

อาหาร

สลัดฟาตุช

วิกฤติการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน

วิกฤตการเมืองในประเทศซีเรียเริ่มต้นเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2554 อันเป็นผลจากการปฏิวัติในประเทศอาหรับหรืออาหรับสปริง เหตุการณ์นี้ดำเนินมากว่าหนึ่งปีส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 9,113 รายแล้ว โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นพลเรือน เสียชีวิตทั้งจากการเข้าร่วมประท้วง หรือโดนอาวุธลูกหลง 6,546 ราย กองกำลังความมั่นคงรัฐบาลซีเรีย 1,991 ราย และนักรบฝ่ายกบฏ 471 ราย[2]และอีกกว่า 1 หมื่นคนถูกจับ[3] ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศซาอุดิอาระเบีย สั่งปิดสถานทูตซาอุดิอาระเบีย ประจำกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย พร้อมกับเร่งอพยพนักการทูตและเจ้าหน้าที่ ออกจากประเทศอย่างเร่งด่วน [4] ทั้งนี้นายอับดุลลาตีฟ อัล-ซายานี ประธานกลุ่มจีซีซี ออกแถลงการว่า สมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ (จีซีซี) ทั้ง 6 ประเทศนำโดยประเทศซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ , ประเทศบาห์เรน, ประเทศโอมาน, ประเทศกาตาร์ และ ประเทศคูเวต เตรียมปิดสถานทูตในซีเรีย เพื่อประท้วงรัฐบาลซีเรียที่สังหารประชาชนของประเทศดังกล่าว[5]

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า (21 ส.ค. 2556) ที่ประเทศซีเรียเกิดเหตุโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่อีกครั้ง จากเหตุสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานมากว่า 29 เดือน ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ต่อต้านประธานาธิบดีบาชาร์อัล อัสซาด ผู้นำซีเรีย เมื่อเครื่องบินของกองทัพซีเรียทิ้งระเบิดในเมืองกัวตาห์ ชานกรุงดามัสกัส โดยกลุ่มสัมพันธมิตรซีเรียแจ้งว่า ระเบิดดังกล่าวเป็นอาวุธเคมี ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 650 ราย พร้อมเผยภาพศพที่นอนเกลื่อนกลาดโดยเป็นเด็กจำนวนมาก ขณะที่นายจอร์จ ซาบรา กลุ่มแกนนำผู้นำฝ่ายค้านแถลงว่า ยอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 1,300 ราย

ด้านสำนักข่าวของทางการซีเรียปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง พร้อมระบุว่าการอ้างอาวุธเคมีดังกล่าว เพื่อกีดกันคณะเจ้าหน้าที่สหประชาชาติเข้าไปตรวจสอบ [6]

อ้างอิง

  1. "Report of the Commission Entrusted by the Council with the Study of the Frontier between Syria and Iraq". World Digital Library. 1932. สืบค้นเมื่อ 2013-07-11.
  2. http://www.dailynews.co.th/world/17442
  3. โจลี่เยี่ยมผู้ลี้ภัยการเมืองซีเรียนับพัน จากเว็บไซต์ คม ชัด ลึก
  4. http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000033848
  5. ประเทศอาหรับ ประกาศปิดสถานทูตในซีเรีย
  6. http://news.sanook.com/1204303/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2-1300-%E0%B8%A8%E0%B8%9E/

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA