ประธานาธิบดีซีเรีย
ประธานาธิบดีซีเรีย | |
---|---|
رئيس سوريا | |
![]() ตราประจำตำแหน่ง | |
![]() ธงประจำตำแหน่ง | |
สาขาบริหารของรัฐบาลซีเรีย | |
การเรียกขาน | ท่านประธานาธิบดี (ไม่เป็นทางการ) ฯพณฯ (ทางการทูต) |
สมาชิกของ | |
จวน | ทำเนียบประธานาธิบดี |
ที่ว่าการ | ดามัสกัส ประเทศซีเรีย |
ผู้แต่งตั้ง | คะแนนนิยม |
วาระ | 7 ปี, ต่ออายุได้ครั้งเดียว[1] |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | ศุบฮี บะเราะกาต (อาณัติฝรั่งเศส) ชุกรี อัลกุววัตลี (รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน) |
สถาปนา | 17 เมษายน 1946 |
รอง | รองประธานาธิบดี |
ประธานาธิบดีซีเรีย (อาหรับ: رئيس سوريا) เป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศซีเรีย มีอำนาจสูงสุดที่อาจมอบอำนาจให้รองประธานาธิบดีตามดุลยพินิจของประธานาธิบดีแต่เพียงผู้เดียว ประธานาธิบดีสามารถแต่งตั้งหรือถอดถอนนายกรัฐมนตรี สมาชิกคณะรัฐมนตรี และนายทหาร[2]
ตำแหน่งนี้ว่างตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2024 เมื่อบัชชาร อัลอะซัดถูกโค่นล้มหลังการรุกรานของฝ่ายค้านซีเรีย ค.ศ. 2024 ที่ประสบความสำเร็จ[3] ทำให้อำนาจการบริหารประเทศถูกดำเนินการโดยรัฐบาลเปลี่ยนผ่านซีเรีย นำโดย มุฮัมหมัด อัลบะชีร ในฐานะนายกรัฐมนตรี
อะห์มัด อัชชะเราะอ์ ได้สถาปนาตนขึ้นมาเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของซีเรียตั้งแต่มีการจัดตั้งรัฐบาลเปลี่ยนผ่าน จนกระทั่งเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาล เมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2025[4][5]
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
[แก้]รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 2012 มาตรา 88 ระบุว่า ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งวาระละ 7 ปี และ "ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้เพียงหนึ่งวาระเท่านั้น"[6][7]
คุณสมบัติตามเกณฑ์
[แก้]เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1973 ฮาฟิซ อัลอะซัดใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ระดับชาติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้กำหนดให้ประธานาธิบดีซีเรียต้องเป็นมุสลิม ซึ่งต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรงในฮะมาฮ์, ฮอมส์ และอะเลปโปที่บริหารโดยอิควานมุสลิมีนและ อุละมาอ์ พวกเขาระบุอัลอะซัดเป็น "ศัตรูของพระเจ้า" และเรียกร้องให้ทำการ ญิฮาด ต่อระบอบการปกครองของเขา[8] รอเบิร์ต ดี. แคปลันเปรียบเทียบการขึ้นสู่อำนาจของอัลอะซัดเข้ากับ "จัณฑาลกลายเป็นมหาราชาในอินเดีย หรือชาวยิวกลายเป็นซาร์ในรัสเซีย—เป็นการพัฒนาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งสร้างความตกตะลึงให้กับประชากรซุนนีส่วนใหญ่ที่ผูกขาดอำนาจมานานหลายศตวรรษ"[9] การคัดค้านรัฐธรรมนูญจากผู้ประท้วงโดยหลักคือศาสนาอิสลามไม่ได้กำหนดให้เป็นศาสนาประจำชาติ[10] ทำให้รัฐธรรมนูญซีเรียฉบับ ค.ศ. 1973 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยบัญญัติให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของประธานาธิบดี[10]
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้รับการรับรองในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012[11] โดยมาตราที่ 84 ระบุว่า ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้:[6]
- มีอายุอย่างน้อย 40 ปี
- เป็นชาวซีเรียตั้งแต่เกิด จากพ่อแม่ที่เป็นชาวซีเรียตั้งแต่เกิด
- มีสิทธิทั้งทางแพ่งและทางการเมือง และไม่ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาที่เสียชื่อเสียง แม้ว่าจะได้รับการคืนตำแหน่งแล้วก็ตาม
- ไม่สมรสกับภรรยาที่ไม่ใช่ชาวซีเรีย
- อาศัยอยู่ในประเทศซีเรียต่อเนื่อง 10 ปีก่อนลงสมัครเลือกตั้ง
ข้อกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 2012 ได้แก่:[6]
- ศาสนาของประธานาธิบดีคืออิสลาม; แหล่งที่มาสำคัญของกฎหมายคือนิติศาสตร์อิสลาม; รัฐจะต้องเคารพศาสนาทั้งหมด และรับรองเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมทั้งหมดที่ไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน สถานะส่วนบุคคลของชุมชนศาสนาจะต้องได้รับการคุ้มครองและเคารพ (มาตรา 3)
- ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภาประชาชนอย่างน้อย 35 คน (มาตรา 85)
- ประธานาธิบดีไม่สามารถถือสัญชาติอื่น (มาตรา 152)
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ รัฐธรรมนูญซีเรีย มาตรา 88
- ↑ "Syria - The President and the Cabinet".
- ↑ "Syrian rebels say Syria is free of Assad". The Guardian. 8 December 2024. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
- ↑ "الشرع رئيسا لسوريا وحل الفصائل وحزب البعث وتعطيل الدستور" [Sharaa as President of Syria, dissolving factions and the Baath Party, and suspending the constitution]. Al Jazeera Arabic (ภาษาอาหรับ). 29 January 2025. สืบค้นเมื่อ 29 January 2025.
- ↑ "Syria's Sharaa declared president for transitional period, state news agency says". Reuters. 29 January 2025. สืบค้นเมื่อ 29 January 2025.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Syrian Arab Republic's Constitution of 2012" (PDF). ConstituteProject.org. February 26, 2012. สืบค้นเมื่อ June 19, 2017.
- ↑ "Qordoba - Translation of the Syrian Constitution Modifications 15-2-2012 | Citizenship | Presidents Of The United States". Scribd (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-01.
- ↑ Alianak, Sonia (2007). Middle Eastern Leaders and Islam: A Precarious Equilibrium. Peter Lang. p. 55. ISBN 978-0-8204-6924-9.
- ↑ Kaplan, Robert (February 1993). "Syria: Identity Crisis". The Atlantic.
- ↑ 10.0 10.1 "Further rioting in Syria reported". The New York Times. February 28, 1973.
- ↑ MacFarquhar, Neil; Cowell, Alan (February 27, 2012). "Syrians Said to Approve Charter as Battles Go On". The New York Times.