ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟุตบอลโลก 2010"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 273: บรรทัด 273:
|กลุ่ม B||[[12 มิถุนายน]] 2010 (21.00)||[[เอลลิส ปาร์ก]], โจฮันเนสเบิร์ก||{{ธง|อาร์เจนตินา}} [[ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา|อาร์เจนตินา]] VS. {{ธง|ไนจีเรีย}} [[ไนจีเรีย]]||1-0|||'''''อาร์เจนตินา''''': กาเบรียล ไฮน์เซ่(น. 5),
|กลุ่ม B||[[12 มิถุนายน]] 2010 (21.00)||[[เอลลิส ปาร์ก]], โจฮันเนสเบิร์ก||{{ธง|อาร์เจนตินา}} [[ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา|อาร์เจนตินา]] VS. {{ธง|ไนจีเรีย}} [[ไนจีเรีย]]||1-0|||'''''อาร์เจนตินา''''': กาเบรียล ไฮน์เซ่(น. 5),
|-
|-
|กลุ่ม C||12 มิถุนายน 2010 (01.30)<br> (ตรงกับวันที่ [[13 มิถุนายน]] ในประเทศไทย)||[[รอยัล บาโฟแกง สเตเดียม]], [[รัสเทนเบิร์ก]]||{{ธง|อังกฤษ}} [[ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ|อังกฤษ]] VS. {{ธง|สหรัฐอเมริกา}} [[ฟุตบอลทีมชาติสหรัฐอเมริกา|สหรัฐอเมริกา]]||1-1||อังกฤษ:สตีเวน เจอร์ราด สหรัฐ:แดมป์สตีฟ
|กลุ่ม C||12 มิถุนายน 2010 (01.30)<br> (ตรงกับวันที่ [[13 มิถุนายน]] ในประเทศไทย)||[[รอยัล บาโฟแกง สเตเดียม]], [[รัสเทนเบิร์ก]]||{{ธง|อังกฤษ}} [[ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ|อังกฤษ]] VS. {{ธง|สหรัฐอเมริกา}} [[ฟุตบอลทีมชาติสหรัฐอเมริกา|สหรัฐอเมริกา]]||1-1||อังกฤษ:สตีเวน เจอร์ราด(น.4) สหรัฐ:แดมป์สตีฟ(น.40)
|-
|-
|กลุ่ม C||13 มิถุนายน 2010 (18.30)||[[ปีเตอร์ โมโคบา]], [[โพโลเควน]]||{{ธง|แอลจีเรีย}} [[อัลจีเรีย]] VS. {{ธง|สโลวีเนีย}} [[สโลวีเนีย]]||ยังไม่เริ่ม||ยังไม่เริ่ม
|กลุ่ม C||13 มิถุนายน 2010 (18.30)||[[ปีเตอร์ โมโคบา]], [[โพโลเควน]]||{{ธง|แอลจีเรีย}} [[อัลจีเรีย]] VS. {{ธง|สโลวีเนีย}} [[สโลวีเนีย]]||ยังไม่เริ่ม||ยังไม่เริ่ม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:26, 13 มิถุนายน 2553

ฟุตบอลโลก 2010
South Africa 2010
สัญลักษณ์ฟุตบอลโลก 2010 อย่างเป็นทางการ
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพแอฟริกาใต้
วันที่11 มิถุนายน – 11 กรกฎาคม
ทีม32 (จาก 6 สมาพันธ์)
สถานที่10 (ใน 9 เมืองเจ้าภาพ)
2006
2014

ฟุตบอลโลก 2010 เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 19 เป็นรายการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยจะทำการแข่งขันระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ณ ประเทศแอฟริกาใต้ ฟุตบอลโลก 2010 ได้ทำการคัดเลือกโดยเริ่มในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีทีมชาติสมาชิกฟีฟ่าเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 204 จาก 208 ทีม ด้วยจำนวนดังกล่าว ฟุตบอลโลก 2010 จึงเป็นการแข่งขันซึ่งมีประเทศเข้าร่วมแข่งขันจำนวนมากที่สุดเช่นเดียวกับโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 เกมการแข่งขันนี้ได้มีการคาดหมายกันว่าจะเป็นรายการที่มีผู้รับชมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจเป็นรองแต่เพียงพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[1]

นี่เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกที่ชาติจากทวีปแอฟริกาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หลังจากที่แอฟริกาใต้เอาชนะโมร็อกโกและอียิปต์ในการเสมอชื่อ อิตาลีเป็นทีมชาติซึ่งลงแข่งขันเพื่อป้องกันแชมป์ หลังจากชนะเลิศฟุตบอลโลก 2006 ซึ่งจัดขึ้นในเยอรมนี การจับสลากรอบสุดท้ายมีขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2009 ณ เคปทาวน์ การแข่งขันนัดเปิดสนามระหว่างแอฟริกาใต้และเม็กซิโก ผลปรากฎว่าเสมอกัน 1-1

การคัดเลือกเจ้าภาพ

แอฟริกาใต้ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2010 ตามนโยบายการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในแต่ละสมาพันธ์ฟุตบอลต่างๆ (ตามมติในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550) มีทีมจากทวีปแอฟริกาเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2010:

ต่อมาคณะกรรมการบริหารของฟีฟ่าไม่อนุญาตให้มีเจ้าภาพร่วมในการจัดการแข่งขัน ตูนีเซียถอนตัวออกจากการคัดเลือก คณะกรรมการตัดสิทธิลิเบียออกจากการคัดเลือกเนื่องจากมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ

หลังจากการลงคะแนนเสียง ผู้ชนะการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพถูกประกาศโดยเซ็ปป์ แบล็ตเตอร์ประธานฟีฟ่า ต่อหน้าสื่อมวลชนในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ณ เมืองซูริก ว่าประเทศแอฟริกาใต้ได้รับสิทธิให้เป็นผู้จัดการแข่งขันอย่างถูกต้อง เอาชนะโมร็อกโกและอียิปต์[2]

ผลการลงคะแนน
ประเทศ คะแนนเสียง
ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ 14
ธงของประเทศโมร็อกโก โมร็อกโก 10
ธงของประเทศอียิปต์ อียิปต์ 0
  • ธงของประเทศตูนิเซีย ตูนิเซีย ถอนตัวในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 หลังไม่อนุญาตให้มีเจ้าภาพร่วมจัดการแข่งขัน
  • ธงของประเทศลิเบีย ลิเบีย การเสนอตัวถูกปฏิเสธ:เนื่องจากคุณสมบัติไม่เพียงพอ

ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2550 ได้เกิดกระแสข่าวลือขึ้นในแหล่งข่าวหลายแห่งว่าการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 อาจย้ายไปจัดในประเทศอื่น[3][4] มีรายงานว่าผู้บริหารฟีฟ่าบางคนแสดงว่ากังวลต่อการวางแผน การจัดการ และความคืบหน้าของการเตรียมการของแอฟริกาใต้[3][5] อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าได้แสดงความเชื่อมั่นว่าแอฟริกาใต้จะสามารถเป็นเจ้าภาพได้ โดยกล่าวว่าแผนฉุกเฉินจะเกิดขึ้นเฉพาะเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในการแข่งขันฟุตบอลโลกในอดีต[6]

ทีมที่ร่วมแข่งขัน

ในครั้งนี้มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 32 ทีม โดยทีมจากแอฟริกาใต้ผ่านรอบคัดเลือกในฐานะทีมเจ้าภาพ และสำหรับทีมอื่นจะทำการแข่งขันดังนี้

  • ยุโรป - 13 ทีม เริ่มแข่งขันรอบคัดเลือกเมื่อ กันยายน 2551
  • แอฟริกา - 6 ทีม
  • อเมริกาใต้ - 4.5 ทีม โดยแข่งเพลย์ออฟกับอเมริกาเหนือ
  • อเมริกาเหนือ - 3.5 ทีม แข่งเพลย์ออฟกับอเมริกาใต้
  • เอเชีย - 4.5 ทีม แข่งเพลย์ออฟกับโอเชียเนีย
  • โอเชียเนีย - 0.5 ทีม แข่งเพลย์ออฟกับเอเชีย

ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย

ผลการจับสลากแบ่งกลุ่มในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย

กลุ่ม A กลุ่ม B กลุ่ม C กลุ่ม D
กลุ่ม E กลุ่ม F กลุ่ม G กลุ่ม H

สัญลักษณ์และเพลงประจำการแข่งขัน

ตัวนำโชค

ไฟล์:Zakumi.jpg
ซากูมี, ตัวนำโชคของฟุตบอลโลก 2010

ตัวนำโชคอย่างเป็นทางการในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ชื่อ ซากูมี (Zakumi) (เกิดเมื่อ (1994-06-16) 16 มิถุนายน ค.ศ. 1994 (29 ปี)), เป็นมนุษย์ครึ่งเสือดาวผมสีเขียว ชื่อของเขามีที่มาจาก "ZA", ซึ่งเป็นรหัสประเทศของประเทศแอฟริกาใต้, และ "kumi", ซึ่งมีความหมายว่า "สิบ" ซึ่งเป็นจำนวนภาษาที่หลากหลายในแอฟริกา[7] สีของตัวนำโชคนี้บ่งบอกถึงชุดที่ทีมเจ้าภาพใช้ทำการแข่งขัน คือ สีขาว และ สีดำ

วันเกิดของซากูมีใช้วันเดียวกับวันเยาวชนในประเทศแอฟริกาใต้ and their second group match. The year 1994 marks the first non-racial nationwide elections in South Africa. เขาอายุ 16 ปี ใน พ.ศ. 2553.[8]

คำขวัญประจำการของซากูมี คือ: "Zakumi's game is Fair Play." ซึ่งคำขวัญนี้ได้แสดงในป้ายโฆษณาดิจิทัลระหว่างการแข่งขันคอนเฟเดอเรชันคัพ 2009, และจะประกฎอีกในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010[8]

เพลงประกอบการแข่งขัน

สถานที่แข่งขัน

แผนที่พิกัดทั้งหมด กำลังใช้ OpenStreetMap 
ดาวน์โหลดพิกัดเป็น KML

ในปี พ.ศ. 2548, ผู้จัดการแข่งขันได้เปิดเผยรายชื่อสถานที่ใช้ทำการแข่งขันฟุตบอลโลกทั้ง 13 ที่: บลูมฟอนเทน, เคปทาวน์, เดอร์บัน, โจฮันเนสเบิร์ก (2 สถานที่), คิมเบอร์เลย์, เนลสไปรต์, โอร์คนีย์, โพโลเควน, พอร์ตอลิซาเบธ, พริทอเรีย, และ รัสเทนเบิร์ก. โดย 10 สนาม[10] ที่แสดงอยู่ด้านล่าง เป็นสนามที่ได้รับการรับรองจากฟีฟ่าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549:

โจฮันเนสเบิร์ก เดอร์บัน เคปทาวน์ โจฮันเนสเบิร์ก พริทอเรีย
ซอกเกอร์ซิตี โมเสส มาบีดา (Moses Mabhida Stadium) กรีนพอยต์ เอลลิส ปาร์ก ลอฟตัส เวอร์สเฟลด์
26°14′5.27″S 27°58′56.47″E / 26.2347972°S 27.9823528°E / -26.2347972; 27.9823528 (Soccer City) 29°49′46″S 31°01′49″E / 29.82944°S 31.03028°E / -29.82944; 31.03028 (Moses Mabhida Stadium) 33°54′12.46″S 18°24′40.15″E / 33.9034611°S 18.4111528°E / -33.9034611; 18.4111528 (Cape Town Stadium) 26°11′51.07″S 28°3′38.76″E / 26.1975194°S 28.0607667°E / -26.1975194; 28.0607667 (Ellis Park Stadium) 25°45′12″S 28°13′22″E / 25.75333°S 28.22278°E / -25.75333; 28.22278 (Loftus Versfeld Stadium)
ความจุ: 94,900 ความจุ: 70,000 ความจุ: 69,070 ความจุ: 62,567 ความจุ: 51,760
ไฟล์:Inside Bowl of Soccer City Stadium.jpg ไฟล์:Durban 21.08.2009 12-02-25.jpg ไฟล์:CTS01.JPG ไฟล์:View of Ellis Park.jpg
พอร์ตอลิซาเบธ บลูมฟอนเทน โพโลเควน เนลสไปรต์ รัสเทนเบิร์ก
เนลสัน แมนเดลา เบย์ ฟรีสเตท ปีเตอร์ โมกาบา เอ็มบอมเบลา โรยัล บาโฟเกง
33°56′16″S 25°35′56″E / 33.93778°S 25.59889°E / -33.93778; 25.59889 (Nelson Mandela Bay Stadium) 29°07′02.25″S 26°12′31.85″E / 29.1172917°S 26.2088472°E / -29.1172917; 26.2088472 (Free State Stadium) 23°55′29″S 29°28′08″E / 23.924689°S 29.468765°E / -23.924689; 29.468765 (Peter Mokaba Stadium) 23°55′29″S 29°28′08″E / 23.9247°S 29.4688°E / -23.9247; 29.4688 (Mbombela Stadium) 25°34′43″S 27°09′39″E / 25.5786°S 27.1607°E / -25.5786; 27.1607 (Royal Bafokeng Stadium)
ความจุ: 48,000 ความจุ: 48,000 ความจุ: 46,000 ความจุ: 43,500 ความจุ: 42,000
ไฟล์:Nelsonmandelabaystadium2.jpg ไฟล์:Free State Stadium - Bloemfontein.jpg ไฟล์:Estadio Peter Mokaba.JPG ไฟล์:Seats and field of Mbombela Stadium.jpg ไฟล์:Royal Bafokeng Stadium.jpg

ผู้ตัดสิน

ฟีฟ่าได้เลือกผู้ตัดสินตามรายชื่อต่อไปนี้เพื่อทำหน้าที่ในฟุตบอลโลก:[11]


ผลการแข่งขัน

รอบแรก (แบ่งกลุ่ม)

กลุ่ม วัน-เดือน-ปี และ เวลาแข่งขัน (ในประเทศไทย) สถานที่ ทีม ผลการแข่งขัน ผู้ยิงประตู
กลุ่ม A 11 มิถุนายน 2010 (21.00) ซอกเกอร์ซิตี, โจฮันเนสเบิร์ก แอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ VS. เม็กซิโก เม็กซิโก 1-1 แอฟริกาใต้: ซิฟิเว่ ชาบาลาล่า (น. 55)
เม็กซิโก: ราฟาเอล มาร์เกวซ (น. 79)[12]
กลุ่ม A 11 มิถุนายน 2010 (01.30)
(ตรงกับวันที่ 12 มิถุนายน ในประเทศไทย)
เคปทาวน์ สเตเดียม, เคปทาวน์ ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส VS. อุรุกวัย อุรุกวัย 0-0 ไม่มี[13]
กลุ่ม B 12 มิถุนายน 2010 (18.30) เนลสัน มันเดลา เบย์ สเตเดียม, พอร์ตอลิซาเบธ กรีซ กรีซ VS. เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 0-2 เกาหลีใต้: ลี จุงซู (น. 7), ปาร์ก จีซอง (น. 52)
กลุ่ม B 12 มิถุนายน 2010 (21.00) เอลลิส ปาร์ก, โจฮันเนสเบิร์ก อาร์เจนตินา อาร์เจนตินา VS. ไนจีเรีย ไนจีเรีย 1-0 อาร์เจนตินา: กาเบรียล ไฮน์เซ่(น. 5),
กลุ่ม C 12 มิถุนายน 2010 (01.30)
(ตรงกับวันที่ 13 มิถุนายน ในประเทศไทย)
รอยัล บาโฟแกง สเตเดียม, รัสเทนเบิร์ก อังกฤษ อังกฤษ VS. สหรัฐ สหรัฐอเมริกา 1-1 อังกฤษ:สตีเวน เจอร์ราด(น.4) สหรัฐ:แดมป์สตีฟ(น.40)
กลุ่ม C 13 มิถุนายน 2010 (18.30) ปีเตอร์ โมโคบา, โพโลเควน แอลจีเรีย อัลจีเรีย VS. สโลวีเนีย สโลวีเนีย ยังไม่เริ่ม ยังไม่เริ่ม
กลุ่ม D 13 มิถุนายน 2010 (21.00) ลอฟตัส เวอร์สเฟลด์ สเตเดียม, พริทอเรีย เซอร์เบีย เซอร์เบีย VS. กานา กานา ยังไม่เริ่ม ยังไม่เริ่ม
กลุ่ม D 13 มิถุนายน 2010 (01.30)
(ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน ในประเทศไทย)
โมเสส มาบฮิดา สเตเดียม, เดอร์บัน เยอรมนี เยอรมนี VS. ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย ยังไม่เริ่ม ยังไม่เริ่ม

รอบ 16 ทีมสุดท้าย

รอบ 8 ทีมสุดท้าย (ก่อนรองชนะเลิศ)

รอบรองชนะเลิศ

รอบชิงอันดับ 3

รอบชิงชนะเลิศ

ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด

ฟีฟ่าได้ตกลงการซื้อขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดแก่สถานีโทรทัศน์จากทั่วโลก อาทิ บีบีซี, ซีซีทีวี, อัลญาซีรา, เอบีซี เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต จำกัด (อาร์เอสบีเอส) ในเครืออาร์เอส เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว โดยถือลิขสิทธิ์ตั้งแต่ปี 2006 และต่อเนื่องไปถึงปี 2014 อาร์เอสบีเอสมอบหมายให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ดำเนินการถ่ายทอดสดในระบบโทรทัศน์ปกติสลับหมุนเวียนครบทุกนัดโดยไม่มีโฆษณาคั่นระหว่างการแข่งขัน นับเป็นประเทศที่มีจำนวนสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีร่วมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกครั้งนี้มากเป็นอันดับสองของโลก รองจากญี่ปุ่นที่มี 6 สถานี นอกจากนี้อาร์เอสบีเอสยังมอบลิขสิทธิ์ให้ทรูวิชั่นส์ดำเนินการถ่ายทอดสดในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง ผ่านช่อง ทรูสปอร์ต เอชดี นับเป็นการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาในระบบนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย[14]

อ้างอิง

  1. http://www.sportingintelligence.com/2010/06/10/world-cup-final-will-vie-for-record-of-second-most-watched-event-in-human-history-100605
  2. "Host nation of 2010 FIFA World Cup - South Africa". FIFA. 15 May 2004. สืบค้นเมื่อ 8 January 2006.
  3. 3.0 3.1 Luke Harding (12 June 2006). "Doubt over South Africa 2010". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 29 August 2006.
  4. Jermaine Craig (3 July 2006). "Fifa denies SA may lose 2010 World Cup". The Star. สืบค้นเมื่อ 30 August 2006.
  5. "Beckenbauer issues 2010 warning". BBC Sport. 20 September 2006. สืบค้นเมื่อ 19 October 2006.
  6. Sean Yoong (8 May 2007). "FIFA says South Africa 'definitely' will host 2010 World Cup". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 15 May 2007.
  7. "Leopard takes World Cup spotlight". BBC Sport. 22 September 2008. สืบค้นเมื่อ 23 September 2008.
  8. 8.0 8.1 "Meet Zakumi, the face of 2010". IOL. 2008-09-22. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23.
  9. Waka Waka แปลว่าอะไร ?จากพันทิป
  10. "locations 2010 in Google Earth". สืบค้นเมื่อ 11 July 2007.
  11. "Referees". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010.
  12. เปิดตัวเกือบสวย! เจ้าภาพเซ็งโดนจังโก้ตีเจ๊า 1-1จากกระปุกดอตคอม
  13. France, Uruguay draw a blank จากเว็บไซต์ฟีฟ่า
  14. ทรูวิชั่นส์เปิดช่องไฮเดฟิเนชัน สัมผัสฟุตบอลโลกแบบเอชดีครั้งแรกในโลก

แหล่งข้อมูลอื่น