ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สามารถ พยัคฆ์อรุณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 110: บรรทัด 110:
* [http://www.youtube.com/watch?v=_yZX_VTLyqE ชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท WBC กับ '''กัวดา ลูเป้ พินเตอร์''']
* [http://www.youtube.com/watch?v=_yZX_VTLyqE ชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท WBC กับ '''กัวดา ลูเป้ พินเตอร์''']
* [http://www.youtube.com/watch?v=Yu-kPjYHTEk เทปการชกกับ '''เจฟฟ์ เฟเนค''']
* [http://www.youtube.com/watch?v=Yu-kPjYHTEk เทปการชกกับ '''เจฟฟ์ เฟเนค''']
* [http://www.youtube.com/watch?v=Xsx4we2GRZM&feature=related ชิงแชมป์โลกรุ่นเฟเธอร์เวท WBA กับ '''อีลอย โรฮาส''']


* [http://www.gmember.com/music/search_song/index.php?searchkeyword=%CA%D2%C1%D2%C3%B6+%BE%C2%D1%A4%A6%EC%CD%C3%D8%B3&searchfrom=artist&x=34&y=6 ฟังเพลงของสามารถ]
* [http://www.gmember.com/music/search_song/index.php?searchkeyword=%CA%D2%C1%D2%C3%B6+%BE%C2%D1%A4%A6%EC%CD%C3%D8%B3&searchfrom=artist&x=34&y=6 ฟังเพลงของสามารถ]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:43, 21 เมษายน 2552

สามารถ พยัคฆ์อรุณ
(Samart Payakaroon)
ไฟล์:Samartx.jpg
ชื่อจริงสามารถ ทิพย์ท่าไม้
ฉายาเพชฌฆาตหน้าหยก
รุ่นพินเวท (มวยไทย)
จูเนียร์ฟลายเวท (มวยไทย)
ซูเปอร์แบนตั้มเวท
เฟเธอร์เวท
เกิด5 ธันวาคม พ.ศ. 2505
จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชกทั้งหมด22
ชนะ20
ชนะน็อก12
แพ้2
เสมอ0
ผู้จัดการทรงชัย รัตนสุบรรณ
สหสมภพ ศรีสมวงศ์
สุชาติ เกิดเมฆ
เทรนเนอร์ยอดธง เสนานันท์ (มวยไทย)
สุดใจ สัพพะเลข (มวยสากล)
อิสมาเอล ซาลาส (มวยสากล)

สามารถ พยัคฆ์อรุณ อดีตแชมป์โลกคนที่ 10 ของไทย อดีตยอดนักมวยไทยชื่อดัง มีชื่อจริงว่า สามารถ ทิพย์ท่าไม้ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ที่ตำบลคลองเขต อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา สามารถหัดชกมวยครั้งแรกโดยเริ่มจากมวยไทยตั้งแต่อายุ 11 ขวบ โดยใช้ชื่อว่า "สามารถ ลูกคลองเขต"

การชกมวยไทย

สามารถชกมวยไทยในแถบจังหวัดภาคตะวันออกถึงร้อยกว่าครั้ง จึงได้เดินทางมาชกในกรุงเทพ ฯ ในปี พ.ศ. 2522 ที่เวทีลุมพินี โดยอยู่ในการดูแลของโปรโมเตอร์ชื่อดัง ทรงชัย รัตนสุบรรณ

สามารถถือได้ว่าเป็นนักมวยที่มีชั้นเชิงแพรวพราว สายตาดี ชกได้สนุก ชนะใจคนดู และประสบความสำเร็จอย่างมากในการชกมวยไทย โดยได้แชมป์ของเวทีมวยลุมพินีถึง 4 รุ่นด้วยกัน ได้แก่ รุ่นพินเวท (105 ปอนด์) ในปี พ.ศ. 2523 รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท (108 ปอนด์) ในปี พ.ศ. 2523 รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท (115 ปอนด์) ในปี พ.ศ. 2524 รุ่นเฟเธอร์เวท (126 ปอนด์) ในปี พ.ศ. 2524

มวยสากลอาชีพ

สามารถ พยัคฆ์อรุณ เริ่มหันมาชกมวยสากลอาชีพโดยได้รับการสนับสนุนจากบุคคลหลายฝ่าย เช่น ทรงชัย รัตนสุบรรณ ผู้จัดการและโปรโมเตอร์ สหสมภพ ศรีสมวงศ์ และสุชาติ เกิดเมฆ สามารถชกมวยสากลสร้างประสบการณ์อยู่ 11 ครั้ง จึงได้ชิงแชมป์โลกครั้งแรกในรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท (122 ปอนด์) ของสภามวยโลก หรือ WBC กับมักมวยชาวเม็กซิกัน กัวดาลูเป้ พินเธอร์ ผลการชก สามารถเอาชนะน็อกแชมป์โลกไปได้ในยกที่ 5 กลายเป็นแชมป์โลกคนที่ 10 ของไทยไปทันที

ภายหลังจากได้แชมป์โลกไปแล้ว สามารถชกป้องกันตำแหน่งอีกครั้งคือ การชกป้องกันตำแหน่งกับ ฮวน คิด เมซ่า นักมวยชาวเม็กซิกัน ซึ่งเป็นอดีตแชมป์โลกในรุ่นนี้ ผลปรากฏว่า สามารถก็เอาชนะน็อกไปในยกที่ 12 การชกกับฮวน คิด เมซ่า ได้รับการกล่าวขานถึงเป็นอย่างมาก เพราะสามารถพิงเชือกโยกหลบหมัดของผู้ท้าชิงด้วยสายตาอันว่องไวนับสิบ ๆ หมัด (ประมาณกันว่า 27 หมัด) และชกสวนหมัดตรงเข้าปลายคางไปเพียงหมัดเดียว ก็เอาชนะน็อกผู้ท้าชิงไปได้อย่างน่าประทับใจ โดยการชกครั้งนี้เป็นการชกร่วมรายการเดียวกับ สด จิตรลดา ป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC กับกาเบรียล เบอร์นัล ด้วย

จากนั้น สามารถเดินทางไปป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 2 เป็นการป้องกันตำแหน่งนอกบ้านถึงประเทศออสเตรเลีย กับนักมวยเจ้าถิ่น เจฟฟ์ เฟเนค (ซึ่งต่อมาเป็นนักมวยชื่อดังระดับโลก เป็นแชมป์โลก 3 รุ่น) การชกในครั้งนี้สามารถประสบกับปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวซึ่งต้องลดเป็นอย่างมาก จึงถูก เฟเนค น็อกในยกที่ 4 อย่างหมดรูป แต่กระนั้นก็ยังมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า สามารถล้มมวยหรือเปล่า เพราะไม่เชื่อว่าฟอร์มการชกก่อนหน้านั้น 2 ครั้ง จะทำให้สามารถแพ้อย่างง่ายดายเช่นนี้ ซึ่งสามารถได้พิสูจน์ความจริงใจของตนเองด้วยการทำพิธีสาบานที่วัดพระแก้วจนเป็นข่าวครึกโครมในช่วงนั้น

หลังจากเสียแชมป์โลกไปแล้ว สามารถ ยังคงชกมวยต่อ และกลับมาชกมวยไทยอีกครั้ง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยการชนะนักมวยชั้นนำในสมัยนั้นหลายรายเช่น เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง เป็นต้น จนในปี พ.ศ. 2531 สามารถ พยัคฆ์อรุณ ได้รับรางวัลนักมวยไทยยอดเยี่ยม จากสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา

วงการบันเทิง

ไฟล์:Album samart.jpg
ปกอัลบั้ม ร็อกเหน่อ ๆ

ด้วยความเป็นคนหนุ่มหน้าตาดี มีบุคคลิกที่โดดเด่น ประกอบกับมีนิสัยเจ้าสำราญ ทำให้มีบุคคลชักชวนเข้าสู่วงการบันเทิง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้ในวงการมวยเลยทีเดียว สามารถมีผลงานในวงการบันเทิงครั้งแรกโดยการออกเทปกับบริษัทแกรมมี่ ในชื่อชุด " ร็อกเหน่อ ๆ " มีเพลงดังที่รู้จักกันดีในยุคนั้นคือเพลง " อ่อนซ้อม " โดยเป็นการล้อเลียนการซ้อมมวยของสามารถเอง ซึ่งมักถูกกล่าวว่าเป็นมวยซ้อมน้อย และได้ออกอัลบั้มชุดต่อ ๆ มาอีกหลายชุด ไม่เพียงเท่านั้น สามารถยังได้ถ่ายแบบ แสดงหนัง ละคร หลายต่อหลายเรื่อง สามารถกลายเป็นดาราชื่อดังชั้นแนวหน้าในระยะเวลาไม่นาน และประสบความสำเร็จในวงการบันเทิงโดยได้รับรางวัลตุ๊กตาทองจากภาพยนตร์เรื่อง " ขยี้ " ร่วมกับลิขิต เอกมงคล ในปี พ.ศ. 2534 ด้วย

สามารถ พยัคฆ์อรุณ คลุกคลีอยู่ในวงการบันเทิงนานหลายปี จนหลายคนเชื่อว่า เขาคงเลิกราจากวงการมวยแล้ว แต่ในปี พ.ศ. 2536 สามารถ ก็กลับมาสู่เส้นทางพื้นผ้าใบอีกครั้ง ด้วยมีเป้าตั้งไว้ที่จะกลับมาเป็นแชมป์โลกอีกครั้ง โดยมี ทรงชัย รัตนสุบรรณ เป็นผู้สนับสนุนอีกเช่นเคย สามาถชกอุ่นเครื่องเคาะสนิมอยู่ 5 ครั้ง จึงได้ชิงแชมป์โลกในรุ่นเฟเธอร์เวท WBA กับ อีลอย โรฮาส นักมวยชาวเวเนซูเอล่า ในปี พ.ศ. 2537 ผลการชกคือ สามารถแพ้น็อกไปอย่างสิ้นสภาพในยกที่ 8 ปิดฉากชีวิตในแบบนักมวยทันที

ในปัจจุบัน สามารถ ยังคงอยู่ในวงการบันเทิง มีผลงานออกมาเป็นระยะ ๆ และในวงการมวยมีค่ายมวยเป็นของตัวเอง

อนึ่ง สามารถ พยัคฆ์อรุณ มีพี่ชายแท้ ๆ ซึ่งเป็นอดีตนักมวยไทยชื่อดังด้วยคือ ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ ก้องธรณีเคยชกมวยสากลเหมือนสามารถ ได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกถึง 2 ครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยครั้งที่ 2 ได้ชิงแชมป์กับแชมป์โลกชาวไทยด้วยกันเองคือ เขาทราย แกแล็คซี่

สถิติการชกมวยสากลของสามารถ พยัคฆ์อรุณ

  • ชนะคะแนน 10 ยก ฮวนนิโต้ ปาวิล่า นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ที่เวทีมวยลุมพินี : 24 เมษายน พ.ศ. 2527
  • ชนะน็อกยก 1 โม โน้ด นักมวยชาวอินโดนีเชีย ที่เวทีมวยลุมพินี : 12 มิถุนายน พ.ศ. 2527
  • ชนะน็อกยก 7 แนปตาลี อลาแม็ก นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ที่เวทีมวยลุมพินี : 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
  • ชนะน็อกยก 4 ฟาลิด กาลูซ นักมวยชาวฝรั่งเศส ที่เวทีมวยลุมพินี : 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527
  • ชนะคะแนน 10 ยก เอกลักษณ์ สิงห์นครหลวง ที่เวทีมวยช่อง 7 สี : 6 มกราคม พ.ศ. 2528
  • ชนะน็อกยก 6 ช่อ ห้าพลัง ที่เวทีมวยช่อง 7 สี  : 15 กันยายน พ.ศ. 2528
  • ชนะน็อกยก 6 ปาร์ค บวง ชู นักมวยชาวเกาหลีใต้ ที่เวทีมวยช่อง 7 สี  : 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
  • ชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท WBC ชนะน็อกยก 5 กัวดา ลูเป้ พินเตอร์ นักมวยชาวเม็กซิกัน ที่อินดอร์ สเตเดี้ยม สนามกีฬาหัวหมาก : 18 มกราคม พ.ศ. 2529
  • เสียแชมป์โลก แพ้น็อกยก 4 เจฟฟ์ เฟเนค นักมวยชาวออสเตรเลีย ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย : 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2530
  • ชนะน็อกยก 8 โฮกัน โนกูจิ นักมวยชาวญี่ปุ่น ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา : 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
  • ชนะคะแนน 10 ยก รูดี้ คาบิเลส นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ที่เวทีมวยชั่วคราวลานโลกดนตรี ช่อง 5 : 8 สิงหาคม พ.ศ. 2536
  • ชนะน็อกยก 5 อิกนาโซ่ ฮาโคเม่ นักมวยชาวเม็กซิกัน ที่เวทีมวยชั่วคราวลานโลกดนตรี ช่อง 5 : 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
  • ชนะคะแนน 10 ยก โบเอ็ด แอนดาเรส นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ที่เวทีมวยชั่วคราวจังหวัดฉะเชิงเทรา : 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537
  • ชนะน็อกยก 5 เจอร์รี่ วิลลาคอร์เต้ นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ที่เวทีมวยชั่วคราวจังหวัดสมุทรปราการ : 10 เมษายน พ.ศ. 2537
  • ชิงแชมป์โลกรุ่นเฟเธอร์เวท WBA แพ้น็อกยก 8 เอรอยด์ โรฮาส นักมวยชาวเวเนซูเอล่า ที่เวทีมวยชั่วคราวหน้าโรงแรมเรือ จังหวัดตรัง : 11 กันยายน พ.ศ. 2537


รวมสถิติการชกในแบบมวยสากลทั้งหมด 22 ครั้ง ชนะ 20 ครั้ง แพ้ 2 ครั้ง (ชนะน็อก 12 ครั้ง)

แหล่งข้อมูลอื่น

เทปการชกมวยไทย

เทปการชกมวยสากล