ข้ามไปเนื้อหา

พระพลราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพลราม
เทพแห่งเกษตรกรรมและพละกำลัง
พระพลราม พี่ชายของพระกฤษณะ
ส่วนเกี่ยวข้องอวตารของเศษะหรือพระวิษณุ
อาวุธคันไถ, คทา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
คู่ครองเรวตี
บุตร - ธิดา3 องค์
บิดา-มารดา
พี่น้องพระกฤษณะและสุภัทรา
ราชวงศ์ยาทวะจันทรวังศี

พลราม (สันสกฤต: बलराम "รามผู้มีกำลัง") บ้างเรียก พลเทพ ("เทพผู้มีกำลัง") เป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เป็นพี่ชายของพระกฤษณะ เป็นหนึ่งในสามเทพตามคติชคันนาถในบางท้องถิ่น[1] นอกจากนี้ยังมีพระนามว่า "หลธรา" หรือ "หลยุธะ" ที่มาจากคำว่า "หละ" (Hala) ที่แปลว่าคันไถ[2] ซึ่งสื่อถึงการทำเกษตรกรรม และจะถูกใช้เป็นอาวุธเมื่อมีความจำเป็น[1][3]

เอกสารบางแห่งระบุว่าพลรามเป็นอวตารของเศษะ นาคซึ่งเป็นพาหนะของพระวิษณุ ส่วนพระวิษณุอวตารลงมาเป็นพระกฤษณะ และเอกสารบางแห่งอ้างว่าพลรามเป็นหนึ่งในอวตารทั้งสิบของพระวิษณุ[1]

มีหลักฐานการเคารพนับถือพลรามอยู่ในวัฒนธรรมอินเดียมานาน ปรากฏเป็นภาพในเหรียญอายุราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช[4] ขณะที่ศาสนาเชนเรียกเทพเจ้าองค์นี้ว่า พลเทวะ โดยนับถือในฐานะเทพของเกษตรกร[5][6]

คติพราหมณ์ไทย

[แก้]

ในคติพราหมณ์ไทยนับถือพลเทพในฐานะเทพแห่งธัญญาหาร และทวารบาลผู้ปกป้องพุทธสถาน[7] มีการกล่าวถึงพลรามใน นารายณ์สิบปาง ตอนกฤษณาวตาร มีเนื้อหาว่า เมื่อพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นท้าวบรมจักรกฤษณ์เพื่อปราบพาณาสูร พระพลเทพได้มาช่วยในการรบโดยใช้คันไถฟาดฟันเหล่าอสูร ครั้นเสร็จศึกท้าวบรมจักรกฤษณ์จึงประสาทพรให้พลเทพเป็นเทพผู้เป็นใหญ่ในพืชพรรณธัญญาหาร เพราะใช้คันไถเป็นอาวุธ[8]

นอกจากชื่อพลเทพแล้ว ยังเรียกอีกอย่างว่า หลวิชัย เพราะมักปรากฏรูปพลเทพถือคันไถหรือหล นั่นเอง[9]

อย่างไรก็ตาม พลเทพเป็นที่รู้จักในดินแดนของประเทศไทยมาช้านาน ในอาณาจักรอยุธยามีการใช้ราชทินนาม "พระยาพลเทพ" สำหรับเสนาบดีกรมนา และมีตราประจำตัวเป็นรูปคนแบกคันไถ เรียกว่า ตรานักคลีอังคัน ในสมัยรัตนโกสินทร์เรียกว่า ตรานพรัตนมุรธา[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. The Rosen Publishing Group. pp. 82–84, 269. ISBN 978-0-8239-3179-8.
  2. Jan Gonda (1969). Aspects of Early Viṣṇuism. Motilal Banarsidass. pp. 100, 152–153. ISBN 978-81-208-1087-7.
  3. Lavanya Vemsani (2006). Hindu and Mythology of Balarāma. Edwin Mellen Press. pp. 30–31, 52–59, 68–69 with footnotes. ISBN 978-0-7734-5723-2.
  4. Heather Elgood (1 April 2000). Hinduism and the Religious Arts. Bloomsburg Academic. pp. 57, 61. ISBN 978-0-304-70739-3.
  5. Vemsani, Lavanya (2006). Hindu and Jain Mythology of Balarama (1 ed.). EdwinMellen. ISBN 9780773457232.
  6. Patrick Olivelle (2006). Between the Empires: Society in India 300 BCE to 400 CE. Oxford University Press. pp. 391 with note 15. ISBN 978-0-19-977507-1.
  7. 7.0 7.1 อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยประติมา. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2560, หน้า 123-125
  8. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยประติมา. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2560, หน้า 119
  9. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยประติมา. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2560, หน้า 129