ข้ามไปเนื้อหา

โทรณบรรพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โทรณบรรพ (อักษรโรมัน: Drona Parva, สันสกฤต: द्रोण पर्व) แปลว่า "บรรพแห่งความพยายาม" เป็นหนังสือบรรพที่ 7 ของ มหาภารตะ ประกอบไปด้วย 8 บรรพย่อย รวมทั้งหมด 204 ตอน[1][2][3][4] เป็นเนื้อหาต่อเนื่องมาจาก ภีษมบรรพ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโทรณาจารย์ที่ได้รับเลือกให้เป็นแม่ทัพฝ่ายเการพแทนภีษมะ กระทั่งถูกธฤษฏะทยุมันจบชีวิตด้วยการตัดศีรษะ ในบรรพนี้ทั้งสองฝ่ายต่างสูญเสียทหารและแม่ทัพนายกองเกือบทั้งหมด ส่วนบรรพต่อไปจากนี้คือ กรรณบรรพ

เนื้อเรื่อง และบรรพย่อย

[แก้]

โทรณบรรพ ประกอบไปด้วย 8 บรรพย่อย รวมทั้งหมด 204 ตอน[1][5][2]ดังนี้

1. โทรณภิเษกบรรพ (บทที่ 1–16)[1]
2. สัมสปตกบาทบรรพ (บทที่ 17–32)[2]
3. อภิมันยุวาทบรรพ (บทที่ 33–71)[1]
4. ประติชนบรรพ (บทที่ 72–84)[2]
5. ชัยตราทะ วาทบรรพ (บทที่ 85–152)
6. ฆโตฎ์กัจวาทบรรพ (บทที่ 153–184)[2]
7. โทรณวาทบรรพ (บทที่ 185–193)[2]
8. นารายณัสตระ-โมกษณบรรพ (บทที่ 194–204)[1]

บรรพนี้เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อโทรณาจารย์รับช่วงต่อจากท้าวภีษมะเป็นผู้บัญชาการรบฝ่ายเการพ ในการทำศึกตอนหนึ่งท้าวชยัทรัถ ซึ่งเป็นน้องเขยของทุรโยธน์สามารถแยกเจ้าชายอภิมันยุลูกชายของอรชุนออกจากกองทัพฝ่ายปาณฑพทั้งหมดได้ และสามารถสังหารเจ้าชายอภิมันยุได้สำเร็จ ทำให้อรชุนโกรธและประกาศจะล้างแค้นด้วยการสังหารท้าวชยัทรัถให้ตกตายตามกัน ในขณะที่กรรณะได้ใช้หอกวิเศษที่พระอินทร์ประทานให้สังหารลูกชายภีษมะคือ ฆโตฏ์กัจ ทำให้กรรณะไม่มีอำนาจวิเศษเหลือที่จะสังหารพี่น้องปาณฑพคนใดคนหนึ่งได้อีกต่อไป

ในการสู้รบโทรณาจารย์สังหารท้าวทรุปัท และท้าววิราฏได้สำเร็จ ในขณะที่กฤษณะใช้กลล่อลวงโทรณาจารย์โดยให้ภีมะสังหารช้างที่ชื่ออัศวถามา ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อของลูกชายโทรณาจารย์เพื่อหลอกว่าอัศวถามา ตายแล้ว ยุธิษฐิระซึ่งได้ชื่อว่าเป็นคนถือคำสัตย์เป็นสำคัญถูกกฤษณะเกลี้ยกล่อมให้โกหกโทรณาจารย์ด้วยคำพูดว่าอัศวถามาตายแล้ว และเมื่อโทรณาจารย์หลงผิดคิดว่าอัศวถามาตายแล้วจริง ๆ เพราะคิดว่ายุธิษฐิระไม่มีวันโหก ก็เสียขวัญหมดกำลังใจวางอาวุธและบำเพ็ญตบะโยคะเพื่อละสังขารไปจากโลกนี้ เป็นจังหวะให้ธฤตทยุมน์เข้าไปตัดหัวโทรณาจารย์แล้วโยนเข้าไปในกองทัพฝ่ายเการพได้ ซึ่งเหตุการณ์สงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรที่ได้กล่าวมานี้ ดำเนินมาจนถึงวันที่ 15 แล้ว[ต้องการอ้างอิง]

อภิมันยุนำกองทัพรบกับฝ่ายเการพ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Ganguli, K.M. (1883-1896) "Drona Parva" in The Mahabharata of Krishna-Dwaipayana Vyasa (12 Volumes). Calcutta
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Dutt, M.N. (1897) The Mahabharata (Volume 7): Drona Parva. Calcutta: Elysium Press
  3. van Buitenen, J.A.B. (1973) The Mahabharata: Book 1: The Book of the Beginning. Chicago, IL: University of Chicago Press, p 477
  4. Debroy, B. (2010) The Mahabharata, Volume 1. Gurgaon: Penguin Books India, pp xxiii - xxvi
  5. Drona Parva The Mahabharata, Translated by Manmatha Nath Dutt (1897), Page 375

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]