สวรรคโรหณบรรพ
สวรรคโรหณบรรพ (อักษรโรมัน: Svargarohana Parva, สันสกฤต: स्वर्गारोहण पर्व) แปลว่า "บรรพแห่งการไปสรวงสวรรค์" เป็นหนังสือบรรพที่ 18 ซึ่งเป็นบรรพสุดท้ายของ มหาภารตะ มีเนื้อหาทั้งหมด 6 ตอน ไม่มีบรรพย่อยใด ๆ[1][2][3][4]นับว่าเป็นบรรพที่สั้นที่สุดอีกบรรพหนึ่งในมหาภารตะ บรรพนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจาก มหาปรัสถานิกบรรพ ซึ่งมหากาพย์เรื่องนี้มีขิละบรรพเป็นบรรพเสริม คือหริวงศ์ ว่าด้วยพงศาวดารแห่งพระหริ ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ทั้ง 18 บรรพของมหาภารตะทั้งหมดแต่อย่างใด
เนื้อเรื่อง และบรรพย่อย
[แก้]สวรรคโรหณบรรพ มีเนื้อหาทั้งหมด 6 ตอน ไม่มีบรรพย่อยใด ๆ[1] นับว่าเป็นบรรพที่สั้นที่สุดอีกบรรพหนึ่งในมหาภารตะ[5]
ในขณะที่พระอินทร์ได้ให้สัญญากับยุธิษฐิระว่าจะให้เดินทางไปสวรรค์ โดยยังไม่ตายเหมือนกับคนทั่วไป เพื่อให้ได้ร่วมสมทบกับพี่น้องปาณฑพคนอื่น ๆ และพระนางเทราปตีในสวรรค์ได้ในที่สุด
ยุธิษฐิระที่เดินทางเพื่อไปสู่สรวงสวรรค์ สามารถบรรลุถึงสวรรค์ได้ในที่สุด ที่นั่นยุธิษฐิระต้องแปลกใจเป็นอันมากเมื่อเห็นทุรโยธน์นั่งอยู่บนบัลลังก์ แต่กลับไม่เห็นพี่น้องปาณฑพและพระนางเทราปตี ยุธิษฐิระถามว่าพวกนั้นไปไหนกัน และได้รับการชี้นำให้เดินทางไปสู่ปรโลกและได้เห็นภาพของพี่น้องปาณฑพ และพระนางเทราปทีต้องตกนรกรับผลกรรมด้วยความทุกข์ทรมานเป็นอันมาก
ยุธิษฐิระตัดสินใจที่จะอยู่ในนรกร่วมกับพี่น้องของตนไม่ยอมอยู่บนสวรรค์ มาถึงจุดนี้พระอินทร์ก็ปรากฏตัว และบอกให้ยุธิษฐิระทราบว่าภาพที่เห็นทั้งหมดนั้นเป็นเพียงมายาภาพหลอนเพื่อทดสอบความตั้งใจจริงของยุธิษฐิระเท่านั้น พร้อมกับนำตัวยุธิษฐิระขึ้นสู่สวรรค์ ที่นั่นยุธิษฐิระได้พบกับพี่น้องปาณฑพที่เหลืออีกสี่คนและพระนางเทราปตี และจบลงด้วยการเปิดเผยความจริงว่าพระนางเทราปตีแท้ที่จริงแล้ว เป็นอวตารของพระลักษมีพระชายาของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ส่วนบรรดาวีรบุรุษในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรแต่ละคนนั้นแท้ที่จริงแล้ว เป็นเทพองค์ต่าง ๆ ที่จุติลงไปเกิด เรื่องราวทั้งหมดจึงจบลงบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Ganguli, K.M. (1883-1896) "Svargarohanika Parva" in The Mahabharata of Krishna-Dwaipayana Vyasa (12 Volumes). Calcutta
- ↑ Dutt, M.N. (1905) The Mahabharata (Volume 18) : Swargarohanika Parva. Calcutta: Elysium Press
- ↑ van Buitenen, J.A.B. (1973) The Mahabharata: Book 1: The Book of the Beginning. Chicago, IL: University of Chicago Press, p 478
- ↑ Debroy, B. (2010) The Mahabharata, Volume 1. Gurgaon: Penguin Books India, pp xxiii - xxvi
- ↑ Bibek Debroy, The Mahabharata : Volume 3, ISBN 978-0143100157, Penguin Books, page xxiii - xxiv of Introduction
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Svargarohana Parva, English Translation by Kisari Mohan Ganguli
- Svargarohana Parva, English Translation by Manmatha Nath Dutt
- Svargarohana Parva in Sanskrit by Vyasadeva with commentary by Nilakantha - Worldcat OCLC link
- Svargarohana Parva in Sanskrit and Hindi by Ramnarayandutt Shastri, Volume 5