อัศวเมธิกบรรพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุธิษฐิระทำพิธีม้าอัศวเมธ

อัศวเมธิกบรรพ (อักษรโรมัน: Ashvamedhika Parva, สันสกฤต: अश्वमेध पर्व) แปลว่า "บรรพแห่งม้าอัศวเมธ" เป็นหนังสือบรรพที่ 14 ของ มหาภารตะ ประกอบไปด้วย 2 บรรพย่อย รวมทั้งหมด 96 ตอน[1][2][3][4] เป็นเรื่องราวของยุธิษฐิระทำพิธีอัศวเมธ (การฆ่าม้าบูชายัญ) เพื่อประกาศอำนาจของกรุงหัสตินาปุระ อรชุนเป็นแม่ทัพนำทหารปราบดินแดนต่าง ๆ ในพิธีนี้ อรชุนรับคำสอน "อนุคีตา" จากพระกฤษณะ[5][6][7]บรรพนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจาก อนุศาสนบรรพ ส่วนบรรพต่อไปจากนี้คือ อาศรมวาสิกบรรพ

เนื้อเรื่องและบรรพย่อย[แก้]

อัศวเมธิกบรรพ ประกอบไปด้วย 2 บรรพย่อย รวมทั้งหมด 96 ตอน[1] ดังนี้

  1. อัศวเมธิกบรรพ
  2. อนุคีตาบรรพ

เมื่อยุธิษฐิระขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหลังสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรจบสิ้น ยุธิษฐิระได้รับคำแนะนำให้ทำพิธีอัศวเมธ พระกฤษณะได้แสดงธรรมคาถาที่เคยแสดงเอาไว้ในภควัตคีตาแบบย่นย่อซ้ำอีกวาระหนึ่ง ตามคำร้องขอของอรชุนซึ่งได้ฟังคนเดียว เพื่อให้มีโอกาสได้รับทราบหลักธรรมที่สำคัญดังกล่าวด้วย ธรรมคาถาย่นย่อที่ว่า ซึ่งเรียกกันว่า "อนุคีตา" นั้นแบ่งออกเป็นสามส่วนสำคัญ ๆ คือ คำสอนที่สิทธาบอกไว้ให้กับพราหมณ์ คำสั่งสอนของพราหมณ์ที่มีให้กับภริยา และคำสอนของครูพราหมณ์ที่มีให้ต่อลูกศิษย์[8]

ทางด้านพระนางอุตตระ ภริยาหม้ายของเจ้าชายอภิมันยุ ได้ให้กำเนิดบุตรชายแต่เสียชีวิตตั้งแต่เกิด เดือดร้อนถึงกฤษณะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ชุบชีวิตให้ เจ้าชายพระองค์น้อยนี้มีชื่อว่า "ปริกษิต" เพื่อสืบวงศ์ของพวกปาณฑพมิให้ขาดตอน

สำหรับพิธีอัศวเมธนั้นเริ่มต้นด้วยการปล่อยม้าไปยังดินแดนต่าง ๆ โดยมีอรชุนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำทัพตามม้าพิธีที่ปล่อยออกไปและสามารถเอาชนะบรรดาแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่ม้าเดินทางไปถึงได้หมด หลังจากปล่อยม้าท่องไปยังดินแดนต่าง ๆ เป็นเวลาหนึ่งปี อรชุนก็เดินทางกลับราชสำนักกรุงหัสตินาปุระพร้อมม้าพิธีดังกล่าว เพื่อทำพิธีบูชายัญโดยมีบรรดาพระราชาแว่นแคว้นทั้งหมดมาร่วมด้วย ผลแห่งพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวเท่ากับบาปและมลทินทั้งหลายทั้งปวงที่พวกปาณฑพก่อขึ้นเป็นอันว่าได้ชำระสะสางเป็นที่เรียบร้อย[1]

พระกฤษณะแนะนำพิธีม้าอัศวเมธ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Ganguli, K.M. (1883-1896) "Aswamedha Parva" in The Mahabharata of Krishna-Dwaipayana Vyasa (12 Volumes). Calcutta
  2. Dutt, M.N. (1905) The Mahabharata (Volume 14) : Ashwamedha Parva. Calcutta: Elysium Press
  3. van Buitenen, J.A.B. (1973) The Mahabharata: Book 1: The Book of the Beginning. Chicago, IL: University of Chicago Press, p 478
  4. Debroy, B. (2010) The Mahabharata, Volume 1. Gurgaon: Penguin Books India, pp xxiii - xxvi
  5. John Murdoch (1898), The Mahabharata - An English Abridgment, Christian Literature Society for India, London, pages 121-123
  6. Sharma, A. (1978), The Role of the Anugītā in the Understanding of the Bhagavadgītā, Religious Studies, 14 (2), pages 261-267
  7. Anugita K.T. Telang (1882), English Translation, See Introduction
  8. K.T. Telang (Editor: Max Müller),The Bhagavadgîtâ: With the Sanatsugâtîya and the Anugîtâ, p. 198, ที่ Google Books, Oxford University Press, See pages 198-212

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]