พ.ศ. 2527
หน้าตา
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2527 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1984 MCMLXXXIV |
Ab urbe condita | 2737 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1433 ԹՎ ՌՆԼԳ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6734 |
ปฏิทินบาไฮ | 140–141 |
ปฏิทินเบงกอล | 1391 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2934 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 32 Eliz. 2 – 33 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2528 |
ปฏิทินพม่า | 1346 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7492–7493 |
ปฏิทินจีน | 癸亥年 (กุนธาตุน้ำ) 4680 หรือ 4620 — ถึง — 甲子年 (ชวดธาตุไม้) 4681 หรือ 4621 |
ปฏิทินคอปติก | 1700–1701 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3150 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1976–1977 |
ปฏิทินฮีบรู | 5744–5745 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2040–2041 |
- ศกสมวัต | 1906–1907 |
- กลียุค | 5085–5086 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11984 |
ปฏิทินอิกโบ | 984–985 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1362–1363 |
ปฏิทินอิสลาม | 1404–1405 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 59 (昭和59年) |
ปฏิทินจูเช | 73 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4317 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 73 民國73年 |
เวลายูนิกซ์ | 441763200–473385599 |
พุทธศักราช 2527 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1984 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1346 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม – รัฐสุลต่านบรูไนดารุสซาลามได้รับเอกราช
- 5 มกราคม – ริชาร์ด สตอลแมน เริ่มพัฒนาโครงการกนู (GNU)
- 7 มกราคม – รัฐสุลต่านบรูไนดารุสซาลามเข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
- 10 มกราคม – สหรัฐอเมริกาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเต็มรูปแบบกับนครรัฐวาติกัน[1]
- 24 มกราคม – เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชของบริษัท แอปเปิล ออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก
กุมภาพันธ์
[แก้]- 4 กุมภาพันธ์ – ขบวนการเซ็นไทลำดับที่ 8 ขบวนการซูเปอร์อิเล็คตรอน ไบโอแมน
- 7 กุมภาพันธ์ – บรูซ แม็กแคนด์เลสส์ ที่ 2 นักบินอวกาศขององค์การนาซาออกท่องอวกาศ โดยไม่ใช้สายโยงติดกับยานเป็นครั้งแรก
- 13 กุมภาพันธ์ – คอนสแตนติน เชอร์เนนโก ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต
มีนาคม
[แก้]- 18 มีนาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติแคเมอรูนชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติแอฟริกา ครั้งที่ 14 ณ ประเทศโกตดิวัวร์
พฤษภาคม
[แก้]- 22 พฤษภาคม – สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จสวรรคต ณ พระตำหนักวังศุโขทัย รวมพระชนมายุได้ 79 พรรษา 5 เดือน 2 วัน
- 31 พฤษภาคม – ประเทศจีนจัดตั้งเกาะไหหลำเป็นเขตบริหารไหหลำ
มิถุนายน
[แก้]- 4 มิถุนายน – สหภาพโซเวียตถูกบอยคอตกีฬาโอลิมปิกซึ่งไม่เข้าร่วมการแข่งขันที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา
- 12 มิถุนายน – พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
กรกฎาคม
[แก้]- 28 กรกฎาคม-12 สิงหาคม – การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 23 ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
กันยายน
[แก้]- 11 กันยายน – สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7ได้ดำเนินรื้อฟื้นการประกวดนางสาวไทยใหม่อีกครั้ง
ตุลาคม
[แก้]- 12 ตุลาคม – ขบวนการพีไออาร์เอประสบความล้มเหลวในความพยายามลอบสังหาร มาร์กาเรต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ณ โรงแรมในไบรตัน แคว้นอังกฤษ
- 21 ตุลาคม – พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 7 รอบ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- 31 ตุลาคม – นายกรัฐมนตรีอินทิรา คานธี แห่งอินเดีย ถูกลอบสังหารโดยทหารรักษาความปลอดภัยของตนเอง ทำให้เกิดจลาจลไปทั่วกรุงนิวเดลี
พฤศจิกายน
[แก้]- 2 พฤศจิกายน – ไทยประกาศลดค่าเงินบาท
ธันวาคม
[แก้]- 1 ธันวาคม – ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ ท่าน้ำสี่พระยา เปิดอย่างเป็นทางการ
- 3 ธันวาคม – ภัยพิบัติโภปาล โรงงานผลิตยาฆ่าแมลง Union Carbide ที่โภปาล เมืองหลวงรัฐมัธยประเทศ อินเดีย เกิดอุบัติเหตุถังบรรจุก๊าซเมทิลไอโซไซยาไนด์และสารพิษอื่น ๆ เกิดการรั่วไหล ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 15,000 คน เป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของวงการอุตสาหกรรม
- 11 ธันวาคม – เป็นวันก่อตั้งและเปิด บริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด
- 14 ธันวาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติซาอุดีอาระเบียชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย ครั้งที่ 8 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
- 19 ธันวาคม – สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหราชอาณาจักร ลงนามในปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ ในแผนการส่งมอบฮ่องกงคืนให้จีนในปี พ.ศ. 2540
ไม่ทราบวัน
[แก้]- ค้นพบธาตุฮัสเซียม
วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 5 มกราคม – เกเนเบิร์ต บาซาเดร นักมวยสากลสมัครเล่นชาวฟิลิปปินส์
- 6 มกราคม - เจ้าหญิงอารีอานา ออสติน มาคอนเนนแห่งเอธิโอเปีย
- 8 มกราคม - คิม จ็อง-อึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ
- 9 มกราคม – คาลิฟา ซีเซ นักฟุตบอลชาวมาลี-ฝรั่งเศส
- 17 มกราคม – แคลวิน แฮร์ริส นักดนตรีชาวสกอตแลนด์
- 20 มกราคม - ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร นักร้อง นักดนตรี และนักแสดงชาวไทย
- 24 มกราคม – ก้าวหน้า คล่องผจญ นักมวยสากลชาวไทย
- 25 มกราคม – วิษณุ พ.นอบน้อม นักมวยชาวไทย
- 30 มกราคม - คิด คัดดี้ นักร้อง และนักแสดงชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน
กุมภาพันธ์
[แก้]- 1 กุมภาพันธ์ - มรกต แสงทวีป นักแสดงและนางแบบชาวไทย
- 5 กุมภาพันธ์ - การ์โลส เตเบซ นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา
- 9 กุมภาพันธ์ - กีรติ ศิวะเกื้อ นักแสดงภาพยนตร์ชาวไทย
- 18 กุมภาพันธ์ - เจ้าหญิงสเตฟานี แกรนด์ดัชเชสรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก
- 24 กุมภาพันธ์ - คอรีย์ เกรฟส์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- 28 กุมภาพันธ์ - โคเน โมฮาเหม็ด นักฟุตบอลชาวโกตดิวัวร์
มีนาคม
[แก้]- 20 มีนาคม - เฟร์นันโด ตอร์เรส นักฟุตบอลชาวสเปน
- 25 มีนาคม - แคธรีน แม็คฟี นักร้องอเมริกัน
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน - กิ๊ฟ ชวนชื่น นักแสดงตลกชาวไทย
- 6 เมษายน - ประชาธิป มุสิกพงศ์ นักดนตรีชาวไทย (ถึงแก่กรรม 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558)
- 15 เมษายน - คะนะโกะ ฮิระอิ นักวอลเลย์บอลหญิงชาวญี่ปุ่น
- 24 เมษายน -
- มนัญญา ตริยานนท์ นักแสดงชาวไทย
- จีระนันท์ กิจประสาน นักแสดง นักร้องชาวไทย
- 30 เมษายน - นันทพร สว่างแจ้ง นักร้องชาวไทย
พฤษภาคม
[แก้]- 1 พฤษภาคม -
- อัชชา นามปาน (โอม) นักแสดงชาวไทย
- เคอิจิโร โคะยะมะ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- 5 พฤษภาคม -
- 7 พฤษภาคม - เควิน โอเวนส์ นักมวยปล้ำชาวแคนาดา
- 8 พฤษภาคม - เจนีเฟร์ ปาเรคา นักกีฬาชาวสเปน
- 16 พฤษภาคม - วรเวช ดานุวงศ์ นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 24 พฤษภาคม - แจ๊ส ชวนชื่น นักร้องและนักแสดงตลกชาวไทย
มิถุนายน
[แก้]- 6 มิถุนายน – วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
- 8 มิถุนายน – คาเบียร์ มาเชราโน นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา
- 10 มิถุนายน – สุพัฒน์ สุธาธรรม รัฐมนตรีชาวไทย
- 12 มิถุนายน – คะซุโตะ ทะกะฮะชิ นักวอลเลย์บอลชาวญี่ปุ่น
- 13 มิถุนายน – ศมจรรย์ จรุงวัฒน์ ผู้ประกาศข่าว พิธีกรชาวไทย
- 15 มิถุนายน – พงค์พิพัฒน์ คงนาค นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
กรกฎาคม
[แก้]- 6 กรกฎาคม – พิชชา อาภากาศ นักแสดง-นางแบบชาวไทย
- 12 กรกฎาคม – แซมี เซย์น นักมวยปล้ำชาวแคนาดา
- 16 กรกฎาคม – เจ้าชายจิกเยล อุกเยน วังชุก พระราชอนุชาแห่งภูฏาน
- 19 กรกฎาคม – พรรัมภา สุขได้พึ่ง นักแสดงชาวไทย
สิงหาคม
[แก้]- 1 สิงหาคม - บัสเตียน ชไวน์ชไตเกอร์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- 2 สิงหาคม – จัมเปาโล ปัซซีนี นักฟุตบอลชาวอิตาลี
- 7 สิงหาคม – อรรถกร ศิริลัทธยากร นักการเมืองชาวไทย
- 9 สิงหาคม - ผลิตโชค อายนบุตร (เป๊ก) นักร้องชาวไทย
- 13 สิงหาคม – เจมส์ มอร์ริสัน นักร้อง นักดนตรีชาวอังกฤษ
- 14 สิงหาคม – จอร์โจ กีเอลลีนี นักฟุตบอลชาวอิตาลี
- 20 สิงหาคม – ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ นักแสดงและนายแบบชาวไทย
- 21 สิงหาคม – อลิเซ นักร้องชาวฝรั่งเศส
- 23 สิงหาคม – เกล็น จอห์นสัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
กันยายน
[แก้]- 2 กันยายน - อารักษ์ อมรศุภศิริ นักแสดง นายแบบ และนักดนตรีชาวไทย
- 3 กันยายน - การ์เรต เฮดลันด์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 5 กันยายน - วรกาญจน์ โรจนวัชร นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 6 กันยายน - เยาวภา บุรพลชัย นักเทควันโดชาวไทย
- 12 กันยายน - ศรัณยู วินัยพานิช นักร้อง และนักแสดงชาวไทย
- 13 กันยายน -
- นิดา พัชรวีระพงษ์ นักแสดงชาวไทย (ถึงแก่กรรม 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)
- ศุภรุจ เตชะตานนท์ นักร้องชาวไทย
- 15 กันยายน - เจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ พระราชโอรสองค์เล็กใน สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร กับ ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ รัชทายาทลำดับที่ 4 แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ
- 17 กันยายน - โจนาธาน แอนเดอร์สัน นักออกแบบเสื้อผ้าชาวไอร์แลนด์เหนือ
- 19 กันยายน -
- ธัญสินี พรมสุทธิ์ (ส้ม) นักแสดง นางแบบ และพิธีกรชาวไทย
- เควิน ซีเกอร์ส นักแสดงชาวแคนาดา
- 21 กันยายน - กฤษฎี พวงประยงค์ นักแสดงชาวไทย
- 25 กันยายน - เจ้า โย่วถิง นักแสดงชาวไต้หวัน
- 29 กันยายน - รัตนพล เก่งเรียน นักร้องชาวไทย
ตุลาคม
[แก้]- 3 ตุลาคม - ปิยา พงศ์กุลภา นักร้องชาวไทย
- 6 ตุลาคม -
- ธัญนันท์ มหาพิรุณ นักร้องชาวไทย
- จาง ฮั่น นักร้อง นักแสดงชาวจีน
- 20 ตุลาคม - ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา นักแสดงชาวไทย
- 25 ตุลาคม - เคที เพร์รี นักร้องชาวอเมริกัน
- 31 ตุลาคม - พิมรา เจริญภักดี นักร้องและนักแสดงชาวไทย
พฤศจิกายน
[แก้]- 9 พฤศจิกายน – เซเว่น นักร้องชาวเกาหลี
- 14 พฤศจิกายน – นันทิยา ศรีอุบล นักร้องชาวไทย
- 17 พฤศจิกายน – รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ รองโฆษกพรรคไทยสร้างไทย นักร้องนักแสดงชาวไทย
- 18 พฤศจิกายน – จอห์นนี ไครสต์ สมาชิกอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์
- 20 พฤศจิกายน – จัสติน ฮอยต์ นักฟุตบอลชาวตรินิแดดและโตเบโก
- 21 พฤศจิกายน – คีตภัทร อันติมานนท์ นักแสดงชาวไทย
- 22 พฤศจิกายน – สการ์เลตต์ โยแฮนสัน นักแสดงหญิงและนักร้องหญิงชาวอเมริกา
- 27 พฤศจิกายน – เปรมณัช สุวรรณานนท์ นักแสดงชาวไทย
- 28 พฤศจิกายน – เกตุกินรี สุขจินดาทอง นักแสดงชาวไทย
- 28 พฤศจิกายน – แมรี เอลิซาเบธ วินสตีด นักแสดงชาวอเมริกัน
ธันวาคม
[แก้]- 1 ธันวาคม – ธนพล นิ่มทัยสุข นักแสดงชาวไทย
- 2 ธันวาคม – กุณฑีรา ปัจฉิมสวัสดิ์ ผู้ประกาศข่าวชาวไทย
- 4 ธันวาคม – ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ พิธีกรชาวไทย
- 6 ธันวาคม – เจ้าหญิงโซเฟียแห่งสวีเดน ดัชเชสแห่งแวร์มลันด์ พระชายา ในเจ้าชายคาร์ล ฟิลิป ดยุกแห่งแวร์มลันด์
- 14 ธันวาคม – คริส บรันต์ นักฟุตบอลชาวไอร์แลนด์เหนือ
- 17 ธันวาคม – อาซูกะ ฟูกูดะ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- 22 ธันวาคม – เบสฮันเตอร์
- 26 ธันวาคม – ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม นักแสดงชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]- 3 กุมภาพันธ์ – สุวรรณี สุคนธา นักประพันธ์ (เกิด 1 มีนาคม พ.ศ. 2475)
- 9 กุมภาพันธ์ – ยูรี อันโดรปอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต (เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2457)
มีนาคม
[แก้]- 31 มีนาคม – หม่อมเจ้าวิสาขะ ยุคล พระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร (เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2484)
พฤษภาคม
[แก้]- 22 พฤษภาคม – สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2447)
กรกฎาคม
[แก้]- 18 กรกฎาคม – อาณัติ บุนนาค ช่างภาพส่วนพระองค์ (เกิด 2 สิงหาคม พ.ศ. 2466)
สิงหาคม
[แก้]- 8 สิงหาคม – วอลเตอร์ เทวิส นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471)
ตุลาคม
[แก้]- 12 ตุลาคม – คอนสแตนติน ฮเรนอฟ วิศวกรชาวโซเวียด (เกิด 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437)
- 21 ตุลาคม – ฟร็องซัว ทรูว์โฟ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส (เกิด 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475)
- 30 ตุลาคม – วิภาต บุญศรี วังซ้าย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2459)
- 31 ตุลาคม – อินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460)
ธันวาคม
[แก้]- 31 ธันวาคม – จัน ซี นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (เกิด พ.ศ. 2475)
รางวัล
[แก้]รางวัลโนเบล
[แก้]- สาขาเคมี – Robert Bruce Merrifield
- สาขาวรรณกรรม – ยาโรสลาฟ เซเฟอร์ต
- สาขาสันติภาพ – Desmond Tutu
- สาขาฟิสิกส์ – Carlo Rubbia, Simon van der Meer
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – นีล เค. แจร์น, จอร์จ เจ. เอฟ. เคอห์เลอร์, เซซาร์ มิลสไตน์
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Richard Stone
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "United States-Vatican Diplomatic Relations: The Past and The Future". The Ambassadors REVIEW. Council of American Ambassadors. Spring 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ November 17, 2011.
On January 10, 1984, when President Reagan announced the establishment of formal diplomatic relations with the Holy See, he appointed William A. Wilson, who had been serving as his personal representative to the Pope, as the first US Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary to the Holy See.