เยาวภา บุรพลชัย
ผู้ได้รับเหรียญรางวัล | ||
รายการเหรียญรางวัล | ||
ตัวแทนของ ![]() | ||
เทควันโด | ||
---|---|---|
โอลิมปิกฤดูร้อน | ||
ทองแดง | เอเธน 2004 | 47-51 กก. |
เอเชียนเกมส์ | ||
เงิน | เกาหลีใต้ 2002 | 51 กก. |
ซีเกมส์ | ||
ทอง | เวียดนาม 2003 |
เยาวภา บุรพลชัย (เกิด: 6 กันยายน พ.ศ. 2527) นักกีฬาเทควันโดหญิงทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญทองแดงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ จากการแข่งขันในรุ่น 47-51 กิโลกรัม ที่ต่อมาเยาวภาได้เปลี่ยนกีฬาอาชีพไปเป็นกีฬาฟันดาบสากล[1]
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
เยาวภา บุรพลชัย ชื่อเล่น วิว เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2527 เป็นบุตรีของร้อยตรีธำรง กับสมศรี บุรพลชัย มีน้องชายหนึ่งคน คือ พระประกิต ฐานชโย หรือ ประกิต บุรพลชัย (ชื่อเล่น: ปอนด์; 10 เมษายน พ.ศ. 2534—16 มกราคม พ.ศ. 2558)[2] อดีตนักกีฬาเทควันโดและฟันดาบ[3] พระประกิตมรณภาพขณะสรงน้ำเนื่องจากสูดก๊าซคาร์บอนที่รั่วออกมาจากเครื่องทำน้ำอุ่น ส่งผลให้สมองขาดอ็อกซิเจน[4]
เริ่มเล่นเทควันโดครั้งแรก ตั้งแต่อายุ 15 ปี ขณะศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมี อาจารย์ครรชิต อมรภักดี เป็นผู้ฝึกสอนคนแรก และชเว ย็อง-ช็อก เป็นผู้ฝึกสอนในระดับทีมชาติไทย แต่ในปี พ.ศ. 2551 ก็ประกาศเลิกเล่นเทควันโด เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้า จนต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน ส่วนการเป็นโค้ชให้กับทีมชาติไทยหรือไม่ เป็นเรื่องของอนาคต แต่ขอศึกษาในระดับปริญญาตรีก่อน
นอกจากนี้เยาวภายังสามารถใช้ภาษาได้ถึง 4 ชาติ คือ ภาษาไทย (ภาษาแม่) ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี
เยาวภา สมรสกับเกรียงไกร เพิ่มทวี ซึ่งมีอาชีพเป็นมัคคุเทศก์[5]
การศึกษา[แก้]
- จบการศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 1 จากโรงเรียนขจรโรจน์วิทยา
- จบการศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 - ประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเมืองทองนิเวศน์
- จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ 6 ที่ โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม
- จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา (มัธยมปลาย สายศิลป์-ภาษา) จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี รุ่นที่20 อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
- จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
- เคยศึกษาที่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาประวัตืศาสตร์
- เคยศึกษาที่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ผลงาน[แก้]
เมื่อปี พ.ศ. 2542 ลงแข่งขันรายการ Pro Junior ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ เป็นรายการแรก ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้น มีผลงานสำคัญที่ได้รับรางวัลดังนี้
- เหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ 2002 ที่ปูซาน เกาหลีใต้ พ.ศ. 2545
- เหรียญทองแดง กีฬามหาวิทยาลัยโลก ที่แทกู เกาหลีใต้ พ.ศ. 2546
- เหรียญทองแดง ชิงแชมป์โลก ที่เยอรมนี พ.ศ. 2546
- เหรียญทอง ซีเกมส์ 2003 ที่เวียดนาม พ.ศ. 2546
- เหรียญทองแดง โอลิมปิก ที่กรีซ พ.ศ. 2547
- เหรียญเงิน กีฬามหาวิทยาลัยโลก ที่ตุรกี พ.ศ. 2548
- เหรียญทอง ชิงแชมป์เอเชีย ที่ไทย พ.ศ. 2549
- เหรียญทอง World cup ที่ไทย พ.ศ. 2549
การเมือง[แก้]
เยาวภาเข้าสู่งานการเมืองโดยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน[6] และลงเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 [7] ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[8] เยาวลาลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตบางแค เขต 28 เบอร์ 8 ในนามพรรคชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2547 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ [9]
- พ.ศ. 2548 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)
ประวัติการเลือกตั้ง[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ น้องวิว-เยาวภา กับเป้าหมายกีฬาฟันดาบสากล
- ↑ "'พระปอนด์' น้อง 'วิว เยาวภา' มรณภาพอย่างสงบ". คมชัดลึก. 17 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2558.
- ↑ "วิวสุดช็อก "พระปอนด์" น้องชายมรณภาพอย่างสงบ". สยามกีฬา. 16 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2558.
- ↑ "วิว-เยาวภา เผย พระน้องชาย บวชไม่คิดลาสิกขาทดแทนคุณพ่อมา ก่อนมรณภาพจากแก๊สรั่ว". มติชนออนไลน์. 18 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2558.
- ↑ "วิว" ปลื้มรับพระราชทานน้ำสังข์
- ↑ “วิว”ลงสนามการเมือง หวังพัฒนากีฬาไทย
- ↑ "ภราดร-น้องวิว-อภิรักษ์"แจงเหตุเล่นการเมืองหวังผลักดันนโยบายกีฬา
- ↑ เปิดผลการเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพ ปชป. 23 เพื่อไทย 10 ที่นั่ง จากมติชน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข ๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ หน้า ๑๐
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Yaowapa BOORAPOLCHAI ข้อมูลนักกีฬา จากเว็บไซต์ของ เอเธนส์ 2004
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2527
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักเทควันโดชาวไทย
- นักกีฬาทีมชาติไทย
- นักกีฬาเหรียญเงินเอเชียนเกมส์ชาวไทย
- นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย
- นักกีฬาไทยที่ได้เหรียญทองแดงโอลิมปิก
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
- บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ผู้ประกาศข่าวช่อง 3
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ภ.
- นักฟันดาบสากลชาวไทย
- นักเทควันโดในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004