พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หม่อมเจ้าวิสาขะ ยุคล)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ29 เมษายน พ.ศ. 2456
พระตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 (78 ปี)
พระราชทานเพลิง1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส
หม่อม
พระบุตร
ราชสกุลยุคล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
พระมารดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
ศาสนาพุทธ

พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร หรือ พระองค์ชายกลาง (29 เมษายน พ.ศ. 2456 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล

พระประวัติ[แก้]

พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดสงขลา ขณะที่พระบิดาทรงรับราชการในกระทรวงมหาดไทย เป็นสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช และประทับอยู่ ณ พระตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา มีพระโสทรภราดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

พระบิดาเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ส่วนพระมารดามีศักดิ์เป็นพระภาติยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเป็นพระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระโสทรอนุชาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดพระราชพิธีโสกันต์พระราชทานในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2468 หลังจากทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์และจรดพระกรรไกรบิดโสกันต์พระราชทานแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงจรดพระกรรไกรบิดโสกันต์ ตามลำดับ

พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ทรงเป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์[1]และ โรงเรียนนายร้อยชั้นประถม ปี พ.ศ. 2466 (หมายเลขประจำพระองค์ 3672) หลังจากนั้นได้เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษวิทยาลัยอีตัน[2] และทรงศึกษาวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนายทหารสัญญาบัตร หลังจากนั้นได้เสด็จกลับประเทศไทยเพื่อเข้ารับราชการทหาร โดยทรงบรรจุเข้ารับราชการในกองบัญชาการกองทัพบก พระยศว่าที่ร้อยตรี[3] หลังจากนั้นได้โอนไปเป็นข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี กองบัญชาการตำรวจนครบาล จนถึงปี พ.ศ. 2491 หลังจากนั้นได้โอนกลับไปรับราชการทหารที่กองทัพบก จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในขณะมีพระยศพันเอก สังกัดศูนย์การทหารม้า ภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศพลตรีเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2531

การศึกษา[แก้]

วิชาทหาร[แก้]

การทรงงาน[แก้]

ราชการทหาร[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาจากประเทศสหราชอาณาจักร พระองค์ชายกลาง ได้เสด็จกลับประเทศไทย แล้วทรงเข้ารับราชการทหารในกองทัพบก โดยทรงบรรจุเข้ารับราชการในกองบัญชากาญชาการกองทัพบก พระยศว่าที่ร้อยตรี[3] หลังจากนั้นได้โอนไปเป็นข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี กองบัญชาการตำรวจนครบาล จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2491 หลังจากนั้นได้โอนกลับไปรับราชการทหารที่กองทัพบก จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในขณะมีพระยศ พันเอก สังกัดศูนย์การทหารม้า และนอกจากนี้เมื่อครั้งที่รับราชการทหาร พระองค์ยังเป็นหัวหอกสำคัญในการตามล่านายปรีดี พนมยงค์ ในช่วงเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 โดยพระองค์เป็นผู้แจ้งขอเครื่องบินเพื่อติดตามโจมตีปรีดีและคณะ ที่ได้หลบหนีไปทางน้ำ ซึ่งทางคณะรัฐประหารก็ได้จัดการให้ตามที่พระองค์ต้องการ จากนั้นพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพรพร้อมด้วย พ.ท. ละม้าย อุทยานานนท์ (ยศในขณะนั้น) จึงได้ขึ้นเครื่องบินของกองทัพอากาศจากดอนเมืองมุ่งตรงไปสมุทรปราการเพื่อติดตามโจมตีเรือลี้ภัยของปรีดีและคณะ และได้ทำการบินค้นหาตั้งแต่ปากน้ำลึกเข้ามาในลำน้ำเจ้าพระยา และบินกว้างออกไปทั่วปากอ่าวแล้วล้ำลึกออกไปในทะเล แต่ก็ไม่สามารถตรวจพบเรือของปรีดีได้ เพราะสภาพอากาศที่มืดคลุ้มไปทั่ว ประกอบกับลมที่พัดแรงอย่างผิดปกติ ทำให้ทัศนะวิสัยเลวร้ายลงจนเครื่องบินไม่สามารถปฏิบัติการค้นหาได้ จนสุดท้ายปรีดี พนมยงค์ สามารถหลบหนีออกไปจากประเทศไทยได้สำเร็จ[4]

ในปี พ.ศ. 2493 ขณะดำรงพระยศร้อยเอก ได้ทรงเข้าร่วมกรมผสมที่ 21 เพื่อไปเข้าร่วมรบกับกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี[5] ทรงปฏิบัติภารกิจอยู่แนวหน้าถึง 2 ปี และทรงได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ และได้ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิดบนแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ ในปี พ.ศ. 2495 ในฐานะผู้ได้รับความชมเชยจากทางราชการ[6] และนอกจากนี้กองทัพสหรัฐยังได้รับการทูลเกล้าถวายเหรียญบรอนซ์สตาร์เนื่องจากการปฏิบัติงานเป็นผลสำเร็จดียิ่ง จากปฏิบัติการร่วมรบสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี อีกด้วย[7]

หลังจากที่เสด็จกลับจากการปฏิบัติภารกิจร่วมรบกับกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลีแล้ว พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหารเป็น พันโท เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2495[8] โดยในปี พ.ศ. 2493 พระองค์ชายกลาง ได้ทรงมีลายพระหัตถ์มาถึงครอบครัว เล่าเรื่องการเดินทางของพระองค์ในการร่วมรบกับสหประชาชาติในสงครามเกาหลี ลายพระหัตถ์ฉบับแรกทรงกล่าวถึงการบนบานศาลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่วังนางเลิ้ง เพื่ออำนวยความปลอดภัยในการเดินทางทางทะเล และทรงขอให้หม่อมทองแถม ประยูรโต ไปแก้บนแทนพระองค์ โดยลายพระหัตถ์เล่าว่า

"พรุ่งนี้เรือจะแวะเกาะโอกีนาวา ฐานทัพเรืออเมริกันเพื่อรับเสบียง เนื่องจากเรือเราต้องเดินช้ากว่าปกติเพราะต้องคอยเรือสีชังซึ่งเป็นเรือเก่าแล่นช้ามาก และโดนคลื่นลมแรงมาก...วันเดียวตามทางเจอใต้ฝุ่นหลายหน แต่เราบนกรมหลวงชุมพรหายเงียบไปทุกที ศักดิ์สิทธิ์มาก แกช่วยเอาเหล้าไปแก้บนที่ศาลที่วังท่านแทนเราด้วย (Yukol, 1991, P. 150)"[9]

อนุสรณ์สถานแห่งสงครามเกาหลี

นอกจากนี้พระองค์ชายกลาง ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2498 [10]และได้รับพระราชทานพระยศพลตรี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2531[11]

นาฏศิลป์ไทย[แก้]

พระองค์ชายกลาง เป็นเจ้านายที่ทรงพระปรีชารอบรู้และฝักใฝ่พระทัยในศิลปะและวรรณคดี และทรงเกื้อกูลและอุปถัมภ์ศิลปะและศิลปินตลอดมา ทรงชักชวนให้ธนิต อยู่โพธิ์ เขียนเรื่องงานศิลป์เกี่ยวกับโขนต่อไปหลังจากที่ได้เขียนเรื่องโขนเมื่อหลายปีมาแล้ว และทรงโปรดให้จัดพิมพ์หนังสือ ศิลปละคอนรำ หรือ คู่มือนาฏศิลปไทย (พิมพ์ครั้งแรก) โดย ธนิต อยู่โพธิ์ ในงานฉลองพระชนมายุ 5 รอบ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 และพระองค์ชายกลางยังได้มีพระเมตตาฝากฝังนายแจ้ง คล้ายสีทอง ให้เรียนเสภากับนายเจือ นายแจ้งจึงได้วิธีการขับเสภาไหว้ครู รวมทั้งเกร็ดย่อยอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ในที่สุดจึงเป็น นายแจ้ง คล้ายสีทอง ของคนฟังเพลงไทยและคนฟังเสภาทั่วประเทศ จนได้รับสมญาว่า "ช่างขับคำหอม[12]"

จากพระปรีชาสามารถดังกล่าว เหล่านักเขียนและศิลปินทั้งหลายจึงได้ร้องขอให้พระองค์ทรงรับตำแหน่งนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และทรงดำรงตำแหน่งดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2518

ภายหลังจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ ทรงไปรับตำแหน่งองคมนตรี พระองค์ชายกลาง ได้รับการทูลเชิญจากเอื้อ สุนทรสนาน และคณะให้ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมดนตรี อีกตำแหน่งหนึ่ง และดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ[13]

นอกจากนี้พระองค์ชายกลาง ยังได้ก่อตั้งคณะละครขึ้นมา ชื่อว่า คณะละครนาฏราช โดยเสด็จพระองค์ชายกลางได้มีพระปรารภกับครูบุญยงค์ เกตุคง ซึ่งเป็นนักดนตรีไทยที่มีฝีมือมากในขณะนั้นว่า มีพระประสงค์ให้แต่งเพลงประจำคณะละครของท่านสักเพลงหนึ่ง ครูบุญยงค์ เกตุคง ก็ได้แต่งถวายตามพระประสงค์ โดยได้นำเอาทำนองเพลงดับควันเทียนที่เป็นเพลงสุดท้ายในชุดเพลงเรื่องเวียนเทียนใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นเพลงที่มีความมงคลมาเป็นแนวทางในการแต่งให้อยู่ในรูปของเพลงตระ จึงได้นำหน้าทับตระในอัตราจังหวะ 2 ชั้นมาใช้ จึงได้ออกมาเป็นเพลงหน้าพาทย์เพลงใหม่ชื่อเพลงตระนาฏราช ไปถวายเสด็จพระองค์ชายกลาง ต่อมาเพลงตระนาฏราชได้นำมาใช้ในการการแสดงครั้งแรกโดยการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ทางช่อง 4 บางขุนพรหม ก่อนที่จะมีการแสดงละครโดยคณะละครนาฏราช ก็จะมีเสียงเพลงตระนาฏราชขึ้นพร้อมกับผู้กำกับการแสดง ชื่อนักแสดง ผู้สร้าง ผู้สนับสนุนรายการต่าง ๆ เป็นการเปิดตัวของคณะละครนาฏราชมาตลอด โดยทั่วไปพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลปไทยจะมีผู้ประกอบพิธีและวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ตลอดการประกอบพิธี เพลงหน้าพาทย์โดยทั่วไปเป็นเพลงหน้าพาทย์เก่าที่มีมาแต่โบราณ แต่ก็มีการใช้เพลงตระนาฏราชบรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครูเช่นกัน ซึ่งได้เริ่มใช้หลังจากที่เกิดเพลงตระนาฏราชขึ้นโดยคณะศิษย์ครูบุญยงค์ เกตุคง ได้นำมาใช้บรรเลงเป็นเพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธีไหว้ครู แต่จะบรรเลงเฉพาะเมื่อผู้ประกอบพิธีเรียกเพลงตระนาฏราชเท่านั้น ก็มีใช้กันจนในหมู่ศิษย์ครูบุญยงค์ เกตุคง มาจนถึงปัจจุบัน[14]

นอกจากพระปรีชาสามารถด้านนาฏศิลป์ไทยแล้ว เสด็จพระองค์ชายกลาง ยังทรงมีความเกี่ยวพันกับตำนานการสร้าง พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากท่านทรงคบหาสนิทสนมเป็นมิตรกับคหบดีใหญ่ปักษ์ใต้คือ คุณอนันต์ คนานุรักษ์ และได้รับมอบพระเครื่องหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี 2497 จากคุณอนันต์มาหนึ่งองค์โดยทรงบูชาติดตัวเป็นประจำ โดยครั้งหนึ่งรถยนต์พระที่นั่งเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ แต่พระองค์เองไม่มีอันตรายแม้แต่รอยขีดข่วน ทำให้พระองค์ท่านเกิดความศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ อย่างสูง และเมื่อทางวัดโดยพระอาจารย์ทิม และ คุณอนันต์ คณานุรักษ์ จะจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดปี 2505 พระองค์ท่านจึงปวารณาตัวขอเป็นผู้อุปถัมภ์ในการจัดสร้าง และได้นำชนวนโลหะอันศักด์สิทธิ์มาเทหล่อเป็นเนื้อโลหะต่าง ๆ ที่กรุงเทพมหานคร จนกลายเป็นพระหลวงพ่อทวด รุ่น พ.ศ. 2505 ที่ลือลั่นมาจนถึงปัจจุบัน[15] ในการจัดสร้างพระครั้งนั้น เนื่องด้วยเสด็จพระองค์ชายกลางเป็นองค์อุปถัมภ์ จึงสำเร็จลุล่วงด้วยดี และพระองค์ท่านยังได้จัดสร้าง "พระกริ่ง" อันงดงามด้วยพุทธลักษณะขึ้นในครั้งนั้นด้วย เมื่อทำการหล่อพระกริ่งได้โปรดให้ช่างแกะแม่พิมพ์ขึ้น และเททองปลุกเสกโดยพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้พร้อมกันกับพระเครื่องหลวงปู่ทวดปี 2505 ครั้นเสร็จจากพิธีเสด็จ ท่านได้ถวายพระกริ่งซึ่งสำเร็จขึ้นมีพุทธลักษณะงดงามให้กับวัดช้างให้จำนวน 300 องค์ ซึ่งเรียกกันต่อมาว่า "พระกริ่งใหญ่หลวงปู่ทวด" หรือ "พระกริ่งวัดช้างให้" ส่วนที่เหลือทรงนำมาถวายให้วัดตาก้อง ด้วยเหตุที่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร นั้นท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง และปลุกเสกอีกวาระโดยเกจิอาจารย์สายนครปฐม ผู้คนเรียกขานกันว่า "พระกริ่งเฉลิมพล" รวมถึงในคราวฉลองครบวาระ 200 ปี แห่งชาตะกาล สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ยังได้ทรงเป็นองค์ประธานการจัดงานสมโภชน์เฉลิมฉลองในวาระดังกล่าวและมีการปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นประวัติศาสตร์ อนุสรณ์ 200 ปี พ.ศ. 2531 โดยพระคณาจารย์ทั่วประเทศอีกด้วย[16]

พระองค์ชายกลาง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ด้วยภาวะพระหทัยล้มเหลว หรือภาวะหัวใจล้มเหลว สิริพระชันษา 78 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ และพระราชทานพระโกศมณฑปทรงพระศพ พระองค์ชายกลาง ประดิษฐานพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาส และในการนี้ทรงพระกรุณาฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ พระองค์ชายกลาง ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร เมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535[17][18]

ภายหลังสิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ. 2559 กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศยกย่องเชิดชูพระเกียรติ พระองค์ชายกลาง เป็น "บูรพศิลปิน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สาขาศิลปะการแสดง" โดยมีการเชิดชูเกียรติศิลปินผู้ล่วงลับ ซึ่งมีคุณูปการต่องานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติอันเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม ควรค่าแก่การเคารพยกย่องซึ่งอนุชนรุ่นต่อมาได้พัฒนาและสืบทอดให้เจริญก้าวหน้ามาจนปัจจุบัน ซึ่งในโอกาสดังกล่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อสำหรับศิลปินผู้ล่วงลับว่า “บูรพศิลปิน”[19]

หม่อม และพระโอรส พระธิดา[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร มีหม่อม 5 คน ดังนี้

  • หม่อมราชวงศ์กุลปราโมทย์ จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม สวัสดิกุล; 2 มิถุนายน พ.ศ. 2458 - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) ต่อมาทรงหย่า มีพระธิดา 1 องค์ คือ
    • หม่อมเจ้าหญิงจามเทพี ยุคล (23 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 26 มกราคม พ.ศ. 2485) ประสบอุบัติเหตุจมน้ำโคลน สิ้นชีพิตักษัยขณะมีชันษา 9 ปี
  • สมเชื้อ มุกสิกบุตร (สกุลเดิม ชมเสวี) ต่อมาทรงหย่า มีพระโอรส 1 องค์ คือ
    • หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล (31 ธันวาคม พ.ศ. 2479 - 1 กันยายน พ.ศ. 2565) เสกสมรสกับหม่อมบงกชปริยา ยุคล ณ อยุธยา (เดิม เบ็ตตี คอลค์สตีน) มีโอรสและธิดา 3 คน
  • ทองไพ ประยูรโต (ถึงแก่กรรม 9 ธันวาคม พ.ศ. 2487) มีพระโอรส 1 องค์ คือ
    • หม่อมเจ้าวิสาขะ ยุคล (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2527) เสกสมรสกับพิมพ์ใจ ประยูรโต และเรณู รื่นจิตร มีโอรสและธิดา 3 คน
  • ทองแถม ประยูรโต มีพระโอรสและพระธิดา 3 องค์ คือ
    • ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ (เดิม หม่อมเจ้าศรีสว่างวงศ์ ยุคล; ประสูติ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2489) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับศักดา บุญจิตราดุลย์ มีบุตรและธิดา 2 คน
    • หม่อมเจ้าหญิง (ไม่มีพระนาม; สิ้นชีพิตักษัยเมื่อชันษา 1 วัน)
    • พลเอก หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล (ประสูติ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2493) ราชองครักษ์พิเศษ และ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์, อดีตรองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
  • บัวทอง ไตลังคะ มีพระโอรส 1 องค์ คือ

ผลงาน[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร (29 เมษายน พ.ศ. 2456 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534)

พระยศทางทหารและตำรวจ[แก้]

พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ชั้นยศ พลตรี[23]
หน่วยกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2478: ว่าที่ ร้อยตรี
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478: ร้อยตรี[24]
  • 29 เมษายน พ.ศ. 2482: ร้อยตำรวจโท[25]
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2488: ร้อยตำรวจเอก[26]
  • 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490: ว่าที่ร้อยเอก
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491: ร้อยเอก[27]
  • 23 เมษายน พ.ศ. 2495: พันโท
  • 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508: พันเอก[28]
  • 26 ตุลาคม พ.ศ. 2531: พลตรี

ตำแหน่งทางทหาร[แก้]

  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2478 - เสด็จกลับจากศึกษาวิชาทหาร ณ ประเทศอังกฤษ เข้าประจำการ กองบังคับการกรมเสนาธิการทหารบก
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 - ออกจากประจำการเป็นนายทหารกองหนุนไม่มีเบื้ยหวัด สังกัดกองบังคับการจังหวัดทหารบกกรุงเทพ
  • 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 - อธิบดีกรมตำรวจ ขอตัวไปรับราชการกรมตำรวจ ประจำกองบังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี
  • 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 - กระทรวงกลาโหมขอโอนกลับมารับราชการทหาร เข้าประจำแผนกที่ 2 กรมเสนาธิการทหารบก
  • 14 สิงหาคม พ.ศ. 2493 - นายทหารประจำคณะทูตทหาร ประจำกองบัญชาการผสมของสหประชาชาติ
  • 22 กันยายน พ.ศ. 2493 - ล่ามประจำกรมผสมที่ 21
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 - ประจำกองบังคับการ กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2495 - ประจำกองบังคับการ กรมทหารม้าที่ 2
  • 29 สิงหาคม พ.ศ. 2495 - รักษาราชการนายทหารติดต่อ กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
  • 30 มีนาคม พ.ศ. 2498 - ประจำแผนกข่าว ศูนย์การทหารม้า
  • 18 กันยายน พ.ศ. 2498 - นายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2498
  • 23 เมษายน พ.ศ. 2499 - อาจารย์แผนกวิชาการรบพิเศษ กองการศึกษา โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
  • 9 ธันวาคม พ.ศ. 2502 - หัวหน้าแผนก กรมการข่าวทหารบก
  • 22 ตุลาคม พ.ศ. 2505 - รองผู้บังคับการ กรมนักเรียน โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
  • 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 - หัวหน้าแผนก ศูนย์การทหารม้า
  • 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 - ประจำศูนย์การทหารม้า
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 - ออกจากราชการเนื่องจากครบเกษียณอายุราชการ เป็นนายทหารนอกราชการ สังกัดกองบังคับการจังหวัดทหารบกกรุงเทพ
ธรรมเนียมพระยศของ
พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร
การทูลกราบทูลทราบฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[18] ดังนี้

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญราชการสงครามเกาหลี

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. หอเกียรติยศนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ http://www.debsirinalumni.org/main_hof.php?type_1=บรมวงศานุวงศ์ เก็บถาวร 2018-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Members of Royal Families https://www.etoncollege.com/Royals.aspx เก็บถาวร 2020-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. 3.0 3.1 อนุสรณ์แห่งความรัก เนื่องในการพระราชทานเพลิงพระศพ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2535
  4. หนังสือ รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ลี้ภัยรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ จากกรุงเทพฯ ถึงปักกิ่ง โดย สุพจน์ ด่านตระกูล หน้า 30-31
  5. https://trove.nla.gov.au/newspaper/article/18501257
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/D/051/2672.PDF
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/058/3969_1.PDF
  8. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 28 เล่มที่ 69 เรื่อง พระราชทานยศทหารhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/D/028/1212.PDF
  9. Yukol, C., Lieutenant Colonel Momjao. (1991). Anusorn ngan phra rachatan phloeng phra sop phontri phra chao woravongther phraaong chao Chaloemphon Thikhamporn [Commemorationat His Royal Highness Prince Chaloemphon Thikhamporn’s Cremation]. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand.
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2498/D/033/971.PDF
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ
  12. http://www.m-culture.in.th/album/14163
  13. สุนทราภรณ์ ครึ่งศตวรรษ. เป็นหนังสือที่ระลึก/การก่อตั้ง วงดนตรีสุนทราภรณ์ครบรอบ 50 ปี 20 พฤศจิกายน ปี 2532.
  14. นุกูล ทัพดี, ความสำคัญของเพลงตระนาฏราช ในวัฒนธรรมดนตรีไทย file:///C:/Users/admin/Downloads/66745-Article%20Text-262661-1-10-20171123.pdf
  15. คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง : พระกริ่งเฉลิมพลฯปี"05https://www.khaosod.co.th/amulets/news_133530
  16. สมุดสมเด็จ พ.ศ. 2531 อนุสรณ์ 200 ปี แห่งชาตะกาล สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
  17. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพระศพ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ม.จ.ก., ป.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕
  18. 18.0 18.1 "ข่าวในพระราชสำนัก [29 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2564]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (20 ง): 1515. 6 กุมภาพันธ์ 2535. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง การยกย่องเชิดชูเกียรติบูรพศิลปิน พุทธศักราช 2559http://www.culture.go.th/cul_fund/download/bygone/bygone59.pdf เก็บถาวร 2020-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  20. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  21. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  22. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
  23. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-03. สืบค้นเมื่อ 2020-06-21.
  24. ประกาศ พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๕๙๖)
  25. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  26. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  27. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  28. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  29. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๒๘๖ เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๒๙, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
  30. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-25.
  31. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  32. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  33. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ หน้า ๒๖๗๓ เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๕๑, ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
  34. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๕๒๕ เล่ม ๓๔, ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๐
  35. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๑๐๑๑ เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๑๗, ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๖
  36. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/3718.PDF
  37. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, ตอนที่ 51 เล่ม 69 หน้า 2571, 19 สิงหาคม 2495
  38. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอนที่ 58 เล่ม 68 หน้า 3969, 18 กันยายน 2494

แหล่งข้อมูล[แก้]