ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ
中英联合声明
ปฏิญญาร่วมของรัฐบาลสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยปัญหาฮ่องกง
中华人民共和国政府和大不列颠及北爱尔兰联合王国政府关于香港问题的联合声明
วันลงนาม19 ธันวาคม ค.ศ.1984
ที่ลงนามปักกิ่ง, ประเทศจีน
วันมีผล27 พฤษภาคม ค.ศ.1985
เงื่อนไขลงนามปฏิญญา
ผู้ลงนามจ้าว จื่อหยาง, นายกรัฐมนตรีจีน
มาร์กาเรต แทตเชอร์, นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
ภาคี สาธารณรัฐประชาชนจีน
 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ

ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ปฏิญญาร่วมของรัฐบาลสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยปัญหาฮ่องกง ลงนามโดยนายกรัฐมนตรีจ้าว จื่อหยางและมาร์กาเรต แทตเชอร์ แห่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ในกรุงปักกิ่ง[1]

ปฏิญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับด้วยการแลกเปลี่ยนตราสารให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และจดทะเบียนจากทั้งจีนและอังกฤษที่สหประชาชาติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2528 ในปฏิญญาร่วม รัฐบาลจีนแถลงว่า จีนได้ตัดสินใจคงการใช้อธิปไตยเหนือฮ่องกง (รวมทั้งเกาะฮ่องกง เกาลูน และดินแดนใหม่) ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และรัฐบาลอังกฤษแถลงว่า จะส่งมอบฮ่องกงคืนให้แก่จีนโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 รัฐบาลจีนยังได้แถลงนโยบายพื้นฐานเกี่ยวกับฮ่องกงในตราสารด้วย

ตามหลัก "หนึ่งประเทศ สองระบบ" ที่ตกลงกันระหว่างอังกฤษกับจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกงจะไม่ใช่ระบบสังคมนิยมของจีน และระบบทุนนิยมแต่เดิมและวิถีชีวิตของฮ่องกงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลา 50 ปี จนถึง พ.ศ. 2590 ปฏิญญาร่วมยังกำหนดให้นโยบายพื้นฐานควรระบุไว้ในกฎหมายพื้นฐานฮ่องกง และระบบสังคมนิยมและนโยบายสังคมนิยมไม่ควรใช้ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

อ้างอิง[แก้]

  1. Constitutional and Mainland Affairs Bureau, The Government of the HKSAR. "The Joint Declaration" and following pages, 1 July 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]