ข้ามไปเนื้อหา

คอเลสไตรามีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คอเลสไตรามีน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าQuestran
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682672
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
  • C
ช่องทางการรับยาการรับประทาน
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • US: ℞-only
  • In general: ℞ (Prescription only)
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผลต่ำ
การจับกับโปรตีนไม่ทราบแน่ชัด
การเปลี่ยนแปลงยาน้ำดี
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ0.1 ชั่วโมง
การขับออกอุจจาระ
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
DrugBank
ChemSpider
  • none
UNII
KEGG
ChEMBL
ECHA InfoCard100.031.143
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
มวลต่อโมลโดยเฉลี่ยมากกว่า 106 ดาลตัน
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

คอเลสไตรามีน (อังกฤษ: Colestyramine สำหรับ INN หรือ cholestyramine สำหรับ USAN) (ชื่อการค้า Questran, Questran Light, Cholybar, Olestyr) เป็นยาลดไขมันในกระแสเลือดกลุ่มไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์โดยการจับกับน้ำดีในทางเดินอาหารเพื่อป้องกันการไม่ให้เกิดการแตกตัวของไขมันจากอาหารและป้องกันการดูดซึมกลับของน้ำดี [1]โดยคอเลสไตรามีนถือเป็นเรซินแลกเปลี่ยนไอออน (ion exchange resin) ที่มีฤทธิ์แรง ทำให้คอเลสไตรามีนสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการแลกเปลี่ยนคลอไรด์ไอออนกับกรดน้ำดีซึ่งมีประจุเป็นลบในทางเดินอาหารได้ และจับกับกรดน้ำดีเหล่านั้นในรูปแบบของเรซินเมทริกซ์ โดยหมู่แทนที่ของเรซินแลกเปลี่ยนไอออน คือ หมู่ควอเทอนารี่ แอมโมเนี่ยม (quaternary ammonium group) และ สไตรีน-ไดไวนิลเบนซีน โคพอลิเมอร์ (styrene-divinylbenzene copolymer)[2]

คอเลสไตรามีนจะลดปริมาณกรดน้ำดีในร่างกายด้วยการจับกับน้ำดีในลำไส้เล็กเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่งจะถูกขับออกมากับอุจจาระในภายหลัง การที่น้ำดีถูกขับมากับอุจจาระนี้ จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำดี ซึ่งโดยปกติต้องถูกดูดซึมกลับเข้าไปในร่างกาย ทำให้ร่างกายต้องดึงเอาคอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในกระแสเลือดมาเปลี่ยนเป็นน้ำดีที่ตับ เพื่อคงระดับน้ำดีให้อยู่ในระดับปกติ การดึงเอาคอเลสเตอรอลไปใช้ในกระบวนดังกล่าวเป็นผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดลดลงในที่สุด[1]

คอเลสไตรามีนเป็นยาแผนปัจจุบัน ชนิดรับประทาน มีการดูดซึมเข้าร่างกายได้ต่ำ และจะถูกขับออกมากับอุจจาระ คณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้บรรจุยาคอเลสไตรามีนลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยระบุเป็นยาอันตราย ใช้ลดไขมันในเลือดและเป็นยาแก้ท้องเสียที่มีสาเหตุจากน้ำดีของร่างกาย[3]

การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

[แก้]

ยากลุ่มไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ อย่างคอเลสไตรามีนเป็นยากลุ่มแรกที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาภาวะคอเรสเตอรอลในเลือดสูง แต่ภายหลังจากมีการค้นพบยากลุ่มสแตติน ทำให้มีการใช้ยากลุ่มไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์สำหรับลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดน้อยลง อย่างไรก็ตามคอเลสไตรามีนยังถูกใช้ในการบรรเทาอาการคันอันเนื่องมาจากท่อน้ำดีอุดตันบางส่วน (cholestasis)  ทำให้ปริมาณสารให้สีเหลืองหรือบิลลิรูบิน (bilirubin) ในร่างกายมากเกินไป ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดออกได้เอง[3]

คอเลสไตรามีนมักถูกเลือกใช้ในการรักษาภาวะท้องเสียที่มีสาเหตุมาจากการดูดซึมน้ำดีกลับผิดปกติ (bile acid malabsorption)[4] นอกจากนี้แล้วคอเลสไตรามีนยังถูกใช้เพื่อรักษาภาวะท้องเสียในผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบโครห์น (Crohn's disease) ที่เคยได้รับการผ่าตัดลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileal resection)[5][6][7] ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลายเป็นส่วนที่มีการดูดซึมกลับของน้ำดีมากที่สุด เมื่อลำไส้ส่วนนี้ถูกตัดออกไป ทำให้การดูดซึมกลับของน้ำดีลดลงอย่างมีนัยสำคัญ น้ำดีเหล่านี้จะผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ และกระตุ้นให้เซลล์โคโลโนไซต์ (colonocytes) หลั่งคลอไรด์ไอออนและสารน้ำออกมา โดยสารเหล่านี้จะทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มและมีปริมาณน้ำมาเกินไป ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย (secretory diarrhea) ได้ในที่สุด[7]  ซึ่งคอเลสไตรามีนจะสามารถป้องกันการเกิดความผิดปกติดังกล่าวได้ด้วยการเข้าไปจับกับกรดน้ำดีกลายเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ไม่ละลายน้ำและไม่มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งคลอไรด์ไอออนและสารน้ำจากเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่[1]

คอเลสไตรามีนยังถูกใช้ในการควบคุมอาการท้องเสียที่มีสาเหตุมาจากการมีความผิดปกติของกรดน้ำดีในรูปแบบอื่นๆ ประการแรกก็คือ ใช้ในการรักษาภาวะท้องเสียจากกรดน้ำดีที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดว่ามีภาวะลำไส้แปรปรวนชนิดท้องเสียเด่น (diarrhea-predominant irritable bowel syndrome; IBS-D) ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่แล้วมักตอบสนองต่อการรักษาด้วยคอเลสไตรามีนได้เป็นอย่างดี[8] นอกจากนี้แล้ว คอเลสไตรามีนยังมีประโยชน์ในการรักษาอาการท้องเสียเรื้อรังในผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดี (postcholecystectomy syndrome chronic diarrhea)[9][10] และยังสามารถใช้รักษาภาวะท้องเสียที่เกิดหลังจากการได้รับการผ่าตัดเส้นประสามสมองวากัส (Post-vagotomy diarrhea)[11][12]

คอเลสไตรามีนยังมีประโยชน์ในการรักษาการติดเชื้อ Clostridium difficile  ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้ โดยคอเลสไตรามีนจะออกฤทธิ์ดูดซับ toxins A และ B ที่เกิดจากเชื้อดังกล่าว ทำให้สามารถลดอาการท้องเสียและอาการอื่นที่เกิดจากสารพิษทั้งสองชนิดนั้นได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคอเลสไตรามีนไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อดังกล่าว การรักษาภาวะนี้จึงจำเป็นต้องให้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ เช่น แวนโคมัยซิน (Vancomycin) เป็นต้น[3][13]

นอกจากนี้ คอเลสไตรามีนยังถูกเพื่อเร่งการกำจัดยาเลฟลูโนไมด์ (leflunomide) หรือ เทอริฟลูโนไมด์ (teriflunomide) ออกจากร่างกายในผู้ที่เกิดจำเป็นต้องหยุดการใช้ยาดังกล่าวเนื่องจากเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงจากยาทั้งสองชนิดดังข้างต้น[14][15]

มีรายงานว่าคอเลสไตรามีนอาจมีประโยชน์ในการรักษาการเกิดพิษจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobacteria) ในสุนัข ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากสารพิษกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อว่า ไมโครซิสทิน (microcystin) ซึ่งเป็นพิษต่อตับ[16][17]

นอกจากนี้แล้ว ยังมีการใช้ขี้ผึ้ง (Ointments) ที่มีส่วนผสมของสารประกอบคอเลสไตรามีนที่มีกลิ่นทาเพื่อรักษาผื่นผ้าอ้อมในเด็กแรกเกิดและเด็กวัยเตาะแตะ (1-3 ปี)[18]

รูปแบบเภสัชภัณฑ์

[แก้]

คอเลสไตรามีนที่มีจำหน่ายในปัจจุบันเป็นยารูปแบบผงแห้ง บรรจุในซอง ซองละ 4 กรัม [3]หรือผงแห้ง บรรจุในกระป๋อง ในสหรัฐอเมริกา คอเลสไตรามีนมีจำหน่ายภายใต้ชื่อการค้า Questran® หรือ Questran Light® ซึ่งผลิตโดยบริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ส สควิบบ์ (Bristol-Myers Squibb)[19]

สำหรับในประเทศมีจำหน่ายภายใต้ชื่อการค้า Resincolestiramina® ผลิตโดยบริษัท แล็บ รูบิโอ/ทีทีเอ็น จำกัด (Lab Rubio TTN) [3][20]และภายใต้ชื่อการค้า Questran® หรือ Questran Light®[19]

ขนาดที่ใช้ในการรักษา

[แก้]

ขนาดของยาคอเลสไตรามีนโดยทั่วไปจะใช้ในปริมาณ 4-8 กรัม รับประทานวันละ 1-2 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 24 กรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม ขนาดใช้ยาต้องปรับตามข้อบ่งใช้หรือตามแพทย์สั่ง เนื่องจากยานี้มีข้อบ่งใช้หลายอย่าง จึงต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ก่อน โดยเฉพาะการใช้ยาเพื่อลดระดับไขมันในเลือด[21] ไม่แนะนำปรับขนาดหรือหยุดยาเอง เนื่องจากอาจก่อให้ภาวะของโรครุนแรงขึ้นหรือเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงจากยาได้

อาการไม่พึงประสงค์

[แก้]

อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากคอเลสไตรามีนที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ท้องผูก[22] ซึ่งขึ้นกับปริมาณที่รับประทาน และอายุ อาการข้างเคียงอื่นนอกจากนี้ เช่น[21]

  • ปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน
  • เลือดออกง่าย จ้ำเลือด
  • ลมพิษ หอบหืด
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น

ผู้ที่ใช้ยาเกินขนาดเป็นเวลานานหรือผู้สูงอายุ อาจทำให้มีอาการท้องผูก แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยและดื่มน้ำมาก ๆ หากมีอาการท้องผูกรุนแรงควรปรึกษาแพทย์ หากมีอาการร่วม เช่น อาการท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย อาการเหล่านี้อาจหายไปได้เมื่อใช้ยาต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่ถ้าอาการแซกซ้อนกินยาแล้วไม่หายหรือมีอาการรุนแรงขึ้น กรุณาหยุดหารใช้ยาและพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา[23]

ผู้ป่วยที่มีประวัติผ่าตัดบริเวณช่องท้องควรใช้คอเลสไตรามีนอย่างระมัดระวัง เนื่องจากมีรายงานว่ายาดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันได้[24][25][21]

ผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (hypothyroidism), เบาหวาน (diabetes), กลุ่มอาการเนโฟรติค (nephrotic syndrome), ภาวะมีปริมาณโปรตีนบางชนิดในเลือดสูงผิดปกติ (dysproteinemia), ท่อน้ำดีอุดตัน (obstructive liver disease), โรคไตเรื้อรัง (kidney disease), หรือผู้ป่วยที่ติดสุราเรื้อรัง (alcoholism) ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้[22] ส่วนการใช้ยาชนิดอื่นๆร่วมกับคอเลสไตรามีนนั้นควรับประทานยาเหล่านั้นก่อนคอเลสไตรามีนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงหลังจากรับประทานคอเลสไตรามีน เพื่อป้องกันผลจากคอเลสไตรามีนที่อาจทำให้การดูดซึมยาเหล่านั้นลดน้อยลง ผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีนหรือโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria; PKU) ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้คอเลสไตรามีนที่มีส่วนผสมของฟีนิลอะลานีน เช่น ผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อการค้า Questran Light เนื่องจากจะทำให้อาการของโรคแย่ลงได้

อันตรกิริยาระหว่างยา

[แก้]

คอเลสไตรามีนสามารถเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยาอื่นได้หลายชนิด ได้แก่:[3][22]

อันตรกิริยาระหว่างยาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักมีความเสี่ยงมาจากการที่คอเลสไตรามีนลดการดูดซึมยาดังข้างต้น[25][21] แต่ไม่มีผลต่อระยะเวลาในการรักษา อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้รักษาควรพิจารณาประเมินช่วงระยะเวลาในการบริหารยาให้เหมาะสม หากมีความจำเป็นต้องมีการใช้ยาดังข้างต้นอย่างต่อเนื่อง การใช้ยาคอเลสไตรามีนในขนาดที่สูงทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการอุดกั้นของลำไส้และกระเพาะอาหารได้[21]

คอเลสไตรามีนอาจมีผลรบกวนการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ, วิตามินดี, วิตามินอี และวิตามินเค และยังไม่มีคำแนะนำเพิ่มเติมใดๆสำหรับการใช้คอเลสไตรามีนในผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์[21][3]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 จันคนา บูรณะโอสถ, นลินี พูลทรัพย (1965). "Cholestyramine Resin Therapy for Hypercholesteremia: Clinical and Metabolic Studies". JAMA. 192 (4): 289–93. doi:10.1001/jama.1965.03080170017004.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. "Cholestyramine Resin" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-02. สืบค้นเมื่อ December 12, 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 อภัย ราษฎรวิจิตร. "คอเลสไทรามีน (Cholestyramine)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ December 13, 2014.
  4. Wilcox C, Turner J, and Green J. (2014). "Systematic review: the management of chronic diarrhoea due to bile acid malabsorption". Aliment Pharmacol Ther. 39 (9): 923–39. doi:10.1111/apt.12684. PMID 24602022.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Hofmann AF, and Poley JR. (1969). "Cholestyramine treatment of diarrhea associated with ileal resection". N Engl J Med. 281: 397–402. doi:10.1056/NEJM196908212810801. PMID 4894463.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Thompson KC, Iredale JP (1996). "Bezoars: Implicated Drugs and Avoidance Strategies". Drug Safety. 281 (2): 85–93. doi:10.2165/00002018-199614020-00003.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 Hofmann AF,and Poley JR (1969). "Cholestyramine Treatment of Diarrhea Associated with Ileal Resection". N Engl J Med. 14 (2): 397–402. doi:10.1056/NEJM196908212810801.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. Wedlake L, A'Hern R, Russell D, Thomas K, Walters JR, Andreyev HJ. (2009). "Systematic review: the prevalence of idiopathic bile acid malabsorption as diagnosed by SeHCAT scanning in patients with diarrhoea-predominant irritable bowel syndrome". Aliment Pharmacol Ther. 30 (7): 707–417. doi:10.1111/j.1365-2036.2009.04081.x. PMID 19570102.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. Sciarretta, G.; Furno, A.; Mazzoni, M.; Malaguti, P. (1992). "Post-Cholecystectomy Diarrhea: Evidence of Bile Acid Malabsorption Assessed by SeHCAT Test". American Journal of Gastroenterology. 87 (12): 1852. PMID 1449156.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Danley T, St Anna L. (2011). "Postcholecystectomy diarrhea: What relieves it?". J Fam Pract. 60 (10): 632c-d. PMID 21977493.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. George JD, Magowan J. (1971). "Diarrhea after total and selective vagotomy". Am J Dig Dis. 16 (7): 635–40. PMID 5563217.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. Gorbashko AI (1992). "[The pathogenesis, diagnosis and treatment of postvagotomy diarrhea]". Vestn Khir Im I I Grek. 148 (3): 254–62. PMID 8594740.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. Stroehlein JR (2004). "Treatment of Clostridium difficile Infection". Curr Treat Options Gastroenterol. 7 (3): 235–9. PMID 15149585.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. Wong SP, Chu CM, Kan CH, Tsui HS, Ng WL (2009). "Successful treatment of leflunomide-induced acute pneumonitis with cholestyramine wash-out therapy". J Clin Rheumatol. 15 (8): 389–92. doi:10.1097/RHU.0b013e3181c3f87e. PMID 19955995.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  15. Hill CL (2004). "Leflunomide-induced peripheral neuropathy: rapid resolution with cholestyramine wash-out". Rheumatology. 43 (6): 809. doi:10.1093/rheumatology/keh150.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Rankin KA, Alroy KA, Kudela RM, Oates SC, Murray MJ, Miller MA (2013).
  17. Rankin KA, Alroy KA, Kudela RM, Oates SC, Murray MJ, and Miller MA (2013). "Treatment of Cyanobacterial (Microcystin) Toxicosis Using Oral Cholestyramine: Case Report of a Dog from Montana". Toxins (Basel). 5 (6): 1051–63. doi:10.3390/toxins5061051.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  18. White CM, Gailey RA, Lippe S (1996).
  19. 19.0 19.1 MIMS.con Singapore. "Colestyramine - MIMS.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ December 12, 2015.
  20. Fun LW, Evangelista LF, Francisco JC, Flores RMC, Fajayan LJA, editors. MIMS.com Thailand. 123rd edition, Bangkok, TIMS (Thailand), 2011, p. 64, ISSN 1686-3666
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 Lacy FC, Armstrong LL, Goldman PM, Lance LL, editors. Drug Information Handbook with international trade name index. 18th edition, New Tork, Lexi-Comp®, 2014, p. 585-588, ISBN 978-1-59195-255-8
  22. 22.0 22.1 22.2 Isaac B. "Questran". PDR Health.com. สืบค้นเมื่อ December 12, 2014.
  23. Siamhealth.net. "Cholestyramine". สืบค้นเมื่อ December 12, 2015.
  24. Merten, DF; Grossman, H (1980). "Intestinal obstruction associated with cholestyramine therapy". American Journal of Roentgenology. 134 (4): 827–8. doi:10.2214/ajr.134.4.827. PMID 6767374.
  25. 25.0 25.1 Jacobson TA, Armani A, McKenney JM, Guyton JR (2007). "Safety considerations with gastrointestinally active lipid-lowering drugs". Am J Cardiol. 99 (6A): 47C–55C. doi:10.1016/j.amjcard.2006.11.022. PMID 17368279.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]