ข้ามไปเนื้อหา

เคอร์ติส แอ็กเซล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Curtis Axel)
เคอร์ติส แอ็กเซล
ชื่อเกิดJoseph Curtis Hennig[1]
เกิด (1979-10-01) ตุลาคม 1, 1979 (44 ปี)[2]
Champlin, Minnesota, United States[3]
ที่พักAnoka, Minnesota, United States[3]
การศึกษาNorth Hennepin Community College
คู่สมรสBrooke Hennig (สมรส 2000)
บุตร3
ครอบครัวCurt Hennig (father)
Larry Hennig (grandfather)
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียนCurtis Axel[4]
Joe Hennig[1]
Michael McGillicutty[4]
ส่วนสูง6 ft 3 in (1.91 m)[4][3]
น้ำหนัก228 lb (103 kg)[4]
มาจากMinneapolis, Minnesota
Champlin, Minnesota[4]
ฝึกหัดโดยCurt Hennig[1]
Harley Race[5]
Brad Rheingans[3]
เปิดตัว2007[1][3]
แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล

โจเซฟ เคอร์ติส เฮนนิค (Joseph Curtis Hennig; 1 ตุลาคม ค.ศ. 1979)[1] นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันที่ปล้ำให้กับWWEในนาม เคอร์ติส แอ็กเซล (Curtis Axel) ลูกชายของตำนาน เคิร์ต เฮนนิค หรือมิสเตอร์เพอร์เฟก[3]

ประวัติ

[แก้]

ปี 2008 เขาได้เซ็นสัญญากับ WWE เข้าร่วมฝึกค่ายพัฒนาทักษะ ฟลอริดาแชมเปียนชิปเรสต์ลิง(FCW)[1][6] และได้แชมป์ฟลอริดาเฮฟวี่เวท FCW[7][8] ปี 2010 ได้ร่วมแข่งขันNXTซีซั่น2 ใช้ชื่อไมเคิล แมคกิลลิคัตตี[9] โดยผู้ชนะคือคาวาล ในเฮลอินเอเซล (2010)เขาและฮัสกี แฮร์ริสได้เข้าไปรบกวนการปล้ำของจอห์น ซีนากับหัวหน้ากลุ่มเดอะเน็กซัส เวด บาร์เร็ตต์ โดยลอบทำร้ายซีนาจนแพ้และต้องกลายเป็นสมาชิกขอเน็กซัส นับจากนั้นทั้งคู่ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเน็กซัส[10] ต่อมาเดอะเน็กซัสได้มีการเปลี่ยนหัวหน้าทีมคนใหม่คือซีเอ็ม พังก์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นเดอะนิวเน็กซัส[11] ต่อมาเขาสามารถคว้าแชมป์แท็กทีม WWEร่วมกับเดวิด โอทังกาได้จากเคนและบิ๊กโชว์[12][13] ก่อนเสียให้อีแวน บอร์นและโคฟี คิงส์ตัน[14]

ในรอว์ 20 พฤษภาคม 2013 พอล เฮย์แมน ออกมาเปิดตัวลูกค้าคนที่3 ของเขา นั่นคือแมคกิลลิคัตตี ในชื่อใหม่ เคอร์ติส แอ็กเซล เฮย์แมนพยายามพูดบรรยายสรรพคุณว่าแมคกิลลิคัตตีนั้นยอดเยี่ยมขนาดไหน เป็นถึงลูกชายของมิสเตอร์เพอร์เฟก ทำไมเขาไม่ได้เป็นสตาร์ระดับสูงซะที เราเปลี่ยนชื่อให้เขาใหม่ซึ่งจะเป็นตำนานของ WWE ต่อไปคือ เคอร์ติส แอ็กเซล แต่ทริปเปิลเอชออกมาและจะเอาเรื่องเฮย์แมน ที่เยาะเย้ยเขาว่าแพ้ บร็อก เลสเนอร์ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2013) แต่แอ็กเซลมาขวางไว้และบอกว่าต้องเจอเขาก่อน ทริปเปิลเอชเลยอัดแอ็กเซลจนล้มลงไป และขอท้าเจอกัน สู้กันได้ไม่นาน ทริปเปิลเอชก็เกิดหน้ามืดเป็นลมจนทีมงานเข้ามาดูอาการแล้วก็ปรากฏว่าไม่สามารถปล้ำต่อได้[15] ในรอว์ 10 มิถุนายน แอ็กเซลได้เจอกับทริปเปิลเอช ระหว่างแมตช์ วินซ์ แม็กแมนก็เดินออกมาสั่งให้ลั่นระฆัง และประกาศให้แอ็กเซลชนะฟาวล์ไป ทริปเปิลเอชก็สั่งให้เริ่มแมตช์ใหม่อีกครั้ง ปล้ำกันได้ไม่นานวินซ์ก็สั่งให้ตัดสินให้แอ็กเซลชนะเพราะคู่ต่อสู้ไม่มาปล้ำ ทริปเปิลเอชก็ไปสั่งให้ปล้ำแมตช์ใหม่อีกครั้งเป็นแมตช์ไอรอนแมน 60 นาที แต่วินซ์ก็ไล่แอ็กเซลให้กลับไปแล้วก็ยึดเอาระฆังกับไมโครโฟนไปด้วย ทริปเปิลเอชเลยหมดสิทธิ์ได้ปล้ำต่อ[16] ในเพย์แบ็ค (2013)ได้คว้าแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลสมัยแรก[17]

ในรอว์ 19 สิงหาคม ซีเอ็ม พังก์ ออกมาพูดเกี่ยวกับแมตช์ที่เจอกับบร็อก เลสเนอร์ ในซัมเมอร์สแลม (2013) เฮย์แมนออกมาพร้อมกับแอ็กเซล เพื่อให้แอ็กเซลกระทืบพังก์ แต่กลายเป็นโดนพังก์เล่นงานจนหมดสภาพ เฮย์แมนมาขัดขวางไว้ ทำให้แอ็กเซลได้โอกาสเอาเก้าอี้มาฟาดและกระแทกซ้ำๆ ใส่ขาพังก์ที่บาดเจ็บอยู่ แอ็กเซลปิดบัญชีด้วยท่าไม้ตาย Neckbreaker จากนั้นก็เอาเก้าอี้มาหนีบขาพังก์ ก่อนจะขึ้นเชือกแล้วกระโดดลงมา แต่พังก์กลิ้งหลบได้ทันแล้วเอาเก้าอี้ไล่ฟาดแอ็กเซล ก่อนจะจับ GTS ลงบนขั้นบันไดเหล็ก ในรอว์ 26 สิงหาคม แอ็กเซลได้เจอกับพังก์ สุดท้ายแอ็กเซลก็แพ้ไป หลังแมตช์ เฮย์แมนพยายามจะหนีแต่โดน รปภ.ลากตัวกลับมาหาพังก์ แต่แอ็กเซลฟื้นมาพอดีแล้วมาจัดการล้วงพังก์ จากนั้นก็จับใส่กุญแจมือให้เฮย์แมนตบหัวเล่น พังก์ยังใช้ขาเตะก้านคอแอ็กเซลร่วงไปได้ จากนั้นก็ไปไล่เตะเฮย์แมนอย่างเมามันส์ แต่สุดท้ายก็โดนแอ็กเซลฟาดด้วยเก้าอี้ แอ็กเซลล็อกคอพังก์ให้เฮย์แมนใช้ไม้เคนโด้กระหน่ำตีจนหมดสภาพ ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2013) แอ็กเซลได้จับคู่กับเฮย์แมน เจอกับพังก์ ในแฮนดิแคป 2 ต่อ 1 แบบคัดออก ไม่มีกฏกติกา สุดท้ายแอ็กเซลและเฮย์แมนก็เป็นฝ่ายชนะ จากการช่วยเหลือจากไรแบ็ก ในแบทเทิลกราวด์ แอ็กเซลสามารถป้องกันแชมป์อินเตอร์กับอาร์-ทรูธไว้ได้ ต่อมาแอ็กเซลได้รับบาดเจ็บ ทำให้แมตช์ชิงแชมป์อินเตอร์กับบิ๊กอีในเฮลอินเอเซล (2013)ต้องยกเลิก[18] ก่อนเสียแชมป์อินเตอร์ให้บิ๊กอีในรอว์ 18 พฤศจิกายน

เขาได้ร่วมทีมกับไรแบ็กในนามไรแบ็กเซล ในทีแอลซี (2013)ได้ชิงแชมป์แท็กทีม 4 เส้าแบบคัดออก แต่ไม่สามารถคว้าแชมป์ได้ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30แพ้ชิงแชมป์แท็กทีม 4 เส้าแบบคัดออกอีกครั้งก่อนจะแยกกับไรแบ็กเวลาต่อมา ในปี 2015 แอ็กเซลได้ใช้กิมมิคของฮัลค์ โฮแกน โดยใช้ชื่อว่า แอ็กเซลเมเนีย และได้ร่วมทีมกับมาโช แมนดาว หรือแดเมียน แซนดาว ที่ใช้กิมมิคของแรนดี ซาเวจ ในนามเดอะเมกะพาวเวอร์[19][20][21] ไม่นานโฮแกนได้ถูกแบนออกจาก WWE ทำให้เดอะเมกะพาวเวอร์ต้องยุติบทบาท[22] ปี 2016 ได้เข้าร่วมกลุ่ม The Social Outcasts[23][24] 19 กรกฎาคม ได้มีการดราฟท์ตัวทำให้ต้องแยกกลุ่ม[25][26][27] มิถุนายน 2017 เขากับโบ ดัลลัสได้รับบทเป็นลูกน้องให้เดอะมิซในนาม Miztourage จนถึงเมษายน 2018[28] หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ตั้งชื่อทีม B-Team[29] และได้คว้าแชมป์รอว์แท็กทีม WWEร่วมกัน[30] ก่อนจะออกในปี 2020[31]

ผลงานแสดง

[แก้]
ปี เรื่อง รับบท หมายเหตุ
2017 The Marine 5: Battleground Deacon

แชมป์และรางวัล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Curtis Axel". Online World of Wrestling. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-21. สืบค้นเมื่อ 2010-08-04.
  2. "Featured Content on Myspace". Myspace. สืบค้นเมื่อ July 17, 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "WLW Profile". World League Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2008. สืบค้นเมื่อ September 21, 2008.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Curtis Axel bio". WWE. สืบค้นเมื่อ March 23, 2016.
  5. "WLW Profile: Ted DiBiase Jr". harleyrace.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 5, 2007. สืบค้นเมื่อ October 7, 2007.
  6. Varsallone, Jim (2008-11-26). "Wrestling tradition continues with confident Smith". Miami Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-14. สืบค้นเมื่อ 2009-02-24.
  7. 7.0 7.1 "Florida Championship Wrestling (2009) – February 26, 2009 – Florida Championship Wrestling – TV Taping (airing 3/15)". Online World of Wrestling. 2009-02-26.
  8. "FCW Florida Heavyweight Title history". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-06-22.
  9. Caldwell, James (2010-06-01). "WWE News: NXT Results – Season Two announced, Pro & Rookie pairings revealed". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2010-06-01.
  10. Hillhouse, Dave (2010-10-04). "Hell in a Cell: Betrayal, fan interference, and flying shoes". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-03. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
  11. Plummer, Dale (2011-02-28). "RAW: Triple H talks Wrestlemania; The Miz loses an ally". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 2011-03-02.
  12. "History of the WWE Tag Team Championship: David Otunga & Michael McGillicutty". WWE. May 23, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-30. สืบค้นเมื่อ May 24, 2011.
  13. Plummer, Dale (May 23, 2011). "RAW: Cena gets nothing but the R-Truth". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-03. สืบค้นเมื่อ May 24, 2011.
  14. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 8/22: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Cena-Punk #1 contender re-match, new tag champions, lies & conspiracies". PW Torch. สืบค้นเมื่อ 29 August 2011.
  15. Curtis Axel def. Triple H
  16. Curtis Axel def. Triple H via Disqualification and Forefit
  17. "CALDWELL'S WWE PAYBACK PPV RESULTS 6/16 (Hour 1): Axel captures IC Title in opening match, A.J. captures Divas Title, RVD returning to WWE".
  18. http://www.pwinsider.com/ViewArticle.php?id=81182
  19. Parks, Greg (May 21, 2015). "PARKS'S WWE SMACKDOWN REPORT 5/21". PWtorch.com. สืบค้นเมื่อ May 25, 2015. Axel came out to Hulk Hogan’s theme. Both were dressed up as the men they were imitating.
  20. Caldwell, James (May 17, 2015). "CALDWELL'S WWE PAYBACK PPV REPORT 5/17 (pre-show)". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ May 25, 2015. Hulk Hogan's music then played to bring out Curtis Axel dressed in all red & yellow with the bandana, fake mustache, sunglasses, boa, and red & yellow trunks and shirt
  21. "The Ascension def. 'The Mega Powers'". WWE. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  22. "Show results - 7/24 WWE in Bakersfield, Calif.: Cena vs. Owens Street Fight main event, Axel & Sandow drop Meta Powers routine, Cesaro, more". Pro Wrestling Torch. 25 July 2015. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.
  23. Benigno, Anthony (4 January 2016). "Heath Slater def. Dolph Ziggler". WWE.com. The trio all assisted in helping Slater upset The Showoff moments before announcing that the four “social outcasts” would collectively be pooling their efforts ~ The outcasts sound off on Raw
  24. "The Social Outcasts take over the backstage area". WWE.com. 4 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-01. สืบค้นเมื่อ 2016-02-02.
  25. "2016 WWE Draft results: WWE officially ushers in New Era". WWE. สืบค้นเมื่อ July 19, 2016.
  26. "WWE RAW Results – 7/25/16 (Live from Pittsburgh, fallout from Battleground, new era of RAW begins)". WrestleView. สืบค้นเมื่อ 26 July 2016.
  27. "7/25 WWE Raw Results – CALDWELL'S Complete Live Report". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ 26 July 2016.
  28. Brendan, Marrow (June 19, 2017). "WWE 'Monday Night Raw' Match Results & Spoilers June 19th". Heavy. สืบค้นเมื่อ June 20, 2017.
  29. Tedesco, Mike (May 14, 2018). "WWE RAW Results - 5/14/18 (Rollins defending Intercontinental Title, MITB qualifiers)".
  30. Powell, Jason. "Powell's WWE Extreme Rules live review: Roman Reigns vs. Bobby Lashley, AJ Styles vs. Rusev vs. for the WWE Championship, Dolph Ziggler vs. Seth Rollins in a 30-minute Iron Man match for the IC Title, Bludgeon Brothers vs. Team Hell No for the Smackdown Tag Titles". Pro Wreslting Dot Net. สืบค้นเมื่อ July 15, 2018.
  31. "Curtis Axel released". WWE. April 30, 2020. สืบค้นเมื่อ April 30, 2020.
  32. 32.0 32.1 "FCW Florida Tag Team Championship history".
  33. "Achievement Awards: Feud of the Year". Pro Wrestling Illustrated. January 10, 2011. สืบค้นเมื่อ January 15, 2011.
  34. "Achievement Awards: Most Hated". Pro Wrestling Illustrated. January 17, 2011. สืบค้นเมื่อ January 22, 2011.
  35. "Rookie of the Year". Pro Wrestling Illustrated. 30 (3): 62–63. 2009.
  36. "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2013". The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ August 22, 2013.
  37. "Curtis Axel's first Intercontinental Championship reign". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2013.
  38. "David Otunga and Michael McGillicutty's first Tag Team Championship reign". WWE. May 23, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2012. สืบค้นเมื่อ May 24, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]