เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2019
สนามกีฬาเวมบลีย์ | |||||||
รายการ | เอฟเอคัพ ฤดูกาล 2018–19 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||
วันที่ | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 | ||||||
สนาม | สนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน | ||||||
ผู้เล่นยอดเยี่ยม ประจำนัด | เกฟิน เดอ เบรยเนอ (แมนเชสเตอร์ซิตี) | ||||||
ผู้ตัดสิน | เควิน เฟรนด์ (เลสเตอร์เชียร์)[1] | ||||||
ผู้ชม | 85,854 คน | ||||||
เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ ปี 2019 เป็นรอบชิงชนะเลิศครั้งที่ 138 ของเอฟเอคัพ, การแข่งขันฟุตบอลถ้วยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก. ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 ที่ สนามกีฬาเวมบลีย์ ในกรุงลอนดอน, ประเทศอังกฤษ และเป็นการตัดสินกันระหว่าง แมนเชสเตอร์ซิตี และ วอตฟอร์ด. ทีมชนะเลิศจะได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอล ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2019–20 ที่รอบแบ่งกลุ่ม.[2]
เนื้อหา
เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ[แก้]
แมนเชสเตอร์ซิตี[แก้]
รอบ | คู่แข่งขัน | ผล |
---|---|---|
3 | รอเทอรัม ยูไนเต็ด (H) | 7–0 |
4 | เบิร์นลีย์ (H) | 5–0 |
5 | นิวพอร์ต เคาน์ตี (A) | 4–1 |
QF | สวอนซี ซิตี (A) | 3–2 |
SF | ไบรตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบียน (N) | 1–0 |
สัญลักษณ์: (H) = สนามทีมเหย้า; (A) = สนามทีมเยือน; (N) = สนามกลาง. |
ในฐานะสโมสรจาก พรีเมียร์ลีก, แมนเชสเตอร์ซิตี เริ่มต้นในรอบที่สามโดยที่พวกเขาถูกจับสลากพบกับทีมจาก แชมเปียนชิป รอเทอรัม ยูไนเต็ด ที่บ้าน. ของพวกเขา สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ แมนเชสเตอร์ซิตี ชนะ 7–0 มาจากการทำประตูของ ราฮีม สเตอร์ลิง, ฟิล โฟเดน, การทำเข้าประตูตัวเองหนึ่งประตูจาก เซมี อาจายี, กาบรีแยล เฌซุส, ริยาฏ มะห์รัซ, นิโกลัส โอตาเมนดิ และ ลีร็อย ซาเน.[3] ในรอบที่สี่, พวกเขาถูกจับสลากพบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีก เบิร์นลีย์ ที่บ้านโดยที่พวกเขาชนะ 5–0 จากการทำประจูของ เฌซุส, บือร์นาร์ดู ซิลวา, เกฟิน เดอ เบรยเนอ, การทำเข้าประตูตัวเองหนึ่งลูกจาก เควิน ลอง และ เซร์ฆิโอ อาเกวโร.[4] ในรอบที่ห้า, พวกเขาลงเล่นกับทีมจาก ฟุตบอลลีกทู นิวพอร์ต เคาน์ตี ในเกมเยือน. ที่สนาม ร็อดนีย์ พาเหรด ในประเทศเวลส์, แมนเชสเตอร์ซิตี ชนะ 4–1 จากประตูของ ซาเน, สองประตูจากโฟเดน และ มะห์เรซ.[5] ในรอบก่อนรองชนะเลิศ, พวกเขาจับสลากพบกับ สวอนซี ซิตี ของฟุตบอลลีกแชมเปียนชิปในเกมเยือน. ที่ประเทศเวลส์ ลิเบอร์ตีสเตเดียม พวกเขาชนะ 3–2 จากประตูของ ซิลวา, การทำเข้าประตูตัวเองหนึ่งประตูของ คริสตอฟเฟอร์ นอร์ดเฟลด์ท และ อาเกวโร.[6] ในรอบรองชนะเลิศที่สนามเป็นกลางสนามกีฬาเวมบลีย์, พวกเขาได้จับสลากพบกับทีมจากพรีเมียร์ลีก ไบรตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบียน และได้กรุยทางเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศด้วยชัยชนะ 1–0 จากการทำประตูของ เฌซุส.[7]
วอตฟอร์ด[แก้]
รอบ | คู่แข่งขัน | ผล |
---|---|---|
3 | โวกกิง (A) | 2–0 |
4 | นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (A) | 2–0 |
5 | ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ (A) | 1–0 |
QF | คริสตัลพาเลซ (H) | 2–1 |
SF | วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ (N) | 3–2 (หลังต่อเวลาพิเศษ) |
สัญลักษณ์: (H) = สนามทีมเหย้า; (A) = สนามทีมเยือน; (N) = สนามกลาง. |
ในฐานะสโมสรจาก พรีเมียร์ลีก เหมือนกัน, วอตฟอร์ดเริ่มต้นในรอบที่สามเหมือนกัน. พวกเขาถูกจับสลากออกไปเยือนที่ฝั่ง เนชันแนลลีกใต้ โวกกิง. ที่ สนามกีฬาคิงฟีลด์ วอตฟอร์ด ชนะ 2–0 กับประตูที่มาจาก วิลล์ ฮิวจ์ส และ ทรอย ดีนีย์.[8] ในรอบต่อไปพวกเขาลงเล่นพบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีก นิวคาสเซิลยูไนเต็ด ในเกมเยือน. ที่ เซนต์เจมส์พาร์ก, วอตฟอร์ดเดินหน้าลุยต่อไปได้ด้วยการเอาชนะไปได้ 2–0 กับประตูที่มาจาก อันเดร เกรย์ และ ไอซัค ซัคเซสส์.[9] ในรอบที่ห้าพวกเขาลงเล่นพบกับทีมจากฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ ในเกมเยือน. ที่ ลอฟตัสโรด, วอตฟอร์ดชนะ 1–0 จากประตูของ เอเตียนน์ กาปู.[10] ในรอบก่อนรองชนะเลิศพวกเขาลงเล่นพบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีก คริสตัลพาเลซ ในเกมเหย้า. ที่สนามเหย้าของพวกเขา วิคาริจโรด, วอตฟอร์ดชนะ 2–1 มาจากการทำคนละประตูของกาปูและเกรย์.[11] ในรอบรองชนะเลิศที่สนามเป็นกลาง สนามกีฬาเวมบลีย์ พบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีก วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์, พวกเขากลับมาจากการตามหลังไปก่อน 2–0 และเป็นฝ่ายไล่ยิงแซงเอาชนะไปได้ 3–2 หลังต่อเวลาพิเศษ เพื่อไปถึงรอบชิงชนะเลิศกับสองประตูจาก ฌาราร์ต เด็วลูเฟ็ว และหนึ่งลูกโทษจากดีนีย์.[12]
เหตุการณ์ก่อนการแข่งขัน[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
แมตช์[แก้]
รายละเอียด[แก้]
18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 17:00 BST 23:00 UTC+07:00 |
แมนเชสเตอร์ซิตี | 6–0 | วอตฟอร์ด | สนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน ผู้ชม : 85,854 คน ผู้ตัดสิน : เควิน เฟรนด์ (เลสเตอร์เชียร์) |
---|---|---|---|---|
ด. ซิลบา ![]() สเตอร์ลิง ![]() เดอ เบรยเนอ ![]() เฌซุส ![]() |
รายงาน |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() แมนเชสเตอร์ซิตี
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() วอตฟอร์ด
|
|
![]() |
|
ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:[1]
|
ข้อมูลในแมตช์[13]
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Kevin Friend will referee 2019 Emirates FA Cup Final". TheFA.com. The Football Association. 29 April 2019. สืบค้นเมื่อ 29 April 2019.
- ↑ "Access List 2019/20". UEFA. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
- ↑ Johnston, Neil (6 January 2019). "Man City 7–0 Rotherham in FA Cup third round: Phil Foden with first Etihad goal – BBC Sport". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
- ↑ Emons, Michael (26 January 2019). "Manchester City 5–0 Burnley". BBC S;ort. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
- ↑ Pearlman, Michael (16 February 2019). "Newport 1–4 Man City: Phil Foden double helps City into FA Cup quarter-finals". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
- ↑ Skelton, Jack (16 March 2019). "Swansea City 2–3 Manchester City: Sergio Agüero seals comeback in FA Cup thriller". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
- ↑ McNulty, Phil (1 January 1970). "Manchester City 1–0 Brighton & Hove Albion: Manchester City reach FA Cup final". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
- ↑ Sanders, Emma (6 January 2019). "Woking 0–2 Watford in FA Cup third round". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
- ↑ Mallows, Thomas (26 January 2019). "Newcastle United 0–2 Watford in FA Cup fourth round". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
- ↑ Johnston, Neil (15 February 2019). "Queens Park Rangers 0–1 Watford in the fifth round of the FA Cup". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
- ↑ Bullin, Matt (16 March 2019). "FA Cup: Watford beat Crystal Palace to reach semi-finals with Andre Gray winner". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
- ↑ Rostance, Tom (16 January 2016). "FA Cup semi-final: Watford 3–2 Wolves – Hornets win superb game in extra-time". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
- ↑ "Rules of the FA Challenge Cup competition" (PDF). The Football Association. สืบค้นเมื่อ 29 April 2019.
|