ปัทมา ปานทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปัทมา ปานทอง
เกิด16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
ปัทมาวดี ปานทอง
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อาชีพนักแสดง นักร้อง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2521 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นขมิ้นกับปูน (2533)

ปัทมา ปานทอง ชื่อเล่น ดี้ เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 เป็นนักแสดงชาวไทย มีผลงานสร้างชื่อคือภาพยนตร์เรื่อง เด็ดหนวดพ่อตา ละครเรื่อง หมูแดง, ขมิ้นกับปูน และมีผลงานเพลง อัลบั้มชุดที่ 2 ไม่เป็นไร และอัลบั้มคู่ ชื่อชุด คู่เท่ห์

ประวัติ[แก้]

ปัทมา ปานทอง เกิดที่กรุงเทพมหานคร มีพี่น้อง 4 คน ปัทมา เป็นบุตรคนสุดท้อง

ปัทมา เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 9 ปี จากคำชักชวนของ ไพโรจน์ สังวริบุตร โดยแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือ 7 ซูเปอร์เปี๊ยก ของ สักกะ จารุจินดา ซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควร หลังจากนั้นไม่ได้รับบทการแสดงอะไร ต่อมาอีก 6 ปี กลับมาทดสอบหน้ากล้องอีกครั้ง และได้รับบทเป็นนางเอกในภาพยนตร์เรื่อง เด็ดหนวดพ่อตา แสดงคู่กับ ไพโรจน์ สังวริบุตร[1]

จากนั้นได้แสดงภาพยนตร์ทั้งบท นางเอก เพื่อนนางเอก น้องนางเอก ใช้ชีวิตเป็นนักแสดงอยู่หลายปี จึงได้หันมาเป็นนักร้อง ออกอัลบั้มชุด สาว 16

หลังจากนั้นค่ายเพลงที่ทำอยู่เกิดมีปัญหา ปัทมา จึงได้มาเซ็นสัญญาเป็นศิลปินอยู่กับค่ายโพลิดอร์ ซึ่งเป็นบริษัททำเพลงจากต่างประเทศ และได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 เป็นแนวเพลงไทยที่มีท่วงทำนองเพลงจีน ชื่ออัลบั้ม ไม่เป็นไร ซึ่งประสบความสำเร็จมากพอสมควร ได้ออกแสดงโชว์ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ

ในช่วงเป็นนักร้องได้ห่างหายจากการเป็นนักแสดง จนก่อนออกอัลบั้มชุด 2 ได้มีผลงานแสดงอีกครั้ง โดยแสดงใน งานละครทีวี ละครเรื่องแรกที่ ปัทมา เล่นคือเรื่อง หมูแดง ออกอากาศทางช่อง 3 ซึ่งทำให้รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้น จนได้มาแสดงละครเรื่อง ขมิ้นกับปูน ทางช่อง 7 ละครโด่งดังมากในยุคนั้น

ส่วนด้านงานเพลงร้องเพลงคู่กับ เต้ย- เป็นหนึ่ง ชื่อชุด คู่เท่ห์ เป็นอัลบั้มที่นำเพลงเก่ามาร้องเป็นเพลงคู่ หลังจากนั้นได้แสดงละครราว 50-60 เรื่อง

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ด้านชีวิตส่วนตัว ได้แต่งงานกับนักธุรกิจ และมีลูกสาว 1 คนชื่อ ภัทราภรณ์ ปานทอง (พลอย) แต่มีปัญหาและไม่ได้อยู่ด้วยกัน จนคบหากับเอ๋ กษมา นิสสัยพันธุ์ อยู่ด้วยกันจนถึงปัจจุบัน เธอยังมีธุรกิจเล็กๆ ที่ทำกับครอบครัว คือการเปิดสำนักพิมพ์ ทำพ็อกเกตบุ๊ก ผลิตนิยาย[2]

ผลงานการแสดง[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

  • 7 ซูเปอร์เปี๊ยก (2521)
  • เด็ดหนวดพ่อตา (2524)
  • คุณปู่ซู่ซ่า (2524)
  • คุณย่าเซ็กซี่ (2525)
  • ปริศนา (2525)
  • รักต้องหึง (2525)
  • มัทรีที่รัก (2526)
  • รักกันวันละนิด (2526)
  • ขุนโจร 5 นัด (2526)
  • มนต์รักกระเป๋ารถ (2527)
  • แรงอธิษฐาน (2527)
  • เสือลากหาง (2527)
  • หยุดโลกเพื่อเธอ (2528)
  • หลานสาวเจ้าสัว (2528)
  • ลูกสาวเถ้าแก่เฮง (2529)
  • ชมพู่แก้มแหม่ม (2529)
  • ขบวนการคนใช้ (2529)
  • ก้อ โอเคน่ะ (2530)
  • เมียหมายเลข 1 (2530)
  • ปีกมาร (2530)
  • ถามหัวใจคุณก็ได้ (2530)
  • พิศวาส (2530)
  • พรหมจารีสีดำ (2530)
  • เหยื่ออารมณ์ (2531)
  • นางกลางไฟ (2531)
  • ก่อนจะสิ้นลมหนาว (2533)
  • นางอาย (2533)
  • ทหารเกณฑ์กิ๊บก๊าบ (2533)
  • บ้านผีสิง (2534)
  • องค์บาก 2 (2551)
  • องค์บาก 3 (2553)

ละครโทรทัศน์[แก้]

ละครชุด[แก้]

ละครพื้นบ้าน[แก้]

ละครสั้น[แก้]

ฟ้ามีตา ตอน เด็กเศษเดน
ฟ้ามีตา ตอน หมอดูแม่น ๆ
ฟ้ามีตา ตอน กระดุมเม็ดแรก
ฟ้ามีตา ตอน ดาวดุจตะวัน
ฟ้ามีตา ตอน ใครจะนับญาติกับคนจน ๆ
ฟ้ามีตา ตอน แกนั่นแหละที่มันเลว
ฟ้ามีตา ตอน รักในรอยเลือด
ฟ้ามีตา ตอน ลูบคมลูกผู้ชาย
ฟ้ามีตา ตอน ดี เด่นดวง
ฟ้ามีตา ตอน ไม่ตายดี
ฟ้ามีตา ตอน นกน้อยในกรงทอง
ฟ้ามีตา ตอน หวัง...ของจ่าหวัง
ฟ้ามีตา ตอน พ่อแม่จำเป็น
ฟ้ามีตา ตอน ไม่แมน

ผลงานเพลง[แก้]

ชุด THE FRESH COLD (พ.ศ. 2526)

  1. สาวสิบหก
  2. จูบแรก
  3. เมามาตามเคย
  4. เหงือกจ๋าฟันลาก่อน
  5. กลับดึกเมียด่า
  6. เล่นไม่ง่าย
  7. บอกคุณแล้ว
  8. กลัวหรือเปล่า
  9. อวดเศรษฐี
  10. อย่าปล่อยให้ฉันคอย

ชุด ไม่เป็นไร

อัลบั้มพิเศษ[แก้]

พ.ศ. 2527

ร้องเพลงคู่ ชุด ทับทิมสยาม 1 กับค่าย โพลิดอร์ คือเพลง "อย่าหนี"

โดยร้องคู่กับ คุณธีระ ดีล่า(ลูกครึ่งไทย-ฟิลิปินส์)

เพลง สุวรรณมาลี ชุด พระอภัยมณี (ปี พ.ศ. 2529)

อัลบั้มนี้ จัดทำเพื่อ เชิดชูเกียรติของท่านสุนทรภู่ ซึ่งมีผลงานเพลงของหลากหลายศิลปินด้วยกัน

คู่เท่ห์

อมตะเพลงคู่ ชุด 1

จูบเย้ยจันทร์
นกเขาคู่รัก
รักไม่รู้ดับ
นัดพบ
ฝนนี้
สัญญารัก
ใครหนอ
ธารสวาท
หลงเพ้อ
ภาษาใจ
คะนึงหา
ดวงใจในฝัน
ชุด ทับทิมสยาม # 1 (ปี พ.ศ. 2527)

14 นักร้องวัยรุ่น โพลีดอร์

  1. อย่าหนี
  2. จากรัก
  3. ขอเธออย่าลวง
  4. ระวังให้ดี
  5. เจ็บเหมือนกัน
  6. อยากตื๊อนัก
  7. คือรักและหวัง
  8. รักยามจน
  9. พลบค่ำ
  10. ผูกมิตร

รวมเพลง ชุดพระอภัยมณี (2529)

ปี พ.ศ. 2529 ในวาระครบรอบ 200 ปีชาตกาล ท่านสุนทรภู่ ได้รับยกย่องจาก องค์การยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม สำนักเอกลักษณ์ของชาติ กระทรวงศึกษาธิการ และ ไชโย ภาพยนตร์ ได้ร่วมกันผลิตผลงานเพลงเพื่อเชิดชูวรรณกรรมสุนทรภู่ เรื่องพระอภัยมณี โดยเชิญนักร้องที่มีชื่อเสียงและผลงานดีเด่นมาร่วมขับร้อง ดังต่อไปนี้

  1. เพลง "สดุดีสุนทรภู่" - นิทัศน์ ละอองศรี & พญ. พันทิวา สินรัชตานันท์
  2. เพลง "พระอภัยมณี" - ดนุพล แก้วกาญจน์
  3. เพลง "ผีเสื้อสมุทร" - อัญชลี จงคดีกิจ
  4. เพลง "สุดสาคร" - สุชาติ ชวางกูร
  5. เพลง "เงือกน้อย" - พญ. พันทิวา สินรัชตานันท์ & ยุรนันท์ ภมรมนตรี
  6. เพลง "อุศเรน" - ยุรนันท์ ภมรมนตรี
  7. เพลง "ย่องตอด" - วสันต์ ศิริสุขพิสัย
  8. เพลง "ศรีสุวรรณ" - พร ไพรสณฑ์
  9. เพลง "สินสมุทร" - กิตติพงศ์ ละอองศรี
  10. เพลง "สุวรรณมาลี" - ปัทมา ปานทอง
  11. เพลง "นางละเวง" - นันทิดา แก้วบัวสาย
  12. เพลง "ชีเปลือย" - คนด่านเกวียน
  13. เพลง "ฤๅษี" - นิทัศน์ ละอองศรี

ผู้ประพันธ์เพลง ได้แก่ : ดนัย วิไลพรรณ : วิมล จงวิไล : สกนธ์ มิตรานนท์

ควบคุมการผลิต - ดนัย วิไลพรรณ

บันทึกเสียง - มนตรี โรจนถาวร / ไพบูลย์ สตูดิโอ

รางวัล[แก้]

  • รางวัลโทรทัศน์ไทย อัตลักษณ์แห่งสยาม นักแสดงสมทบหญิงดีเด่นจากละคร มนตราฟ้าฟื้น ประจำปี พ.ศ. 2566

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]