สโมสรฟุตบอลนอริชซิตี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลนอริชซิตี | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | The Canaries, Yellows, The Citizens (ก่อนปี 1907) นกขมิ้นเหลืองอ่อน (ฉายาในประเทศไทย) | |||
ก่อตั้ง | 17 มิถุนายน 1902 | |||
สนาม | แคร์โรว์โรด | |||
ความจุ | 27,359[1] | |||
ประธาน | เดเลีย สมิธ Michael Wynn-Jones | |||
ผู้จัดการ | ดาวิท วากเนอร์ | |||
ลีก | แชมเปียนชิป | |||
2022–23 | แชมเปียนชิป อันดับที่ 13 จาก 24 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
|
สโมสรฟุตบอลนอริชซิตี (อังกฤษ: Norwich City Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอังกฤษ ตั้งที่เมืองนอริชในเทศมณฑลนอร์ฟอล์ก ปัจจุบันลงแข่งขันในอีเอฟแอลแชมเปียนชิป หลังจากที่ตกชั้นจาก พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2021–22 สโมสรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1902 และได้ใช้งานแคร์โรว์โรดเป็นสนามเหย้านับตั้งแต่ ค.ศ. 1935 เป็นต้นมา สโมสรมีทีมคู่ปรับที่สำคัญคืออิปสวิชทาวน์ ซึ่งทั้งคู่พบกันมาแล้ว 134 ครั้งนับตั้งแต่ ค.ศ. 1902 และการพบกันของทั้งคู่ถูกเรียกว่าอีสต์แองกลิอันดาร์บี เพลงเชียร์ของแฟนบอลซึ่งมีชื่อว่า "ออนเดอะบอลซิตี" (On the Ball, City) ถือเป็นเพลงเชียร์ฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เพลงนี้แต่งขึ้นใน ค.ศ. 1890 และยังมีการร้องมาจนถึงปัจจุบัน
นอริชชนะเลิศลีกคัพสองสมัยในปี 1962 และ 1985 ผลงานที่ดีที่สุดในลีกของสโมสรคืออันดับที่สามในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1992–93
ชุดเหย้าของสโมสรคือชุดสีเหลืองและเขียว สโมสรมีฉายาว่า นกขมิ้น ซึ่งเป็นนกที่พบในพื้นที่นี้ (มีการพูดถึงนกชนิดนี้ครั้งแรกในศตวรรษที่ 16 โดยกลุ่มผู้อพยพที่ชื่อว่า "กลุ่มคนแปลกหน้า")[2]
ประวัติ
[แก้]สโมสรฟุตบอลนอริช ซิตี้ ก่อตั้งขึ้นโดยการประชุมกันที่ คริเตเรียน คาเฟ่ (Criterion Cafe) นอริช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 1902 และจากนั้นก็มีการประชุมย่อยอีกครั้งในวันที่ 2 กรกฎาคม 1902 โดยกลุ่มเพื่อนนำโดยอดีต 3 ผู้เล่นของนอริช ซีอีวายเอ็มเอส (Norwich CEYMS F.C. (CEYMS being an acroynm for Church of England Young Men's Society) โรเบิร์ต เว็บสเตอร์, โจเซฟ คาวเปอร์และแบรด สเคลลี่[3][4] และได้เล่นแมทช์อย่างเป็นทางการครั้งแรกพบกับ ฮาร์วิชแอนด์พาร์คสตัน ที่สนามนิวมาร์เก็ต โรดเมื่อวันที่ 6 กันยายน 1902[5] และในปี 1905 ตามมติของคณะกรรมการเอฟเอ สโมสรก็ได้เปลี่ยนจากสโมสรสมัครเล่นกลายเป็นองค์กรอาชีพ ไม่กี่ปีหลังจากนั้น สโมสรได้ถูกเลือกให้ลงเล่นในเซาท์เทิร์น ลีก (Southern League) ประกอบกับผู้ชมที่เข้ามาชมเป็นจำนวนมากทำให้พวกเขาต้องย้ายจากสนามนิวมาร์เก็ต โรดไปสู่สนามเดอะเนสท์ในปี 1908 ซึ่งเคยเป็นเหมืองหินมาก่อน สำหรับฉายาของสโมสร เมื่อก่อนเคยมีฉายาว่า เดอะ ซิติเซนส์ (the Citizens) และได้เปลี่ยนมาเป็น เดอะ คานารี่ส์ (Canaries) แทนในปี 1907 ฉายานี้ถูกตั้งโดยประธานสโมสร(ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการเพาะพันธ์นก Canaries) โดยขนานนามชื่อผู้เล่นของเขาว่า เดอะ คานารี่ส์ และเปลี่ยนสีชุดแข่งเป็นแถบสีเหลืองและเขียวแทน ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ในช่วงที่การแข่งขันฟุตบอลถูกระงับและสโมสรต้องประสบกับภาวะหนี้สิน ทำให้สโมสรต้องเข้าสู่กระบวนการชำระหนี้โดยสมัครใจ (voluntary liquidation) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1917
สโมสรได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1919 บุคคลผู้มีส่วนสำคัญคือ ชาร์ลส์ เฟรเดริก วัตลิ่ง ผู้ซึ่งต่อมาจะได้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองนอริชและเป็นบิดาของประธานสโมสรในอนาคตอย่าง เจฟฟรี่ วัตลิ่ง[6] ในปี 1920 สมาพันธ์ฟุตบอลลีกได้จัดการแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชั่น 3 ขึ้นมา นอริชจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันในฤดูกาลนั้น[7]
สนามแข่ง
[แก้]สโมสรฟุตบอลนอริช ซิตี้ เคยใช้สนามนิวมาร์เก็ตโรดในช่วงปี 1902 - 1908 มีสถิติผู้เข้าชม 10,366 คน ในการแข่งขันเอฟเอ คัพ รอบสอง ปี 1908 กับทีมเชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์[8] ภายหลังมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเงื่อนไขในการเช่าสนามนิวมาร์เก็ต โรด สโมสรจึงได้ย้ายไปยังรังเหย้าแห่งใหม่ในปี 1908 ที่บริเวณเหมืองหินชอล์กเก่าที่โรซารี่ โรดซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เดอะเนสท์ (รังนก)[9] ในช่วงทศวรรษที่ 1930 สนามเริ่มมีความจุไม่เพียงพอและในปี 1935 สโมสรจึงได้ย้ายมายังแคร์โรว์โรด รังเหย้าปัจจุบัน[10] ในช่วงแรกสร้าง สนามถูกบรรยายว่าเป็นงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองนับตั้งแต่สร้างปราสวาทนอริชเลยทีเดียว เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สร้างเพียง 82 วัน และถูกเรียกโดยสโมสรว่าเป็น 8 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก[11][12] ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1935 เปิดเผยให้เห็นถึงอัฒจันทร์ 3 ด้านที่ไม่มีหลังคา และอีกด้านเป็นอัฒจันทร์มีหลังคา และมีโฆษณาของโคลแมน มัสตาร์ดพ่นอยู่บนหลังคา ซึ่งมองเห็นได้ทางอากาศเท่านั้น[13] สปอตไลท์ที่ถูกติดตั้งในสนามเมื่อปี 1956 ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 9,000 ปอนด์ เกือบทำให้สโมสรต้องล้มละลาย แต่ความสำเร็จในเอฟเอ คัพ เมื่อปี 1959 ช่วยให้สโมสรมีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้นและยังสามารถนำไปสร้างหลังคาบนสแตนด์ฝั่งใต้ได้อีกด้วย สแตนด์ฝั่งใต้นี้ได้สร้างใหม่เมื่อปี 2003 มีขนาดความจุ 7,000 ที่นั่ง และตั้งชื่อใหม่ว่า จาร์โรลด์ สแตนด์[10]
ในปี 1963 สถิติผู้ชมการแข่งขันในแคร์โรว์โรดสูงถึง 43,984 คน เป็นการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอคัพรอบ 6 กับทีมเลสเตอร์ซิตี แต่เหตุหายนะที่ไอบรอกซ์ สเตเดี้ยมIbrox stadium disaster เมื่อปี 1971, สโมสรเลยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทำให้จำนวนความจุของสนาม ลดลงเหลือประมาณ 20,000 ที่นั่ง อัฒจันทร์สองชั้นถูกสร้างขึ้นที่ฝั่งริเวอร์เอนด์และในไม่ช้าก็ได้ติดตั้งที่นั่งลงไป ในปี 1979 สนามมีความจุ 28,392 มีที่นั่ง 12,675 ที่ เหตุไฟไหม้ในปี 1984 ทำให้อัฒจันทร์ฝั่งหนึ่งถูกทำลายนำไปสู่การรื้อถอนอย่างสมบูรณ์และถูกแทนที่โดยซิตีสแตนต์ในปี 1987 ซึ่งประธานสโมสร โรเบิร์ต เชส บรรยายว่า "มาชมการแข่งขันฟุตบอลที่ฝั่งซิตีสแตนด์ให้ความรู้สึกเหมือนมาดูภาพยนตร์ แตกต่างเพียงแค่เวทีของเราปกคลุมไปด้วยหญ้าแค่นั้น"[10] หลังจากเกิดโศกนาฏกรรมที่ ฮิลส์โบโร่ ในปี 1989 และผลที่ตามมาในรายงานของเทย์เลอร์ (Taylor Report)ในปี 1990 สนามถูกปรับปรุงให้เป็นแบบติดตั้งเก้าอี้หมดทุกพื้นที่ ปัจจุบัน สนามแคร์โรว์โรดเป็นที่นั่งทั้งหมดมีความจุ 27,000 ที่นั่ง.[14]
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]- ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2023 [15]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นถูกยืมตัว
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
เกียรติประวัติ
[แก้]นอริช ซิตี้ มีเกียรติประวัติ ดังต่อไปนี้:[16]
ลีก
[แก้]พรีเมียร์ลีก (ระดับ 1)
- อันดับ 3 (1) (1992–93)
ลีกดิวิชั่น 2/แชมเปียนชิป (ระดับ 2)
ลีกดิวิชั่น 3/ลีกวัน (ระดับ 3)
บอลถ้วย
[แก้]
นักเตะแห่งปี
[แก้]- For a more detailed list of these winners of the Barry Butler trophy, see Norwich City Players of the Year.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Premier League Handbook 2019/20" (PDF). Premier League. p. 30. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2020. สืบค้นเมื่อ 27 July 2020.
- ↑ "Read Norwich: Why Are Norwich Called The Canaries".
- ↑ "Norwich City History". 4thegame.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-11. สืบค้นเมื่อ 10 June 2007.
- ↑ Club history 1902 to 1940 เก็บถาวร 2009-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Norwich City FC
- ↑ Eastwood, John; Mike Davage (1986). Canary Citizens. Almeida Books. pp. 1, p19. ISBN 0-7117-2020-7.
- ↑ Eastwood. Canary Citizens. p. 46.
- ↑ Eastwood. Canary Citizens. p. 47.
- ↑ "Norwich City grounds – 1. Newmarket Road". Eastern Daily Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-05. สืบค้นเมื่อ 28 March 2007.
- ↑ "Norwich City grounds – 2. The Nest". Eastern Daily Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-05. สืบค้นเมื่อ 28 March 2007.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "Norwich City grounds – 3. Carrow Road". Eastern Daily Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-05. สืบค้นเมื่อ 28 March 2007.
- ↑ Eastwood. Canary Citizens. p. 63.
- ↑ "The highs and lows of City's rich past". Norwich Evening News. 10 May 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 23 April 2007.
- ↑ Eastwood. Canary Citizens. p. 65.
- ↑ "Carrow Road". Norwich City FC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 28 March 2007.
- ↑ "First team 2022–23". Norwich City F.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2022. สืบค้นเมื่อ 19 September 2022.
- ↑ "Norwich City F.C. History". Norwich City FC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 24 April 2007.