การแปลตรงตัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแปลตามรูปของภาษา หรือ การแปลตรงตัว (อังกฤษ: Literal translation) เป็นการแปลที่พยายามรักษาความหมายและโครงสร้างของภาษาต้นฉบับไว้ให้มากที่สุด โดยมีความถูกต้องแม่นยำเป็นหลัก แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างภาษาและการใช้คำ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการใช้ภาษาของภาษาต้นฉบับ โดยการแปลในลักษณะนี้ มักใช้ในกลุ่มนักวิชาการที่ต้องการความถูกต้องของข้อเท็จจริง เพื่อจุดประสงค์ในด้านการศึกษาค้นคว้าหรือการนำไปปฏิบัติ เช่น การแปลฉลากยา ขั้นตอนการทดลอง คู่มือปฏิบัติการ กฎหมายสนธิสัญญาระหว่างประเทศ รายงานและเอกสารทางราชการ[1]

การแปลตรงตัวเป็นที่มาของมุกตลกและความรู้นอกตำรามากมาย โดยมักจะเกิดขึ้นกับนักแปลที่ไม่มีประสบการณ์หรือการแปลด้วยเครื่องมือแปลภาษา เช่น ประโยคภาษารัสเซียที่ว่า "дух бодр, плоть же немощна" ("วิญญาณเต็มใจ แต่เนื้อหนังอ่อนแอ") แต่เมื่อนำมาแปลตรงตัวเป็นภาษาอังกฤษจะได้เป็น "The vodka is good, but the meat is rotten" ("วอดก้านั้นดี แต่เนื้อกลับเน่า")[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=828
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-04. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.