ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2020

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2020
ปุชกาชออเรนอในบูดาเปสต์ จะเป็นสนามที่ใช้ในการแข่งขันนี้
หลัง ต่อเวลาพิเศษ
วันที่24 กันยายน พ.ศ. 2563
สนามปุชกาชออเรนอ, บูดาเปสต์
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
โทมัส มึลเลอร์ (ไบเอิร์นมิวนิก)[1]
ผู้ตัดสินแอนโธนี เทย์เลอร์ (อังกฤษ)[2]
ผู้ชม15,180 คน[3]
สภาพอากาศกลางคืนมีเมฆเป็นบางส่วน
20 องศาเซลเซียส (68 องศาฟาเรนไฮต์)
ความชื้นสัมพัทธ์ 60%[4]
2019
2021

ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2020 เป็นการแข่งขันฟุตบอลยูฟ่าซูเปอร์คัพ ครั้งที่ 45 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลประจำปีระหว่างทีมชนะเลิศ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2019–20 ไบเอิร์นมิวนิก จากเยอรมนี พบกับทีมชนะเลิศ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2019–20 เซบิยา จากสเปน การแข่งขันจัดขึ้นในวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2020 ณ ปุชกาชออเรนอ ในเมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี[5]

แต่เดิมนั้นการแข่งขันถูกกำหนดให้จัดขึ้นที่ อิชตาดียูดูดราเกา ใน ปอร์โต, ประเทศโปรตุเกส ในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2020;[6][7]แต่เนื่องด้วย การระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในทวีปยุโรป ทำให้เกิดการเลื่อนการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของฟุตบอลสโมสรในฤดูกาลที่แล้ว โดยคณะกรรมการบริหารของยูฟ่าเลือกที่จะให้การแข่งขันแชมเปียนส์ลีก รอบชิงชนะเลิศเลื่อนไปแข่งขันยังโปรตุเกสและเลื่อนการแข่งขันซูเปอร์คัพไปบูดาเปสต์[8][9]

ขณะนี้ ยูฟ่า กำลังพิจารณาข้อเสนอในการใช้การแข่งขันครั้งนี้ เป็นเกมนำร่องในการอนุญาตให้มีผู้ชมได้ ซึ่งหากได้รับการยอมรับจะเป็นการแข่งขันของยูฟ่าอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่มีผู้ชมนับตั้งแต่การแข่งขันถูกระงับไปหลังจากการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [10]

สโมสร[แก้]

สโมสร การเข้ารอบ การแข่งขันล่าสุด (ตัวหนาคือชนะเลิศ)
เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก ชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2019–20 4 (1975, 1976, 2001, 2013)
สเปน เซบิยา ชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2019–20 5 (2006, 2007, 2014, 2015, 2016)

สนามแข่งขัน[แก้]

อิชตาดียูดูดราเกาได้รับการกำหนดให้จัดการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพเป็นครั้งแรก สนามนี้เคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 และยูฟ่าเนชันส์ลีก 2019 รอบชิงชนะเลิศ

นี่เป็นกำหนดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศสโมสรยูฟ่าที่จะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ปุชกาชออเรนอ และครั้งที่สองสำหรับบูดาเปสต์และประเทศฮังการี ซึ่งเคยเป็นเจ้าภาพยูฟ่าวีเมนส์แชมเปียนส์ลีก 2019 รอบชิงชนะเลิศ ที่กรูปามา อารีนา ก่อนการย้ายที่ตั้ง สนามนี้ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ้าภาพจัดฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 เช่นเดียวกับเป็นเจ้าภาพจัดยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022[11] ก่อนที่จะมีการจัดกำหนดการแข่งขันขึ้นมาใหม่เป็น 2023[8]

การคัดเลือกเจ้าภาพ[แก้]

มีการเปิดให้เสนอชื่อเจ้าภาพในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยยูฟ่าได้คัดเลือกสนามในนัดชิงชนะเลิศของยูฟ่าซูเปอร์คัพในปี พ.ศ. 2563 สมาคมต่าง ๆ มีเวลาแสดงความสนใจจนถึงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561 และจะต้องยื่นเอกสารประมูลภายในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561 สมาคมต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าภาพในแต่ละนัดที่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 จะไม่ได้รับอนุญาตให้เสนอชื่อสำหรับยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2020

ยูฟ่าประกาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561 ว่าสมาคมเก้าสมาคมแสดงความสนใจในการเป็นเจ้าภาพยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2020[12]

สมาคมที่เสนอชื่อสนามแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2020
ประเทศ สนาม เมือง ความจุ หมายเหตุ
แอลเบเนีย แอลเบเนีย อาเรนากอมเบอตาเร ติรานา 22,500
เบลารุส เบลารุส สนามกีฬาดินาโม มินสก์ 22,000
ฟินแลนด์ ฟินแลนด์ สนามกีฬาโอลิมปิก เฮลซิงกิ 36,000
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส อลิอันซ์ริวีเอรา นิส 35,624
อิสราเอล อิสราเอล สนามกีฬาแซมมี โอเฟร์ ไฮฟา 30,870
คาซัคสถาน คาซัคสถาน สนามกีฬากลางอัลมาเตอ อัลมาเตอ 23,804
มอลโดวา มอลโดวา สนามกีฬาซิมบรู คีชีเนา 10,400 ถอนตัว ไม่ได้ยื่นเรื่องเสนอตัว[13]
ไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือ วินด์เซอร์พาร์ก เบลฟาสต์ 18,434
โปรตุเกส โปรตุเกส อิชตาดียูดูดราเกา โปร์ตู 50,033 ยังเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2020

อิชตาดียูดูดราเกาได้รับเลือกโดยคณะกรรมการบริหารยูฟ่าระหว่างการประชุมในเคียฟ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018)[14][6]

คณะกรรมการบริหารยูฟ่าได้ย้ายที่ตั้งนัดนี้ไปเป็นปุชกาชออเรนอในบูดาเปสต์ระหว่างการประชุมในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563[8]

ก่อนการแข่งขัน[แก้]

ผู้ตัดสิน[แก้]

เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563, ยูฟ่าได้ประกาศชื่อผู้ตัดสินชาวอังกฤษ แอนโธนี เทย์เลอร์ ให้ได้ทำหน้าที่ตัดสินในนัดนี้, เทยเลอร์เคยเป็น ผู้ตัดสินฟีฟ่า นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013, และครั้งก่อนหน้านี้ทำงานในฐานะหนึ่งใน ผู้ช่วยผู้ตัดสินเพิ่มเติม ใน ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2014, ยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2015, ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2016 และ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 นัดชิงชนะเลิศ. เขาจะได้ร่วมงานกับคนชาติเดียวกันของเขา, กับ แกรี บีสวิค และ แอดัม นันน์ ในฐานะ ผู้ช่วยผู้ตัดสิน, สจวร์ต แอตต์เวลล์ ในฐานะ ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ (วีเออาร์) และ พอล ไทเออร์นีย์ ในฐานะผู้ช่วย วีเออาร์. ผู้ตัดสินอิสราเอล โอเรล กรินเฟลด์ จะรับหน้าที่เป็นผู้ตัดสินที่สี่.[2]

นัด[แก้]

รายละเอียด[แก้]

ทีมชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกจะได้รับการกำหนดให้เป็นทีม "เจ้าบ้าน" เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหาร

ไบเอิร์นมิวนิก[4]
เซบิยา[4]
GK 1 เยอรมนี มานูเอ็ล น็อยเออร์ (กัปตัน)
RB 5 ฝรั่งเศส แบ็งฌาแม็ง ปาวาร์
CB 21 ฝรั่งเศส ลูกัส แอร์น็องแดซ โดนใบเหลือง ใน 90+1 นาที 90+1' Substituted off in the 99 นาที 99'
CB 4 เยอรมนี นิคคลัส ซือเลอ
LB 27 ออสเตรีย ดาวิด อาลาบา โดนใบเหลือง ใน 12 นาที 12' Substituted off in the 112 นาที 112'
CM 18 เยอรมนี เลอ็อน โกเร็ทซ์คา Substituted off in the 99 นาที 99'
CM 6 เยอรมนี โยซูอา คิมมิช
RW 10 เยอรมนี ลีร็อย ซาเน Substituted off in the 70 นาที 70'
AM 25 เยอรมนี โทมัส มึลเลอร์
LW 7 เยอรมนี แซร์ช กนาบรี
CF 9 โปแลนด์ รอแบร์ต แลวันดอฟสกี
รายชื่อผู้เล่นตัวสำรอง:
GK 26 เยอรมนี สเว็น อุลไรช์
GK 35 เยอรมนี อเล็คซันเดอร์ นือเบิล
DF 17 เยอรมนี เฌโรม โบอาเท็ง Substituted on in the 112 minute 112'
DF 41 สหรัฐ คริส ริชาร์ดส์
MF 8 สเปน ฆาบิ มาร์ติเนซ Substituted on in the 99 minute 99'
MF 11 ฝรั่งเศส มีกาแอล กุยซ็องส์
MF 19 แคนาดา อัลฟอนโซ เดวีส์ Substituted on in the 99 minute 99'
MF 24 ฝรั่งเศส กอร็องแต็ง ตอลีโซ Substituted on in the 70 minute 70'
MF 30 เยอรมนี อาเดรียน เฟอิน
MF 40 เยอรมนี มาลิก ทิลล์มัน
MF 42 อังกฤษ จามาล มูเซียลา
FW 14 เนเธอร์แลนด์ โยชัว เซิร์กซี
ผู้จัดการทีม:[note 1]
เยอรมนี ฮันส์-ดีเทอร์ ฟลิค
GK 13 โมร็อกโก ยัสซีน บูนู
RB 16 สเปน เฆซุส นาบัส (กัปตัน)
CB 20 บราซิล ดิเอกู การ์ลูส
CB 12 ฝรั่งเศส ฌูแล็ส โคอุนเด โดนใบเหลือง ใน 55 นาที 55'
LB 18 สเปน เซร์ฆิโอ เอสกูเดโร โดนใบเหลือง ใน 119 นาที 119'
CM 8 สเปน โฆอัน โฆร์ดัน โดนใบเหลือง ใน 45+1 นาที 45+1' Substituted off in the 94 นาที 94'
CM 25 บราซิล เฟร์นังดู โดนใบเหลือง ใน 70 นาที 70'
CM 10 โครเอเชีย อิวัน ราคิทิช Substituted off in the 56 นาที 56'
RF 7 สเปน ซูโซ Substituted off in the 73 นาที 73'
CF 9 เนเธอร์แลนด์ ลืก เดอ โยง Substituted off in the 56 นาที 56'
LF 5 อาร์เจนตินา ลูกัส โอกัมโปส
รายชื่อผู้เล่นตัวสำรอง:
GK 1 เช็กเกีย โตมัส วาชลิก
GK 31 สเปน ฆาบี ดีอัซ
DF 3 สเปน แซร์ฌี โกเมซ
MF 6 เซอร์เบีย เนมันยา กูเดลจ์ Substituted on in the 73 minute 73'
MF 14 สเปน โอสการ์
MF 19 อาร์เจนตินา มาร์โกส อากูญา
MF 21 สเปน โอลีเบร์ ตอร์เรส Substituted on in the 56 minute 56'
MF 22 อาร์เจนตินา ฟรันโก บัซเกซ Substituted on in the 94 minute 94'
FW 11 สเปน มุนีร
FW 15 โมร็อกโก ยูสเซ้ฟ เอ็น-เนซีริ Substituted on in the 56 minute 56'
FW 24 สเปน การ์โลส เฟร์นันเดซ
FW 29 สเปน บรายอัน ฆิล
ผู้จัดการทีม:[note 2]
สเปน ยูเลน โลเปเตกี

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
โทมัส มึลเลอร์ (ไบเอิร์นมิวนิก)[1]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:[2]
แกรี บีสวิค (อังกฤษ)
แอดัม นันน์ (อังกฤษ)
ผู้ตัดสินที่สี่:[2]
โอเรล กรินเฟลด์ (อิสราเอล)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:[2]
สจวร์ต แอตต์เวลล์ (อังกฤษ)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินจากการใช้วิดีโอตัดสิน:[2]
พอล ไทเออร์นีย์ (อังกฤษ)

กฎกติกาการแข่งขัน[15]

  • แข่งขัน 90 นาที
  • หากเสมอกันให้ต่อเวลาพิเศษ 30 นาที
  • และหากยังเสมอกันอีกจะมีการยิงลูกโทษที่จุดโทษตัดสิน
  • ส่งผู้เล่นสำรองได้ 12 คน
  • สามารถเปลี่ยนผู้เล่นสำรองลงสนามได้ 3 คน คนที่สี่จะได้รับอนุญาตการเปลี่ยนตัวได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ผู้อำนวยการกีฬาไบเอิร์นมิวนิก ฮาซาน ซาลิฮามิดชิช ได้รับใบเหลือง (64').
  2. ผู้ช่วยผู้จัดการทีมเซบิยา ปาโบล ซานซ์ ได้รับใบเหลือง (90+2').

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Bayern 2–1 Sevilla: Javi Martínez heads extra-time winner". UEFA.com. Union of European Football Associations. 24 September 2020. สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Anthony Taylor to referee 2020 UEFA Super Cup". UEFA.com. Union of European Football Associations. 15 September 2020. สืบค้นเมื่อ 15 September 2020.
  3. 3.0 3.1 "Full Time Report Final – Bayern Munich v Sevilla" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 24 September 2020. สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Tactical line-ups" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 24 September 2020. สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
  5. "2020 Super Cup: all you need to know". UEFA.com. 23 August 2020.
  6. 6.0 6.1 "Istanbul to host 2020 UEFA Champions League Final". UEFA.com. Union of European Football Associations. 24 May 2018. สืบค้นเมื่อ 24 May 2018.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "2020/21 UEFA Champions League match calendar". Union of European Football Associations. 24 September 2019.
  8. 8.0 8.1 8.2 "UEFA competitions to resume in August". UEFA.com. Union of European Football Associations. 17 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
  9. "2020 UEFA Super Cup: new date and venue". UEFA.com. 17 June 2020.
  10. "UEFA meets general secretaries of member associations". UEFA.com. Union of European Football Associations. 19 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020.
  11. "UEFA Executive Committee agenda for Amsterdam meeting". UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 February 2020. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.
  12. "Nine associations interested in hosting 2020 UEFA Super Cup". UEFA.com. Union of European Football Associations. 15 January 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "Supercupa Europei". fmf.md (ภาษาโรมาเนีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2018. สืบค้นเมื่อ 20 May 2018.
  14. "UEFA Executive Committee agenda for Kyiv meeting". UEFA.com. Union of European Football Associations. 8 May 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "Regulations of the UEFA Super Cup: 2020" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2020. สืบค้นเมื่อ 25 August 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]