เขตชิบูยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตชิบูยะ

渋谷区
Shibuya City
นครชิบูยะ
ทางม้าลายชิบูยะ
ธงของเขตชิบูยะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของเขตชิบูยะ
ตรา
ที่ตั้งของเขตชิบูยะ (เน้นสีม่วง) ในโตเกียว
ที่ตั้งของเขตชิบูยะ (เน้นสีม่วง) ในโตเกียว
เขตชิบูยะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
เขตชิบูยะ
เขตชิบูยะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°39′34″N 139°42′02″E / 35.65944°N 139.70056°E / 35.65944; 139.70056พิกัดภูมิศาสตร์: 35°39′34″N 139°42′02″E / 35.65944°N 139.70056°E / 35.65944; 139.70056
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดโตเกียว
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีเค็ง ฮาเซเบะ (ตั้งแต่เมษายน 2015)
พื้นที่
 • ทั้งหมด15.11 ตร.กม. (5.83 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 พฤษภาคม 2016)
 • ทั้งหมด221,801 คน
 • ความหนาแน่น14,679.09 คน/ตร.กม. (38,018.7 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
• ต้นไม้เซลโควาญี่ปุ่น (Zelkova serrata)
• ดอกไม้ไอริสญี่ปุ่น (Iris ensata)
สำนักงานเขตShibuya 1-18-21, Shibuya-ku, Tokyo 150-8010
เว็บไซต์www.shibuya.city

เขตชิบูยะ (ญี่ปุ่น: 渋谷区โรมาจิShibuya-kuทับศัพท์: ชิบูยะ-กุ) เป็นเขตการปกครองของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นเขตศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของโตเกียว

ประวัติ[แก้]

หลังจากที่มีการสร้างรถไฟสายยามาโนเตะใน ค.ศ. 1885 ชิบูยะก็เป็นที่รู้จักในชื่อของสถานีรถไฟในโตเกียวตะวันตกเฉียงใต้ และได้กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจและความบันเทิงในเวลาต่อมา ชิบูยะได้ยกฐานะเป็นหมู่บ้านใน ค.ศ. 1889 เป็นเมืองใน ค.ศ. 1909 เป็นเขตของกรุงโตเกียวใน ค.ศ. 1932 เป็นเขตของนครบาลโตเกียวใน ค.ศ. 1943 และเป็นเขตพิเศษเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1947 มาจนถึงปัจจุบัน

สวนโยโยงิในชิบูยะ เคยเป็นหนึ่งในจุดนัดพบของมหกรรมโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 นอกจากนี้ ชิบูยะเป็นสถานที่ยอดนิยมของวัยรุ่นมา 30 ปีแล้ว มีห้างสรรพสินค้าแฟชั่นต่าง ๆ ตั้งอยู่มากมาย

ภูมิศาสตร์[แก้]

ชิบูยะใน ค.ศ. 1952
ชิบูยะตอนใต้ใน ค.ศ. 2020

เขตชิบูยะเป็นที่ตั้งของย่านธุรกิจและที่พักอาศัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น ไดกันยามะ เอบิซุ ฮาราจูกุ ฮิโร ฮิงาชิ โอโมเตซันโด เซ็นดางายะ และโยโยงิ

แขวง[แก้]

จุดเที่ยวชมและพื้นที่ทางประวัติศาสตร์[แก้]

ทางข้ามชลมุนชิบูยะมองจากหอสังเกตการณ์ตึกชิบูยะสกาย

ชิบูยะมีชื่อเสียงจากทางข้ามแบบชุลมุนที่มีชื่อว่าทางม้าลายชิบูยะ[1] ตั้งอยู่หน้าสถานีรถไฟชิบูยะฝั่งทางออกฮาจิโก โดยจะหยุดให้ผู้คนเดินข้ามทางม้าลายจากทั่วทุกทิศ ทางม้าลายชิบูยะเป็น "ทางม้าลายที่ชลมุนที่สุดในโลก" โดยมีผู้ข้ามถนนสูงถึง 3,000 คนต่อครั้ง[2][3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Murray Buechner, Maryanne. "Tokyo: 10 Things To Do". Time: Travel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2009.
  2. 井上恵一朗 (2016-04-22). "【東京はてな】 渋谷交差点、1回で3千人横断?". 朝日新聞. p. 29.
  3. "渋谷スクランブル交差点――世界で最もワイルドな交差点にようこそ". CNN.co.jp. 2019-08-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-09-26.
  4. "The World's Busiest Pedestrian Crossing". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 12, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]