เทราอูจิ มาซาตาเกะ
เทราอูจิ มาซาตาเกะ | |
---|---|
寺内 正毅 | |
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม 1916 – 29 กันยายน 1918 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิไทโช |
ก่อนหน้า | โอกูมะ ชิเงโนบุ |
ถัดไป | ฮาระ ทากาชิ |
ผู้สำเร็จราชการเกาหลี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 1910 – 9 ตุลาคม 1916 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิไทโช |
ก่อนหน้า | ไม่มี (เป็นคนแรก) |
ถัดไป | ฮาเซงาวะ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 27 มีนาคม 1902 – 30 สิงหาคม 1911 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิเมจิ |
ก่อนหน้า | โคกามะ เก็นตาโร |
ถัดไป | อิชิโมโตะ ชินโรกุ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1852 ยามางูจิ แคว้นโชชู(หมู่เกาะญี่ปุ่น) |
เสียชีวิต | 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919 โตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น | (67 ปี)
พรรคการเมือง | อิสระ |
คู่สมรส | เทราอูจิ ทากิ (1862–1920) |
บุตร | ฮิไซจิ เทราอูจิ |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | จักรวรรดิญี่ปุ่น |
สังกัด | กองทัพบก |
ประจำการ | 1871–1910 |
ยศ | จอมพล |
ผ่านศึก | สงครามโบชิน กบฏซัตสึมะ สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น |
จอมพล เคานต์ เทราอูจิ มาซาตาเกะ เป็นนายทหารบกชาวญี่ปุ่น[1] เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารบก ต่อมาได้เป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการเกาหลี และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่แปด
ประวัติ
[แก้]เทราอูจิเป็นบุตรคนที่สามของครอบครัวซามูไรของแคว้นโชชู สมัยเด็กเขาเคยเป็นสมาชิกทหารอาสาที่ชื่อว่าคิเอไตตั้งแต่ปี 1864 และเข้าร่วมรบในสงครามโบชินเพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนตั้งแต่ปี 1867 จนได้รับชัยชนะในยุทธการที่ฮาโกดาเตะในปี 1869 ซึ่งหลังเสร็จสงครามดังกล่าว เขาก็เดินทางกลับเกียวโตแล้วทำงานในกระทรวงการสงคราม โดยได้ศึกษาอาวุธและยุทธวิธีของชาติตะวันตก
เทราอูจิได้เป็นทหารรักษาพระองค์จักรพรรดิเมจิในปี 1870 และได้เดินทางตามเสด็จสู่โตเกียวอันเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ เขาลาออกจากงานทหารในปี 1871 เพื่อไล่ตามความฝันที่จะไปเรียนภาษาที่ประเทศฝรั่งเศส แต่ไม่ทันไรเขาก็ถูกเรียกตัวเข้ารับราชการในกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหน่วยทหารระดับชาติที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยได้ติดยศร้อยตรี ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะนายทหารเสนาธิการของโรงเรียนนายร้อยทหารบกในปี 1873 เทราอูจิมีส่วนในการปราบกบฏซัตสึมะในปี 1877 และสูญเสียมือขวา แต่ความพิการของเขาไม่ได้เป็นอุปสรรคต่ออนาคตของเขาเลย
ในปี 1882 เขาถูกส่งตัวไปยังประเทศฝรั่งเศสในฐานะนายทหารคนสนิทของเจ้าชายโคโตฮิโตะ เจ้าคังอิน และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารในปีถัดมา เขาอาศัยอยู่และศึกษาหาความรู้ในประเทศฝรั่งเศสจนถึงปี 1886 แล้วจึงเดินทางกลับญี่ปุ่น โดยได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารบก ต่อมาในปี 1887 เขาได้เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก และในปี 1891 ก็ได้เป็นเสนาธิการกองทัพภาคที่หนึ่ง ในปี 1892 ได้เป็นหัวหน้าฝ่ายที่หนึ่ง (ฝ่ายยุทธการ) ศูนย์เสนาธิการทหารบก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Terauchi Masatake" in Japan Encyclopedia, p. 964, p. 964, ที่กูเกิล หนังสือ.