เอซากุ ซาโต
เอซากุ ซาโต | |||||
---|---|---|---|---|---|
佐藤 栄作 | |||||
![]() ภาพถ่านทางการ, ค.ศ. 1964 | |||||
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | |||||
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤศจิกายน 1964 – 7 กรกฎาคม 1972 | |||||
กษัตริย์ | โชวะ | ||||
ก่อนหน้า | ฮายาโตะ อิเกดะ | ||||
ถัดไป | คากูเอ ทานากะ | ||||
ประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย | |||||
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม 1964 – 5 กรกฎาคม 1972 | |||||
รองประธานาธิบดี | โชจิโร คาวาชิมะ | ||||
เลขาธิการทั่วไป | |||||
ก่อนหน้า | ฮายาโตะ อิเกดะ | ||||
ถัดไป | คากูเอ ทานากะ | ||||
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | |||||
ดำรงตำแหน่ง 23 มกราคม 1949 – 3 มิถุนายน 1975 | |||||
เขตเลือกตั้ง | ยามางูจิ เขต 2 | ||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||
เกิด | 27 มีนาคม ค.ศ. 1901 ทาบูเซะ จังหวัดยามางูจิ จักรวรรดิญี่ปุ่น | ||||
เสียชีวิต | 3 มิถุนายน ค.ศ. 1975 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น | (74 ปี)||||
พรรคการเมือง | LDP (1955–1975) | ||||
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | DLP (1948–1950) JLP (1950–1955) | ||||
คู่สมรส | ฮิโรโกะ ซาโต (สมรส 1926) | ||||
บุตร | 2, รวมชินจิ | ||||
ความสัมพันธ์ | โนบูซูเกะ คิชิ (พี่ชาย) ชินโซ อาเบะ (เหลนชาย) โนบูโอะ คิชิ (เหลนชาย) | ||||
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยจักรวรรดิโตเกียว | ||||
รางวัล | รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (1974) | ||||
ลายมือชื่อ | ![]() | ||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
ชินจิไต | 佐藤栄作 | ||||
คีวจิไต | 佐藤榮作 | ||||
คานะ | さとう えいさく | ||||
| |||||
เอซากุ ซาโต (ญี่ปุ่น: 佐藤 栄作; โรมาจิ: Satō Eisaku; 27 มีนาคม ค.ศ. 1901 – 3 มิถุนายน ค.ศ. 1975) นักการเมืองชาวญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 39 ของญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 - ค.ศ. 1972 ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเป็นอันดับสอง เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1975
เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1964 ถึง 1972 เขาถือเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งนานเป็นอันดับ 3 และถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอย่างต่อเนื่องนานสุดเป็นอันดับ 2 ซาโตเป็นที่รู้จักดีจากการรับประกันในการส่งคืนจังหวัดโอกินาวะใน ค.ศ. 1972 และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1974 ซึ่งก่อให้เกิดการโต้เถียง เขาเป็นอดีตข้าราชการชั้นสูงเหมือนกับโนบูซูเกะ คิชิ พี่ชายของเขา และสมาชิกในโรงเรียนโยชิดะเหมือนกับฮายาโตะ อิเกดะ[1]
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]
ซาโตเกิดในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1901 ที่ทาบูเซะ จังหวัดยามางูจิ โดยเป็นบุตรชายคนที่สามของฮิเดซูเกะ ซาโต นักธุรกิจ กับโมโยะ ภรรยา บิดาของเขาเคยทำงานในสำนักงานจังหวัดยามากูจิ แต่ลาออกใน ค.ศ. 1898 และเริ่มธุรกิจผลิตสาเกที่คิชิดะ ทาบูเซะ ครอบครัวมีประวัติในการผลิตสาเกและถือครองสิทธิ์ในการผลิตสาเกมาหลายชั่วรุ่น[2] ทวดของซาโตเป็นซามูไรในแคว้นศักดินาโชชู พร้อมอิทธิพลอันใหญ่หลวงในญี่ปุ่นยุคเมจิ โดยมีนายกรัฐมนตรีในยุคเมจิถึงไทโชที่มาจากจังหวัดยามางูจิมากกว่าจังหวัดอื่น พี่ชายสองคนของเขาคืออิจิโร ซาโตที่จะกลายเป็นพลเรือโท และโนบูซูเกะ คิชิ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1957-1960[3]
ซาโตศึกษากฎหมายเยอรมนีที่มหาวิทยาลัยจักรวรรดิแห่งโตเกียว และกอบผ่านข้าราชการพลเรือนชั้นสูงใน ค.ศ. 1923 ก่อนรับปริญญาในปีถัดมา เขาเข้าทำงานเป็นข้าราชการพลเรือนในกระทรวงรถไฟ เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานรถไฟโอซากะใน ค.ศ. 1944 ถึง 1946 และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมใน ค.ศ. 1947 ถึง 1948[4]
อาชีพการเมือง
[แก้]หลังสงคราม เขาเข้าสู่สภาไดเอ็ตแห่งชาติในปี 1949 ในฐานะสมาชิกพรรคเสรีนิยม และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในหลายกระทรวงภายใต้รัฐบาลของชิเงรุ โยชิดะ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมในปี 1951–1952 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงก่อสร้างในปี 1952–1953 และหัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในปี 1953–1954 ต่อมาเขาเข้าร่วมพรรคเสรีประชาธิปไตย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี 1958–1960 ภายใต้รัฐบาลของโนบูซูเกะ คิชิ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมในปี 1961–1962 ภายใต้รัฐบาลของฮายาโตะ อิเกดะ
ในปี 1964 ซาโตะได้สืบตำแหน่งต่อจากอิเคะดะในฐานะหัวหน้าพรรค LDP และนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและการเงินของญี่ปุ่น และดำรงตำแหน่งในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว
ในด้านนโยบายต่างประเทศ เขาได้ดูแลกระบวนการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีใต้ และรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา โดยยอมให้สนธิสัญญาความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ–ญี่ปุ่นต่ออายุในปี 1970 และเจรจาให้สหรัฐฯ ส่งคืนโอกินาวาให้ญี่ปุ่นในปี 1972
ในปี 1967 ซาโตะได้นำเสนอ “หลักการปลอดอาวุธนิวเคลียร์สามประการ” (ไม่ผลิต ไม่ครอบครอง และไม่ยอมให้อาวุธนิวเคลียร์เข้าสู่ประเทศ) และในปี 1968 ได้ลงนามในสนธิสัญญาการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ อย่างไรก็ตาม ต่อมามีการเปิดเผยว่าเขาได้ทำข้อตกลงลับกับสหรัฐฯ ที่อนุญาตให้ละเมิดหลักการดังกล่าวได้
เมื่อเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นและคะแนนนิยมที่ลดลงในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ซาโตะจึงลาออกจากตำแหน่งในปี 1972 และคากูเอ ทานากะได้ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน แต่ซาโตะก็สูญเสียอิทธิพลทางการเมืองอย่างรวดเร็วเมื่อทาเกโอะ ฟูกูดะ ศิษย์เอกของเขาไม่ได้รับเลือกให้สืบตำแหน่งต่อ
เสียชีวิต
[แก้]เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1975 ซาโตเข้ารับประทานมื้อเย็นที่ชิกิรากุ ภัตตาคารในเขตสึกิจิของโตเกียว โดยฟูกูดะเข้าร่วมด้วย ระหว่างงาน เขาเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตกอย่างรุนแรงจนเข้าขั้นโคม่า จากนั้นจึงถูกกักตัวที่ห้องฉุกเฉินของภัตตาคารเป็นเวลา 4 วัน ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล[5] เขาเสียชีวิตเวลา 12:55 น. ของวันที่ 3 มิถุนายนที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยจิเกด้วยอายุ 74 ปี หลังจากพิธีศพสาธารณะ อัฐิของเขาถูกฝังไว้ในสุสานของครอบครัวที่ทาบูเซะ
ซาโตได้รับเกียรติหลังเสียชีวิตด้วยแถบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ถือเป็นเกียรติสูงสุดในระบบเกียรติยศของญี่ปุ่น
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]
ซาโตสมรสกับฮิโรโกะ ซาโต (ญี่ปุ่น: 佐藤 寛子; โรมาจิ: Hiroko Satō; 5 มกราคม ค.ศ. 1907 – 16 เมษายน ค.ศ. 1987) ใน ค.ศ. 1926 และมีบุตรชายสองคน คือ รีวตาโรและชินจิ มัตสึซูเกะ ซาโต บิดาของฮิโรโกะ เป็นอาของเอซากุ หลังมัตสึซูเกะเสียชีวิตใน ค.ศ. 1911 ฮิโรโกะจึงได้รับการเลี้ยงดูจากทูตโยซูเกะ มัตสึโอกะ ลุงฝ่ายแม่ ลูกชายทั้งสองหันมาเล่นการเมืองตามบิดา
ในการสัมภาษณ์กับนักเขียนนวนิยายชูซากุ เอ็นโดจากชูกังอาซาฮิใน ค.ศ. 1969 ฮิโรโกะกล่าวหาซาโตเป็นคราดและผู้ตีภรรยา[6] งานอดิเรกของเขาได้แก่ กอล์ฟ ตกปลา และซาโด[4] โนบูซูเกะ คิชิ (พี่ชาย) และชินโซ อาเบะ (เหลนชาย) ก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-031-78527-6_6
- ↑ Yamada, Eizō; 山田栄三 (1988). Seiden Satō Eisaku. Shinchōsha. p. 23. ISBN 4-10-370701-1. OCLC 20260847.
- ↑ Kurzman, Dan (1960). Kishi and Japan: The Search for the Sun. Obolensky. ISBN 9780839210573.
- ↑ 4.0 4.1 "The Nobel Peace Prize 1974". Nobel Prize. สืบค้นเมื่อ 6 January 2013.
- ↑ Tsuda 2023, p. 19.
- ↑ "The Wife Tells All". Time. 10 January 1969. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2007. สืบค้นเมื่อ 6 January 2013.
- ↑ "1986 dual elections offer clue to Abe's plans".
ข้อมูล
[แก้]- Kapur, Nick (2018). Japan at the Crossroads: Conflict and Compromise after Anpo. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 98. ISBN 978-0674984424.
- Tsuda, Taro (17 October 2023). "Elder statesman as a jack-of-all-trades: The case of Satō Eisaku in 1970s Japan". Contemporary Japan. doi:10.1080/18692729.2023.2247735.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Dufourmont, Eddy (2008). "Satō Eisaku, Yasuoka Masahiro and the Re-Establishment of 11 February as National Day: the Political Use of National Memory in Postwar Japan". In Wolfgang Schwentker and Sven Saaler ed., The Power of Memory in Modern Japan, Brill, pp. 204–222. ISBN 978-19-05-24638-0
- Edström Bert (1999). Japan's Evolving Foreign Policy Doctrine: From Yoshida to Miyazawa. Palgrave Macmillan. Chapter 5: "The Cautious and Discreet Prime Minister: Satō Eisaku". ISBN 978-1-349-27303-4
- Hattori, Ryuji (2020). Eisaku Sato, Japanese Prime Minister, 1964–72: Okinawa, Foreign Relations, Domestic Politics and the Nobel Prize. Routledge. ISBN 978-1003083306
- Hoey, Fintan (2015). Satō, America and the Cold War: US-Japanese Relations, 1964–72. Palgrave Macmillan. ISBN 978-1-137-45763-9
- Kapur, Nick (2018). "The Empire Strikes Back? The 1968 Meiji Centennial Celebrations and the Revival of Japanese Nationalism". Japanese Studies 38:3. pp. 305–328.
- Tsuda, Taro (2019). Satō Eisaku and the Establishment of Single-Party Rule in Postwar Japan[ลิงก์เสีย]. PhD dissertation. Harvard University.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Film Footage of Eisaku Sato's State Visit to Washington DC เก็บถาวร 26 กรกฎาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เอซากุ ซาโต ที่ Nobelprize.org including the Nobel Lecture 11 December 1974 The Pursuit of Peace and Japan in the Nuclear Age
- บทความเอซากุ ซาโต EB
- หน้าหลักรัฐบาลญี่ปุ่น
- Brief summary of the debate around Eiskau Sato's Nobel Prize at OpenLearn เก็บถาวร 7 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน