ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหากัสสปะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
| หมายเหตุ =
| หมายเหตุ =
}}
}}
'''พระมหากัสสปะ''' เป็น[[พระอรหันต์]][[สาวก]]องค์หนึ่งของ[[พระโคตมพุทธเจ้า]] เป็น[[เอตทัคคะ]]ที่ทรงยกย่องและให้ถือเป็นแบบอย่างในด้าน'''ผู้มีธุดงค์มาก''' ภายหลังปรินิพพาน ท่านได้เป็นประธานในการ[[สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธ]]
'''พระมหากัสสปะ''' เป็น[[พระอรหันต์]][[สาวก]]องค์หนึ่งของ[[พระโคตมพุทธเจ้า]] เป็น[[เอตทัคคะ]]ที่ทรงยกย่องและให้ถือเป็นแบบอย่างในด้าน'''ผู้มีธุดงค์มาก''' ภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านได้เป็นประธานในการ[[สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธ]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:35, 3 มิถุนายน 2557

พระมหากัสสปะ
จิตรกรรมภาพพระมหากัสสปะ ในถ้ำคีซิล (อายุราวศตวรรษที่ 6)
จิตรกรรมภาพพระมหากัสสปะ ในถ้ำคีซิล (อายุราวศตวรรษที่ 6)
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเดิมปิปผลิ
สถานที่ประสูติมหาติตถะ เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
สถานที่บวชต้นไทรพหุปุตตนิโครธ ระหว่างเมืองราชคฤห์ กับนาลันทา
วิธีบวชโอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา
เอตทัคคะผู้มีธุดงค์มาก
อาจารย์พระโคตมพุทธเจ้า
สถานที่นิพพานภุเขากุกกุฏสัมปาต
ฐานะเดิม
บิดากปิลพราหมณ์
มารดาสุมนเทวีพราหมณี
วรรณะเดิมพราหมณ์
การศึกษาจบพระเวท
สถานที่รำลึก
สถานที่ประตูถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างภูเขาเวภาระ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ สถานที่ทำสังคายนาครั้งแรก
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระมหากัสสปะ เป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นเอตทัคคะที่ทรงยกย่องและให้ถือเป็นแบบอย่างในด้านผู้มีธุดงค์มาก ภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านได้เป็นประธานในการสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธ

ประวัติ

พระมหากัสสปะ มีพระนามเดิมว่า ปิปผลิ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์และสุมนเทวีพราหมณี เกิดที่เมืองราชคฤห์ ตอนวัยเด็ก ขณะที่ปิปผลิกุมารได้วิ่งเล่นออกจากพระราชวังนั้น ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งกำลังทำสมาธิ จึงเกิดความเลื่อมใส คิดอยากจะออกบวชในวัยหนุ่ม เมื่ออายุเข้าย่างสู่ 20 ปี ได้แต่งงานกับพราหมณีนามว่าภัททกาปิลานี อาศัยอยู่ในเมืองสาคละ แคว้นมัททะ ซึ่งมีพราหมณ์คนหนึ่งตามมาขอ และทั้งก็ได้แต่งงานกันอย่างสมเกียรติ และหลังจากแต่งงาน ภัททกาปิลานีก็ได้มาอยู่ที่บ้านของปิปผลิภาณพ เมื่อมารดาบิดาของทั้งสองฝ่ายถึงแก่กรรม ทั้งสองจึงได้ออกบวชในศาสนาพุทธ ระหว่างเมืองราชคฤห์กับนาลันทา (บ้านเกิดพระสารีบุตร)

การทำสังคายนา

ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำสังคายนาครั้งแรก

พระมหากัสสปเถระได้ทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่ ณ เมืองปาวาพร้อมด้วยหมู่ศิษย์จำนวนมาก เมื่อได้ทราบข่าวนั้น เหล่าศิษย์ของพระมหากัสสปะซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ได้ร้องไห้คร่ำครวญกัน ณ ที่นั้น จึงมีพระภิกษุบวชเมื่อแก่องค์หนึ่ง ชื่อว่าสุภัททะ ได้กล่าวขึ้นว่า "หยุดเถิด หยุดเถิด ท่านอย่าร่ำไรไปเลย พระสมณะนั้นพ้น (ปรินิพพาน) แล้ว เราจะทำอะไรก็ได้ตามพอใจ ไม่ต้องเกรงบัญชาใคร" พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น คิดจะทำนิคคหกรรม (ทำโทษ) แต่เห็นว่ายังมิควรก่อน และดำริขึ้นว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง 7 วัน ก็มีผู้คิดที่จะทำให้เกิดความแปรปรวน หรือประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจากพระธรรมวินัยเช่นนี้ จึงควรจะทำสังคายนาและจะชักชวนพระอรหันต์เถระทั้งหลาย ซึ่งล้วนทันเห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรง เป็นผู้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าสิ่งใดที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้มาประชุมกัน เพื่อช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้ จากนั้นท่านจึงเดินทางไปยังเมืองกุสินาราเพื่อเป็นประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ใช้เวลา 7 เดือน พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นผู้อุปถัมภ์

การสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธจึงได้จัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ ตามคำปรารภของพระมหากัสสปะเถระ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ โดยในครั้งนั้น พระมหากัสสปะเถระเป็นประธานทำสังคายนา พระอานนท์เป็นองค์วิสัชชนาแสดงพระธรรม พระอุบาลีเป็นองค์วิสัชชนาพระวินัยปิฎก การสังคายนาครั้งนั้นนับเป็นต้นกำเนิดของพระไตรปิฎกภาษาบาลีที่ใช้ในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน

อ้างอิง

  • โอม รัชเวทย์. พระมหากัสสปะ ฉบับการ์ตูนสี่สี. พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรุงเทพฯ:เครืออมรินทร์,๒๕๕๒

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระมหากัสสปะ ถัดไป
ประธานการสังคายนาครั้งที่ 1
พระเรวตเถระ
ประธานการสังคายนาครั้งที่ 2