ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{
{{ปรับรูปแบบ}}
{{ผู้นำประเทศ
| name =เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
| image =
| imagesize = 200px
| order =
| term_start =
| term_end =
| predecessor =
| successor =
| order1 = [[รายนามอธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ|ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ]]
| term_start1 = 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
| term_end1 = 30 กันยายน พ.ศ. 2551<br> ({{อายุปีและวัน|2550|10|1|2551|9|30}})
| predecessor1 = [[โกวิท วัฒนะ|พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ]]
| successor1 = [[พัชรวาท วงษ์สุวรรณ|พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ]]
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2491|9|3}}
| birth_place = [[จังหวัดธนบุรี]]
| death_date =
| death_place =
| party = [[พรรคเสรีรวมไทย|เสรีรวมไทย]]
| spouse = พัสวีศิริ เตมียเวส
| religion =
| signature =
| branch = [[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]]
| rank = [[ไฟล์:RTP OF-9 (Police General).svg|15px|]] พลตำรวจเอก
}}
'''พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส''' ([[ชื่อเล่น]]: ตู่, เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2491) (ชื่อเดิม: '''เสรี เตมียเวส''') หัวหน้า[[พรรคเสรีรวมไทย]] อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF</ref>เจ้าของฉายา "'''วีรบุรุษนาแก'''" และ "'''มือปราบตงฉิน"'''


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:13, 10 มีนาคม 2562

{

ประวัติ

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ เดิมชื่อ “เสรี” เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2491 ชื่อเล่น ตู่ ที่จังหวัดธนบุรี เป็นบุตร นายชื้น และ นางอรุณ สมรสกับพัสวีศิริ (สกุลเดิม เทพชาตรี) มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นางสาวศศิภาพิมพ์, นายทรรศน์พนธ์ และนางสาวทัศนาวัลย์ โดยสกุล “เตมียเวส” ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2457 เลขสกุลลำดับที่ 2081

การรับราชการตำรวจและการเมือง

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ จบศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนทวีธาภิเศก จากนั้นจึงได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 8 (ตท.8) เคยรับราชการอยู่ที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ช่วง พ.ศ. 2515-2524 ได้ต่อสู้ปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อย่างเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ จนบ้านเมืองบังเกิดความสงบเรียบร้อย และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร และเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 ซึ่งต่อมาประชาชนเรียกขาน และยกย่องว่าเป็น "วีรบุรุษนาแก" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นอกจากนั้น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯยังได้รับพระราชทานรางวัล “คนไทยตัวอย่าง” รางวัล “บุคคลดีเด่นของชาติ” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รางวัล “ข้าราชการที่ประพฤติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต” จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายมหาวิทยาลัย

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ เคยดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกองปราบปราม เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อ พ.ศ. 2533-2534 ขณะ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2534 ได้มีผู้วางระเบิดห้องทำงาน[1]ในขณะดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองปราบปราม และต้องพ้นจากตำแหน่ง ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น เสรีพิศุทธ์ นัยว่า เพื่อแก้เคล็ด เนื่องจากชื่อไม่ถูกโฉลก [2]

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ มีภาพลักษณ์เป็นนายตำรวจมือปราบที่ซื่อตรง ได้ฉายาว่า "มือปราบตงฉิน" ผู้มีอำนาจในหลายรัฐบาลมักเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ให้เข้ามาสืบสวนสอบสวนคดีสำคัญๆที่สังคมและสื่อตั้งข้อสงสัย มีการจับกุมนักการเมือง รัฐมนตรี เจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลหลายต่อหลายคน ทำให้ได้รับผลกระทบจากการเมืองบ่อยครั้ง โดยมักถูกโยกย้ายไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ได้ควบคุมกำลัง เช่น กองวิทยาการตำรวจ หรือ ประจำกรมตำรวจ เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ก็ยังได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จเรตำรวจแห่งชาติคนแรก แต่ต่อมาก็ยังถูกผู้บังคับบัญชากลั่นแกล้งเพื่อไม่ให้มีโอกาสดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยย้ายไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา สบ.10 ก่อนจะมารักษาการในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 แทน พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ที่ได้รับคำสั่งไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2550 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้มีประกาศ ฉบับที่ 1 แต่งตั้ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ เป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2551 ภายหลังพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พ.ต.อ.ทินกร มั่งคั่ง อดีตนายเวร ที่ถูก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ปลดออกจากราชการ ลงนามหนังสือร้องเรียนถึงนายสมัครฯ ซึ่งสำนักนายกรัฐมนตรีได้ลงรับหนังสือร้องเรียนทั้ง 3 ฉบับ ไว้พร้อมกันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และในวันรุ่งขึ้น นายสมัครฯก็ได้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงต่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ทันที โดยข้ามขั้นตอนไม่ทำการสืบสวนข้อเท็จจริงตามกฎหมายเสียก่อน และในวันเดียวกันนั้นก็ได้ออกคำสั่งให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน [3][4]

ต่อมา วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 นายสมัครฯ ก็ได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 73/2551 ให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ออกจากราชการไว้ก่อน โดยที่ยังไม่ทันได้เริ่มทำการสอบสวนใด ๆ ทั้งสิ้น และแต่งตั้ง พล.ต.อ.พัชรวาทฯ ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. แทน

หลังจากนั้น ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ก็ได้แถลงข่าวที่โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ ถึงเรื่องที่ถูกปลดออกจากตำแหน่ง โดยกล่าวว่าตนถูกปล้นตำแหน่ง ไม่ได้รับความเป็นธรรม[5]

ต่อมาเมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้สั่งให้ยุติการสอบสวน และยกเลิกคำสั่งให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ออกจากราชการไว้ก่อน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ฟ้องร้อง พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในคดีหมิ่นประมาท แต่ศาลได้มีคำสั่งยกฟ้องในที่สุด[6]

ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขากล่าวผ่านสื่อวิพากษ์วิจารณ์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาลหลายครั้งหลายคราว เมื่อเห็นว่านายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กองทัพ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกระทำการอันไม่สมควรและผิดกฎหมายหลายต่อหลายครั้ง ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน และไม่ให้อำนาจเผด็จการเข้ามาครอบงำเพื่อไม่ให้ประเทศชาติเสียหาย รัฐบาลตอบสนองด้วยการออกหมายเรียก[7]วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ เสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชาฝ่ายกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม ในข้อหากระทำการที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ[8]

การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556

ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ได้เปิดตัวแสดงเจตนาที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ในนาม "กลุ่มพลังกรุงเทพ"[9] โดยได้เบอร์ 11 และได้รับคะแนนทั้งสิ้น 166,582 คะแนน โดยมีคะแนนเป็นอันดับสามต่อจากพรรคการเมืองใหญ่ทั้ง 2 พรรค และอันดับหนึ่งจากผู้สมัครอิสระที่ไม่สังกัดพรรคอีก 23 คน [10]

ยศตำรวจ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 365ปีแพะอาถรรพ์
  2. http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=50173
  3. http://www.nationmultimedia.com/2008/02/29/politics/politics_30066833.php
  4. คำสั่งเด้งผบ.ตร.
  5. เสรีพิศุทธ์ แฉถูกปล้นตำแหน่ง ผบ.ตร.จากกระปุกดอตคอม
  6. ยกฟ้อง'พัชรวาท'ไม่ผิดสอบสวน'เสรีพิศุทธ์'
  7. “เสรีพิศุทธ์” อดีต ผบ.ตร.หลังออกรายการวิจารณ์ คสช.
  8. เบื้องหลัง 'ฟ้าให้ทีวี' กับ 'เสียงเสรี' ที่ทหารไม่ปลื้ม
  9. “เสรีพิศุทธิ์” เปิดตัวลงสมัครผู้ว่าฯกทม. จากเดลินิวส์
  10. "เผยผลคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.อย่างเป็นทางการ สถิติใหม่คนกรุง ส่งกกต.รับรองผลใน7วัน". ข่าวสด. 4 March 2013. สืบค้นเมื่อ 22 May 2014.
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/025/5.PDF
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0B/00148558.PDF
  13. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕) เล่ม 119 ตอนที่ 21ข วันที่ 4 ธันวาคม 2545
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ จำนวน ๔,๗๙๙ ราย)


ก่อนหน้า เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ถัดไป
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551)
พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ