ชลิต พุกผาสุข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชลิต พุกผาสุก)
ชลิต พุกผาสุข
องคมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
(12 ปี 343 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
รักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
(0 ปี 129 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
สมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าสนธิ บุญยรัตกลิน
ถัดไปสิ้นสุดลง
รองประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(1 ปี 0 วัน)
รองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2549 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(0 ปี 12 วัน)
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551
(2 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าพลอากาศเอก เฉลิม ชุ่มชื่นสุข (รักษาการ)
ถัดไปพลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2491 (76 ปี)
คู่สมรสพรทิพย์ พุกผาสุข

พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2491) ประธานกรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง องคมนตรี, เลขาธิการมูลนิธิพระดาบส, อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศของไทย และอดีตรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) คนที่ 1

ประวัติ[แก้]

พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2491 ในครอบครัวทหาร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนโยธินบูรณะ ปีการศึกษา 2505 เลขประจำตัว 4970 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช รุ่นที่ 13 โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 40 โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 27 วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 25 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 ผ่านหลักสูตรครูการบินไอพ่น (PILOT INSTRUCTOR T - 38) โดยทุน IMETP ที่ซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา

การรับราชการ[แก้]

เริ่มรับราชการในตำแหน่งสำคัญ คือ ผู้บังคับฝูงบิน 103 กองบิน 1 และ ผู้บังคับฝูงบิน 231 กองบิน 23, เสนาธิการกองบิน 23, รองผู้บังคับการกองบิน 1, ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ, ผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทยประจำกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย, รองเจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ, ผู้บัญชาการกองพลบินที่ 2 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ, เจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ, ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายกำลังพล, รองเสนาธิการทหารอากาศ, ผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ, ราชองครักษ์เวรในปี 2531 และราชองครักษ์พิเศษในปี 2546

พล.อ.อ.ชลิต ถือว่าเป็นนายทหารที่มีความรู้ความสามารถสูงในสายงาน "ยุทธการ" โดยผลงานที่สำคัญ คือเป็นหัวหน้าชุดภารกิจรับคนไทยและชาวต่างประเทศกลับจากกัมพูชา ในปี 2540

พล.อ.อ.ชลิต ยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมมวยปล้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (2 สมัย) นายกสมาคมโดดร่มแห่งประเทศไทย นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ ประธานคณะกรรมการบริหารชุมนุมนักเรียนนายเรืออากาศ ทั้งเคยได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นการบิน 2,000 ชั่วโมง (เป็นคนแรกของประเทศไทย) ในปี 2528 ขณะดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.ฝูงบิน 231 กองบิน 23 จ.อุดรธานี และประธานมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ (ในปัจจุบัน)

นอกจากนี้ ยังเป็นนักบินที่ทำการทดสอบเครื่องเอฟ 5 ซี ของ ทอ. ซึ่งมีเครื่องเดียวในประเทศไทย และจอดเสียอยู่ในโรงซ่อมมากกว่า 5 ปี จากนั้นก็ขับเครื่องบินเป็นเครื่องสุดท้ายของฝูง 103 ย้ายจากกองบิน 1 จากสนามบินดอนเมืองไปไว้ที่กองบิน 1 จ.นครราชสีมา จึงถือว่าเป็นบุคคลที่ทำการบินเครื่องบินรุ่นเอฟ 5 ซี ที่จอดเสียนานที่สุด โดยไม่กลัวอันตราย จนสามารถนำเครื่องบินกลับมารับใช้ชาติได้อีก กระทั่งเครื่องลำดังกล่าวปลดประจำการในเวลาต่อมา

พล.อ.อ.ชลิต ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554 แต่งตั้งโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษํตริย์เป็นประมุข[1]

เกียรติประวัติ[แก้]

เริ่มทำการบินเอฟ 5 มาตลอด จนได้ชั่วโมงการบินถึง 1,000 ชั่วโมง (เป็นคนที่ 5 ของประเทศไทย) และทำการบินต่อจนครบ 2,000 ชั่วโมง (เป็นคนแรกของประเทศไทย) โดยในช่วงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่บินโจมตีในพื้นที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และยังเคยผ่านประสบการณ์บินลาดตระเวนและโจมตี ชายแดนไทย - กัมพูชา ด้าน จ.ตราด สุรินทร์ บุรีรัมย์ และ จ.สระแก้ว รวมทั้งภารกิจนำเครื่องบินไปทิ้งที่ระเบิดสมรภูมิบ้านร่มเกล้าถึง 3 รอบ ขณะเป็นเสนาธิการประจำการอยู่กองบิน 23 จ.อุดรธานี

ในเหตุการณ์การรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) คนที่ 2 ในฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ และภายหลังเหตุการณ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดูแลการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ และเป็นประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (กดส.)

ในปี พ.ศ. 2550 เมื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้เกษียณอายุราชการไป พล.อ.อ.ชลิต จึงรับตำแหน่งเป็นรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติสืบต่อ

หลังเกษียณแล้ว พล.อ.อ.ชลิต ได้เข้าไปทำงานในมูลนิธิรักษ์เมืองไทย และมูลนิธิรัฐบุรุษของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์[2]

ได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[3][4]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

พล.อ.อ.ชลิต มีชื่อเล่นว่า "ต๋อย" สมรสกับ ผศ.ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรรมการ มูลนิธิร่วมจิตต์ น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์[5] มีธิดา 2 คน มีกีฬาส่วนตัวที่โปรดปรานคือ มวยปล้ำ โดยมีเหตุผลว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และรับหน้าที่เป็นนายกสมาคมมวยปล้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2011-09-24.
  2. ลับ ลวง พราง ภาค 2 ซ่อนรูปปฏิวัติหัก "เหลี่ยม" โหด ISBN 978-974-02-0597-5 โดย วาสนา นาน่วม: สำนักพิมพ์มติชน
  3. โปรดเกล้าฯ'พล.อ.อ.ชลิต'เป็นองคมนตรี[ลิงก์เสีย] จากประชาทรรศน์
  4. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งองคมนตรี (พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข)
  5. รายชื่อกรรมการมูลนิธิ
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  8. 8.0 8.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๑, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย "สึนามิ", เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๙, ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 113 ตอนที่ 13 ข หน้า 18, 2 กรกฎาคม 2539

แหล่งข้อ[แก้]

ก่อนหน้า ชลิต พุกผาสุข ถัดไป
พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551)
พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน รักษาการหัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
ตำแหน่งสิ้นสุดลง