ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติสี
Protesters in Yangon with a banner that reads non-violence: national movement in Burmese, in the background is Shwedagon Pagoda
ผู้ประท้วงในย่างกุ้งที่ถือป้าย ไม่ใช้ความรุนแรง: ขบวนการระดับชาติ ในภาษาพม่า ด้านหลังคือเจดีย์ชเวดากอง
วันที่15 สิงหาคม ค.ศ. 2007 – 26 กันยายน ค.ศ. 2008
สถานที่ประเทศเมียนมาร์
สาเหตุ
เป้าหมาย
วิธีการการประท้วงของพลเรือน, การเดินขบวน, การประท้วงโดยไม่ใช้รุนแรง
ผลเกิดการปราบปรามการจลาจล, ปฏิรูปการเมือง และเลือกตั้งใหม่
การชุมนุมกันบริเวณเจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง

การประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า คือการประท้วงที่นำโดยคณะพระภิกษุสงฆ์ แม่ชี นักศึกษาและประชาชน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จากการไม่พอใจของประชาชนต่อการประกาศขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบเท่าตัว และขึ้นราคาก๊าซหุงต้มถึง 5 เท่าอย่างฉับพลันโดยมิได้ประกาศแจ้งบอกของรัฐบาลทหารพม่า[1] การประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยมา จนถึงวันที่ 5 กันยายน มีการชุมนุมประท้วงที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองปะโคะกู ทางตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์จำนวน 3 รูป สื่อมวลชนบางแห่งเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า Saffron Revolution หรือ "การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์"[2][3]

คณะพระภิกษุ ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพอย่างสูงจากชาวพม่า ประกาศ "ปฐมนิคหกรรม" ไม่รับบิณฑบาตจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทหารพม่า ทหาร และครอบครัว และเรียกร้องให้ทางการพม่า ขอโทษองค์กรสงฆ์อย่างเป็นทางการภายในวันที่ 17 กันยายน แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ภิกษุสงฆ์จึงเริ่มเข้าร่วมการประท้วงด้วย ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เมื่อรวมผู้ประท้วงแล้วมากกว่า 1 แสนคน การประท้วงต่อต้านรัฐบาลเผด็จการครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่การประท้วงเมื่อปี พ.ศ. 2531 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 คน ในการใช้กำลังทหารเข้าสลายการประท้วง[4]

เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กันยายน คณะสงฆ์และประชาชนได้เดินทางไปยังบ้านพักนางออง ซาน ซูจี ผู้นำประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งนางอองซานได้ออกมาปรากฏตัวเป็นเวลา 15 นาที โดยการเปิดประตูเล็กของประตูบ้าน พร้อมกับพนมมือไหว้พระสงฆ์ที่กำลังให้พร การปรากฏตัวครั้งนี้นับเป็นการปรากฏตั้วต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546[5]

จนถึงวันที่ 27 กันยายน รัฐบาลพม่าได้แถลงการณ์ออกมาแล้วว่ามีผู้เสียชึวิตจากเหตุการณ์แล้ว 9 คน โดยหนึ่งในนั้นเป็นช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่ทำงานให้กับสำนักข่าวเอเอฟพี นายเค็นจิ นางาอิ (長井 健司)[6][7] พร้อมกันนั้นรัฐบาลพม่าได้จับกลุ่มผู้ชุมนุมและพระสงฆ์ไปเป็นอีกจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 29 กันยายน ทูตพิเศษของสหประชาชาติ นายอิบราฮิม กัมบารี ได้เดินทางถึงพม่าแล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายคือเจรจากับรัฐบาลพม่าเรื่องดังกล่าว และนำสารจากเลขาธิการสหประชาชาติมาให้ นอกจากนั้นนายอิบราฮิมยังกล่าวว่าเขาหวังที่จะเข้าพบกับบุคคลที่สมควรพบทุกคนอีกด้วย[8]

ช่วงเวลา

[แก้]

ก่อนการประท้วง

[แก้]

ก่อนจะเกิดการประท้วงนั้น มีความไม่พอใจของประชาชนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย การเจริญทางเศรษฐกิจหยุดนิ่ง จนกลายเป็นประเทศยากจนที่สุด 20 อันดับแรกสุดของสหประชาชาติ สหประชาชาติได้ประณามความเป็นผู้นำของกองทัพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และการนำรายได้ของชาติไปใช้ในทางทหาร[9] ใน พ.ศ. 2549 ราคาของสินค้าหลายชนิดในพม่าเริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งข้าว ไข่ และน้ำมันปรุงอาหาร ซึ่งเพิ่มขึ้น 30–40% เด็ก 1 ใน 3 คนเป็นโรคขาดสารอาหาร ค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพและการศึกษาจัดอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 300 เหรียญสหรัฐ กองทัพพม่าดำรงอยู่ในฐานะรัฐซ้อนรัฐ มีความเป็นอยู่ที่ต่างจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศ นายพลในกองทัพมีฐานะร่ำรวย ดังที่เห็นในงานแต่งงานของลูกสาวนายพลต้านชเว ซึ่งสวมเครื่องเพชรที่มีมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐ[10][11] ตามรายงานของบีบีซีในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มีผู้ประท้วงกลุ่มเล็กออกมาประท้วงเกี่ยวกับราคาสินค้าภายในประเทศ มีผู้ถูกจับ 9 คน ซึ่งเป็นการประท้วงครั้งแรกในรอบสิบปีในย่างกุ้ง

เมษายน

[แก้]

กองทัพได้จับกุมประชาชน 8 คนเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 ที่ออกมาประท้วงในย่างกุ้ง เรียกร้องให้ลดราคาสินค้า ปรับปรุงบริการทางด้านสุขภาพ การศึกษา การประท้วงสิ้นสุดโดยสงบภายใน 70 นาที เมื่อรัฐบาลแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนที่จะปราบปรามผู้ประท้วง มีผู้ประท้วง 2 คนได้รับบาดเจ็บ

15 สิงหาคม ปัญหาราคาเชื้อเพลิง

[แก้]

ในวันที่ 15 สิงหาคม รัฐบาลได้ยกเลิกเงินอุดหนุนราคาเชื้อเพลิง ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาเพิ่มขึ้นจาก 1.40 เหรียญต่อแกลลอนเป็น 2.80 เหรียญต่อแกลลอน ราคาแก๊สธรรมชาติเพิ่มขึ้น 500% ทำให้ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น มีประชาชนออกมาประท้วง กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกได้ให้คำแนะนำว่า การเพิ่มเงินอุดหนุนเป็นการเปิดโอกาสให้ใช้ตลาดเสรีในการกำหนดราคาเชื้อเพลิง[12] โดยไม่ได้แนะนำให้ยกเลิกเงินอุดหนุนโดยไม่ประกาศ เชื้อเพลิงนี้ขายโดยบริษัทน้ำมันและแก๊สเมียนมาซึ่งเป็นบริษัทของรัฐ

การประท้วงในช่วงเริ่มต้น

[แก้]

ในการตอบสนองต่อการเพิ่มราคาน้ำมัน ประชาชนได้เริ่มออกมาประท้วงในวันที่ 19 สิงหาคม รัฐบาลได้เริ่มจับกุมผู้ประท้วง 13 คน หนังสือพิมพ์ของรัฐ New Light of Myanmar รายงานการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงทำให้เกิดความวุ่นวายที่เป็นอันตรายต่อสันติภาพและความปลอดภัยของรัฐ[13] ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550 กองทัพพม่าได้เข้ามาปราบปรามการประท้วงโดยสงบในปะกกกู และทำร้ายพระสงฆ์ 3 รูป[14] ในวันต่อมา พระสงฆ์รุ่นหนุ่มในปะกกกูได้ออกมาเรียกร้องให้กล่าวคำขอโทษภายในวันที่ 17 กันยายน แต่ฝ่ายทหารปฏิเสธ ทำให้มีการประท้วงโดยพระสงฆ์เพิ่มขึ้น พร้อมกับการงดบริการทางศาสนาสำหรับกองทัพ การประท้วงได้แพร่กระจายไปทั่วพม่ารวมทั้งในย่างกุ้ง ชิตเว ปะกกกู และมัณฑะเลย์

ในวันที่ 21 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผู้เข้าร่วมการประท้วงในวันที่ 19 สิงหาคมถูกค้นบ้านโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นโดยไม่เตือนล่วงหน้า ผู้ประท้วงถูกจำคุก 1 ปี ตามกฎหมาย 5/96 ในฐานะผู้ก่อกวนความสงบของรัฐ

การเพิ่มความรุนแรง

[แก้]

ในวันที่ 22 กันยายน พระสงฆ์ 2,000 รูป ออกมาเดินขบวนในย่างกุ้งและอีกพันรูปในมัณฑะเลย์ และยังมีการประท้วงในอีก 5 เมือง ขบวนได้เดินผ่านหน้าบ้านของอองซาน ซูจี[15] แม้จะอยู่ระหว่างถูกกักตัว ซูจีได้ออกมาปรากฏกายที่ประตูบ้าน ในวันที่ 23 กันยายน แม่ชี 150 คน เข้าร่วมประท้วงในย่างกุ้ง ในวันนั้น พระสงฆ์ 15,000 รูป ได้ออกมาเดินขบวนประท้วงทหารพม่า พันธมิตรพระสงฆ์พม่าทั้งมวลประกาศจะต่อต้านต่อไป จนกว่ากองทัพพม่าจะสลายตัว

24 กันยายน

[แก้]
การประท้วงของพระสงฆ์ในย่างกุ้ง ถือธงพุทธศาสนา

ในวันนี้ มีพยานรายงานว่ามีผู้ประท้วงในย่างกุ้ง 30,000 - 100,000 คน[16] การเดินขบวนเกิดขึ้นในเมือง 25 เมืองในพม่า ในวันนี้ รัฐมนตรีกระทรวงศาสนา นายพลทุรา มยินต์ หม่อง ออกมาเตือนพระสงฆ์ให้ยุติการประท้วง[17]

25 กันยายน

[แก้]
ผู้ประท้วงที่พระเจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง

ในวันนี้ กองทัพได้เริ่มปราบปรามและส่งรถบรรทุกทหารไปยังพระเจดีย์ชเวดากอง มีพระสงฆ์ 5,000 รูปและประชาชนเดินขบวนไปยังพระเจดีย์ชเวดากอง[18] มีการประกาศในย่างกุ้งให้ฝูงชนยุติการประท้วง อองซาน ซูจีถูกนำตัวออกจากบ้านไปยังเรือนจำอินเส่ง[19]

การปราบปรามของกองทัพ

[แก้]

26 กันยายน

[แก้]

ในวันที่ 26 กันยายน วิน ไนง์ กลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตยถูกจับที่บ้านในย่างกุ้งเมื่อ 2.30 น. หลังจากนำอาหารและน้ำไปให้พระสงฆ์ที่ออกมาประท้วง แต่ถูกปล่อยตัวหลังจากคุมขังไว้ 1 คืน[20] กองทหารเข้าปืดล้อมพระเจดีย์ชเวดากอง และโจมตีกลุ่มผู้ประท้วง 700 คนด้วยแก๊สน้ำตาและกระบอง ตำรวจพร้อมโล่และกระบองเข้าขับไล่พระสงฆ์และผู้ประท้วง 200 คนที่ยังเหลืออยู่ในบริเวณใกล้ประตูทางตะวันออกของพระเจดีย์ชเวดากอง ทหารเข้าปิดล้อมบริเวณพระเจดีย์เพื่อป้องกันไม่ให้เข้ามาประท้วงอีก[21][22] แต่ล้มเหลว ยังมีพระสงฆ์ 5,000 รูปประท้วงในย่างกุ้ง บางคนสวมหน้ากากป้องกันแก๊สน้ำตา ในวันนั้น รายงานว่ามีอย่างน้อยมีพระสงฆ์ 3 รูป และผู้หญิง 1 คน ถูกฆ่า เมื่อกลุ่มประชาชนและพระสงฆ์ยังคงประท้วงต่อไป[23]

27 กันยายน

[แก้]

ในวันที่ 27 กันยายน กองทัพได้ปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรง จับกุมพระสงฆ์อย่างน้อย 200 รูปในย่างกุ้ง และมากกว่า 500 รูปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[24] กองทัพได้เข้าจับกุมพระสงฆ์หลายรูปในย่างกุ้งและจุดชุมนุมในสถานที่สำคัญทางศาสนาต่าง ๆ มีผู้ประท้วงมากกว่า 50,000 คน ออกมาสู่ท้องถนนในย่างกุ้ง ฝ่ายทหารเตรียมใช้ยาฆ่าแมลงในการฉีดไล่ฝูงชน ซึ่งมีผู้เห็นรถบรรทุกบรรทุกเครื่องจักรและสเปรย์ฉีดยาในตลาดเทียนจีในย่างกุ้ง[25]

ในข่าวต่าง ๆรายงานว่าทหารได้ประกาศให้ฝูงชนสลายตัว 10 นาทีก่อนจะปราบปรามอย่างรุนแรง[26] สถานีวิทยุเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่ารายงานว่าพลเรือน 9 คน รวมทั้งช่างภาพชาวญี่ปุ่น เคนจิ นากาอิ ถูกยิงและถูกฆ่าโดยทหาร[27][28] และถูกยึดกล้องถ่ายรูปไป ทหารพม่าได้ยิงเข้าใส่ทั้งยิงขึ้นฟ้าและยิงใส่ฝูงชนที่ประท้วง มีพยานเห็นผู้ถูกยิงกว่า 100 คน นักเรียนนักศึกษากว่า 300 คนถูกจับกุม หลังจากกองทัพเคลื่อนกำลังเข้าหาฝูงชน มีผู้ประท้วงอย่างสงบ 50,000 คน ในขณะที่ทหารเข้าควบคุมสถานที่สำคัญรวมทั้งที่ทำการของรัฐบาล

ในช่วงเย็น โทรทัศน์ของรัฐบาลพม่ารายงานว่ามีผู้ถูกฆ่า 9 คนในการปราบปรามผู้ประท้วงในย่างกุ้งโดยกองทัพ มีผู้บาดเจ็บเป็นผู้ประท้วง 11 คน และทหาร 31 คน ในวันนี้ มีรายงานอย่างเป็นทางการว่าครอบครัวของตัน ฉ่วยได้เดินทางออกนอกประเทศ โดยเครื่องบินของครอบครัวลงจอดที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว[29]

28 กันยายน

[แก้]

ในวันนี้กรุงย่างกุ้งเงียบเหงาเพราะประชาชนหวาดกลัวความรุนแรงจากกองทัพ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ กลอเรีย มากาปากัลป์ ได้เรียกร้องให้พม่าดำเนินการไปตามขั้นตอนประชาธิปไตย ฟิลิปปินส์จะระงับความช่วยเหลือทางการเงินแก่พม่าถ้าไม่ปล่อยตัวอองซาน ซูจี สหรัฐเรียกร้องให้จีนแสดงอิทธิพลต่อพม่า

รัฐบาลพม่าพยายามหยุดยั้งการประท้วงโดยตัดการให้บริการอินเทอร์เน็ต ทหารได้มุ่งเป้าในการจับกุมช่างภาพ หลังจากช่างภาพชาวญี่ปุ่นถูกทหารพม่าสังหาร นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยาซูโอะ ฟุกุดะ ได้ออกมาแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตและเรียกร้องให้มีการสืบสวนขยายผล อาเซียนได้ถกเถียงกันเรื่องการผลักดันให้ส่งตัวแทนสหประชาชาติเข้าสู่พม่า ในขณะที่สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าใช้ความอดกลั้น

มีรายงานว่าทหารจากภาคกลางเริ่มเคลื่อนพลเข้าสู่ย่างกุ้งโดยทหารเหล่านี้มาจากศูนย์บัญชาการภาคกลางที่ตองอูและกองบัญชาการตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่ทราบเหตุผลแน่ชัดของการเคลื่อนพล.[30] นายพล หม่อง อเย ซึ่งมีตำแหน่งรองลงมาจากนายพลตัน ฉ่วย[31]แสดงความไม่เห็นด้วยกับการปราบปรามผู้ประท้วง และมีแผนจะเข้าพบอองซาน ซูจี บางแหล่งข่าวรายงานว่าหม่อง อเยเตรียมทำรัฐประหารล้มล้างนายพลตัน ฉ่วย และส่งทหารของเขาออกมาคุ้มกันอองซาน ซูจี และมีรายงานว่าทหารบางกลุ่มไม่ให้ความร่วมมือในการปราบปรามประชาชน[32]

29 กันยายน

[แก้]
ผู้ประท้วงชาวพม่าเดินขบวนในชิคาโก

มีรายงานเตือนว่ากองทัพอาจจัดการประท้วงต่อต้านการประท้วงที่เกิดขึ้น โดยบังคับให้ประชาชนเข้าร่วม กลุ่มนักกิจกรรม 88 ได้โต้แย้งสหประชาชาติ รวมทั้งสถานทูตสหราชอาณาจักรและสหรัฐในย่างกุ้ง ให้เปิดบริการเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ด้วยไวไฟ เพื่อต่อต้านการบล็อกอินเทอร์เน็ตของรัฐบาล

มีรายงานว่าตัวแทนสหประชาชาติเข้าพบนายพลหม่อง อเย ผู้บัญชาการคนที่ 2 ของกองทัพ บีบีซีรายงานว่ามีคนหลายร้อยคนถูกจับในย่างกุ้ง มีพยานรายงานว่าผู้ประท้วงถูกล้อมรอบด้วยกองกำลังรักษาความปลอดภัยและประชาชนที่นิยมทหาร ผู้สังเกตการณ์จากสหประชาชาติ อิบราฮิม กัมบารี ได้เดินทางมาถึงย่างกุ้งแล้วเดินทางต่อไปยังเนย์ปยีดอว์ทันทีเพื่อพูดคุยกับนายพลในกองทัพพม่า[33]

มีประชาชนออกมาประท้วงในกรุงมัณฑะเลย์ประมาณ 5,000 คน รถทหารได้ขับตามฝูงชน และพยายามแยกประชาชนออกจากกัน กองทัพบังคับให้พระที่มาจากนอกมัณฑะเลย์ให้กลับไปยังเมืองของตน มีการส่งทหารไปล้อมบ้านของอองซาน ซูจีในตอนกลางคืน

30 กันยายน

[แก้]

ในวันนี้ อิบราฮิม กัมบารีได้รับอนุญาตให้เข้าพบอองซาน ซูจี และได้พบปะพูดคุยกัน 90 นาทีในกรุงย่างกุ้ง[34] ตอนเช้าวันนี้ที่ถนนเวยซายันตาร์ในย่างกุ้ง พยานได้เล่าว่า มีทหารเข้ามากวาดต้อนพระสงฆ์ขึ้นรถบรรทุกไป พระที่เป็นหัวหน้ามรณภาพในวันรุ่งขึ้น[35] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น มิโตจิ ยาบุนากะ ได้เดินทางมาถึงเนปยีดอว์ในวันนี้ เนื่องจากการเสียชีวิตของช่างภาพชาวญี่ปุ่น[36]

1 ตุลาคม

[แก้]
พม่าอิสระ ในโอเรกอน

สิ่งกีดขวางรอบ ๆพระเจดีย์ชเวดากองถูกรื้อถอนออกไป แต่ทหารยังคงเฝ้าทางเข้าทั้งสี่ประตู พระสงฆ์กล่าวว่ามีพระอย่างน้อย 5 รูปถูกฆ่าระหว่างการกวาดล้าง ทหารและตำรวจยังคงเฝ้าตามจุดสำคัญในย่างกุ้ง ทำให้การประท้วงเกิดขึ้นไม่ได้[37] ทหารตรวจค้นรถเพื่อหากล้องถ่ายภาพ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือถูกรบกวน พระสงฆ์ราว 4,000 รูปเล่าว่าพวกท่านถูกล้อมโดยทหารในสัปดาห์ที่ผ่านมาขณะที่ประท้วง เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่าได้เผยแพร่ภาพศพของพระสงฆ์ที่ลอยใกล้ปากแม่น้ำย่างกุ้ง[38] มีผู้ประท้วง 5,000 คนในรัฐยะไข่เรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด ลดราคาสินค้า และลดความดื้อดึง[39]

2 ตุลาคม

[แก้]

อิบราฮิม กัมบารีเข้าพบอองซาน ซูจีเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่เข้าพบตัน ฉ่วย ที่เนปยีดอว์ โดยแสดงความกังวลถึงความรุนแรงที่ปะทุขึ้น[40] มีพระสงฆ์ปฏิเสธการรับบิณฑบาตจากทหาร[41] สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประชุมและอภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในพม่า เรียกร้องให้ปล่อยผู้ถูกจับกุมทั้งหมดระหว่างการประท้วง

3 ตุลาคม

[แก้]

พระสงฆ์ 25 รูปถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยจับกุมที่วัดในย่างกุ้งตอนกลางคืน พระสงฆ์บางส่วนพยายามหนีจากย่างกุ้ง แต่คนขับรถบัสปฏิเสธไม่รับ[42]

4 ตุลาคม

[แก้]

ร่างของเคนจิ นากาอิ นักวารสารชาวญี่ปุ่น ถูกส่งถึงญี่ปุ่น ต้นสังกัดของเขาเรียกร้องให้ทหารคืนกล้องของเขา[43]

5 ตุลาคม

[แก้]
ผู้ประท้วงต่อต้านการปราบปรามของกองทัพในพม่า ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อ 5 ตุลาคม

รอยเตอร์รายงานว่าผู้ประท้วงที่ถูกจับตัวได้จะถูกจำคุก 2-5 ปี ส่วนแกนนำถูกจำคุก 20 ปี ทหารพม่าเข้าปรามปรามการประท้วงที่ยะไข่ที่ดำเนินมาได้ 3 วัน[44]

8 ตุลาคม

[แก้]

มีการขว้างปาก้อนหินใส่ทหารในย่างกุ้ง และสามารถจับผู้ขว้างปาก้อนหินบางคนได้[45]

10 ตุลาคม

[แก้]

มีรายงานว่าวิน ชเว สมาชิกสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยเสียชีวิตในสะกายง์ บริเวณภาคกลางของพม่า เขาและผู้ร่วมงานอีก 5 คน ถูกจับเมื่อ 26 กันยายน มีพยานเล่าว่า หน่วยรักษาความปลอดภัยค้นบ้านเรือนผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการประท้วง ร่างของวิน ชเวไม่ได้ถูกส่งคืนให้ครอบครัวแต่ถูกเผาไป[46] มีรายงานว่านายพล 5 คน และทหารอีกราว 400 นายในพื้นที่ใกล้เคียงมัณฑะเลย์ถูกสั่งขังเพราะปฏิเสธที่จะยิงและจับกุมพระสงฆ์ระหว่างการประท้วง[47]

12 ตุลาคม

[แก้]

ทหารได้จับกุมอดีตผู้นำในการประท้วง พ.ศ. 2531 จำนวน 4 คน ทหารได้จัดแรลลี่เพื่อสนับสนุนรัฐบาลในย่างกุ้ง แต่มีผู้เข้าร่วมน้อยกว่าที่รัฐบาลคาดหวัง[48]

16 ตุลาคม

[แก้]

ญี่ปุ่นประกาศยกเลิกการให้เงินสนับสนุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์แก่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการกระทำของกองทัพพม่า

17 ตุลาคม

[แก้]

รัฐบาลปล่อยตัวแกนนำการประท้วงบางคน เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่าได้กล่าวอ้างว่าประธานพรรค NLD อู จอไคน์และเลขาธิการพรรค โก มัน อ่อง ถูกจำคุก 7 ปีครึ่ง อู ทุนจี และอู ทันเป สมาชิกพรรค ถูกจำคุก 4 ปีครึ่ง อู เซ่งจออยู่ระหว่างการสอบสวน มีสมาชิกพรรคถูกจับกุมไปทั้งหมด 280 คน โดยถูกจับในมัณฑะเลย์ 50 คน[49] และอู อินทริยา พระสงฆ์ที่เป็นผู้นำการประท้วงในชิตตเวถูกจำคุก 7 ปีครึ่ง[50]

18 ตุลาคม

[แก้]

อดีตครู 2 คนคือ ติน หม่อง โอ และนินิไมมาขึ้นศาลหลังจากกล่าวต่อต้านกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล และถูกกลุ่มผู้สนับสนุนจับตัวเมื่อ 16 ตุลาคม ซึ่งศาลให้เข้ามาฟังคำตัดสินในวันที่ 30 ตุลาคม[51]

20 ตุลาคม

[แก้]

รัฐบาลทหารยังประกาศห้ามออกนอกเคหสถานในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์[52]

24 ตุลาคม

[แก้]

มีชนกลุ่มน้อยในพม่าราวร้อยคนได้ลี้ภัยไปยังรัฐไมโซรัม ประเทศอินเดีย ที่มีชายแดนติดต่อกับพม่าเพื่อหลีกหนีการปกครองของทหาร โดยพวกเขาถูกบังคับให้เข้าร่วมแรลลีของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและต้องจ่ายเงินถึง 10,000 จ๊าด บางส่วนถูกจับกุมเพราะเป็นบาทหลวง ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชาวฉิ่นที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งกล่าวว่าถูกบีบให้ออกจากพม่าเพราะนับถือศาสนาคริสต์และไม่ใช่ชาวพม่า[53][54]

26 ตุลาคม

[แก้]

ตำรวจปราบจลาจลและทหารหลายร้อยคนพร้อมไรเฟิลเข้าประจำการในถนนในย่างกุ้ง[55] ล้อมรอบพระเจดีย์ชเวดากองและเจดีย์สุเลเพื่อป้องกันการประท้วงอีกรอบหนึ่ง แต่ไม่พบการประท้วงใด ๆเกิดขึ้น

31 ตุลาคม

[แก้]

พระภิกษุมากกว่า 100 รูปเดินขบวนในเมืองปะกกกูทางตะวันตกเฉียงเหนือของย่างกุ้ง ซึ่งเป็นการเดินขบวนครั้งแรกหลังการปราบปรามของกองทัพในเดือนกันยายน[56] พระภิกษุที่ประท้วงกล่าวกับเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่าว่า พวกเขายังไม่ได้ในสิ่งที่เรียกร้องคือค่าครองชีพที่ต่ำลง และการปล่อยตัวอองซาน ซูจีโดยทันที รวมทั้งนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังด้วย[57]

กันยายน พ.ศ. 2551

[แก้]
เครื่องหมายหยุด

หนึ่งปีหลังการประท้วงเริ่มต้น สัญลักษณ์ของการต่อต้านเล็กน้อยยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเครื่องหมายหยุด ที่ประทับตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเตือนความจำถึงการประท้วง[58]

ความเสียหาย

[แก้]

จำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้นยังไม่ชัดเจน รายงานที่เป็นทางการกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิต 13 ราย[59] ช่างภาพชาวญี่ปุ่น เคนจิ นากาอิ เป็นชาวต่างชาติคนเดียวที่เสียชีวิต แต่เป็นไปได้ว่าจะมีผู้เสียชีวิตมากกว่ารายงานที่เป็นทางการ[60] สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติรายงานว่า แหล่งข่าวอิสระกล่าวว่ามีพระภิกษุ 30 – 40 รูป และพลเรือน 50-70 คนถูกฆ่า[61] วิทยุเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่ารายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 138 คน[62]

การจับกุมและการปล่อยตัว

[แก้]

ในวันที่ 7 ตุลาคม สำนักข่าวอัลญาซีรารายงานว่ามีผู้จับกุมอย่างน้อย 1,000 คน ในวันที่ 11 ตุลาคม มีรายงานว่ามีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 2,100 คน และถูกปล่อยตัวมาแล้ว 700 คน[63] แต่แหล่งข่าวต่างประเทศรายงานว่าถูกจับกุมมากกว่า 6,000 คน[64] ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ศาลในคุกอินเส่ง สั่งจำคุกสมาชิกกลุ่มนักศึกษา 88 จำนวน 14 คน ที่ถูกจับกุมระหว่างการประท้วงให้ถูกจำคุก 65 ปี นักกิจกรรม 26 คน รวมทั้งพระภิกษุ 5 รูปถูกจำคุก 6-24 ปี[65] อูคัมภีระถูกตัดสินจำคุก 68 ปี[66]

การควบคุมอินเทอร์เน็ต

[แก้]

รัฐบาลพยายามบล็อกเว็บไซต์ทั้งหมดและบริการที่นำข่าวหรือข้อมูลเกี่ยวกับพม่า ป้องกันการเข้าถึงอีเมล แต่ผู้ประท้วงสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้[67] ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในย่างกุ้งรายงานถึงการเซ็นเซอร์การโพสต์ภาพและวีดีโอในบล็อก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในพม่าพยายามใช้อินเทอร์เน็ตฟอรัมเพื่อหาข้อมูลภายนอกที่ไม่ถูกควบคุมโดยรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น ในวันที่ 28 กันยายน มีรายงานว่ารัฐบาลได้สกัดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั้งหมด[68][69]อินเทอร์เน็ตใช้งานได้อีกครั้งในราววันที่ 6 ตุลาคม

ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อเหตุการณ์

[แก้]
  • ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ - โฆษกรัฐบาลสิงคโปร์ ได้ออกแถลงการณ์ผ่านอีเมลว่า วิตกต่อข่าวการใช้กำลังสลายกลุ่มผู้ชุมนุมในพม่าเป็นอย่างยิ่ง และเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าใช้ความอดกลั้น พร้อมกับขอให้ทุกฝ่ายหาทางสร้างความปรองดองและหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการยั่วยุ พร้อมประกาศแนะให้ชาวสิงคโปร์ที่อาศัยอยู่ในพม่าไปลงชื่อในเว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศ เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุจำเป็นขึ้นมา[70]
  • ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น - รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น นายมะซะฮิโกะ คุมุระกล่าวว่า ญี่ปุ่นในฐานะเป็นผู้บริจาครายใหญ่ให้แก่พม่ากำลังกดดันให้ทางรัฐบาลพม่าแสดงความอดกลั้นในการตอบโต้ผู้ประท้วง และทางญี่ปุ่นจะยังคงเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดต่อไป
  • ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย - รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย นายซายเอ็ด ฮามิด อัลบาร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กล่าวว่ามาเลเซียเชื่อว่ามาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่านั้นไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ดี แต่หนทางที่ดีสุดในการแก้ไขปัญหาคือให้พยายามสร้างความสมานฉันท์พร้อมให้ดำเนินการจัดร่างรัฐธรรมนูญต่อไป พร้อมหวังว่าสถานการณ์คงไม่เลวร้ายลงไปจนต้องให้สหประชาชาติมาแทรกแซง[71]
  • ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร - นายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายกอร์ดอน บราวน์ เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่าในทันที พร้อมเสนอให้สหประชาชาติส่งผู้แทนพิเศษไปยังพม่า[72]
  • ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา - ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช กล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติว่า สหรัฐฯ จะบังคับใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อทั้งผู้นำรัฐบาลและผู้ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินนอกจากนี้ พร้อมประกาศว่าจะเพิ่มมาตรการห้ามออกวีซ่ากับคณะผู้นำรัฐบาลพม่าที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน[73]
  • ธงของประเทศจีน จีน - นายกรัฐมนตรีจีน นายเวิน เจีย เป่า ระบุผ่านแถลงการณ์กระทรวงต่างประเทศจีนว่าหลังได้หารือทางโทรศัพท์กับนายกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษ ทางจีนหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในพม่าจะใช้ความอดทนอดกลั้น และใช้สันติวิธีทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อยโดยเร็วที่สุด รวมถึงสนับสนุนการสร้างความสมานฉันท์และประชาธิปไตยในชาติ[74] ถึงอย่างไรก็ตาม ทางจีนก็มิได้พูดถึงเรื่องพม่าเลยในการประชุมสหประชาชาติ[75]
  • ทิเบต - องค์ทะไลลามะ ได้กล่าวว่าสนับสนุนกลุ่มพระสงฆ์ที่เรียกร้องเพื่อการอิสรภาพและประชาธิบไตย พร้อมให้พรกับกลุ่มผู้ประชุม และนางอองซานซูจี[76]
  • ธงของสหภาพยุโรป สหภาพยุโรป - โฆษกของนายฆาบิเอร์ โซลานา ผู้ดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยว่า นายเฮลกา ชมิดต์ รองผู้ดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศของอียู ได้เรียกนาย ฮาน ตู่ อุปทูตพม่าประจำกรุงบรัสเซลส์เข้าพบ โดยนายชมิดต์ได้เตือนว่าอียูกำลังเตรียมขยายการคว่ำบาตรกับรัฐบาลทหารพม่า พร้อมกับเตือนว่าตอนนี้อียูกำลังประสานงานกับทั้งจีน และอินเดีย ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญของพม่าในเรื่องนี้อยู่ นอกจากนั้นนักการทูตยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ก็กำลังหารือกับตัวแทนประเทศอาเซียนทั้งหมด เพื่อกระตุ้นให้ประเทศเหล่านี้ออกมากดดันพม่าด้วย ขณะเดียวกันอียูก็กำลังวางแผนให้การช่วยเหลือชาวพม่าโดยตรงอีกด้วย[77]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9500000100787[ลิงก์เสีย] พม่าอ้างขึ้นราคาน้ำมันเพื่อแบ่งเบาภาระประเทศ
  2. "Military junta threatens monks in Burma".
  3. "100,000 Protestors Flood Streets of Rangoon in "Saffron Revolution"".
  4. http://www.voanews.com/thai/2007-09-20-voa2.cfm พระสงฆ์หลายร้อยรูปในพม่า เดินขบวนประท้วงรัฐบาลทหารเป็นครั้งที่ 2
  5. http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=9658&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai การปรากฏตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี ออง ซาน ซูจี
  6. "นาทีระทึก?! ชายปริศนาตายในย่างกุ้ง". ผู้จัดการออนไลน์. 27 กันยายน 2007.
  7. http://www.sanspo.com/shakai/top/sha200709/sha2007092801.html เก็บถาวร 2012-09-10 ที่ archive.today ミャンマーで邦人カメラマン死亡…デモ取材中の長井健司さん", 2007-09-28.
  8. "ทูตพิเศษของสหประชาชาติมุ่งหน้าสู่พม่าเพื่อคลี่คลายวิกฤตการณ์". สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 29 กันยายน 2007.
  9. The hardship that sparked Burma's unrest BBC, 2 October 2007 เก็บถาวร 21 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. The hardship that sparked Burma's unrest BBC News 2 October 2007
  11. Burma leader's lavish lifestyle aired BBC, 2 November 2006
  12. "Asia Times Online :: Southeast Asia news - Fuel price policy explodes in Myanmar". atimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 16 May 2015.
  13. Glenn Kessler, U.S. Condemns Burmese Arrests Of 13 Dissidents: Sharp Increases in Prices Spur Protests The Washington Post, 23 August 2007
  14. Q&A: Protests in Burma BBC, 24 September 2007
  15. 20,000 March in Myanmar protest. เก็บถาวร 12 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  16. 100,000 protest Myanmar junta CNN, 24 September 2007. เก็บถาวร 25 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. "Burmese military threatens monks". BBC News. 24 September 2007. สืบค้นเมื่อ 1 January 2010.
  18. Burmese riot police attack monks BBC News, 9 October 2007
  19. Myanmar junta sets curfew Reuters, 25 September 2007.
  20. "Pro-democracy politician arrested in Myanmar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-08. สืบค้นเมื่อ 10 April 2009.
  21. Jenkins, Graeme; Paris, Natalie (26 September 2007). "Burma troops charge monks with batons". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-21. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
  22. Burma riot police beat back monks BBC, 26 September 2007.
  23. Over 100,000 people in Rangoon and parts of Burma protest Mizzima News, 26 September 2007. เก็บถาวร 23 กุมภาพันธ์ 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. Burmese junta raids monasteries, arrests over 200 monks Mizzima News, 27 September 2007. เก็บถาวร 23 กุมภาพันธ์ 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  25. Insect spray to be used for crackdown on protesters Mizzima News, 27 September 2007. เก็บถาวร 23 กุมภาพันธ์ 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  26. Jenkins, Graeme (27 September 2007). "Burma troops issue 'extreme action' ultimatum". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 27 September 2007.
  27. "Soldater dræber ni i Myanmar". Politiken. 27 September 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 27 September 2007.
  28. "Japansk fotograf dræbt i Myanmar". TV2. 27 September 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 27 September 2007.
  29. Than Shwe's family in Laos Mizzima News, 27 September 2007. เก็บถาวร 3 มกราคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  30. Troops marching to Rangoon Mizzima News, 28 September 2007. เก็บถาวร 31 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  31. "Burma-Myanmar Genocide". สืบค้นเมื่อ 10 April 2009.
  32. Rangoon: ‘army mutiny’ reported The First Post Newsdesk special report. เก็บถาวร 11 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  33. New protests on Rangoon streets BBC News article.
  34. Breaking News – Gambari meets Daw Aung San Suu Kyi Mizzima News 30 September 2007. เก็บถาวร 11 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  35. 30 Sept ko htike's prosaic collection), 30 September 2007.
  36. UN envoy waits for talks with Burmese junta ABC News 1 October 2007
  37. Army barricades lifted around key Myanmar temple เก็บถาวร 2009-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Reuters, India 1 October 2007.
  38. Burmese monks 'to be sent away' BBC News 1 October 2007
  39. New Protests in Arakan เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Narinjara News 1 October 2007
  40. UN envoy holds key Burmese talks BBC News 2 October 2007
  41. Myanmar's monks keep up protests from prison The Globe and Mail 3 October 2007
  42. Monks trying to escape Rangoon BBC News 3 October 2007
  43. Reporter's body returned to Japan BBC News 4 October 2007
  44. Troops Dispatched to Man Aung to Crack Down on Demonstration เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Narinjara News 5 October 2007
  45. Resistance to Myanmar Soldiers Continues The Guardian 8 October 2007 เก็บถาวร 25 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  46. Burma activist dies in custody BBC World News, 11 October 2007
  47. Generals, soldiers jailed for refusing to shoot monks Jakarta Post, 10 October 2007 เก็บถาวร 11 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  48. "Pro-junta rally to be held in Rangoon". Mizzima. 12 October 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-14. สืบค้นเมื่อ 2017-02-18.
  49. Arakan NLD members jailed Democratic Voice of Burma 18 October 2007 เก็บถาวร 15 พฤศจิกายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  50. Five NLD Members, One Monk Sentenced to Prison The Irrawaddy 18 October 2007
  51. Bago couple arrested for challenging government protests Democratic Voice of Burma 19 October 2007 เก็บถาวร 15 พฤศจิกายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  52. Burma lifts curfew on main cities BBC NEWS | Asia-Pacific | Burma lifts curfew in main cities BBC 20 October 2007. Retrieved 20 October 2007.
  53. BBC NEWS | South Asia | Burma minority 'fleeing to India' BBC, Burma minority 'fleeing to India' Retrieved 24 October 2007.
  54. "The News International: Latest News Breaking, Pakistan News". thenews.com.pk. สืบค้นเมื่อ 16 May 2015.
  55. One month on, Burmese regime stages show of strength Guardian Newspaper online (UK). Retrieved 26 October 2007 เก็บถาวร 27 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  56. "Yahoo News UK & Ireland - Latest World News & UK News Headlines". uk.news.yahoo.com. สืบค้นเมื่อ 16 May 2015.
  57. Monks return to streets of Burma BBC. Retrieved 2 November 2007.
  58. 'In tiny acts of defiance, a revolution still fickers, The Times, 26 September 2008.
  59. More Burma protesters arrested as curfew orders ignored ABC News Australia
  60. Death Toll may be higher than reported Forbes
  61. "Myanmar: UN rights expert to probe allegations of abuses during crackdown" (Press release). UN News Centre. 25 October 2007. สืบค้นเมื่อ 25 October 2007.
  62. Michael Casey (1 ตุลาคม 2007). "Groups struggle to tally Myanmar's dead". Associated Press.
  63. "US Diplomat Meets Burma Leader". Time. Associated Press. 12 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2008. สืบค้นเมื่อ 10 April 2009.
  64. AJE – Al Jazeera English Aljazeera News, More protesters held in Myanmar.
  65. "40 Burmese Dissidents Given Prison Terms of up to 65 Years". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2017-02-26.
  66. "MYANMAR: Monk Receives 68 Years in Prison" (PDF). Amnesty International. 3 ตุลาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2011.
  67. [1] เก็บถาวร 2009-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนChallenging the Authoritarian State: Buddhist Monks and Peaceful Protests in Burma. vol.32:1 winter 2008. Retrieved 7 April 2009. 16 May 2009.
  68. Burma 'cuts all Internet links' Bangkok Post, 28 September 2007
  69. Warning Shots Fired At Protesters Sky News, 28 September 2007
  70. http://www.komchadluek.net/2007/09/26/a001_156527.php?news_id=156527 ต่างชาติเตือนรัฐบาลพม่า
  71. "ASEAN will never suspend Burma, says Malaysia". ABC AU. 16 ตุลาคม 2007.
  72. http://www.titv.in.th/World/ เก็บถาวร 2007-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "บราวน์" นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติจัดประชุมด่วนเรื่องพม่า
  73. http://www.titv.in.th/World/ เก็บถาวร 2007-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "บุช" ประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจพม่า
  74. "Premier Wen Jiabao Holds Telephone Talks with His British Counterpart Brown". Consulate-General of the People Republic of China in Manchester. 28 กันยายน 2007.
  75. "China quietly prods Myanmar leaders to calm tensions". CNN. 26 กันยายน 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ธันวาคม 2007.
  76. http://www.tibet.com/NewsRoom/hhburma1.htm เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน His Holiness supports call for democracy in Burma
  77. "EU Urges China to Pressure Myanmar Rulers on Crackdown". Deutsche Welle (ภาษาอังกฤษ). 30 กันยายน 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]