ข้ามไปเนื้อหา

ความขัดแย้งในรัฐกะชีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความขัดแย้งในรัฐกะชีน
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งภายในพม่า

นักเรียนนายทหารของกองทัพเอกราชกะชีน (KIA) เตรียมฝึกซ้อมทางทหารที่ศูนย์บัญชาการของกลุ่มในLaiza, รัฐกะชีน
วันที่ครั้งแรก: 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537
(33 ปี 2 สัปดาห์ 5 วัน)
ครั้งที่สอง: 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน
(13 ปี 6 เดือน 6 วัน)
สถานที่
สถานะ

ยังดำเนินอยู่

  • ลงนามหยุดยิงระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองทัพเอกราชกะชีนใน พ.ศ. 2537
  • เริ่มสงครามต่อใน พ.ศ. 2554 หลังสะเมิดข้อตกลงหยุดยิง 17 ปี
คู่สงคราม

สหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)

รัฐบาลทหาร (2505–2537)

 สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (ตั้งแต่ 2554)

พรรคคอมมิวนิสต์พม่า (1971–1972)[a]
New Democratic Army - Kachin (เฉพาะ 2532)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อดีต:
อดีต:
  • Zaw Seng โทษประหารชีวิต
    (2504–2518)
  • Zaw Tu โทษประหารชีวิต
    (2504–2518)
  • Zaw Dan 
    (2504–2518)
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพพม่า

กำลัง
20,000 นาย[ต้องการอ้างอิง]
  • 10,000–12,000 นาย[5]
  • 1,500[6]–2,500 นาย[7]
  • 200 นาย[8]
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ถูกฆ่ามากกว่า 280 นาย (2554–2557)[b]
ตั้งแต่ 2554:
พลเมืองถูกฆ่า 1,677 คน[9]
ไร้ที่อยู่มากกว่า 100,000 คน[4][10][11]

a ปะทะกันกับ KIA ใน พ.ศ. 2514 ถึง 1515

b รัฐบาลพม่าอ้างในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557[12]

ความขัดแย้งในรัฐกะชีน เป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่หลากหลายในสงครามกลางเมืองพม่า การสู้รบระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนกับกองทัพพม่าเกิดขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2554 หลังจากที่สงบศึกไปแล้ว 17 ปี ความขัดแย้งในปัจจุบันทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคน มีผู้อพยพมากกว่าแสนคน และมีข้อกล่าวหาการใช้งานทุ่นระเบิด,[13] ทหารเด็ก,[13][14] การข่มขืนอย่างเป็นระบบ[13] และการทรมานจากทั้งสองฝ่าย[13][15]

ภูมิหลัง

[แก้]

ขบวนการเอกราชกะชีนก่อตั้งระหว่างการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อราว พ.ศ. 2473 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยในพม่า

ความขัดแย้งครั้งแรก พ.ศ. 2504–2537

[แก้]

ความขัดแย้งในรัฐกะชีนและชาวกะชีนในพื้นที่อื่น ๆ เกิดขึ้นตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ทหารกะชีนที่เคยมีความสำคัญในกองทัพพม่าได้ถอนตัวออกมาจากกองทัพพม่าหลัง พ.ศ. 2505 และจัดตั้งกองทัพเอกราชกะชีน ที่ควบคุมโดยองค์การเอกราชกะชีน ในช่วงนี้ รัฐกะชีนมีสถานะกึ่งเป็นอิสระจากรัฐบาลพม่า โดยมีรายได้หลักจากการค้าขายกับจีน หลังจากมีการเจรจาระหว่างกองทัพพม่ากับองค์การเอกราชกะชีน กองทัพเอกราชกะชีนได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับรัฐบาลพม่าเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 จากนั้นจึงไม่มีการสู้รบระหว่างกันอีกจนถึง พ.ศ. 2554

ความขัดแย้งครั้งที่สอง พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน

[แก้]

การต่อสู้ระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนและกองทัพพม่าเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เมื่อกองทัพรัฐบาลละเมิดข้อตกลงหยุดยิงและโจมตีที่ตั้งของกองทัพเอกราชกะชีนตามแนวแม่น้ำตาบีน ตลอดแนวแม่น้ำฝั่งตะวันออกในบะมอ รัฐกะชีนใกล้กับโครงการพลังงานน้ำของรัฐ[16] การสู้รบเกิดขึ้นทั้วรัฐกะชีนและทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐชาน[17]

ตามรายงานข่าวพบว่า ต้นเหตุของความขัดแย้งมาจากการที่รัฐบาลพยายามจะเข้ามาควบคุมพื้นที่ที่เคยควบคุมโดยกองทัพเอกราชกะชีนรวมทั้งพื้นที่ในรัฐกะชีนและรัฐชาน ที่อยู่ในโครงการพลังงานของรัฐบาลที่ได้รับการสันบสนุนจากรัฐบาลจีน[18] สถานการณ์ความขัดแย้งได้เกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2555[19] ใน พ.ศ. 2555 การต่อสู้อย่างรุนแรงเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมตามถนนมยิจีนา-บะมอ ในเดือนเมษายนเกิดการต่อสู้แห่งปังวาในเมืองชี-บเวใกล้กับลูชาง[20][21] ในเดือนสิงหาคมที่พากันต์ ฝ่ายกบฏกล่าวอ้างว่าฆ่าทหารพม่าได้ 140 คน

การเจรจาสงบศึก

[แก้]

มีการเจรจาหลายครั้งระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนและรัฐบาลพม่าตั้งแต่มีการสู้รบในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 มีต่างชาติเข้าไปสนับสนุนการเจรจาสงบศึกหลายครั้ง ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556 ประธานาธิบดีเต็ง เส่งได้ประกาศสงบศึกฝ่ายเดียวในสงครามระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนกับรัฐบาลพม่า[22] โดยจะมีผลในวันรุ่งขึ้น แต่ก็มีการสู้รบประปรายหลังจากนั้น[23] ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ รัฐบาลพม่าและกองทัพเอกราชกะชีนพบปะกันในจีนและเจรจาเพื่อลดความตึงเครียดทางทหารในรัฐกะชีน แต่ก็มีการปะทะกันอีกหลังจากนั้น

การโจมตีทางอากาศ

[แก้]

ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556 รัฐบาลพม่ายืนยันว่ามีการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มกบฏเมื่อไม่กี่วันมานี้เพื่อโจมตีกองทัพเอกราชกะชีน[24] ในวันที่ 3 มกราคม กองทัพเอกราชกะชีนประกาศว่าการโจมตีทางอากาศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่หกแล้วในไลง์ซา และรัฐบาลพม่าได้ใช้อาวุธเคมี

ผู้เสียชีวิต

[แก้]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 กองทัพพม่ายอมรับว่ามีทหารราว 300 คนเสียชีวิตตั้งแต่เริ่มการปะทะ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 กองทัพเอกราชกะชีนยอมรับว่ามีทหารฝ่ายตนเสียชีวิต 700 คน[25]

พลเรือนและผู้อพยพ

[แก้]

มีพลเรือนถูกสังหารระหว่างความขัดแย้ง[26] บางส่วนได้อพยพข้ามพรมแดนไปเป็นผู้ลี้ภัยในจีน และถูกรัฐบาลจีนผลักดันกลับมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 แม้ว่าจะยังมีการสู้รบกันอยู่ และยังมีปัญหาการใช้ทหารเด็กของฝ่ายกบฏ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Myanmar Signs Historic Cease-Fire Deal With Eight Ethnic Armies". Radio Free Asia. 15 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2016. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  2. Kumbun, Joe (2 January 2018). "Analysis: KIO Kicks Off New Year with New Leadership". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2018. สืบค้นเมื่อ 14 March 2018.
  3. Nickerson, James (2 December 2018). "The Kachin IDP crisis: Myanmar's other humanitarian disaster". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2018. สืบค้นเมื่อ 3 December 2018.
  4. 4.0 4.1 Branigan, Tania (17 January 2013). "Aung San Suu Kyi calls for ceasefire in Burma's Kachin region". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  5. "Kachin Independence Organization (KIO) | Myanmar Peace Monitor". mmpeacemonitor.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Myanmar Peace Monitor. 6 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  6. "Armed ethnic groups | Myanmar Peace Monitor". www.mmpeacemonitor.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Myanmar Peace Monitor. 10 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  7. "I Want to Stress That We Are Not the Enemy". 12 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
  8. "All Burma Students' Democratic Front (ABSDF) | Myanmar Peace Monitor". mmpeacemonitor.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Myanmar Peace Monitor. 6 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  9. "Government of Myanmar (Burma) - KIO". ucdp.uu.se. Uppsala Conflict Data Program. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.
  10. "Myanmar Soldiers Sentenced for Killing 3 Civilians in Kachin". The New York Times. Associated Press. 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  11. "EU: Democracy fails to bring peace in Kachin". The Myanmar Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  12. "Kachin rebels say 23 cadets killed by Myanmar army shell". Reuters. 19 November 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 "Untold Miseries" (PDF). Human Rights Watch. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
  14. "No end in sight amid season of slaughter | Bangkok Post: news". Bangkok Post. 23 December 2012. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
  15. "Barriers to Reform in Myanmar: Displacement of Civilians in Kachin State" (PDF). Oxmofm.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 February 2013. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
  16. More war than peace in Myanmar, By Bertil Lintner, Asian Times, December 18, 2012
  17. Burma army buildup near Laiza suggests push for KIO capital, April 10, 2012, Kachin News, http://www.kachinnews.com/news/2269-burma-army-buildup-near-laiza-suggests-push-for-kio-capital.html เก็บถาวร 2014-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. Kachin army ambush leaves 30 dead, By DVB Published: 8 July 2011, http://www.dvb.no/news/kachin-army-ambush-leaves-30-dead/16494 เก็บถาวร 2015-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  19. Suu Kyi 'should' help with Kachin , The Australian, January 05, 2013 8:34PM , http://www.theaustralian.com.au/news/breaking-news/suu-kyi-should-help-with-kachin/story-fn3dxix6-1226548136647
  20. KIO tightens grip on former NDA-K stronghold Pangwa, Kachin News, April 30, 2012, http://www.kachinnews.com/news/2285-kio-tightens-grip-on-former-nda-k-stronghold-pangwa.html เก็บถาวร 2012-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  21. Siege on Pangwa, Conflict and Human Rights Abuses in Burma, U.S. Campaign for Burma, Apr 30 2012, https://conflictsinburma.crowdmap.com/reports/view/821 เก็บถาวร 2015-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  22. Free Radio Asia, Kachin Ceasefire Ignored 2013-01-19, http://www.rfa.org/english/news/burma/kachin-01192013175226.html
  23. New York Times, A Cease-Fire With Rebels in Myanmar Doesn’t Hold, Thomas Fuller, January 19, 2013, http://www.nytimes.com/2013/01/20/world/asia/cease-fire-in-myanmar-with-kachin-rebels-fails-to-take-hold.html?_r=0
  24. "Burma Admits Air Strikes Targeted Kachin Rebels". Voice of America. 2 January 2013. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
  25. 31 dead in new clashes with Kachin: Myanmar paper, May 5, 2012, http://dailytimes.com.pk/default.asp?page=2012\05\05\story_5-5-2012_pg14_7[ลิงก์เสีย]
  26. Oxford Monitor of Forced Migration, Vol.2, No. 2, Nov. 2012, Barriers to Reform in Myanmar: Displacement of Civilians in Kachin State Corey Pattison, http://oxmofm.com/wp-content/uploads/2012/11/Pattison-FINAL.pdf เก็บถาวร 2013-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน