การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก
การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ปัญหาภายในประเทศพม่า | |||||||
แผนที่รัฐยะไข่ที่มีบู้ตี้ดองกับมองดอเป็นสีแดง | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
พม่า บริติชพม่า (1947–1948) สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (1948–1962) | |||||||
รัฐบาลทหาร (1962–2011)
| |||||||
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (ตั้งแต่ ค.ศ. 2011) | ARSA (ตั้งแต่ ค.ศ. 2016) | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
|
อะตาอุลลอฮ์ อะบู อัมมัร ญุนูนี[6][7] อดีต:
| ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
กองทัพแห่งชาติโรฮิงยา (1998–2001)[2][11] | |||||||
กำลัง | |||||||
จำนวนในอดีต:
|
ผู้ก่อความไม่สงบประมาณ 200 คน[a] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ตั้งแต่ ค.ศ. 2016: ถูกฆ่า 109 นาย[b] |
ตั้งแต่ ค.ศ. 2016: ถูกฆ่า 475 นาย[c] | ||||||
การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก เป็นความขัดแย้งกันด้วยอาวุธระหว่างรัฐพม่ากับชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮีนจานับแต่ปี พ.ศ. 2490 ความมุ่งหมายทีแรกของพวกเขาในสมัยขบวนการมุญาฮีดีน (2467–2504) คือ การแยกภูมิภาคชายแดนมายู (Mayu) ในรัฐยะไข่ซึ่งมีประชากรโรฮีนจาอาศัยอยู่ออกจากพม่าตะวันตก แล้วผนวกเข้ากับปากีสถานตะวันออกซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่เพิ่งตั้งใหม่ (ปัจจุบันคือประเทศบังกลาเทศ)[43] ในคริสต์ทศวรรษ 1970 การก่อการกำเริบของชาวโรฮีนจาปรากฏอีกในช่วงสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศในปี พ.ศ. 2514 และเมื่อไม่นานมานี้ระหว่างเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ ความปรารถนาของกลุ่มติดอาวุธโรฮีนจาตามที่สื่อต่าง ๆ รายงานคือ การจัดตั้งส่วนเหนือของรัฐยะไข่เป็นรัฐเอกราชหรือรัฐปกครองตนเอง[44][45]
ชาวโรฮีนจามุสลิมอาศัยอยู่ในประเทศพม่าประมาณ 800,000 คน และประมาณ 80% ของจำนวนดังกล่าวอาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ทางภาคตะวันตกของประเทศ ส่วนใหญ่ถูกรัฐบาลพม่าปฏิเสธความเป็นพลเมือง[46][47] สหประชาชาติถือว่าโรฮีนจาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก[47]
มุญาฮิดีนในยะไข่ (พ.ศ. 2490–2504)
[แก้]การสู้รบของมุญาฮิดีนในยะไข่
[แก้]การต่อสู้เริ่มจากการจัดตั้งพรรคการเมืองญามีอะตุล อูลามาเอ-อิสลาม นำโดยออมราเมียะห์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากอุลนาร์ โมฮัมหมัด มูซาฮิดข่าน และโมลนาร์ อิบราฮิม ความพยายามของกลุ่มมุญาฮิดีนเพื่อที่จะรวมเขตชายแดนมายู ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในรัฐยะไข่เข้ากับปากีสถานตะวันออก ก่อนการประกาศเอกราชของพม่า มีผู้นำชาวมุสลิมในยะไข่ไปพบมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ผู้ก่อตั้งปากีสถานเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 เพื่อขอความช่วยเหลือในการผนวกมายูเข้ากับปากีสถาน สองเดือนต่อมา มีการจัดตั้งสันนิบาตมุสลิมยะไข่เหนือในอักยับ (ปัจจุบันคือซิตตเว เมืองหลวงของรัฐยะไข่) เพื่อแสดงความต้องการที่จะรวมเข้ากับปากีสถาน แต่จินนาห์ปฏิเสธข้อเสนอนี้ในที่สุด
ในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลกลางพม่าปฏิเสธที่จะแยกรัฐมุสลิมในเขตมายูซึ่งมีเมืองบูตีดองและเมืองหม่องด่อ ในที่สุด กลุ่มมุสลิมมุญาฮิดีนในยะไข่เหนือได้ประกาศญิฮาดต่อพม่า กองทัพมุญาฮิดีนได้เริ่มสู้รบในเมืองบูตีดองและหม่องด่อที่อยู่ตามแนวชายแดนระหว่างพม่ากับปากีสถานตะวันออก อับดุล กาเซมเป็นผู้นำกองทัพมุญาฮิดีน ภายในเวลาไม่กี่ปี กลุ่มกบฏมีความก้าวหน้าไปมาก ยึดครองหมู่บ้านในยะไข่ได้หลายหมู่บ้าน ชาวยะไข่ในเมืองทั้งสองถูกบังคับให้ออกจากบ้าน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2492 การควบคุมของรัฐบาลในเมืองอักยับได้ลดลง ในขณะที่กลุ่มมุญาฮิดีนเข้ามายึดครองยะไข่เหนือ รัฐบาลพม่าได้จับกุมกลุ่มมุญาฮิดีนที่พยายามจะอพยพชาวเบงกอลเข้ามาในรัฐยะไข่อย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากประชากรล้นเกินในปากีสถานตะวันออก
การต่อต้านมุญาฮิดีนโดยกองทัพพม่า
[แก้]มีการประกาศกฎอัยการศึกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2491 เมื่อการกบฏลุกลามขึ้น และกลุ่มกบฏเข้าล้อมเมืองในเขตมายู กองทัพพม่าที่ 5 และกองทัพชีนที่ 2 ถูกส่งเข้าไปในพื้นที่ กองทัพพม่าได้เริ่มยุทธการเพื่อต่อต้านมุญาฮิดีนในยะไข่เหนือ ระหว่าง พ.ศ. 2493–2497 ยุทธการแรกเริ่มใช้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 ยุทธการที่สองเรียกว่ายุทธการมายูเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2495ในช่วงครึ่งหลังของ พ.ศ. 2497 กลุ่มมุญาฮิดีนได้ฟื้นตัวขึ้นและเข้าโจมตีเมืองบูตีดอง เมืองหม่องด่อ และเมืองยะเตดอง
พระภิกษุชาวยะไข่ได้ออกมาประท้วงในย่างกุ้งเพื่อต่อต้านกลุ่มมุญาฮิดีน ผลของการกดดันทำให้รัฐบาลพม่าออก "ปฏิบัติการมรสุม" ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2497 กลุ่มมูญาอิดีนจำนวนมากถูกจับกุมและหัวหน้ากลุ่มถูกฆ่า ทำให้กิจกรรมของกลุ่มลดลงไปกลายเป็นกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มที่ก่อการร้ายในภาคเหนือของรัฐยะไข่ ใน พ.ศ. 2500 กลุ่มมุญาฮิดีน 150 คนนำโดยชอร์ มาลุกและซูระห์ ทาน ถูกจับกุม ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 กลุ่มมุญาฮิดีน 214 คน ในกลุ่มของราชิดถูกจับกุม ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 กลุ่มมุญาฮิดีน 290 คนทางใต้ของหม่องด่อยอมจำนนต่อกองทัพพม่านำโดยอองจี ในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการเจรจาระหว่างพม่ากับปากีสถานเกี่ยวกับกบฏตามแนวชายแดน ทำให้ความหวังของกบฏลดลง ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 กลุ่มกบฏมุญาฮิดีนกลุ่มสุดท้ายในบูตีดองถูกกองทัพพม่านำโดยอองจีจับกุมได้
ความตกต่ำของมุญาฮิดีน (พ.ศ. 2505–2513)
[แก้]หลังจากรัฐประหารของนายพลเน วินใน พ.ศ. 2505 กิจกรรมของกลุ่มมุญาฮิดีนลดลงและเกือบจะหายไป ซัฟฟาร์เป็นผู้นำมุญาฮิดีนที่เหลือ และมีการต่อต้านแยกกันเป็นแห่ง ๆ ตามแนวชายแดนพม่า-ปากีสถาน
ขบวนการอิงศาสนาอิสลามโรฮีนจา
[แก้]ขบวนการทางทหารที่ใช้ความรุนแรง (พ.ศ. 2514–2531)
[แก้]ระหว่างสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศในพ.ศ. 2514 โรฮีนจาที่อยู่ใกล้แนวชายแดนได้สะสมอาวุธจากสงคราม ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 หัวหน้ากลุ่มกบฏมูญาฮิดีนที่เหลืออยู่คือซัฟฟาร์ได้จัดตั้งพรรคปลดปล่อยโรฮีนจา (RLP) โดยซัฟฟาร์เป็นประธานพรรค ศูนย์กลางการต่อสู้อยู่ที่บูตีดอง เมื่อกองทัพพม่าเริ่มปราบปราม ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2517 ซัฟฟาร์ได้หนีไปบังกลาเทศและบทบาทของเขาได้หายไป หลังจากการล้มเหลวของ RLP มูฮัมหมัด จาฟาร์ ฮาบิบ อดีตเลขาธิการของ RLP ได้จัดตั้งแนวร่วมโรฮีนจารักชาติ (RPF) ใน พ.ศ. 2517 ต่อมา ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2521 รัฐบาลทหารของเนวินได้จัดยุทธการราชามังกรในยะไข่เพื่อตรวจสอบผู้อพยพที่ผิดกฎหมายที่อาศัยอยู่ในพม่า ทำให้มีชาวโรฮีนจาถูกผลักดันไปยังแนวชายแดนบังกลาเทศ ทำให้มีการลุกฮือของชาวโรฮีนจาตามแนวชายแดน RPF ใช้โอกาสนี้เข้ามาปลุกระดม [2][48][49] ต่อมาในราว พ.ศ. 2523 กลุ่มหัวรุนแรงได้แยกออกจาก RPF และจัดตั้งองค์การความเป็นปึกแผ่นโรฮีนจา (RSO) นำโดยมูฮัมหมัด ยูนุส ซึ่งเคยเป็นผู้นำของ RPF มาก่อน ต่อมาได้เป็นองค์กรหลักของโรฮีนจาตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ RSO ประกาศตนเป็นองค์กรทางศาสนาจึงได้รับการสนับสนุนจากโลกมุสลิมรวมทั้ง JeI ในบังกลาเทศและปากีสถาน ฆุลบุดดิน เฮกมัตยัร ฮิซบ์เออิสลามี (HeI) ในอัฟกานิสถาน ฮิซบ์อุลมูญาฮิดีนในรัฐชัมมูและกัศมีร์ (HM) อังกาตัน เบเลีย อิสลาม ซามาเลเซีย (ABIM) และองค์กรยุวชนอิสลามแห่งมาเลเซีย องค์กรทางด้านศาสนาอีกองค์กรหนึ่งของโรฮีนจาคือแนวร่วมอิสลามโรฮีนจาอาระกัน (ARIF) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2529 โดยนูรุล อิสลาม อดีตรองประธาน RPF
การขยายตัวทางการทหารและการเชื่อมโยงกับฏอลิบานและอัลกออิดะฮ์ (พ.ศ. 2531–2554)
[แก้]ค่ายทหารของ RSO ตั้งอยู่ที่เมืองคอกส์บาซาร์ทางใต้ของบังกลาเทศ มีการส่งอาวุธจากฏอลิบานมาให้ตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ บางส่วนได้ส่งทหารไปฝึกในอัฟกานิสถาน[50] การขยายตัวของ RSO ในช่วง พ.ศ. 2533 ทำให้รัฐบาลพม่าเข้ามากวาดล้างตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534 ทหารพม่าได้ข้ามพรมแดนไปโจมตีกองทหารในบังกลาเทศซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดกับบังกลาเทศ และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 ชาวโรฮีนจามากกว่า 250,000 คนถูกผลักดันให้ออกจากยะไข่ซึ่งเหตุการณ์นี้ถูกประณามจากซาอุดีอาระเบีย[2][51]ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 มีสมาชิก RSO 120 คนเข้าสู่หม่องด่อโดยข้ามแม่น้ำนาฟที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างพม่ากับบังกลาเทศ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2537 มีระเบิดเกิดขึ้นในเมืองหม่องด่อ 12 แห่ง[52] ต่อมา ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2541 สมาชิก RSO และแนวร่วมอิสลามโรฮีนจาอาระกัน (ARIF) ได้รวมเข้าด้วยกันและจัดตั้งสภาแห่งชาติโรฮีนจา (RNC) และกองทัพแห่งชาติโรฮีนจา (RNA) นอกจากนั้นได้จัดตั้งองค์กรแห่งชาติโรฮีนจาอาระกัน (ARNO) เพื่อจัดการกับกลุ่มโรฮีนจาที่มีความแตกต่างกันเข้ามาเป็นกลุ่มเดียว ซึ่งมีรายงานว่ากลุ่ม ARNO นี้มีความเกี่ยวพันกับอัลกออิดะฮ์[53]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มีชายชาวโรฮีนจาประมาณ 80-100 คน ในเมืองหม่องด่อตามแนวชายแดนถูกจับกุมโดยกองทัพพม่าที่ประจำตามแนวชายแดนและถูกเชื่อมโยงกับฏอลิบาน[54][55] กองทหารฏอลิบานที่ชื่อว่ามูลีวี ฮารุนได้ตั้งค่ายฝึกและจัดทำระเบิดทางเหนือของหม่องด่อติดกับชายแดนบังกลาเทศในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 บุคคลต้องสงสัยที่ถูกจับกุม มี 19 คนถูกนำมาศาลก่อนในเดือนมีนาคมและเมษายนปีเดียวกัน.[56] มี 12 คนที่มีความเกี่ยวข้องกับฏอลิบานหรือกองกำลังติดอาวุธอิสลามถูกตัดสินจำคุกเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2554[57]
ความเห็นเกี่ยวกับเหตุรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับโรฮีนจา
[แก้]มอเช เยการ์ นักประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอลได้กล่าวว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนมุญาฮิดีนในยะไข่เกิดขึ้นเพราะนโยบายของรัฐบาลที่กดดันต่อชาวมุสลิมโรฮีนจา โดยสาเหตุของปัญหาได้แก่ หลังจากที่พม่าประกาศเอกราช มุสลิมไม่ได้รับการยอมรับในราชการทหาร รัฐบาลพม่าได้รับชาวยะไข่ซึ่งต่อต้านชุมชนมุสลิมเข้ามาเป็นตำรวจและเจ้าหน้าที่แทนชาวมุสลิม มุสลิมถูกทหารและตำรวจจับตามอำเภอใจ การประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติได้ก่อให้เกิดปัญหาแก่มุสลิมโรฮีนจา ชาวกะเหรี่ยง กะชีน และชีนที่นับถือศาสนาคริสต์ ทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้[58] เยการ์ยังได้กล่าวว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนมุสลิมในยะไข่เกิดขึ้นก่อนพม่าได้รับเอกราช โดยเกิดขึ้นพร้อมกับการขอแยกดินแดนมายูในรัฐยะไข่ และต้องการเป็นรัฐเอกราชของมุสลิม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 มุสลิมในยะไข่ได้เรียกร้องต่อโมฮัมหมัด อาลี จินนาห์เพื่อขอให้ผนวกดินแดนของตนเข้าไปในปากีสถานที่จะตั้งขึ้นใหม่
อย่างไรก็ตาม กบฏมุญาฮิดีนเกิดขึ้นภายใต้การปกครองของอูนุซึ่งเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย และชาวมุสลิมยังได้รับการยอมรับจากรัฐบาล การต่อต้านและการกดดันต่อมุสลิมเกิดขึ้นในสมัยนายพลเน วิน นอกจากนั้น ช่วงเวลาในการประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติยังไม่สอดคล้องกันเพราะพม่าประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติเมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ในขณะที่กบฏมุญาฮิดีนเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2490.[59]
เอ ชาน นักประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคันดะได้เสนอว่า ขบวนการมุญาฮิดีนในยะไข่เกิดจากความรุนแรงระดับหมู่บ้านระหว่างชาวโรฮีนจากับชาวยะไข่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2485[60] โดยในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2485 มุสลิมโรฮีนจาจากภาคเหนือของยะไข่ได้ฆ่าชาวพุทธยะไข่ราว 20,000 คน ในเมืองบูตีดองและหม่องด่อ ในช่วงเวลาเดียวกัน มุสลิมโรฮีนจา 5,000 คนในเมืองมีน-บยาและมเยาะอู ถูกชาวยะไข่ฆ่า[61] ความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะอังกฤษติดอาวุธให้ชาวมุสลิมทางภาคเหนือของยะไข่เพื่อสร้างเขตกันชนป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่น[62] โดยได้สัญญาว่าหากชาวมุสลิมสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร พวกเขาจะได้รับ "พื้นที่แห่งชาติ"[63] อย่างไรก็ตาม กองกำลังของโรฮีนจากลับพยายามที่จะทำลายหมู่บ้านของชาวยะไข่แทนที่จะต่อต้านญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียว ความขัดแย้งระหว่างยะไข่กับโรฮีนจาจึงเกิดขึ้น[60] เมื่อรัฐเอกราชใหม่ของมุสลิมคือปากีสถานกำลังจะได้รับการจัดตั้ง ชาวโรฮีนจาซึ่งขณะนั้นมีกองกำลังติดอาวุธอยู่แล้วจึงต้องการ "พื้นที่แห่งชาติ" ตามที่อังกฤษเคยสัญญาไว้ โดยขอแยกดินแดนมายูออกจากพม่าตะวันตกไปรวมกับปากีสถานตะวันออก มุญาฮิดีนได้ลุกฮือขึ้นในยะไข่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และเกิดขึ้นต่อเนื่องมา
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ การประเมินการจากกองทัพพม่าในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018[15][16]
- ↑ ทหาร 54 นาย[20][21][22][23][24] ตำรวจ 54 นาย[25][26][21] และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง 1 นาย[27][28]
- ↑ กองทัพพม่าอ้างว่าได้ฆ่าเฉพาะผู้ก่อความไม่สงบในปฏิบัติการเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถยืนยันจำนวนที่แท้จริงได้[27][29]
- ↑ ดู[35][36][37][38][39][40][41][42]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ U Nu, U Nu: Saturday's Son, (New Haven and London: Yale University Press) 1975, p. 272.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Bangladesh Extremist Islamist Consolidation". by Bertil Lintner. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2012. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "BL-1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Myint, Moe (24 October 2017). "Rakhine Crisis in Numbers". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2017. สืบค้นเมื่อ 27 October 2017.
- ↑ 4.0 4.1 "New Rakhine Police Chief Appointed". www.irrawaddy.com. 6 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2017. สืบค้นเมื่อ 13 September 2017.
- ↑ "Myanmar military denies atrocities against Rohingya, replaces general". Reuters. 13 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.
- ↑ Millar, Paul (16 February 2017). "Sizing up the shadowy leader of the Rakhine State insurgency". Southeast Asia Globe Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2017. สืบค้นเมื่อ 24 February 2017.
- ↑ J, Jacob (15 December 2016). "Rohingya militants in Rakhine have Saudi, Pakistan links, think tank says". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2017. สืบค้นเมื่อ 21 December 2016.
- ↑ "Arakan Rohingya National Organisation – Myanmar/Bangladesh". www.trackingterrorism.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2018. สืบค้นเมื่อ 5 May 2018.
- ↑ 9.0 9.1 Lewis, Simon; Siddiqui, Zeba; Baldwin, Clare; Andrew R.C., Marshall (26 June 2018). "How Myanmar's shock troops led the assault that expelled the Rohingya". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2018. สืบค้นเมื่อ 27 June 2018.
- ↑ Hunt, Katie. "Myanmar Air Force helicopters fire on armed villagers in Rakhine state". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2016.
- ↑ "PRESS RELEASE: Rohingya National Army (RNA) successfully raided a Burma Army Camp 30 miles from nort..." rohingya.org. 28 May 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2017. สืบค้นเมื่อ 21 October 2016.
- ↑ "An ethnic militia with daring tactics is humiliating Myanmar's army". The Economist. 16 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2020. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.
- ↑ Khine, Min Aung; Ko Ko, Thet (23 August 2018). "Western Border on High Alert as ARSA Attack Anniversary Nears". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2018. สืบค้นเมื่อ 23 August 2018.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Yegar, Moshe (2002). Between Integration and Secession: The Muslim Communities of the Southern Philippines, Southern Thailand, and Western Burma/Myanmar (ภาษาอังกฤษ). Lexington Books. pp. 37, 30, 44. ISBN 978-0-7391-0356-2. สืบค้นเมื่อ 17 May 2020.
- ↑ Olarn, Kocha; Griffiths, James (11 January 2018). "Myanmar military admits role in killing Rohingya found in mass grave". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2018. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
- ↑ "'Beyond comprehension': Myanmar admits killing Rohingya". www.aljazeera.com. 11 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2018. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
- ↑ Brennan, Elliot; O'Hara, Christopher (29 June 2015). "The Rohingya and Islamic Extremism: A Convenient Myth". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2018. สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.
- ↑ Lintner, Bertil (20 September 2017). "The truth behind Myanmar's Rohingya insurgency". Asia Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 8 October 2017.
- ↑ Bhaumik, Subir (1 September 2017). "Myanmar has a new insurgency to worry about". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2017. สืบค้นเมื่อ 8 October 2017.
- ↑ "One officer and 20 soldiers killed in AA clash". Mizzima (ภาษาอังกฤษ). 10 April 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
- ↑ 21.0 21.1 Soe, Aung Naing (10 March 2019). "Myanmar says 9 police killed in Arakan Army attack". AP News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
- ↑ "3 killed in rocket attack on army tugboat in western Myanmar". Xinhua. 23 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2019. สืบค้นเมื่อ 22 July 2019.
- ↑ Myint, Moe (8 July 2019). "Two Dead in Rakhine Border Post Attack". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
- ↑ Myint, Moe (22 July 2019). "Army Officer, 2 Navy Personnel Killed in AA Rocket Attack in Rakhine". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2019. สืบค้นเมื่อ 22 July 2019.
- ↑ "Myanmar policeman shot dead in northern Rakhine state". The Guardian. Agence France-Presse (AFP). 23 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2018. สืบค้นเมื่อ 23 December 2018.
- ↑ "13 policemen die in Rakhine rebel attacks". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 5 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2019. สืบค้นเมื่อ 5 January 2019.
- ↑ 27.0 27.1 Slodkowski, Antoni (15 November 2016). "Myanmar army says 86 killed in fighting in northwest". Reuters India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2016. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
- ↑ "Myanmar tensions: Dozens dead in Rakhine militant attack". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2017. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
- ↑ "Nearly 400 die as Myanmar army steps up crackdown on Rohingya militants". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2017. สืบค้นเมื่อ 1 September 2017.
- ↑ Habib, Mohshin; Jubb, Christine; Ahmad, Salahuddin; Rahman, Masudur; Pallard, Henri (18 July 2018). "Forced migration of Rohingya: the untold experience". Ontario International Development Agency, Canada. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2019. สืบค้นเมื่อ 26 July 2019 – โดยทาง National Library of Australia.
- ↑ "Former UN chief says Bangladesh cannot continue hosting Rohingya". Al Jazeera. 10 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2019.
- ↑ "Around 24,000 Rohingya Muslims killed by Myanmar army, 18,000 raped: report". Daily Sabah. 19 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2019.
- ↑ "Myanmar: IDP Sites in Rakhine State (as of 31 July 2018)" (PDF). OCHA. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2018. สืบค้นเมื่อ 11 October 2018.
- ↑ "Rohingya Crisis in Myanmar" (ภาษาอังกฤษ). Global Conflict Tracker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2018. สืบค้นเมื่อ 11 October 2018.
- ↑ "Bangladesh is now home to almost 1 million Rohingya refugees". The Washington Post. 25 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2017. สืบค้นเมื่อ 2 November 2017.
- ↑ "Pope apologizes to Rohingya refugees for 'indifference of the world'". CBC News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
- ↑ "Pope Francis Says 'Rohingya' During Emotional Encounter With Refugees". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
- ↑ "Pope uses term Rohingya during Asia trip". BBC News. 1 December 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
- ↑ "Myanmar bars U.N. rights investigator before visit". Reuters. 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2017. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
- ↑ "China and Russia oppose UN resolution on Rohingya". The Guardian. 24 December 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2017. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
- ↑ "Myanmar Military Investigating a Mass Grave in Rakhine". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2017. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
- ↑ "100,000 Rohingya on first repatriation list | Dhaka Tribune". www.dhakatribune.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2017. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
- ↑ Yegar, Moshe (1972). Muslims of Burma. Wiesbaden: Verlag Otto Harrassowitz. p. 96.
- ↑ "টার্গেট আরাকান ও বাংলাদেশের কয়েকটি জেলা স্বাধীন রাষ্ট্রের স্বপ্ন জঙ্গিদের (Some Arakan and Bangladeshi militants target of Independent State)". Dainik Purbokone Bangladesh. สืบค้นเมื่อ 22 October 2012.
- ↑ "নতুন রাষ্ট্র গঠনে মিয়ানমারের ১১ টি বিচ্ছিন্নতাবাদী গ্রুপ সংগঠিত হচ্ছে (11 secessionist group is organizing to create a new state in Burma)". The Editor, Bangladesh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-08. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
- ↑ "Myanmar, Bangladesh leaders 'to discuss Rohingya'". Agence France-Presse. 29 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 2015-05-19.
- ↑ 47.0 47.1 "The Rohingya: A humanitarian crisis". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 23 January 2014.
- ↑ Lintner, Bertil (1999). Burma in Revolt: Opium and Insurgency Since 1948,. Chiang Mai: Silkworm Books. pp. 317–8.
- ↑ "Bangladesh: Breeding ground for Muslim terror". by Bertil Lintner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-18. สืบค้นเมื่อ 2012-10-21.
- ↑ "Rohingyas trained in different Al-Qaeda and Taliban camps in Afghanistan". By William Gomes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-03. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
- ↑ Selth, Andrew (Nov–Dec 2003). Burma and International Terrorism,. Australian Quarterly, vol. 75, no. 6,. pp. 23–28.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ "Rohingya Terrorists Plant Bombs, Burn Houses in Maungdaw". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
- ↑ "Wikileaks Cables: ARAKAN ROHINGYA NATIONAL ORGANIZATION CONTACTS WITH AL QAEDA AND WITH BURMESE INSURGENT GROUPS ON THE THAI BORDER". Revealed by Wikileaks. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
- ↑ "Nearly 80 Suspected Taliban Members Arrested in Burma". Narinjara News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
- ↑ "Muslims Arrested in Arakan State Accused of Taliban Ties". Irrawaddy News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
- ↑ "19 Alleged Members of Taliban Group Brought to Trial". Narinjara News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
- ↑ "Twelve Suspected Taliban Sentenced to Jail". Narinjara News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
- ↑ Lall, Marie (23 November 2009). Ethnic Conflict and the 2010 Elections in Burma[ลิงก์เสีย]. Chatham House.
- ↑ Burmese Encyclopedia. Yangon: Burma Translation Society. 1963. p. 167.
- ↑ 60.0 60.1 Aye Chan (2005). "The Development of a Muslim Enclave in Arakan (Rakhine) State of Burma (Myanmar)" (PDF). SOAS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ November 1, 2011.
{{cite web}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ Kyaw Zan Tha, MA (July 2008). "Background of Rohingya Problem": 1.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Field-Marshal Viscount William Slim (2009). Defeat Into Victory: Battling Japan in Burma and India, 1942-1945. London: Pan. ISBN 0330509977.
- ↑ Howard Adelman (2008). Protracted displacement in Asia: no place to call home. Ashgate Publishing, Ltd. p. 86. ISBN 0754672387. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.