เหตุการณ์โกก้าง
เหตุการณ์โกก้าง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งภายในพม่า | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
MNDAA NDAA UWSA |
สหภาพพม่า กบฏ MNDAA | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เฟือง คยาชิน | พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์[1] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ตามรายงานของรัฐบาลทหาร:[2] เสียชีวิต 8 คน ยึดอาวุธได้ 640 ชิ้น[3] |
ตามรายงานของรัฐบาลทหาร:[2] เสียชีวิต 26 คน บาดเจ็บ 47 คน | ||||||
พลเรีอนชาวจีนเสียชีวิต 1 คน[4] ผู้คนพลัดถิ่น 30,000 คน[2] |
เหตุการณ์โกก้าง เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ในพื้นที่ปกครองตนเองโกก้าง ในพม่าที่อยู่ทางเหนือของรัฐฉาน[5] มีการปะทะกันระหว่างกองทัพพม่าและกองกำลังของชนกลุ่มน้อย ผลจากความขัดแย้งทำให้มีผู้อพยพ 30,000 คนเข้าไปในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน
ภูมิหลัง
[แก้]ก่อนจะเกิดเหตุการณ์นี้ กองทัพพม่าได้มีการเจรจาสงบศึกกับกองทัพของชนกลุ่มน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2532 แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา กองทัพพม่าได้เสนอที่จะนำกองกำลังของชนกลุ่มน้อย[6]เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพในฐานะกองกำลังพิทักษ์ชายแดน แต่กองกำลังของชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่ต่อต้านแนวคิดนี้
เขตพิเศษโกก้างเป็นเขตปกครองตนเองทางภาคเหนือของรัฐฉาน[7] ปกครองโดยเฟือง คยาชินหรือเปง เจียเซง ( 彭家声) ตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2532[8] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวโกก้าง (果敢) ซึ่งเปนชาวจีนฮั่นที่อาศัยในพม่า ชาวโกก้างมีความเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดตามแนวชายแดน
โกก้างมีกองทัพเป็นของตนเองคือกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมาร์ มีทหารประมาณ 1,000 - 1,500 คน และมีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยภายในกองทัพ โดยเฟืองอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรองประธาน ไป๋ เซาเกวียน โดยเฟืองต่อต้านการรวมกองทัพเข้ากับกองทัพพม่าแต่ไป๋สนับสนุน กองทัพพม่าได้กล่าวหาว่าเฟืองอยู่เบื้องหลังการค้าอาวุธและยาเสพติด
ความตึงเครียด
[แก้]ความตึงเครียดเกิดขึ้นเมื่อ 8 สิงหาคม ได้มีกองทัพพม่าเคลื่อนที่เข้ามาในโรงงานผลิตปืนซึ่งต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการค้ายา และบริเวณบ้านของเฟือง แม้จะไม่มีการยิงปะทะ แต่ก็มีผู้อพยพออกจากพื้นที่เพราะกลัวความรุนแรง
ความรุนแรง
[แก้]ในวันที่ 20 สิงหาคม กองทัพพม่าเริ่มเคลื่อนเข้ามาใกล้เมืองลวกไก เมืองหลวงของเขตพิเศษโกก้าง และโกก้างได้เตรียมประชาชนให้พร้อมอพยพ ในวันที่ 24 สิงหาคม กองทัพพม่าได้เข้ายึดเมืองลวกไก หนังสือพิมพ์กะชีนนิวส์ที่ต่อต้านกองทัพพม่าได้กล่าวว่าการเข้ายึดครองครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากทหารโกก้างที่จงรักภักดีต่อกองทัพพม่า
ในวันที่ 27 สิงหาคม[9] กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่าได้เริ่มเปิดการสู้รบกับกองทัพพม่านอกเมือง ต่อมา ทหารว้าและกะชีนและกลุ่มของชนกลุ่มน้อยอีก 9 กลุ่มเข้าร่วมในการสู้รบ กองทัพสหรัฐว้าซึ่งเป็นกองทัพของชนกลุ่มน้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของพม่าเข้าร่วมรบด้วย ในวันที่ 27 – 28 สิงหาคม มีการต่อสู้ที่หมู่บ้านใกล้แนวชายแดนจีน ทำให้จีนต้องเพิ่มกองกำลังเพื่อความมั่นคงตามแนวชายแดน
ในวันที่ 29 สิงหาคม สหรัฐกล่าวว่ามีทหารโกก้างราว 700 คน ได้ข้ามพรมแดนและมอบตัวกับทางการจีน[2][10] โดยให้สัมภาษณ์ว่าพวกเขาพ่ายแพ้[11] ในขณะที่กองทัพโกก้างมีแนวโน้มจะพ่ายแพ้ กองทัพสหรัฐว้ายังคงสู้รบ หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์รายงานว่ากองทัพสหรัฐว้าถอนตัวออกเมื่อ 28 สิงหาคม[12] รัฐบาลพม่าได้ประกาศว่าการสู้รบสิ้นสุดลงเมื่อ 30 สิงหาคม และมีการจัดตั้งคณะกรรมการผู้นำเฉพาะกาลเขตโกก้างขึ้นใหม่ในลวกไก[13]
ความเสียหายและผู้อพยพ
[แก้]ไม่มีรายงานความเสียหายที่ชัดเจน เฟือง คยาชินกล่าวอ้างว่าทหารโกก้างของเขาฆ่าทหารพม่าได้มากกว่า 30 คน[14] มีชาวจีน 1 คนเสียชีวิตจากระเบิดที่ข้ามชายแดนเข้ามา กองทัพพม่าได้ออกประกาศว่ากองทัพพม่าเสียชีวิต 26 คน และบาดเจ็บ 47คน และพบศพของฝ่ายกบฏ 8 ศพ
ในช่วง 8-12 สิงหาคม มีประชาชนราว 10,000 คนอพยพเข้าไปในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ผู้อพยพตลอดทั้งเดือนสูงถึง 30,000 คน รวมทั้งชาวพม่าและชาวโกก้าง โดยรัฐบาลของมณฑลยูนนานได้จัดสถานที่ 7 แห่งไว้รองรับ ข้อมูลจากผู้อพยพคนหนึ่งกล่าวว่า มีผู้อพยพ 13,000 คนอาศัยอยู่ในเตนท์ อีก 10,000–20,000 คน อาศัยอยู่กับญาติหรือครอบครัวในบริเวณใกล้เคียง ในวันที่ 31 สิงหาคม ผู้อพยพบางส่วน (4,000 คนตามเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือ 2,800 คนตามรัฐบาลพม่า) เริ่มอพยพกลับสู่โกก้าง ต่อมาในกลางเดือนกันยายน จีนรายงานว่า ผู้อพยพมากกว่า 9,000 คนกลับสู่พม่า ในขณะที่รัฐบาลพม่ากล่าวว่ามี 13,000 คน[15] ผู้อพยพบางส่วนยังกลัวที่จะอพยพกลับ เฟืองยังคงลี้ภัยในจีนแต่ไม่ทราบที่อยู่แน่นอน[16][17]
หลังจากนั้น
[แก้]หลังการสู้รบ ผู้นำคนใหม่ของโกก้างประกาศว่าชาวโกก้างจะเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2553 ชาวว้าและชาวกะชีนยังคงอยู่ต่อไปได้[18] ไป๋ เซาเกวียนที่สนับสนุนกองทัพพม่าได้เป็นผู้นำคนใหม่ กองทัพโกก้างกลายเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน#1006[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Senior General Min Aung Hlaing". altsean.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2011. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Ng Han Guan. "Ethnic rebels flee Myanmar, abandoning weapons and uniforms for safe haven in south China". Chicago Tribune. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
- ↑ "Myanmar says 34 killed as border fighting ends". Agence France-Presse. 30 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2009. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
- ↑ Dasgupta, Saibal (29 August 2009). "Fresh violence near China-Myanmar border". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2013. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
- ↑ Agence France-Presse (27 August 2009). "More fighting feared as thousands flee Burma". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 28 August 2009.
- ↑ Kate, Daniel Ten (28 August 2009). "Myanmar Takes Rebel-Held Town Near China Oil Projects". Bloomberg L.P. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
- ↑ "果敢乱局当前 传"果敢王"已逃离". 29 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009. (จีน)
- ↑ "Kokang capital falls: "Not shoot first" policy under fire". Shan Herald. 26 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-02. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
- ↑ "Fightings (sic) keep on in Myanmar's Kokang region". Xinhua. 30 August 2009. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
- ↑ Wai Moe (30 August 2009). "Fighting Stops as Kokang Surrender Arms to Chinese". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
- ↑ "Myanmar fighters cross into China". Al Jazeera News. 30 August 2009. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
- ↑ Fuller, Thomas (30 August 2009). "Myanmar Forces Overwhelm Rebels". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
- ↑ "More than 2,800 Myanmar border inhabitants return to Kokang after fightings end". Xinhua. 1 September 2009. สืบค้นเมื่อ 2 September 2009.
- ↑ "Over 30 gov't soldiers killed; civil war possible in Myanmar". Global Times. 29 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-02. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
- ↑ "Myanmar says market trading in Kokang capital returns to normal". Xinhua. 7 September 2009. สืบค้นเมื่อ 11 September 2009.
- ↑ "果敢乱局当前 传"果敢王"已逃离". 29 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
传言果敢特区领导人彭家声已经逃离。
(จีน)
English: "It is rumored that the leader of the Kokang Special Region, Peng Jiasheng, has also fled." - ↑ Magnier, Mark (29 August 2009). "Myanmar troops attack minority militia in the north". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
- ↑ "Myanmar says Chinese tip-off led to border clash". The Associated Press. 10 September 2009. สืบค้นเมื่อ 11 September 2009.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 2013-11-02.
บรรณานุกรม
[แก้]- Egreteau, Renaud; Jagan, Larry (2013). Soldiers and Diplomacy in Burma: Understanding the Foreign Relations of the Burmese Praetorian State. Singapore: NUS Press. ISBN 978-9971-696-73-3.
- Lintner, Bertil (2019). Burma in Revolt: Opium and Insurgency since 1948. Abingdon, England: Routledge. ISBN 978-0429-720-59-8.
- South, Ashley (2008). Ethnic Politics in Burma: States of Conflict. Abingdon, England: Routledge. ISBN 978-1134-129-53-9.
- The Daily Herald (10 September 2009). "The Daily Herald, Thursday, September 10, 2009" (PDF). The Daily Herald. Vol. 19 no. 99. Philipsburg, Sint Maarten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-03.
- UNODC (2018). "Myanmar Opium Survey 2018 Cultivation, Production and Implications" (PDF). United Nation Office on Drugs and Crime.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)