รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2505
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ชุดบทความประวัติศาสตร์พม่า |
---|
![]() |
ประวัติศาสตร์พม่ายุคต้น |
นครรัฐปยู (ประมาณ พ.ศ. 443 – ประมาณ พ.ศ. 1383) |
อาณาจักรมอญ (พศว. 14 – 16, พศว. 18 – 21, พศว. 23) |
อาณาจักรพุกาม (พ.ศ. 1392 – 1830, อาณาจักรยุคที่ 1) |
อาณาจักรอังวะ (พ.ศ. 1907 – 2098) |
อาณาจักรมเยาะอู (พ.ศ. 1977 – 2327) |
ราชวงศ์ตองอู (พ.ศ. 2029 – 2295, อาณาจักรยุคที่ 2) |
ราชวงศ์คองบอง (พ.ศ. 2295 – 2428, อาณาจักรยุคที่ 3) |
สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367 – 2369) |
สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สอง ( พ.ศ. 2395) |
สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สาม (พ.ศ. 2428) |
พม่าของอังกฤษ (พ.ศ. 2367 – พ.ศ. 2485, พ.ศ. 2485 – 2491) |
อาระกันของอังกฤษ (พ.ศ. 2367 – 2395) |
ตะนาวศรีของอังกฤษ (พ.ศ. 2367 – 2395) |
พม่าตอนล่างของอังกฤษ (พ.ศ. 2395 – 2429) |
พม่าตอนบนของอังกฤษ (พ.ศ. 2428 – 2429) |
การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485 – 2488) |
ขบวนการชาตินิยมในพม่า (หลัง พ.ศ. 2429) |
บามอว์ |
ออง ซาน |
ยุคประชาธิปไตย (พ.ศ. 2491 - 2505) |
อู นุ และอู ถั่น |
รัฐบาลทหารครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2505 – 2532) |
เน วิน |
การก่อการปฎิวัติ 8888 (พ.ศ. 2531) |
ออง ซาน ซูจี |
รัฐบาลทหารครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2532 – 2554) |
การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ (พ.ศ. 2550) |
พายุหมุนนาร์กิส (พ.ศ. 2551) |
ความขัดแย้งภายในพม่า |
เหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555 |
[แก้ไขแม่แบบนี้] |
รัฐประหารในประเทศพม่า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองแบบสังคมนิยมและการครอบงำการเมืองของกองทัพพม่า เป็นระยะเวลา 26 ปี ระบบการเมืองที่เป็นผลสืบเนื่องดำเนินมากระทั่งวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2531 เมื่อกองทัพยึดอำนาจในฐานะสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ) หลังการก่อการกำเริบ 8888 ทั่วประเทศ รัฐประหาร พ.ศ. 2505 นำโดยพลเอก เนวี่น และสภาปฏิวัติสังคมนิยม ซึ่งมีสมาชิก 24 คน ในระยะเวลา 12 ปีถัดจากนี้ กระทั่ง พ.ศ. 2517 พม่าปกครองด้วยกฎอัยการศึก และมีการขยายบทบาทของทหารอย่างสำคัญในเศรษฐกิจ การเมืองและรัฐการพม่า[1] นโยบายและอุดมการณ์ของรัฐบาลหลังรัฐประหารตั้งอยู่บนแนวคิดวิถีพม่าสู่สังคมนิยม (Burmese Way to Socialism) ซึ่งมีการประกาศต่อสาธารณะหนึ่งเดือนหลังรัฐประหารและเสริมด้วยการจัดตังพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า
ภูมิหลัง[แก้]
หลังจากพม่าได้รับเอกราช มีความตึงเครียดทางการทหารและการลุกฮือของชนกลุ่มน้อย ใน พ.ศ. 2491 เนวินขึ้นมามีอำนาจในกองทัพ ต่อมา ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2492 เนวินได้เป็นผู้บัญชาการทหารและเข้าควบคุมทหารทั้งหมดแทนนายพลสมิธ ดุนที่เป็นชาวกะเหรี่ยง ทำให้เนวินได้จัดระเบียบกองทัพใหม่ ต่อมา อู้นุได้ร้องขอให้เนวินเป็นนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2501 หลังจากที่สันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์แตกออกเป็นสองส่วน และอู้นุเกือบไม่ได้รับการไว้วางใจจากรัฐสภา เนวินได้ฟื้นฟูกฎระเบียบใหม่ในระหว่างที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาล การเลือกตั้งใหม่ใน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 นั้นอู้นุเป็นฝ่ายชนะ และได้จัดตั้งรัฐบาลเมื่อ 4 เมษายน พ.ศ. 2503
รัฐประหาร[แก้]
ต่อมาเมื่อ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 เนวินขึ้นสู่อำนาจอีกครั้งโดยการก่อรัฐประหาร ตัวเขาเองมีสถานะเป็นประมุขรัฐ ในฐานะประธานสภาปฏิวัติสหภาพ และเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย เขาได้จับกุมอู้นุ เซา ส่วย เทียกและคนอื่นๆอีกหลายคน และประกาศจัดตั้งรัฐสังคมนิยม เซาเมียะ เทียก บุตรชายของเซา ส่วย เทียกถูกยิงเสียชีวิตหลังการวิจารณ์รัฐประหาร เจ้าฟ้าจาแสงหายตัวไปอย่างลึกลับหลังจากหยุดที่จุดตรวจใกล้ตองจี[2]
หลังจากมีการลุกฮือที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2505 ได้มีการส่งทหารเข้าไปจัดระเบียบใหม่ มีการเผาผู้ประท้วงและทำลายอาคารสหภาพนักศึกษา[3] หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยทั่วประเทศถูกสั่งปิดเป็นเวลา 2 ปี จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2507 ใน พ.ศ. 2531 อีก 26 ปีต่อมา เนวินปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับการทำลายอาคารสหภาพนักศึกษา โดยกล่าวว่าเป็นคำสั่งของอ่องจี
หลังจากนั้นและผลกระทบ[แก้]
รัฐประหารได้เปลี่ยนพม่าจากสหภาพที่มีหลายพรรคการเมืองไปเป็นรัฐที่มีพรรคการเมืองเดียวคือพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การลงทุนของเอกชนโดยเฉพาะที่ไม่ใช่ของพม่าถูกยึดเป็นของรัฐ บริษัทต่างชาติต่างถอนตัวออกไป และปกครองประเทศด้วยกฎอัยการศึกจนถึง พ.ศ. 2517 จึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ใช้ชื่อประเทศว่าสาธารณรัฐสังคมแห่งสหภาพพม่าได้ใช้ธงชาติที่มีสัญลักษณ์ของสังคมนิยม ผลของรัฐประหารทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของพม่าหยุดชะงักจนกลายเป็นประเทศด้อยพัฒนาใน พ.ศ. 2530
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Schock, Kurt (1999). "People Power and Political Opportunities: Social Movement Mobilization and Outcomes in the Philippines and Burma". Soc. Probs. 46: 358.
- ↑ Smith, Martin (1991). Burma — Insurgency and the Politics of Ethnicity. London and New Jersey: Zed Books.
- ↑ Boudreau, Vincent (2004) Resisting Dictatorship: Repression and Protest in Southeast Asia Cambridge University Press, Cambridge, U.K., pp. 37-39, 50-51, ISBN 0-521-83989-0