วิกฤติอู้ตั่น
วิกฤติพิธีศพอู้ตั่น | |
---|---|
วันที่ | 1 ธันวาคม ค.ศ. 1974 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 1974 |
สถานที่ | ย่างกุ้ง, ประเทศพม่า |
สาเหตุ | รัฐบาลปฏิเสธการจัดงานศพระดับรัฐให้กับ อู้ตั่น |
เป้าหมาย | ต้องการฝังศพในบริเวณที่เป็นอาคารสหภาพนักศึกษาเดิมในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง |
วิธีการ | Civil resistance, การเดินขบวน, nonviolent resistance |
สถานะ | violently suppressed |
ความเสียหาย | |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
บาดเจ็บ | ไม่ทราบ |
ถูกจับกุม | ไม่ทราบ |
วิกฤติอู้ตั่น (อังกฤษ: U Thant's Funeral Crisis หรือ U Thant Crisis; พม่า: ဦးသန့် အရေးအခင်း) เป็นลำดับเหตุการณ์ของการประท้วงและการก่อการกำเริบในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2517 โดยเป็นการตอบสนองต่อการที่รัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธที่จะจัดงานศพระดับรัฐให้แก่อู้ตั่น อดีตเลขาธิการทั่วไปของสหประชาชาติคนที่ 3 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกและปราบปรามการประท้วงอย่างรุนแรง
ภูมิหลัง
[แก้]อู้ตั่นซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของอู้นุได้เป็นเลขาธิการทั่วไปของสหประชาชาติใน พ.ศ. 2504 ต่อมาใน พ.ศ. 2505 เนวี่นได้ก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลของอู้นุ ต่อมาใน พ.ศ. 2512 อู้นุซึ่งอยู่ระหว่างการลี้ภัยได้เรียกร้องให้ล้มล้างรัฐบาลของเนวี่นที่อาคารของสหประชาชาติในนิวยอร์ก[1] การจัดการประท้วงครั้งนี้เป็นการดำเนินการของอู้นุในขณะที่อู้ตั่นเดินทางไปแอฟริกาในขณะนั้น อู้ตั่นได้ปรามอู้นุว่าทำไม่เหมาะสม แต่เนวี่นเห็นว่าอู้ตั่นเป็นพวกอู้นุ และถือว่าอู้ตั่นเป็นศัตรูของรัฐ อู้ตั่นได้เดินทางไปย่างกุ้งเพื่ออธิบายแต่เนวินไม่ให้พบ ทำให้อู้ตั่นมีปัญหาในการต่ออายุหนังสือเดินทาง[1]
อู้ตั่นยังอยู่ในนิวยอร์กหลังจากที่เขาพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปใน พ.ศ. 2514 จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ด้วยโรคมะเร็งปอด เนวี่นไม่เคยให้อภัย เมื่อร่างของอู้ตั่นถูกนำกลับมายังย่างกุ้ง เนวี่นปฏิเสธที่จะให้เกียรติเป็นพิเศษใด ๆ ให้จัดแต่งานศพเท่านั้น[1] ร่างของเขามาถึงในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2517[2] และนำไปยังไจกะซานเพื่อให้ประชาชนเข้าคารวะและมีแผนจะเผาที่จานดอในวันที่ 5 ธันวาคม[3]
การประท้วง
[แก้]ในวันที่จะเผา มีนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยเตรียมเช่ารถบัสมาร่วมงานแต่ถูกปฏิเสธเพราะรัฐบาลห้ามมาร่วมงาน นักศึกษาตัดสินใจเดินจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้งไปยังไจกะซานเพื่อแสดงความเคารพต่ออู้ตั่นเป็นครั้งสุดท้าย โลงศพถูกยึดโดยนักศึกษาไปยังมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง วางไว้บนเวทีและมีพระสงฆ์มาสวดมนต์ มีนักศึกษาจัดเวรยามเฝ้า มีนักศึกษากล่าวสุนทรพจน์ต่อต้านรัฐบาล
ในวันที่ 6 ธันวาคม นักศึกษาได้ส่งจดหมายไปยังรัฐบาล แสดงความจำนงต้องการให้มีการจัดงานศพระดับรัฐ และถ้าปฏิเสธ พวกเขาจะจัดเองในฐานะวีรบุรุษของชาติ พวกเขาเลือกสถานที่ที่เคยเป็นอาคารสหภาพนักศึกษาที่ถูกทำลายไปเมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นที่ฝังศพ[4]
ในวันที่ 7 ธันวาคม รัฐบาลปฏิเสธข้อเสนอ อู้ตั่นจะถูกฝังที่เชิงเจดีย์ชเวดากองโดยไม่มีงานศพระดับรัฐ ครอบครัวของอู้ตั่นต้องการงานศพแบบสาธารณะมากกว่างานศพระดับรัฐที่จัดโดยระบอบเผด็จการทหาร ในการประชุมระหว่างครอบครัวของอู้ตั่น ตัวแทนนักศึกษาและพระสงฆ์ เสียงส่วนใหญ่ยอมรับข้อเสนอของรัฐบาล[4]
ในวันที่ 8 ธันวาคม โลงศพของอู้ตั่นได้วางไว้ที่บริเวณที่เป็นอาคารสหภาพนักศึกษาเป็นการชั่วคราว มีผู้เข้าร่วมคารวะศพอู้ตั่นเป็นจำนวนมาก ในที่สุด นักศึกษาหัวรุนแรงได้ยึดโลงศพอีกครั้งเพื่อฝังอู้ตั่นในบริเวณอาคารสหภาพนักศึกษา[4] ทำให้โลงศพของอู้ตั่นยังอยู่ที่นั่นและมีธงสหประชาชาติคลุม ในคืนนั้น วิทยุของรัฐบาลได้ประกาศว่านักศึกษาละเมิดข้อตกลงและไม่ยอมรับความต้องการของครอบครัวอู้ตั่น จึงถือว่านักศึกษาทำผิดกฎหมาย และเข้ายึดครองพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
การปะทะ
[แก้]เช้าวันที่ 11 ธันวาคม ตำรวจและทหารบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัย[4] และฆ่านักศึกษาที่ไม่มีอาวุธและยึดโลงศพไป เกิดการก่อกำเริบในย่างกุ้ง ฝูงชนที่โกรธแค้นเข้าไปทำลายสถานีตำรวจและโรงภาพยนตร์ เกิดไฟไหม้และมีคนถูกฆ่า รัฐบาลประกาศใช้กฎอัยการศึกและปราบปรามฝูงชนอย่างรุนแรง[3][5][6]
งานศพครั้งสุดท้าย
[แก้]รัฐบาลได้ฝังศพอู้ตั่นไว้ที่สวนของฐานทัพใกล้กับพระเจดีย์ชเวดากอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. p. 311. ISBN 978-0-374-16342-6.
- ↑ "38th Commemoration of former UNSG U Thant's Movement". Eleven Myanmar. สืบค้นเมื่อ 2014-01-26.
- ↑ 3.0 3.1 "Peace Eludes U Thant". Asian Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-18. สืบค้นเมื่อ 2014-01-26.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. pp. 313–314. ISBN 978-0-374-16342-6.
- ↑ 1974 U Thant uprising – a first hand account
- ↑ "The U.S. And The 2012 Burmese Election". Usforeignpolicy.about.com. สืบค้นเมื่อ 2014-01-26.