ข้ามไปเนื้อหา

แก๊สน้ำตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การใช้แก๊สน้ำตาเพื่อสลายผู้ประท้วงนอกที่ทำการรัฐบาลระหว่างการประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2557

แก๊สน้ำตา (อังกฤษ: Lachrymatory agent, Lachrymator หรือ Tear gas) เป็นอาวุธเคมีชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาและแก้วตาดำ ทำให้เจ็บตาและทางเดินหายใจมาก ผิวหนังระคายเคือง เลือดออกและตาบอด สำหรับตาแก๊สจะกระตุ้นประสาทของต่อมน้ำตาทำให้หลั่งน้ำตา ส่วนใหญ่จะหายเองภายในหนึ่งชั่วโมง [1][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] แก๊สน้ำตาถูกใช้เป็นอาวุธประเภทก่อกวนในการปราบจลาจลเพื่อสลายการชุมนุม การใช้งานมีทั้งการยิงจากเครื่องยิงแก๊สน้ำตา และใช้แบบระเบิดขว้าง

การสัมผัสกับแก๊สน้ำตาอาจก่อให้เกิดฤทธิ์ระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งการเกิดโรคทางเดินหายใจ การบาดเจ็บต่อตาและโรคตาอย่างรุนแรง เช่น โรคประสาทตาจากอุบัติเหตุ (traumatic optic neuropathy), กระจกตาอักเสบ, ต้อหินและต้อกระจก) ผิวหนังอักเสบ ความเสียหายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และทางเดินอาหาร และเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแก๊สน้ำตาความเข้มข้นสูง หรือเมื่อใช้แก๊สน้ำตาในที่ปิด

ฤทธิ์

[แก้]
2-chlorobenzalmalononitrile เป็นสารออกฤทธิ์ในแก๊สซีเอส

แก๊สน้ำตาประกอบด้วยสารประกอบสถานะของแข็งหรือของเหลว (โบรโมอะซีโตน หรือไซลิลโบรไมด์) ที่ทำให้เป็นละอองลอย[2] แก๊สน้ำตาออกฤทธิ์โดยทำให้ระคายเคืองซึ่งเยื่อเมือกในตา จมูก ปากและปอด ทำให้น้ำตาไหล จาม ไอ หายใจลำบา ปวดตา และมองไม่เห็นชั่วคราว สำหรับแก๊สซีเอส อาการระคายเคืองคงอยู่ประมาณ 20 ถึง 60 วินาทีหลังสัมผัส[3] และมักหายได้เองภายใน 30 นาทีหลังออกจากพื้นที่นั้น

ช่องไอออน TRPA1 ที่แสดงอยู่บนตัวรับ nociceptor มีการแสดงว่าเป็นจุดออกฤทธิ์ของแก๊สซีเอส แก๊สซีอาร์ แก๊สซีเอ็น (ฟีนาซิบคลอไรด์) และโบรโมอะซีโตนในแบบจำลองหนู[4][5]

ความเสี่ยง

[แก้]

แม้ได้ชื่อว่าเป็นอาวุธที่ไม่รุนแรงถึงตาย (non-lethal) หรือมีโอกาสทำให้เสียชีวิตต่ำ (less-lethal) แต่มีความเสี่ยงทำให้บาดเจ็บถาวรหรือเสียชีวิตได้เช่นกัน[6][7][2] ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงถูกกระแทกจากปลอกแก๊สน้ำตาที่อาจทำให้เกิดแผลฟกช้ำรุนแรงได้ ทำให้ตาบอดหรือกะโหลกศีรษะร้าว ทำให้เสียชีวิตทันทีได้เหมือนกัน[8] มีรายงานการบาดเจ็บของหลอดเลือดอย่างรุนแรงจากปลอกแก๊สน้ำตาจากประเทศอิหร่าน โดยมีอัตราการบาดเจ็บของประสาทร่วมด้วยสูง (44%) และตัดแขนหรือขา (17%)[9] เช่นเดียวกับมีการบาดเจ็บของศีรษะ[10]

สำหรับผลทางการแพทย์ของแก๊สเองนั้นมักจำกัดอยู่เฉพาะการอักเสบของผิวหนังเล็กน้อย แต่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดช้าได้เหมือนกัน สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินหายใจเดิมอย่างหอบหิดมีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ ซึ่งมักต้องรีบพบแพทย์[3] และบางทีอาจถึงขั้นต้องรับรักษาในโรงพยาบาลหรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ[11] เมื่อผิวหนังได้รับซีเอสอาจทำให้ผิวหนังไหม้ด้วย[12] หรือชักนำให้ผิวหนังอักเสบแบบภูมิแพ้สัมผัส[3][13] เมื่อบุคคลได้รับในระยะใกล้หรือได้รับอย่างรุนแรง อาจเกิดการบาดเจ็บของตา เช่น กระจกตาเกิดแผลเป็นซึ่งทำให้วิสัยการมองเห็นเสื่อมลงอย่างถาวร[14] การได้รับบ่อยหรือระดับสูงเพิ่มความเสี่ยงของโรคทางเดินหายใจ[2]

การรักษา

[แก้]

ไม่มียาแก้พิษจำเพาะสำหรับแก๊สน้ำตา[3][15] สิ่งแรกที่ควรทำคือออกจากบริเวณแก๊สหรือรับอากาศบริสุทธิ์[3] การถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนและเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวที่ปนเปื้อนร่วมกันอาจช่วยลดปฏิกิริยาต่อผิวหนัง[16] แนะนำให้ถอดคอนแทกเลนส์เพราะอาจมีอนุภาคติดมา[16][15]

เมื่อบุคคลได้รับแก๊ส มีหลายวิธีในการกำจัดสารเคมีให้มากที่สุดและบรรเทาอาการ[3] ปฐมพยาบาลมาตรฐานสำหรับสารละลายไหม้ในตาคือล้างออก (ฉีดพ่นหรือฉีดล้าง) ด้วยน้ำ[3][17] มีรายงานว่าน้ำอาจเพิ่มความปวดจากแก๊สซีเอส แต่เมื่อเทียบจากหลักฐานที่มีอยู่จำกัดในปัจจุบันก็ยังแนะนำว่าน้ำหรือน้ำเกลือยังเป็นตัวเลือกดีที่สุดอยู่[15][18][19] หลักฐานบางส่วนเสนอว่าไดโฟเทอรีน สารละลายเกลือแอมโฟเทอริกไฮเปอร์โทนิก ผลิตภัณฑ์ปฐมพยาบาลสำหรับเมื่อถูกสารเคมี อาจช่วยการไหม้ของตาได้หรือสารเคมีในตาได้[17][20]

การอาบและเช็ดตัวแรง ๆ ด้วยสบู่และน้ำสามารถขจัดอนุภาคที่ติดกับผิวหนังได้ เสื้อผ้า รองเท้าและเครื่องประดับที่สัมผัสกับไอระเหยจะต้องล้างออกเพราะอนุภาคที่ไม่ได้กำจัดทิ้งอาจติดค้างและออกฤทธิ์อยู่ได้นานถึง 1 สัปดาห์[21] บางคนแนะนำให้ใช้พัดลมหรือเครื่องเป่าผมทำให้สเปรย์ระเหยไป แต่ไม่มีหลักฐานว่าวิธีนี้ดีกว่าล้างออก และอาจเสี่ยงทำให้แพร่ไปที่อื่นได้ด้วย[15]

ในประเทศไทย

[แก้]
การใช้แก๊สน้ำตาชนิดยิงด้วยวิถีโค้งของตำรวจควบคุมฝูงชน ระหว่างการชุมนุมประท้วงบริเวณแยกใต้ด่วนดินแดงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564

ในประเทศไทย แก๊สน้ำตาถูกนำเข้ามาใช้ครั้งแรกในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน โดยกระทรวงมหาดไทย มีการแถลงข่าวสาธิตการใช้ที่สนามเป้า และสามเสน[22]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.komchadluek.net/2008/09/01/x_main_a001_218813.php?news_id=218813
  2. 2.0 2.1 2.2 Rothenberg C, Achanta S, Svendsen ER, Jordt SE (August 2016). "Tear gas: an epidemiological and mechanistic reassessment". Annals of the New York Academy of Sciences. 1378 (1): 96–107. Bibcode:2016NYASA1378...96R. doi:10.1111/nyas.13141. PMC 5096012. PMID 27391380.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Schep LJ, Slaughter RJ, McBride DI (June 2015). "Riot control agents: the tear gases CN, CS and OC-a medical review". Journal of the Royal Army Medical Corps. 161 (2): 94–9. doi:10.1136/jramc-2013-000165. PMID 24379300.
  4. Bessac BF, Sivula M, von Hehn CA, Caceres AI, Escalera J, Jordt SE (April 2009). "Transient receptor potential ankyrin 1 antagonists block the noxious effects of toxic industrial isocyanates and tear gases". FASEB Journal. 23 (4): 1102–14. doi:10.1096/fj.08-117812. PMC 2660642. PMID 19036859.
  5. Brône B, Peeters PJ, Marrannes R, Mercken M, Nuydens R, Meert T, Gijsen HJ (September 2008). "Tear gasses CN, CR, and CS are potent activators of the human TRPA1 receptor". Toxicology and Applied Pharmacology. 231 (2): 150–6. doi:10.1016/j.taap.2008.04.005. PMID 18501939.
  6. Heinrich U (September 2000). "Possible lethal effects of CS tear gas on Branch Davidians during the FBI raid on the Mount Carmel compound near Waco, Texas" (PDF). Prepared for The Office of Special Counsel John C. Danforth.
  7. Hu H, Fine J, Epstein P, Kelsey K, Reynolds P, Walker B (August 1989). "Tear gas—harassing agent or toxic chemical weapon?" (PDF). JAMA. 262 (5): 660–3. doi:10.1001/jama.1989.03430050076030. PMID 2501523. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 October 2013.
  8. Clarot F, Vaz E, Papin F, Clin B, Vicomte C, Proust B (October 2003). "Lethal head injury due to tear-gas cartridge gunshots". Forensic Science International. 137 (1): 45–51. doi:10.1016/S0379-0738(03)00282-2. PMID 14550613.
  9. Wani ML, Ahangar AG, Lone GN, Singh S, Dar AM, Bhat MA, และคณะ (March 2011). "Vascular injuries caused by tear gas shells: surgical challenge and outcome". Iranian Journal of Medical Sciences. 36 (1): 14–7. PMC 3559117. PMID 23365472.
  10. Wani AA, Zargar J, Ramzan AU, Malik NK, Qayoom A, Kirmani AR, และคณะ (2010). "Head injury caused by tear gas cartridge in teenage population". Pediatric Neurosurgery. 46 (1): 25–8. doi:10.1159/000314054. PMID 20453560.
  11. Carron PN, Yersin B (June 2009). "Management of the effects of exposure to tear gas". BMJ. 338: b2283. doi:10.1136/bmj.b2283. PMID 19542106.
  12. Worthington E, Nee PA (May 1999). "CS exposure—clinical effects and management". Journal of Accident & Emergency Medicine. 16 (3): 168–70. doi:10.1136/emj.16.3.168. PMC 1343325. PMID 10353039.
  13. Smith J, Greaves I (March 2002). "The use of chemical incapacitant sprays: a review" (PDF). The Journal of Trauma. 52 (3): 595–600. doi:10.1097/00005373-200203000-00036. PMID 11901348.
  14. Oksala A, Salminen L (December 1975). "Eye injuries caused by tear-gas hand weapons". Acta Ophthalmologica. 53 (6): 908–13. doi:10.1111/j.1755-3768.1975.tb00410.x. PMID 1108587.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Kim YJ, Payal AR, Daly MK (2016). "Effects of tear gases on the eye". Survey of Ophthalmology. 61 (4): 434–42. doi:10.1016/j.survophthal.2016.01.002. PMID 26808721.
  16. 16.0 16.1 Yeung MF, Tang WY (December 2015). "Clinicopathological effects of pepper (oleoresin capsicum) spray". Hong Kong Medical Journal. 21 (6): 542–52. doi:10.12809/hkmj154691. PMID 26554271.
  17. 17.0 17.1 Chau JP, Lee DT, Lo SH (August 2012). "A systematic review of methods of eye irrigation for adults and children with ocular chemical burns". Worldviews on Evidence-Based Nursing. 9 (3): 129–38. doi:10.1111/j.1741-6787.2011.00220.x. PMID 21649853.
  18. Carron PN, Yersin B (June 2009). "Management of the effects of exposure to tear gas". BMJ. 338: b2283. doi:10.1136/bmj.b2283. PMID 19542106.
  19. Brvar M (February 2016). "Chlorobenzylidene malononitrile tear gas exposure: Rinsing with amphoteric, hypertonic, and chelating solution". Human & Experimental Toxicology. 35 (2): 213–8. doi:10.1177/0960327115578866. PMID 25805600.
  20. Viala B, Blomet J, Mathieu L, Hall AH (July 2005). "Prevention of CS 'tear gas' eye and skin effects and active decontamination with Diphoterine: preliminary studies in 5 French Gendarmes". The Journal of Emergency Medicine. 29 (1): 5–8. doi:10.1016/j.jemermed.2005.01.002. PMID 15961000.
  21. "Who, What, Why: How dangerous is tear gas?". BBC. 25 November 2011. สืบค้นเมื่อ 31 May 2017.
  22. นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252