ข้ามไปเนื้อหา

เขตราษฎร์บูรณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตราษฎร์บูรณะ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Rat Burana
สะพานพระราม 9 และอาคารสำนักงานใหญ่เดิมของธนาคารกสิกรไทย (มุมมองจากฝั่งพระนคร)
สะพานพระราม 9 และอาคารสำนักงานใหญ่เดิมของธนาคารกสิกรไทย (มุมมองจากฝั่งพระนคร)
คำขวัญ: 
ราษฎร์รัฐร่วมใจ ชมสมุนไพรในเมือง
ลื่อเลื่องภาคเกษตรกรรม ก้าวล้ำภาคอุตสาหกิจ เนรมิตจิตรกรรมฝาผนัง เกจิดังหลวงปู่โมหลวงปู่พริ้ง ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งหลวงพ่อหินแดง เชิญชมแหล่งอาหารหลากรส
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตราษฎร์บูรณะ
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตราษฎร์บูรณะ
พิกัด: 13°40′56″N 100°30′20″E / 13.68222°N 100.50556°E / 13.68222; 100.50556
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด15.782 ตร.กม. (6.093 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด75,534[1] คน
 • ความหนาแน่น4,786.09 คน/ตร.กม. (12,395.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10140
รหัสภูมิศาสตร์1024
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ถนนราษฎร์บูรณะ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/ratburana
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ราษฎร์บูรณะ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เขตราษฎร์บูรณะตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ท้องที่เขตราษฎร์บูรณะเดิมเป็นเขตแดนหนึ่งของกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาเมืองนี้เป็นราชธานี ต่อมาในช่วงปฏิรูปการปกครอง บริเวณนี้ได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอราษฎร์บูรณะ ขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี

อำเภอราษฎร์บูรณะได้ถูกโอนไปเป็นเขตปกครองของจังหวัดนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) อยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่งจังหวัดนี้ถูกยุบลงเป็นอำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดธนบุรีอีกครั้ง

และภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ด้วย อำเภอราษฎร์บูรณะจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตราษฎร์บูรณะ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตออกไปจัดตั้งเป็นเขตทุ่งครุและโอนพื้นที่บางส่วนของเขตไปขึ้นกับเขตจอมทอง

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

เขตราษฎร์บูรณะแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
ราษฎร์บูรณะ Rat Burana
6.716
29,022
4,321.32
แผนที่
2.
บางปะกอก Bang Pakok
9.066
46,512
5,130.38
ทั้งหมด
15.782
75,534
4,786.09

ประชากร

[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 - เปิดใช้สะพานพระราม 9 เป็นสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 โดยมีกิจกรรมวิ่งมาราธอนลอยฟ้าในเวลา 06.00 น. ในวันที่ทำพิธีการเปิด โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 85,000 คน และในเวลาค่ำ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำประชาชนจุดเทียนชัยถวายพระพรพร้อมกับร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และมีการแสดงพลุดอกไม้ไฟอย่างตระการตา[3]

การคมนาคม

[แก้]

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะได้แก่

ถนนสายรอง มีทั้งหมด 3 สายได้แก่ ถนนราษฎร์พัฒนา ซอยสุขสวัสดิ์ 13 และถนนจอมทองบูรณะ

เขตราษฎร์บูรณะมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แห่งเดียว คือสะพานพระราม 9 ซึ่งเชื่อมระหว่างแขวงราษฎร์บูรณะกับแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา

สถานที่สำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
  2. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  3. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ). กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554. กรุงเทพฯ : โพสต์ พับลิชชิง, มีนาคม 2555. 366 หน้า. หน้า 256. ISBN 978-974-228-070-3

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]