วัดประเสริฐสุทธาวาส
วัดประเสริฐสุทธาวาส | |
---|---|
วัดประเสริฐสุทธาวาส | |
![]() | |
ที่ตั้ง | เลขที่ 10 ถนนราษฎร์พัฒนา แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
พระประธาน | หลวงพ่อสร้อยสุวรรณรัตน์ |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงพ่อท้าวสุวรรณ |
เจ้าอาวาส | พระครูปลัดพรหมจริยวัฒน์ (ประวิทย์ ฐิตวีโร) |
![]() |
วัดประเสริฐสุทธาวาส เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร
ประวัติ[แก้]
วัดสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอุโบสถเป็นรูปเก๋งจีน คาดว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดกลาง เหตุเพราะวัดตั้งอยู่กึ่งกลางของลำคลอง (อีกวัดเรียก วัดนอก หรือ วัดราษฎร์บูรณะ เพราะตั้งอยู่ตรงปากคลอง
ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 มีเรื่องเล่าว่า มีชายชาวจีนซึ่งเลี้ยงหมูในแถบนั้น เมื่อพายเรือมาเก็บผักบุ้งมาเลี้ยงหมูได้ไปพบเงินเข้า 3 ตุ่ม จึงอธิษฐานว่า ถ้าได้เงินนี้แล้วไปประกอบอาชีพแล้วร่ำรวยจะกลับมาบูรณะวัด ต่อมาชายชาวจีนคนนั้นร่ำรวย จึงกลับมาบูรณะวัด และได้ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2381 ถือเป็นการบูรณะวัดครั้งแรก สันนิษฐานว่าชายชาวจีนคนนั้นคือ พระประเสริฐวานิช (เจ้าสัวเส็ง เศรษฐบุตร) ต้นสกุลเศรษฐบุตร ซึ่งต่อมาแตกสาแหรกวงศ์ตระกูล เป็น 5 ตระกูล คือ ตระกูลเศรษฐบุตร ตระกูลเสถบุตร ตระกูลภิรมย์ภักดี ตระกูลโปษยะจินดา และตระกูลประนิช วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2382[1]
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2537[2]
อาคารเสนาสนะ[แก้]
พระอุโบสถคล้ายกับเก๋งจีน แถมหน้าบันยังมีรูปพระอ้วนคล้ายพระปู้ไต้โดยหน้าบันชั้นลด ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ โครงสร้างพระอุโบสถครื่องไม้[3] มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีเรื่องราวสามก๊ก เขียนด้วยหมึกจีนสีดำ สันนิษฐานว่าเป็นช่างที่วาดฝีมือเดียวกับวัดราชโอรส พระประธานคือ หลวงพ่อสร้อยสุวรรณรัตน์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่ด้านหลังองค์พระ ปรากฏแผ่นศิลาจารึกของพระประเสริฐวานิช ข้อความจารึกด้วยอักษรจีนตามแนวตั้งจำนวน 1 บรรทัด และอักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ 21 บรรทัด[4]รอบพระอุโบสถเป็นเสมาเดี่ยวทำจากหินทรายแดง
พระวิหารของด้านข้างพระอุโบสถมีพระพุทธรูปประทับ 9 องค์ พระประธานชื่อ หลวงพ่อท้าวสุวรรณ สร้างจากศิลาทรายสีแดงสมัยอู่ทอง พระพักตร์สี่เหลี่ยมพระหนุเป็นลอน เส้นพระศกเม็ดละเอียดและเปลวรัศมี เป็นเปลวแบบสุโขทัยปางสมาธิ วิหารเป็นทรงโบราณแต่ปฏิสังขรณ์ใหม่ หน้าบัน เป็นลวดลายปูนปั้นประดับกระเบื้อง
ภายในวัดประเสริฐสุทธาวาสยังมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตราษฎร์บูรณะ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "มหัศจรรย์ใบดำ ที่วัดประเสริฐสุทธาวาส". Museum Thailand.
- ↑ "ประวัติและความสำคัญของวัดวัดประเสริฐสุทธาวาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2020-08-04.
- ↑ ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล. "วัดประเสริฐสุทธาวาส วัดไทยที่สร้างโดยชาวจีน กับโครงสร้างสไตล์ศาลเจ้า". เดอะคลาวด์.
- ↑ "จารึกการบูรณะวัดประเสริฐสุทธาวาส". ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย.
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: วัดประเสริฐสุทธาวาส |