อำเภอบ้านผือ
อำเภอบ้านผือ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ban Phue |
พระพุทธบาทบัวบก มีความหมายว่า รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าที่ประทับไว้ในสถานที่ที่มีบัวบกขึ้นอยู่ เดิมชื่อวัดพระบาทภูกู่เวียง หรือวัดกู่เวียงเป็นวัดร้างเก่าแก่สมัยทวารวดี ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท | |
คำขวัญ: แหล่งอารยธรรมภูพระบาท พระมหาธาตุเจดีย์ บารมีหลวงพ่อนาค หลายหลากพระเถระดีศรีบ้านผือ เลื่องลือวัฒนธรรมไทยพวน | |
แผนที่จังหวัดอุดรธานี เน้นอำเภอบ้านผือ | |
พิกัด: 17°41′15″N 102°28′22″E / 17.68750°N 102.47278°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุดรธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 991.2 ตร.กม. (382.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 109,811 คน |
• ความหนาแน่น | 110.79 คน/ตร.กม. (286.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 41160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4117 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบ้านผือ ถนนชนบทบำรุง ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 41160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บ้านผือ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี เป็นที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ในอดีตมีอาณาเขตพื้นที่ขนาดใหญ่ราว 3,065.06 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอบ้านผือ อำเภอน้ำโสม[1][2][3] อำเภอนายูง[4] อำเภอกุดจับ (ยกเว้นตำบลเชียงเพ็ง)[5] จังหวัดอุดรธานี และอำเภอท่าบ่อ (ตำบลโคกคอน ตำบลบ้านว่าน และตำบลนาข่า)[6] จังหวัดหนองคาย
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอบ้านผือมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนายูง อำเภอสังคม และอำเภอโพธิ์ตาก (จังหวัดหนองคาย)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอท่าบ่อ อำเภอสระใคร (จังหวัดหนองคาย) อำเภอเพ็ญ และอำเภอเมืองอุดรธานี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกุดจับ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสุวรรณคูหา (จังหวัดหนองบัวลำภู) และอำเภอน้ำโสม
ประวัติ
[แก้]รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านท่าบ่อเกลือเป็น เมืองท่าบ่อ เมื่อปี พ.ศ. 2438 มีพระกุประดิษฐ์บดีเป็นเจ้าเมืองตลอดชีวิต เขตเดิมมี "นายเส้น" (เป็นตำแหน่งคล้ายกับนายอำเภอและกำนัน) รวม 6 เส้น มีบรรดาศักดิ์เป็นขุน เช่น ขุนท่าบ่อบำรุง นายเส้นท่าบ่อ และขุนวารีรักษา นายเส้นน้ำโมง เป็นต้น จนกระทั่งเจ้าเมืองท่าบ่อถึงแก่อสัญกรรม จึงยุบเมืองท่าบ่อลงเป็น อำเภอท่าบ่อ และยุบนายเส้นท่าบ่อ น้ำโมง โพนสา ลงเป็นตำบลและแยกเป็น 10 ตำบลดังปัจจุบัน ส่วนอีก 3 เส้นก็ได้รับการยกฐานะและแยกออกไป คือ เส้นพานพร้าวเป็นอำเภอศรีเชียงใหม่ เส้นแก้งไก่เป็นอำเภอสังคม เส้นบ้านผือเป็นอำเภอบ้านผือและถูกโอนไปขึ้นกับเมืองอุดรธานี
มีเรื่องเล่าสืบต่อมาว่าเดิมทีบริเวณแห่งนี้มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งชื่อ หนองผือ (หนองปรือ) เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันก็คงมีอยู่ แต่ขนาดเล็กลงไป ประชาชนในบริเวณนี้และใกล้เคียงได้อาศัยน้ำจากหนองนี้เป็นประจำ เห็นจะเป็นประโยชน์ด้วย หนองน้ำนี้มีประโยชน์ต่อชาวบ้าน การตั้งหมู่บ้านจึงได้ตั้งตามชื่อหนองว่า หนองผือ นานวันก็เพี้ยนเป็น บ้านผือ จนปัจจุบัน ตามหลักฐานปรากฏว่า ที่ว่าการอำเภอบ้านผือ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2447 บริเวณบ้านถ่อน หมู่ 3 ตำบลบ้านผือ โดยมีพระบริบาลภูมิเขตต์ เป็นนายอำเภอคนแรก อยู่ได้ 18 ปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2473 ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านศรีสำราญ หมู่ 8 ตำบลบ้านผือ เหตุที่ย้ายเนื่องมาจากบริเวณดังกล่าวขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค โดยก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอบ้านผือเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ ซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2513 จนกระทั่งวันที่ 12 ตุลาคม 2535 จึงได้เปิดใช้อาคารหลังปัจจุบัน
- วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2464 โอนพื้นที่ตำบลโคกคอนจากอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ไปขึ้นกับอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และโอนพื้นที่ตำบลกลางใหญ่จากอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มาขึ้นกับอำเภอบ้านผือ[6]
- วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2468 ยุบตำบลข้าวสาร และแยกเอาหมู่บ้านไปรวมขึ้นกับตำบลจำปาโมงและตำบลบ้านเม็ก[7]
- วันที่ 16 พฤษภาคม 2469 โอนพื้นที่ตำบลกุดจับจากอำเภอบ้านผือไปขึ้นกับอำเภอหมากแข้ง[5]
- วันที่ 14 มีนาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ที่ 8, 10, 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลเขือน้ำ ไปขึ้นกับตำบลบ้านเม็ก และโอนพื้นที่หมู่ที่ 2, 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลจำปาโมง ไปขึ้นกับตำบลบ้านผือ[8]
- วันที่ 26 มกราคม 2496 ตั้งตำบลนายูง แยกออกจากตำบลน้ำโสม[4]
- วันที่ 28 ธันวาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านผือในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านผือ[9]
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 2501 ตั้งตำบลข้าวสาร แยกออกจากตำบลบ้านเม็ก[10]
- วันที่ 1 ตุลาคม 2509 ตั้งตำบลหนองแวง แยกออกจากตำบลน้ำโสม[11]
- วันที่ 12 พฤษภาคม 2512 แยกพื้นที่ตำบลน้ำโสม ตำบลหนองแวง และตำบลนายูง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอน้ำโสม ขึ้นกับอำเภอบ้านผือ[1][2]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2512 ตั้งตำบลหายโศก แยกออกจากตำบลบ้านผือ ตั้งตำบลคำบง แยกออกจากตำบลเขือน้ำ[12]
- วันที่ 1 กันยายน 2513 ตั้งตำบลนางัว แยกออกจากตำบลหนองแวงและตำบลน้ำโสม[13]
- วันที่ 30 กันยายน 2514 ตั้งตำบลนาแค แยกออกจากตำบลนายูง[14]
- วันที่ 6 พฤศจิกายน 2515 จัดตั้งสุขาภิบาลนางัวในท้องที่บางส่วนของตำบลนางัว[15]
- วันที่ 29 มีนาคม 2517 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอน้ำโสมเป็นอำเภอน้ำโสม[3]
- วันที่ 17 ตุลาคม 2518 จัดตั้งนิคมสร้างตนเองในท้องที่อำเภอบ้านผือ กิ่งอำเภอกุดจับ อำเภอเมืองอุดรธานี และอำเภอหนองวัวซอ[16]
- วันที่ 30 กันยายน 2528 ตั้งตำบลคำด้วง แยกออกจากตำบลกลางใหญ่[17]
- วันที่ 15 สิงหาคม 2534 ตั้งตำบลหนองหัวคู แยกออกจากตำบลคำบง[18]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2536 ตั้งตำบลบ้านค้อ แยกออกจากตำบลบ้านผือ[19]
- วันที่ 21 สิงหาคม 2538 ตั้งตำบลหนองแวง แยกออกจากตำบลข้าวสาร[20]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านผือเป็นเทศบาลตำบลบ้านผือ[21]
รายชื่อนายอำเภอ
[แก้]อำเภอบ้านผือ มีนายอำเภอมาแล้ว 37 คน
ชื่อนายอำเภอ | |
รายชื่อ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1.พระบริบาลภูมิเขตต์ | พ.ศ. 2449-2456 |
2.ร้อยเอก หลวงพิชัย | พ.ศ. 2456-2459 |
3.ขุนวิจารณ์นราภิรักษ์ | พ.ศ. 2459-2464 |
4.ขุนวิจิตรนราภิบาล | พ.ศ. 2464 |
5.ร้อยอากาศเอก หลวงนิคมพรรณาเขตต์ | พ.ศ. 2464-2468 |
6.ร้อยอากาศเอก หลวงชนบทบำรุง | พ.ศ. 2468-2476 |
7.หม่อมเจ้าชนม์เจริญ ชมภูนุช | พ.ศ. 2476-2478 |
8.หลวงพินัยทัณฑสิทธิ | พ.ศ. 2478-2480 |
9.ขุนประสาทนรสุข | พ.ศ. 2480-2486 |
10.นายประเสริฐ จริยา | พ.ศ. 2487-2490 |
11.นายประยูร จามิกร | พ.ศ. 2490 |
12.นายมาก ณ นครพนม | พ.ศ. 2490 |
13.นายเถียร นาครวาจา | พ.ศ. 2490-2497 |
14.ร้อยตำรวจโท ถ่าย สุวรรณกูฏ | พ.ศ. 2497-2504 |
15.นายสนิท สัมฤทธิ์ | พ.ศ. 2504-2506 |
16.นายเมธี ส.สุภาพ | พ.ศ. 2506-2509 |
17.นายสนิท สัมฤทธิ์ | พ.ศ. 2509-2514 |
18.นายสงคราม บำรุงชาติ | พ.ศ. 2514-2516 |
19.นายถนอม แสงชมภู | พ.ศ. 2516-2520 |
20.นายสมประสงค์ ปริกัมศีล | พ.ศ. 2520-2521 |
21.ร้อยเอก เจริญ ตัณฑะลุวรรณะ | พ.ศ. 2521-2522 |
22.นายประจวบ วุฒิเจริญ | พ.ศ. 2522-2527 |
23.นายบรรดาศักดิ์ บุญบันดล | พ.ศ. 2527-2532 |
24.นายวิชัย บุนนาค | พ.ศ. 2532-2535 |
25.นายธนู สุขฉายา | พ.ศ. 2535-2539 |
26.นายยงขจร หนองหารพิทักษ์ | พ.ศ. 2539-2540 |
27.นายพิทยา สุนทรวิภาต | พ.ศ. 2540-2544 |
28.นายนาวี อรรถวิภาค | พ.ศ. 2544-2548 |
29.นายจิรศักดิ์ ศรีคชา | พ.ศ. 2548-2553 |
30.นายชาญชัย เขาวงศ์ทอง | พ.ศ. 2553-2554 |
31.นายสฤษดิ์ ไสยโสภณ | พ.ศ. 2554–2555 |
32.นายเมฑา ศิริรำไพวงษ์ | พ.ศ. 2555–2558 |
33.นายภูมิชัย ราชพิตร ภักดีวิเศษ | พ.ศ. 2558–2560 |
34.นายณฐพล วิถี | พ.ศ. 2560–2561 |
35.นายชัชวาลย์ ปทานนท์ | พ.ศ. 2561–2563 |
36.นายสามารถ หมั่นนอก | พ.ศ. 2563–2565 |
37.นายวิมล สุระเสน | พ.ศ. 2565-2566 |
38.นายจรูญ บุหิรัญ | พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน |
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอบ้านผือแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 160 หมู่บ้าน
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (พ.ศ. 2566)[22] |
---|---|---|---|---|
1 | บ้านผือ | Ban Phue | 14 | ? |
2 | หายโศก | Hai Sok | 17 | ? |
3 | เขือน้ำ | Khuea Nam | 15 | ? |
4 | คำบง | Kham Bong | 10 | ? |
5 | โนนทอง | Non Thong | 11 | ? |
6 | ข้าวสาร | Khao San | 10 | ? |
7 | จำปาโมง | Champa Mong | 17 | ? |
8 | กลางใหญ่ | Klang Yai | 13 | ? |
9 | เมืองพาน | Mueang Phan | 16 | ? |
10 | คำด้วง | Kham Duang | 10 | ? |
11 | หนองหัวคู | Nong Hua Khu | 11 | ? |
12 | บ้านค้อ | Ban Kho | 6 | ? |
13 | หนองแวง | Nong Waeng | 10 | ? |
รวม | 164 | ? |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอบ้านผือประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบ้านผือ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านผือ
- เทศบาลตำบลคำบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำบงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลกลางใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกลางใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านผือ (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านผือ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหายโศก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหายโศกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขือน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขือน้ำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวสาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลข้าวสารทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจำปาโมงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองพานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำด้วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหัวคูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านค้อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (44 ง): 1728. May 20, 1969. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21.
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แก้ไขประกาศแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (67 ง): 2277. July 22, 1969. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21.
- ↑ 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาวง อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอนตาล อำเภอชาติตระการ อำเภอภูเรือ อำเภอเคียนซา อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ และอำเภอน้ำยืน พ.ศ. ๒๕๑๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (54 ง): (ฉบับพิเศษ) 30-33. March 28, 1974. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (13 ง): 563–564. February 10, 1953.
- ↑ 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลกุดจับ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งโอนไปรวมขึ้นอำเภอหมากแข้งจังหวัดเดียวกัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 190. May 16, 1926.
- ↑ 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลอุดร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 551–570. February 12, 1921.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลข้าวสาร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งยุบและแยกไปรวมขึ้นตำบลจำปาโมงและตำบลบ้านเม็ก ท้องที่อำเภอเดียวกัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 341. February 21, 1925.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในจังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4228–4229. March 20, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 57-58. January 26, 1957.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กับอำเภอกุมภวาปี และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (75 ง): 3052–3061. December 16, 1958.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (88 ง): 3050–3052. October 9, 1966.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี อำเภอบ้านผือ และอำเภอนากลาง จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (73 ง): 2401–2409. August 5, 1969.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองหาน อำเภอกมุภวาปี อำเภอศรีบุญเรือง และกิ่งอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (92 ง): 2905–2919. October 6, 1970.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภาวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอเพ็ญ อำเภอโนนสัง อำเภอบ้านดุง กิ่งอำเภอศรีธาตุ และกิ่งอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (120 ง): 3137–3157. November 9, 1971.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนางัว กิ่งอำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (5 ง): 85–86. January 16, 1973.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอบ้านผือ กิ่งอำเภอกุดจับ อำเภอเมืองอุดรธานี และอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (215 ก): (ฉบับพิเศษ) 35-37. October 16, 1975.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอศรีธาตุ อำเภอหนองวัวซอ อำเภอสุวรรณคูหา อำเภอวังสามหมอ อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ และอำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 32-55. October 10, 1986.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเพ็ญ และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (161 ง): (ฉบับพิเศษ) 64-75. September 13, 1991.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองอุดรธานีและอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (139 ง): (ฉบับพิเศษ) 16-21. September 17, 1993.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 1–6. November 9, 1995.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpopulation