อำเภอนาหมื่น
อำเภอนาหมื่น | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Na Muen |
เรือข้ามฟากในเขื่อนสิริกิติ์ | |
คำขวัญ: กราบพระแก้ว แอ่วปากนาย มากมายมะขามหวาน ไหว้ศาลหลักเมือง ลือเลื่องน้ำตกสวย | |
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอนาหมื่น | |
พิกัด: 18°11′22″N 100°39′32″E / 18.18944°N 100.65889°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | น่าน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 785.608 ตร.กม. (303.325 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 14,256 คน |
• ความหนาแน่น | 18.15 คน/ตร.กม. (47.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 55180 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5510 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอนาหมื่น ถนนเจ้าฟ้า ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน 55180 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
นาหมื่น (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของจังหวัด
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน มีประชากรตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ปี มาแล้ว อยู่ทางใต้สุดของจังหวัดน่าน ระยะทางห่างจากจังหวัดประมาณ ๘๐ กิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นภูเขา และที่ราบบริเวณหุบเขา มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาน้อย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอฟากท่า (จังหวัดอุตรดิตถ์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอน้ำปาดและอำเภอท่าปลา (จังหวัดอุตรดิตถ์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองแพร่และอำเภอร้องกวาง (จังหวัดแพร่)
ประวัติ
[แก้]ท้องที่อำเภอนาหมื่นแต่เดิมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอนาน้อย ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลบ่อแก้ว ตำบลนาทะนุง และตำบลเมืองลี ออกจากการปกครองของอำเภอนาน้อย รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอนาหมื่น[1] ต่อมาในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกจากการปกครองของตำบลเมืองลี รวมตั้งเป็นตำบลปิงหลวง[2] และในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะให้เป็น อำเภอนาหมื่น จนถึงปัจจุบัน[3]
- เมืองหิน เมืองลี
ในอดีตนั้นได้แบ่งเป็น ๒ เมืองคือ ๑.เมืองหิน ประกอบด้วยตำบลบ่อแก้ว ตำบลนาทะนุง และยังรวมไปถึงตำบลสถาน ที่เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอนาน้อยในปัจจุบันด้วย ๒.เมืองลี ประกอบด้วยตำบลเมืองลีกับตำบลปิงหลวง ซึ่งทั้งสองเมืองนี้เป็นเพียงเมืองเล็กๆที่อยู่ทางตอนใต้ของเมืองน่านเท่านั้นแต่มีความสำคัญคือเป็นเมืองด่านใต้ของเมืองน่านในสมัยที่ยังมีเจ้าเมืองปกครองอยู่ได้มีด่านตรวจคนเข้าเมืองอยู่ที่ บ้านนาทะนุง เมืองหินและในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้าศึกพวกเงี้ยวเข้าตีเมืองแพร่นั้น ทางเมืองน่านก็ได้ทำการตั้งด่านอยู่ที่ดอยผาไก่ขัน เมืองลี ดังนั้นเมืองทั้งสองจึงเป็นเมืองด่านใต้ของเมืองน่าน[4]
- บ้านหลักหมื่น
ที่มาของคำว่า “อำเภอนาหมื่น” แต่เดิมหมู่บ้านตั้งอยู่ ตำบลนาทะนุง สาเหตุที่ชื่อบ้านหลักหมื่น ได้มีเล่าสืบต่อกันมาว่า มีเสาหลักกิโลเมตรที่ทางราชการมาปักไว้แต่ไม่ทราบว่า พ.ศ.ใด และยังบอกว่าเสานี้ คือ “เสาแดนเมือง” เป็นหลักที่หนึ่งหมื่น แต่ไม่ทราบว่าเสาต้นที่หนึ่งเริ่มนับมาจากที่ใด หมู่บ้านดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า “บ้านหลักหมื่น” เป็นต้นมา เสาหลักกิโลเมตรที่หนึ่งหมื่นดังกล่าว เป็นเสาไม้เนื้อแข็ง สี่เหลี่ยม ขนาด ๑๐ x ๑๐ นิ้ว ยาว ๓ เมตร รอบฐานมีเสาไม้ขนาด ๕ x ๕ นิ้ว ยาว ๑.๕ เมตร ฝังรอบอีก ๕ ต้น กาลเวลาล่วงเลยมานาน เสาหลักที่หมื่นได้ล้มลง และต่อมาโดยการนำของท่านนายอำเภอนาหมื่นสมัยนั้น คือ นายดิเรก ถึงฝั่ง พร้อมราษฎรในอำเภอ นำเสาแดนเมืองมาปักไว้ที่ที่ว่าการกิ่งอำเภอนาหมื่น และตั้งศาลขึ้นมา เรียกกันทั่วไปว่า “ศาลหลักเมือง” ตั้งอยู่หน้าที่ว่าการอำเภอนาหมื่น และเป็นที่นับถือ ยึดเหนี่ยวรวมน้ำใจของชาวอำเภอนาหมื่นจนถึงปัจจุบันนี้ ชื่ออำเภอนาหมื่นได้มาจากหลักเมืองนาหมื่น ถือว่าเป็นสิริมงคล ทางผู้ใหญ่และชาวบ้านเห็นฟ้องกันว่าต้องการให้สอดคล้องกับอำเภอนาน้อย อันเนื่องจากเคยเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอนาน้อย และเห็นควรให้ชื่อดีเด่นกว่าของเดิม ซึ่ง นาน้อย หมายถึงที่นามีน้อย แต่คำว่า นาหมื่น หมายถึงมีที่นามากเป็นหมื่นไร่[5]
ประเพณีและวัฒนธรรม
[แก้]ในอดีตได้มีผู้คนนำเอาเสาหลักแดนเมืองมาปักฝังไว้ เมื่อวันเดือนปีใดไม่ทราบ เป็นหลักที่หนึ่งหมื่นที่หมู่บ้านนี้พอดี แต่ไม่รู้ว่าเป็นการวัดโดยลักษณะใดและวัดมาจากไหน ลักษณะของเสาหลักหมื่นดังกล่าวนั้น เป็นเสาไม้เนื้อแข็งสี่เหลี่ยมขนาด ๑๐ ´ ๑๐ นิ้ว ยาว ๓ เมตร รอบฐานมีเสาไม้ขนาด ๕ ´ ๕ นิ้ว ยาวเมตรครึ่งฝังรอบ อีกสี่ด้าน บริเวณเสากลางมีปรากฏร่องรอยการจารึกอักษรขอมเมืองไว้ด้วย แต่อยู่ในสภาพเลือนลาง อ่านจับใจความไม่ได้ อีกทั้งยังมีร่องรอยการถูกฟักฟันด้วยของมีคมเต็มไปหมด ด้วยเหตุที่หมู่บ้านนี้มีเสาหลักหมื่นตั้งอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านหลักหมื่น สำหรับเสาแดนเมืองหลักหมื่นเวลาได้ผ่านเลยมาเป็นเวลานานเสาหลักได้ล้มลง ต่อมาบรรดาประชาชนชาวอำเภอนาหมื่น นำโดยนายดิเรก ถึงฝั่ง หัวหน้ากิ่งอำเภอนาหมื่นในขณะนั้น ได้นำเอาเสาแดนเมืองเก่ามาฝังใว้ตรงที่ทำการกิ่งอำเภอนาหมื่นแล้วสร้างเป็นศาลหลักเมืองขึ้นมา เรียกว่าศาลหลักเมืองนาหมื่น ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวอำเอนาหมื่นมาจนถึงปัจจุบัน | ||
พระธาตุน้ำอูน ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๕๔ ซึ่งได้ใช้งบประมาณในการก่อสร้างด้วยการบริจาคจากศรัทธาของ วัดน้ำอูนและผู้มีจิตศรัทธา เหตุผลที่พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันก่อสร้างก็เพื่อให้คณะศรัทธาวัดน้ำอูนได้สักการะบูชา เนื่องจากในพระธาตุได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คณะศรัทธามีความเห็นร่วมกันว่าจะร่วมกันทำบุญสักการะพระธาตุในวันมาฆบูชา และมีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรกและได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อมกันถึง ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งพระจันทร์เสวกมาฆฤกษ์ ๒. มีพระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ๔. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา และเพราะเกิดเหตุ ๔ ประการข้างต้นทำให้วันมาฆบูชาเรียกอีกอย่างว่า วันจาตุรงคสันนิบาต[6]
| ||
เลี้ยงอาญาปัว ในสมัยอดีตกาลการก่อตั้งตำบลเมืองลีเริ่มแรกโดยปกติชุมชนเริ่มแรกเป็นชนเผ่าลัวะขมุที่เดินทางมาจากทางสายเหนือคือ อำเภอปัว เข้ามาเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเล็กๆ แต่สิ่งที่ผู้คนในสมัยนั้นได้นำมาคือ ระบบการปกครองผู้นำชนเผ่า หรือหัวหน้าหมู่บ้าน สิ่งที่สามารถยึดเหนี่ยวความสัมพันธ์ในชุมชนคือ ต้องมีสิ่งที่ นำความเชื่อถือ ศักดิ์สิทธิ์ เคารพบูชา เป็นหลักในการดำรงชีวิต ในปัจจุบันการสักการบูชาอาชญาปัวมีการกำหนดการในการ บนบานศาลกล่าวไว้ ๒ ครั้ง คือ เดือน ๔ เหนือ ขึ้น ๑๒ ค่ำ และ แรม ๑๒ ค่ำ หรือเรียกตามภาษาพื้นบ้าน (การแก้บนของคนใน) เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๑๒ ค่ำ – แรม ๑๒ ค่ำ ถือเป็นรอบการแก้บนโดยปกติ การแก้บนโดยทั่วไปสามารถบนบานศาลกล่าวได้ ทั้งเงิน(ของแดง) หมู(ลักษณะสีดำเท่านั้น) และไก่ ก่อนที่อาชญาปัวจะมาเข้าทรงจะมีช่างซอ ช่างฟ้อน บรรเลงเพลงเพื่ออัญเชิญให้อาชญาปัวมาเข้าทรงที่ร่างทรง ร่างทรงของอาชญาปัวจะเป็นผู้หญิงและการทำพิธีสักการะจะทำในช่วงบ่ายของวันนั้น ๆ เมื่อเสร็จพิธีแก้บนแล้วจะมีการทำบายศรีสู่ขวัญให้กับร่างทรง โดยเชื่อกันว่าเป็นการเรียกขวัญของร่างทรงให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว หลังจากที่ขวัญได้ออกจากร่างไปในช่วงที่อาชญาปัวมาเข้าทรง
เลี้ยงอาญาหลวง สมัยอดีตกาล อาชญาหลวงเริ่มมีบทบาทมากในการให้ ความเคารพเพราะอาชญาหลวงมีลักษณะการปกครอง ที่กว้างขวางทั้งในพื้นที่ของตำบลเมืองลีและตำบลปิงหลวง ลักษณะการปกครองมีทั้งการรวมตัวของบรรดาญาติพี่น้องจากชุมชนต่างๆ เหมือนการรวมญาติครั้งใหญ่ อาชญาหลวงจึงมีศาล (โฮงอาชญา) หลายแห่ง คือ ที่ตำบลเมืองลี ตั้งอยู่ที่บ้านนาหมอ หมู่ที่ ๓ ตำบลปิงหลวง ตั้งอยู่ที่ บ้านปิงหลวง หมู่ที่ ๒ ในอดีตจนถึงปัจจุบันการบนบานศาลกล่าวจะแก้บนโดยเป็นเงิน (ของแดง) หรือบางคนบนบานโดยใช้สัตว์ใหญ่ (ควาย)[7] | ||
ตำบลเมืองลี มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพบูชาและมีพิธีทางศาสนาสืบเนื่องกันมานานแล้วก็คือ ไหว้ผาช้าง จะมีการจัดงานขึ้นทุกๆปี เพื่อเป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตำบลเมืองลี และเป็นการสืบสานวัฒนธรรมจารีตประเพณีพื้นบ้าน ซึ่งจะมีการจุดบั้งไฟบูชาเพื่อเป็นการสักการะผาช้าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะทำให้ ฝนตกตามฤดูกาล พืชผลไร่นาอุดมสมบูรณ์ ประเพณีไหว้สาผาช้างจะจัดขึ้นในวันวิสาขบูชาของทุกปี เนื่องจากวันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือการดับขันธ์ของพระพุทธเจ้า[8] | ||
การสืบชะตาข้าว จะจัดขึ้นภายหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวขึ้นยุ้งฉาง เพื่อความเป็นสิริมงคลและในพืชผลเจริญงอกงาม และเพื่อประชาชนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้าว และการเพาะปลูกข้า ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของชุมชน รวมถึงให้ประชาชนในตำบลได้เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมอันดีร่วมกัน พิธีนี้เป็นพิธีมงคลที่สำคัญประการหนึ่ง จึงต้องหาวันที่เป็นมงคลก่อน เชื่อว่าถ้าทำพิธีในวันที่ไม่เป็นมงคล ขวัญข้าวจะไม่มารับเครื่องสังเวย อนึ่งการสืบชะตาข้าวเป็นพิธีกรรมในการเรียกขวัญข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเป็นการขอขมาและขอบคุณแม่โพสพหรือเทพีแห่งข้าว และยังเป็นพิธีที่เชื่อกันว่าจะทำให้ข้าวไม่หายและหมดไปจากยุ้งฉางเร็วอีกด้วย
|
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอนาหมื่นแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 48 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[10] |
---|---|---|---|---|---|
1. | นาทะนุง | Na Thanung | 17 | 4,766 | |
2. | บ่อแก้ว | Bo Kaeo | 14 | 4,458 | |
3. | เมืองลี | Mueang Li | 7 | 1,929 | |
4. | ปิงหลวง | Ping Luang | 10 | 2,927 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอนาหมื่นประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบ่อแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาทะนุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาทะนุงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองลีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปิงหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปิงหลวงทั้งตำบล
การคมนาคม
[แก้]- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1026 (เวียงสา-นาน้อย-นาหมื่น)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1339 (นาหมื่น-น้ำปาด)
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ศน.6(ปากนาย) | หมู่บ้านประมงปากนาย | ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น น่าน 55180 | |||
แพขนส่งยานต์ยนต์ | ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น น่าน 55180 | ||||
แพอาหารสินไท | ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น น่าน 55180 | ||||
แพสองบัว | ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น น่าน 55180 | ||||
จุดชมวิวพระธาตุเขาแสง | ศาลเจ้าพ่อเขาเผือก | ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาหมื่น น่าน 55180 | |||
เขาแสงอาชญาแก้ว | ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาหมื่น น่าน 55180 |
- วังเขียว
- น้ำตกตาดหมอก
- น้ำตกนางวังกวัก
- น้ำตกพระง่าง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาหมื่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (113 ง): 3464. 17 ตุลาคม 2521. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (71): 1374–1376. 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2524.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย ... และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–35. 3 มิถุนายน 2537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-07. สืบค้นเมื่อ 2016-09-30.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-07. สืบค้นเมื่อ 2016-09-30.
- ↑ http://www.muanglee.com/tradition
- ↑ http://www.muanglee.com/tradition
- ↑ http://www.muanglee.com/tradition
- ↑ http://www.muanglee.com/tradition
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.