สถานีศรีเอี่ยม
ศรีเอี่ยม YL17 Si Iam | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนศรีนครินทร์ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°40′03.5″N 100°38′42.1″E / 13.667639°N 100.645028°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล (อีบีเอ็ม) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | YL17 (สายสีเหลือง) SL05 (สายสีเงิน) | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[1] | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีศรีเอี่ยม (อังกฤษ: Si Iam station; รหัส: YL17) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสีเหลือง โดยยกระดับข้ามถนนศรีนครินทร์บริเวณสะพานทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม ในพื้นที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร[2]
ที่ตั้ง
[แก้]สถานีศรีเอี่ยมตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณข้างสะพานทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนศรีนครินทร์กับถนนบางนา-ตราด (เทพรัตน) ในพื้นที่แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร[3]
แผนผัง
[แก้]U3 ชานชาลา |
- | ศูนย์ซ่อมบำรุงเทพรัตน-ศรีเอี่ยม |
ชานชาลา 1 | สายสีเหลือง มุ่งหน้า สำโรง (ศรีลาซาล) | |
ชานชาลา 2 | สายสีเหลือง มุ่งหน้า ลาดพร้าว (ศรีอุดม) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, ทางเชื่อมอาคารจอดแล้วจร |
G ระดับถนน |
– | ป้ายรถประจำทาง, ถนนบางนา-ตราด, วัดศรีเอี่ยม |
รูปแบบ
[แก้]สถานีศรีเอี่ยมมีโครงสร้างแบบชานชาลาด้านข้าง กว้าง 20 เมตร ยาว 110 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง[4]
สถานีแห่งนี้เป็นสถานีที่มีการติดตั้งประแจสับรางเข้า–ออกสถานีไว้ทั้งหมด 4 ชุด (บริเวณทางเข้าสถานี 2 ชุด และปลายสะพานทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม 2 ชุด) เนื่องจากสถานีแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นสถานีชุมทางในการนำขบวนรถเข้า–ออกจากศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของสถานี
ทางเข้า–ออก
[แก้]ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ ได้แก่[5]
- 1 อาคารจอดแล้วจร สถานีศรีเอี่ยม, บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด, ศูนย์ซ่อมบำรุงศรีเอี่ยม, แขวงทางหลวงสมุทรปราการ สำนักงานทางหลวงที่ 13 (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)
- 2, 3 ถนนบางนา-ตราดขาออก (มุ่งหน้าเดอะ ฟอเรสเทียส์, เซ็นทรัล เมกาบางนา, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ), ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม, โรงพยาบาลสัตว์พญาไท 7 สาขาบางนา, อาคารเอไอเอ อีสต์ เกตเวย์
- 4 วัดศรีเอี่ยม, อาคารแอมเพิล ทาวเวอร์ (เอสบี ดีไซน์สแควร์ บางนา), ไทยประกันชีวิต สำนักงานบางนา (ลิฟต์)
สถานที่ใกล้เคียง
[แก้]- วัดศรีเอี่ยม
- โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีเหลือง บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
- สำนักงานย่อยบริหารโครงการเอ็มอาร์ที สายสีเหลือง บริษัท อัลสตอม ทรานสปอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด
- สำนักงานย่อยบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- แขวงทางหลวงสมุทรปราการ สำนักงานทางหลวงที่ 13
- อาคารแอมเพิล ทาวเวอร์ (เอสบี ดีไซน์สแควร์ บางนา)
- ไทยประกันชีวิต สำนักงานบางนา
- อาคารเอไอเอ อีสต์ เกตเวย์
- โรงแรมเมเปิล
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น
[แก้]ในอนาคตสถานีศรีเอี่ยมแห่งนี้ มีแผนเชื่อมต่อกับสถานีศรีเอี่ยมอีกแห่งหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน ช่วงเทพรัตน–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะทำให้สถานีศรีเอี่ยมของสายสีเหลืองเป็นหนึ่งในสองจุดเชื่อมต่อสำคัญที่จะขนส่งผู้โดยสารจากชานเมืองทางทิศตะวันออก เข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันโครงการสายสีเงินอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรับปรุงโครงการและตำแหน่งที่ตั้งสถานี
จุดเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
[แก้]ถนนศรีนครินทร์ (ต่างระดับศรีเอี่ยม)
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
11 (3) | เมกาบางนา | เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ขสมก. | |
145 (3) | เมกาบางนา | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง | ||
206 (3) | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
|||
3-21 (207) (3) | มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง | ||
3-26E (3) | สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ | โรงพยาบาลรามาธิบดี | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
รถเอกชน
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Prayut tries out Bangkok's new monorail". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
- ↑ "3 มิ.ย.นี้ เปิดทดลองรถไฟฟ้า "สีเหลือง" 13 สถานี "สำโรง-หัวหมาก"".
- ↑ "รฟม. ขยายเส้นทางเปิดทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน นี้ เป็นต้นไป จากสถานีภาวนา ถึง สถานีสำโรง ระหว่างเวลา 06.00 น. – 20.00 น." www.mrta.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
- ↑ "โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง". MRTA Official Website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-16.
- ↑ "อัปเดตความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ! 2566". The List.