ข้ามไปเนื้อหา

ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Palaeontological Research and Education Centre, Mahasarakham University
สถาปนา28 มีนาคม พ.ศ. 2545 (22 ปี)
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียง เลขที่ 41 หมู่ 20
ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
เว็บไซต์https://prc.msu.ac.th/

ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา (อังกฤษ: Palaeontological Research and Education Centre, Mahasarakham University) (อักษรย่อ : PRCMSU) เป็นศูนย์วิจัยด้านบรรพชีวินวิทยาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 มีนาคม 2545

ประวัติศูนย์วิจัย

[แก้]

เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสถาบันที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีซากดึกดำบรรพ์มากมายหลายชนิด โดยข้อมูลจากกรมทรพยากรธรณีระบุว่า ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ใน 11 จังหวัด จาก 19 จังหวัดในภาคนี้ ประกอบกับประเทศไทยยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดที่ผลิตบุคลากรทางด้านบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงได้เล็งเห็นว่ามหาวิทยาลัยมีความพร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการรับบทบาทหน้าที่นี้ ทั้งในด้านการวิจัยค้นหาซากดึกดำบรรพ์ ในด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างบุคลากรทางด้านนี้ของประเทศ จึงได้มีการดำเนินการเป็นขั้นตอนเพื่อจัดตั้งศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาขึ้น[1]

ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการประชุมครั้งที่ 3/2545 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2545 มีมติให้จัดตั้งศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา เป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินการในรูปแบบการบริหาร เน้นการจัดการโดยใช้หลักประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มีการเปิดหลักสูตรนานาชาติบรรพชีวินวิทยาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก สังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา

จากการดำเนินการทั้งหมดที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เตรียมความพร้อมเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่เข้ามาสนใจในเรื่องบรรพชีวินวิทยา และเพื่อให้การดำเนินการมีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม การสนับสนุนด้านงบประมาณในระยะเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นโครงการนี้ จึงใคร่ขอเสนอแนะแผนการดำเนินการและงบประมาณที่ใช้ในเบื้องต้นและในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีมติให้จัดตั้งศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา เป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย และพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550 กำหนดให้การบริหารและการดำเนินงานของส่วนงานภายในให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย[2]

หลักสูตร[3]

[แก้]
หลักสูตรที่ได้รับการสนับสนุนการสอนจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

ไม่มีการเรียนการสอน

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาชีววิทยา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาบรรพชีวินวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)

การบริการด้านงานวิจัย

[แก้]

1. ห้องปฏิบัติการด้านบรรพชีวินวิทยา

2. วิทยากรให้ความรู้ด้านบรรพชีวินวิทยา

3. ให้คำปรึกษาด้านการจัดนิทรรศการ

4. ให้บริการด้านการศึกษาและเปรียบเทียบตัวอย่างในงานวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยา

5. ให้คำแนะนำด้านการเขียนบทความวิชาการด้านบรรพชีวินวิทยา

6. ให้บริการยืมอุปกรณ์ภาคสนาม/อุปกรณ์วิทยาศาสตร์/แบบจำลอง ด้านบรรพชีวินวิทยา

7. ห้องสมุดด้านบรรพชีวินวิทยา

8. การรับนักศึกษาฝึกงานด้านบรรพชีวินวิทยา

ผลงานของศูนย์วิจัย

[แก้]

เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2563 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรฯ พร้อมด้วยนายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี น.ส.พรเพ็ญ จันทสิทธิ์ นักธรณีวิทยาชำนาญการ พิพิธภัณฑ์สิรินธร กรมทรัพยากรธรณี และนายมงคล อุดชาชน ผอ.ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมแถลงข่าวการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” อายุกว่า 150 ล้านปี ถูกค้นพบที่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย จ.กาฬสินธุ์ จัดเป็นปลาโบราณที่พบมาตั้งแต่ 417 ล้านปี ส่วนปลาปอดที่พบครั้งนี้มีอายุประมาณ 150 ล้านปี มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถหายใจด้วยปอดร่วมกับการหายใจด้วยเหงือก ซึ่งถูกค้นพบในพื้นที่ ต.ดินจี่ อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ อยู่ในหมวดหินภูกระดึง กลุ่มหินโคราช ยุคจูแรสซิกตอนปลาย มีอายุ 150 ล้านปี ซึ่งต้องขอชื่นชมในความอุตสาหะเจ้าหน้าที่ทุกคน เพราะกว่าเราจะผ่านแต่ละยุคสมัย สัตว์แต่ละชนิดๆในช่วงเวลานั้น เจ้าหน้าที่ได้ค้นพบตั้งแต่ซากชิ้นส่วนเล็กๆ ประกอบจนเป็นตัวใหญ่มาหลากหลายชนิด ซึ่งใช้เวลาไม่น้อยทีเดียว[4]

วันที่ 27 กรกฎาคม 2563 คณะวิจัยโครงการศึกษาความหลากหลายซากดึกดำบรรพ์ปลากระดูกแข็งสมัยไมโอซีน จ. เพชรบูรณ์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนจัดการซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี ประกอบด้วยคณะอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย ดร.อุทุมพร ดีศรี อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มมส. หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วยดร.บูเซียน คาลูฟี (Dr. Bouziane Khalloufi) นักวิจัยศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ผศ.ดร. คมศร เลาห์ประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา และนิสิตภาควิชาชีววิทยา รวมทั้งสิ้น 9 คน ลงพื้นที่ทำการขุดสำรวจชั้นดินบริเวณที่มีการขุดพบฟอสซิลปลาเมื่อปี 2544 ที่ ต.ท่าพล อ.เมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งคณะวิจัยฯได้มีการใช้รถแบ็กโฮเปิดหน้าดินและขุดหลุมสำรวจความลึกราว 3-4 เมตร เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลแนวการวางตัวของชั้นหินและชั้นที่มีการพบฟอสซิลปลาดังกล่าว[5]

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย

[แก้]

รายนามผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้ (เท่าที่มีการบันทึก)

ทำเนียบผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[6]
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ไม่ทราบข้อมูล พ.ศ. 2545 - 2549
2. ไม่ทราบข้อมูล พ.ศ. 2549 - 2552
3. ศ.เรือน สมณะ พ.ศ. 2552 - 2554
4. นายวราวุธ สุธีธร พ.ศ. 2554 - 2558
5. นายวราวุธ สุธีธร พ.ศ. 2558 - 2562
6. นายมงคล อุดชาชน พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

https://prc.msu.ac.th/ เว็บไซต์ศูนย์วิจัย https://msu.ac.th/ เว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เก็บถาวร 2020-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน