ข้ามไปเนื้อหา

รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
สวีเดน: Nobelpriset i fysik
รางวัลสำหรับผลงานที่โดดเด่นสำหรับมนุษยชาติในด้านฟิสิกส์
วันที่10 ธันวาคม 1901; 122 ปีก่อน (1901-12-10)
ที่ตั้งสต็อกโฮล์ม
ประเทศประเทศสวีเดน Edit this on Wikidata
จัดโดยราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน
รางวัล11 ล้านครูนาสวีเดน (2024)[1]
รางวัลแรก1901
ผู้รับรางวัลจอห์น ฮอปฟีลด์ และเจฟฟรีย์ ฮินตัน (2024)
รางวัลมากที่สุดจอห์น บาร์ดีน (2)
เว็บไซต์nobelprize.org

รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (สวีเดน: Nobelpriset i fysik, อังกฤษ: Nobel Prize in Physics) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งใน 5 สาขา ริเริ่มโดยอัลเฟรด โนเบล ตั้งแต่ ค.ศ. 1895 โดยราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์สวีเดน ประเทศสวีเดน เป็นผู้คัดเลือกผู้รับรางวัล ซึ่งมีผลงานวิจัยด้านฟิสิกส์อย่างโดดเด่น มีพิธีมอบเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1901 พิธีมอบรางวัลมีขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเสียชีวิตของโนเบล

รายนามผู้ได้รับรางวัล

[แก้]

พ.ศ. 2444 – 2468 (ค.ศ. 1901 – 1925)

[แก้]
ปี พ.ศ.(ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ [2] หัวข้อ
2444
(1901)
วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน
(Wilhelm Röntgen)
จักรวรรดิเยอรมัน เยอรมนี สำหรับการค้นพบรังสีเอกซ์
2445
(1902)
แฮ็นดริก โลเรินตส์
(Hendrik Antoon Lorentz)
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ "ให้ไว้เพื่อความระลึกถึงผลงานอันเลิศที่พวกเขาได้ฝากไว้ ด้วยการทดลองต่างๆ เกี่ยวกับผลของสภาพแม่เหล็กต่อปรากฏการณ์การแผ่รังสี" ดูเพิ่มเติม ผลกระทบเซมาน
ปีเตอร์ เซมัน
(Pieter Zeeman)
2446
(1903)
อ็องตวน อ็องรี เบ็กแรล
(Antoine Henri Becquerel)
 ฝรั่งเศส "ในการระลึกถึงผลงานอันเยี่ยมที่เขาได้ทำไว้โดยการค้นพบกัมมันตภาพรังสีที่เกิดขึ้นเอง (spontaneous radioactivity)"
ปิแยร์ กูรี
(Pierre Curie)
 ฝรั่งเศส "ในการระลึกถึงผลงานอันเยี่ยมที่พวกเขาได้ให้ไว้โดยงานวิจัยที่พวกเขาทำร่วมกันเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์การแผ่รังสี ที่ค้นพบโดยศาสตราจารย์ อองรี เบ็กเกอเรล"
มารี กูรี
(Marie Skłodowska-Curie)
 โปแลนด์
2447
(1904)
จอห์น วิลเลียม สตรัทท์
(John William Strutt, 3rd Baron Rayleigh)
 สหราชอาณาจักร "สำรับการสืบเสาะค้นหาความหนาแน่นของก๊าซต่างๆ ที่สำคัญมาก และ การค้นพบ อาร์กอน ซึ่งเกี่ยวโยงกับการศึกษาเหล่านี้ของเขา"
2448(1905) ฟิลิปป์ เอดูอาร์ด แอนตัน วอน เลนนาร์ด
(Philipp Eduard Anton von Lenard)
ออสเตรีย-ฮังการี ออสเตรีย-ฮังการี
จักรวรรดิเยอรมัน เยอรมนี
"สำหรับงานเกี่ยวกับ รังสีแคโทดต่างๆของเขา"
2449(1906) โจเซฟ จอน ธอมสัน
(Sir Joseph John Thomson)
 สหราชอาณาจักร "ให้ไว้เพื่อความระลึกถึงคุณอันยิ่งใหญ่ในการสืบเสาะค้นหาทาง ทฤษฎี และ การทดลอง เกี่ยวกับการนำไฟฟ้าด้วยก๊าซต่างๆ"
2450
(1907)
อัลเบิร์ต อับราฮาม ไมเคิลสัน
(Albert Abraham Michelson)
 สหรัฐ/
 โปแลนด์
"สำหรับอุปกรณ์ทัศนศาสตร์ที่มีความแม่นยำ และ การสืบเสาะค้นหาอย่างจำเพาะ และ การวัดผลอย่างเป็นตรรก ซึ่งได้ดำเนินไปด้วยความช่วยเหลือของพวกเขา" ดูเพิ่มเติม การทดลองของไมเคิลสัน-มอร์เลย์
2451
(1908)
กาเบรียล ลิพพ์มานน์
(Jonas Ferdinand Gabriel Lippmann)
 ฝรั่งเศส "สำหรับ แผ่นภาพลิพพ์มานน์ ซึ่งเป็นวิธีที่จะผลิตซ้ำภาพสีในการถ่ายภาพ โดยยืนพื้นบนปรากฏการณ์การแทรกสอด"
2452
(1909)
กูลเยลโม มาร์โกนี
(Guglielmo Giovanni Maria Marconi)
 อิตาลี "ในการระลึกถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโทรเลขไร้สายของพวกเขา"
คาร์ล เฟอร์ดินานด์ บรอน
(Karl Ferdinand Braun)
จักรวรรดิเยอรมัน เยอรมนี​​
2453
(1910)
โยฮานัส ดิเดอริค วาน เดอ วาลส์
(Johannes Diderik van der Waals)
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ "สำหรับงานเกี่ยวกับสมการสถานะของก๊าซ และ ของเหลว" ดูเพิ่มเติม แรง วาน เดอ วาลส์
2454
(1911)
วิลเฮล์ม วีน
(Wilhelm Carl Werner Otto Fritz Franz Wien)
จักรวรรดิเยอรมัน เยอรมนี "สำหรับการค้นพบเกี่ยวกับกฎที่ใช้อธิบายการแผ่รังสีความร้อนของเขา"
2455
(1912)
นิลส์ กุสตาฟ เดเลน
(Nils Gustaf Dalén)
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน "การประดิษฐ์ลิ้นปิดเปิดอัตโนมัติที่ออกแบบเพื่อใช้ในการทำงานร่วมกับเครื่องสะสมก๊าซ ใน ประภาคาร และ ทุ่นแสง (light-buoys)"
2456
(1913)
ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส
(Heike Kamerlingh Onnes)
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ "สำหรับการค้นคว้าวิจัยของเขาในสมบัติของสสารที่อุณหภูมิต่ำ ซึ่ง ในท่ามกลางสิ่งอื่น นำไปสู่การผลิต ฮีเลียมเหลว (liquid helium)"
2457
(1914)
มัคส์ ฟ็อน เลาเออ
(Max Theodor Felix von Laue)
จักรวรรดิเยอรมัน เยอรมนี "สำหรับการค้นพบการเลี้ยวเบนของเอกซ์เรย์โดยผลึกของเขา"
2458
(1915)
ลอเรนซ์ แบรกก์
(Sir William Henry Bragg)
 สหราชอาณาจักร การวิเคราะห์โครงสร้างผลึกโดยใช้รังสีเอกซ์
เซอร์เฮนรี แบรกก์
(Sir William Lawrence Bragg)
ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย/ สหราชอาณาจักร
2459
(1916)
​ไม่มีการมอบรางวัล เงินรางวัล มอบคืนแก่กองทุนพิเศษของรางวัลสาขานี้
2460
(1917)
ชาลส์ โกลเวอร์ บาร์คลา
(Charles Glover Barkla)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบลักษณะเฉพาะของการแผ่รังสีเรินต์เกนของธาตุต่างๆ"
2461
(1918)
มักซ์ พลังค์
(Max Karl Ernst Ludwig Planck)
จักรวรรดิเยอรมัน เยอรมนี "ให้ไว้เพื่อความระลึกถึงผลงานที่เขาได้ฝากไว้ในความก้าวหน้าของฟิสิกส์ด้วยการค้นพบพลังงานที่ไม่ต่อเนื่อง (energy quanta)" ดูเพิ่มเติม ค่าคงตัวของพลังค์.
2462
(1919)
โยฮันเนิส ชตาร์ค
(Johannes Stark)
สาธารณรัฐไวมาร์ ไวมาร์ "สำหรับการค้นพบผลกระทบดอพเพลอร์ ในรังสีคานาล (หรือ รังสีเอโนด) และ การแยกออกของ เส้นความถี่จำเพาะ (spectral lines) ในสนามไฟฟ้า"
2463
(1920)
ชาลส์ เอดูอาร์ด กูอิลลอเม
(Charles Édouard Guillaume)
ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ "ในการระลึกถึงผลงานที่เขาได้ฝากไว้ สำหรับการวัดที่แม่นยำในฟิสิกส์ โดย การค้นพบสิ่งผิดปกติใน สตีลอัลลอย ของ นิเกิล"
2464
(1921)
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
(Albert Einstein)
สาธารณรัฐไวมาร์ ไวมาร์/​
ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
"สำหรับผลงานของเขาในฟิสิกส์ทฤษฎี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคำอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกของเขา"
2465
(1922)
นิลส์ โปร์
(Niels Henrik David Bohr)
ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก "สำหรับผลงานของเขาเกี่ยวกับการสืบเสาะค้นหา โครงสร้างของอะตอม และ การที่พวกมันแผ่รังสี"
2466
(1923)
โรเบิร์ต แอนดรูวส์ มิลลิแกน
(Robert Andrews Millikan)
 สหรัฐ "สำหรับงานเกี่ยวกับ ประจุพื้นฐานของไฟฟ้า และ ผลกระทบโฟโตอิเล็กทริก"
2467
(1924)
คาร์ล มานเน ยอร์จ ซีกบาห์น
(Karl Manne Georg Siegbahn)
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน "สำหรับการค้นพบ และ งานวิจัย ในสาขา การหาแถบความถี่จำเพาะด้วยเอกซ์เรย์ (X-ray spectroscopy)"
2468
(1925)
เจมส์ ฟรังค์
(James Franck)
สาธารณรัฐไวมาร์ ไวมาร์ "สำหรับการค้นพบกฎที่ครอบคลุมการปะทะระหว่าง อิเล็กตรอน และ อะตอม"
กุสตาฟ ลุดวิก เฮิร์ตซ์
(Gustav Ludwig Hertz)

พ.ศ. 2469 – 2493 (ค.ศ. 1926 – 1950)

[แก้]
ปี พ.ศ.(ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2469
(1926)
ฌอง บาติสต์ แปร์แรง
(Jean Baptiste Perrin)
 ฝรั่งเศส "สำหรับการศึกษาของเขาในเรื่องโครงสร้างที่ไม่ต่อเนื่องของสสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการค้นพบสมดุลของการตกตะกอน"
2470
(1927)
อาเธอร์ คอมป์ตัน
(Arthur Holly Compton)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบปรากฏการณ์คอมป์ตัน (Compton scattering)"
ชาลส์ ทอมสัน รีส วิลสัน
(Charles Thomson Rees Wilson)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับวิธีการของเขาในการทำเส้นทางของอนุภาคที่มีประจุโดยการรวมตัวของไอ"
2471
1928)
โอเวน วิลลานส์ ริชาร์ดสัน
(Owen Willans Richardson)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับงานของเขาเกี่ยวกับ การปลดปล่อยเทอร์มิออนิก และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับการค้นพบ กฎของริชาร์ดสัน ซึ่งได้ถูกตั้งชื่อขึ้นตามชื่อของเขา"
2472
(1929)
หลุยส์ เดอ เบรย
(Louis Victor Pierre Raymond, 7th Duc de Broglie)
 ฝรั่งเศส "สำหรับการค้นพบธรรมชาติความเป็นคลื่นของอิเล็กตรอน"
ดูเพิ่มเติม สมมุติฐานของ เดอ บรอ-กลี
2473
(1930)
จันทราเสการ์ เวนกาตะ รามาน
(Chandrasekhara Venkata Raman)
 อินเดีย "สำหรับงานของเขาเกี่ยวกับการกระเจิงของแสง และ สำหรับการค้นพบ การกระเจิงของรามาน ซึ่งถูกตั้งชื่อขึ้นตามชื่อของเขา"
2477
(1931)
​ไม่มีการมอบรางวัล
2475
(1932)
แวร์เนอร์ ไฮเซินแบร์ก
(Werner Heisenberg)
สาธารณรัฐไวมาร์ ไวมาร์ "สำหรับการสร้างกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบรูปแบบอื่นๆ ของ ไฮโดรเจน"
2476
(1933)
แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์
(Erwin Schrödinger)
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย "สำหรับการค้นพบรูปแบบต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อ ทฤษฎีอะตอม"
พอล ดิแรก
(Paul Dirac)
 สหราชอาณาจักร
2477
(1934)
​ไม่มีการมอบรางวัล เงินรางวัล 1/2 มอบคืนแก่กองทุนหลัก และเงินรางวัล 1/2 มอบคืนแก่กองทุนพิเศษของรางวัลสาขานี้
2478
(1935)
เจมส์ แชดวิก
(James Chadwick)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบนิวตรอน"
2479
(1936)
วิคทอร์ ฟรันซ์ เฮสส์
(Victor Francis Hess)
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย "สำหรับการค้นพบการแผ่รังสีคอสมิก"
คาร์ล เดวิด แอนเดอร์สัน
(Carl David Anderson)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบโพซิตรอน"
2480
(1937)
คลินตัน โจเซฟ ดวิสสัน
(Clinton Joseph Davisson)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบการเลี้ยวเบนของอิเล็กตรอนโดยใช้ผลึกเป็นสลิต"
จอร์จ พาเกต ทอมสัน
(George Paget Thomson)
 สหราชอาณาจักร
2481
(1938)
เอนรีโก แฟร์มี
(Enrico Fermi)
 อิตาลี "สำหรับการสาธิตการมีอยู่ของสารกัมมันตรังสีชนิดใหม่ที่ผลิตโดยการฉายรังสีนิวตรอนและสำหรับการค้นพบปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ทำให้เกิดโดยนิวตรอนพลังงานต่ำ slow neutrons"
2482
(1939)
เออร์เนสต์ ลอว์เรนซ์
(Ernest Lawrence)
 สหรัฐ "สำหรับการคิดค้นและพัฒนาเครื่องแยกปรมาณู (the cyclotron)และผลลัพธ์ที่ได้จากมัน โดยเฉพาะผลงานเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีประดิษฐ์ (artificial radioactive elements)"
2483
(1940)
ไม่มีการมอบรางวัล เงินรางวัล 1/2 มอบคืนแก่กองทุนหลัก และเงินรางวัล 1/2 มอบคืนแก่กองทุนพิเศษของรางวัลสาขานี้
2484
(1941)
2485
(1942)
2486
(1943)
ออตโต ชแตร์น
(Otto Stern)
 สหรัฐ/
 ไรช์เยอรมัน
"สำหรับผลงานของเขาที่ไปสู่การพัฒนา the molecular ray methodและการค้นพบโมเมนต์แม่เหล็กของโปรตอน"
2487
(1944)
อิสิดอร์ อิซาค ราบี
(Isidor Isaac Rabi)
 สหรัฐ/
 โปแลนด์
"สำหรับวิธีการสั่นพ้องของเขา สำหรับบันทึกคุณสมบัติทางแม่เหล็ก ของ นิวเคลียสของอะตอม"
2488
(1945)
ว็อล์ฟกัง เพาลี
(Wolfgang Pauli)
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย "สำหรับการค้นพบหลักการกีดกัน ซึ่งถูกเรียกได้อีกอย่างว่า หลักของเพาลี"
2489
(1946)
เพอร์ซี วิลเลียมส์ บริดจ์แมน
(Percy Williams Bridgman)
 สหรัฐ "สำหรับการประดิษฐ์อุปกรณ์ในการผลิตแรงกดดันสูงและสำหรับการค้นพบของเขาในสาขาฟิสิกส์แรงดันสูง"
2490
(1947)
เอดเวิร์ด วิกเตอร์ แอพเพิลตัน
(Edward Victor Appleton)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการตรวจสอบทางฟิสิกต์ของบรรยากาศชั้นสูง (the upper atmosphere) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการค้นพบ Appleton layer"
2491
(1948)
แพทริค แบลคเกตต์
(Patrick Maynard Stuart Blackett)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการพัฒนาวิธี Wilson cloud chamber และนการค้นพบของเขาในด้านของฟิสิกส์นิวเคลียร์และรังสีจักรวาล"
2492
(1949)
ฮิเดกิ ยูกาวะ
(Hideki Yukawa)
 ญี่ปุ่น "สำหรับการทำนายการมีอยู่ของ mesons บนการทำงานเชิงทฤษฎีต่อแรงนิวเคลียร์"
2492
(1950)
เซซิล แฟรงก์ โพเวลล์
(Cecil Frank Powell)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการพัฒนาวิธีการถ่ายภาพของการศึกษากระบวนการทางนิวเคลียร์และการค้นพบเกี่ยวกับ mesons ที่ทำด้วยวิธีการนี้"

พ.ศ. 2494 – 2518 (ค.ศ. 1951 – 1975)

[แก้]
ปี พ.ศ./ค.ศ. ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2494/1951 John Douglas Cockcroft  สหราชอาณาจักร "for their pioneer work on the transmutation of atomic nuclei by artificially accelerated atomic particles"
Ernest Thomas Sinton Walton ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์
2495/1952 Felix Bloch ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์/
 สหรัฐ
"for their development of new methods for nuclear magnetic precision measurements and discoveries in connection therewith"
Edward Mills Purcell  สหรัฐ
2496/1953 ฟริตซ์ แซร์นีเกอ ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ "สำหรับการสาธิตวิธีความแตกต่างของเฟส (phase contrast method) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับ สิ่งประดิษฐ์ของเขา -- กล้องจุลทรรศน์ชนิดที่ใช้ความต่างเฟส"
2497/1954 มัคส์ บอร์น  เยอรมนีตะวันตก "สำหรับงานวิจัยพื้นฐานของเขาเกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตีความหมายเชิงสถิติของ ฟังก์ชันคลื่น"
วาลเทอร์ โบเท  เยอรมนีตะวันตก "สำหรับวิธีการเหตุการณ์อุบัติพร้อม (coincidence method) และ การค้นพบอื่นๆ โดยวิธีการนั้น"
2498/1955 วิลลิส ยูจีน แลมบ์  สหรัฐ "สำหรับการค้นพบของเขาเกี่ยวกับ โครงสร้างละเอียด (fine structure) ของ ความถี่จำเพาะ (spectrum) ของไฮโดรเจน" ดูเพิ่มเติม การเลื่อนของแลมบ์ (Lamb shift)
2499/1956 วิลเลียม แบรดฟอร์ด ชอกลีย์
จอห์น บาร์ดีน
วอลเตอร์ เฮาเซอร์ แบรตเทน
 สหรัฐ
 สหรัฐ
 สหรัฐ
การวิจัยด้านสารกึ่งตัวนำ (semiconductors) และการค้นพบปรากฏการณ์ทรานซิสเตอร์
2501/1958 ปาเวล อเลกซีเยวิช เชียเรนคอฟ
อิลยา มิไฮลาวิช ฟรานค
อีกอร์ เยเกเนวิช ตามม์
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
สำหรับการค้นพบปรากฏการณ์เชียเรนคอฟ
2505/1962 เลฟ ดาวิโดวิช ลันเดา ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต "สำหรับผลงานที่ยอดเยี่ยมและโดดเด่นในทางฟิสิกส์ของสสารควบแน่น"
2507/1964 ชาร์ลซ์ ฮาร์ด เทาซ์
นิคาลัย เกนนาดิเยวิช บาซัฟ
อเลกซานดระ มิไฮลาวิช โพรฮารอฟ
 สหรัฐ
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
"สำหรับงานพื้นฐานเกี่ยวกับ อิเล็กทรอนิกส์ควอนตัม (quantum electronics) ซึ่งนำไปสู่การสร้าง เครื่องสั่น (oscillator) และ เครื่องขยาย (amplifier) โดยยืนพื้นบนหลักการของ เมเซอร์-เลเซอร์ (maser-laser)"
2508/1965 ชินอิชิโร โทโมนางะ
จูเลียน ชวิงเกอร์
ริชาร์ด ฟิลลิพส์ ฟายน์มัน
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
 สหรัฐ
 สหรัฐ
"สำหรับงานพื้นฐานของพวกเขาเกี่ยวกับ อิเล็กโทรดายนามิกส์ควอนตัม (quantum electrodynamics) โดยผลที่ตามมาได้หยั่งรากลึกลงไปในฟิสิกส์ของอนุภาคพื้นฐาน (physics of elementary particles)"
2509/1966 อัลเฟรด คาสเทลอร์ ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส "สำหรับการค้นพบและพัฒนาทัศนวิธีในการศึกษา การสั่นพ้องแบบเฮิรตซ์ (Hertzian resonances) ในอะตอม"
2510/1967 ฮันส์ เบเทอ  สหรัฐ "สำหรับการคิดค้นทฤษฎีด้านปฏิกิริยานิวเคลียร์ โดยเฉพาะการค้นพบที่เกี่ยวกับการผลิตพลังงานในดาวฤกษ์"[3]
2511/1968 ลุยส์ วอลเตอร์ อัลวาเรซ  สหรัฐ "for his decisive contributions to elementary particle physics, in particular the discovery of a large number of resonance states, made possible through his development of the technique of using hydrogen bubble chamber and data analysis"[4]
2512/1969 เมอร์รีย์ เกลล์-แมนน์  สหรัฐ "for his contributions and discoveries concerning the classification of elementary particles and their interactions"[5]
2513/1970 Hannes Olof Gösta Alfvén  สวีเดน "for fundamental work and discoveries in magneto-hydrodynamics with fruitful applications in different parts of plasma physics"[6]
2514/1971 เดนนิส กาบอร์  สหราชอาณาจักร "สำหรับสิ่งประดิษฐ์ของเขา และ การพัฒนาวิธีการโฮโลแกรม (holographic method)"
2515/1972 จอห์น บาร์ดีน
ลีออน นีล คูเปอร์
จอห์น โรเบิร์ต ชริฟเฟอร์
 สหรัฐ
 สหรัฐ
 สหรัฐ
การพัฒนาทฤษฎีสภาพนำยวดยิ่ง (superconductivity) หรือที่นิยมเรียกว่าทฤษฎี BCS

พ.ศ. 2519 – 2543 (ค.ศ. 1976 – 2000)

[แก้]
ปี พ.ศ./ค.ศ. ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2522/1978 ปีเตอร์ เลโอนิดาวิช คาปิซา ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต "สำหรับผู้คิดค้นและค้นพบในงานด้านฟิสิกส์อุณหภูมิต่ำ"
อาร์โน เพนเซียส
โรเบิร์ต วิลสัน
 สหรัฐ
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบรังสีพื้นหลังของเอกภพ"
2524/1981 นิโคลาส โบลมเบอร์เกน
อาเธอร์ ลีโอนาร์ด ชอว์โลว์
 สหรัฐ
 สหรัฐ
"สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการหาความถี่จำเพาะโดยใช้เลเซอร์ (laser spectroscopy)"
2532/1989 นอร์แมน ฟอสเตอร์ แรมซีย์ จูเนียร์  สหรัฐ "สำหรับการประดิษฐ์วิธีการสนามการสั่นแยก (separated oscillatory fields method) การใช้ประโยชน์ของมันในเมเซอร์ไฮโดรเจน (hydrogen maser) และนาฬิกาอะตอมอื่น ๆ (atomic clocks)"
ฮันส์ เกออร์ก เดห์เมลท์
โวล์ฟกัง เพาล์
 สหรัฐ
 เยอรมนีตะวันตก
"สำหรับการพัฒนาเทคนิคการดักจับไอออน (ion trap technique)"
2540/1997 สตีเฟน ชู
โคลด โคเฮน-ทานนุดจิ
วิลเลียม แดเนียล ฟิลลิพส์
 สหรัฐ
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
 สหรัฐ
"สำหรับการพัฒนาวิธีการทำให้อะตอมเย็นลง และ การกักขังอะตอม ด้วยแสงเลเซอร์"
2543/2000 แจค คิลบี  สหรัฐ "สำหรับงานวิจัยด้านระบบปริภัณฑ์"
ชาเรส อีวานาวิช อัลฟโยรอฟ
เฮอร์เบิร์ต โครเมอร์
 รัสเซีย
 สหรัฐ
"สำหรับการคิดค้นและพัฒนาเทคนิคด้านฟิสิกส์ของสารกึ่งตัวนำ"

พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 2001 – ปัจจุบัน)

[แก้]
ปี พ.ศ./ค.ศ. ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2544/2001 อีริค แอลลิน คอร์เนลล์
วอล์ฟกัง เคทแทร์เล
คาร์ล เอดวิน ไวอ์แมน
 สหรัฐ
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
 สหรัฐ
"สำหรับการบรรลุผลสำเร็จในการทำ สถานะควบแน่นแบบ โบส-ไอน์สไตน์ ใน แก๊สอัลคาไลเจือจาง และ สำหรับ การแรกเริ่มศึกษาพื้นฐานของคุณสมบัติของ สถานะควบแน่น"
2545/2002 เรย์มอนด์ เดวิส
มาซาโตชิ โคชิบา
 สหรัฐ
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
การศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากการตรวจจับอนุภาค "นิวทริโน" ในอวกาศ (cosmic neutrinos)
ริคคาร์โด แจ็คโคนี  สหรัฐ บุกเบิกสาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ในอวกาศ
2546/2003 อเลกซี่ อเลกซีเยวิช อาบริโคซอฟ
วิตาลี ลาเซียเรียวิช กินซ์บูร์ก
แอนโทนี่ เลกเกท
 รัสเซีย
 รัสเซีย
 สหราชอาณาจักร
"เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีตัวนำยิ่งยวดประเภททุติยภูมิและทฤษฎีของเหลวยิ่งยวดฮีเลียม-3"
2547/2004 เดวิด เจ. กรอส
เอช. เดวิด พอลิตเซอร์
แฟรงก์ วิลเชก
 สหรัฐ
 สหรัฐ
 สหรัฐ
สำหรับการค้นพบ ความอิสระเข้าใกล้ ในทฤษฎี ปฏิกิริยาอย่างเข้ม
2548/2005 รอย เจย์ กลอเบอร์  สหรัฐ "สำหรับการมีส่วนร่วมในทฤษฎีควอนตัมของ ความพร้อมเพรียงเชิงทัศนศาสตร์ (optical coherence)"
จอห์น ลิวอีส ฮอลล์
เทโอดอร์ วอล์ฟกัง เฮนช์
 สหรัฐ
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
"สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนา การหาความถี่จำเพาะที่มีความแม่นยำโดยการใช้เลเซอร์ รวมไปถึงเทคนิคหวีความถี่เชิงทัศนศาสตร์ (optical frequency comb technique)"
2549/2006 จอห์น ซี แมเธอร์
จอร์จ เอฟ สมูท
 สหรัฐ
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบรูปแบบวัตถุดำและ ความไม่สม่ำเสมอ (Anisotropy) ของ รังสีจักรวาลพื้นหลังในย่านไมโครเวฟ (cosmic microwave background radiation)"
2550/2007 อัลเบิร์ต เฟิร์ต
ปีเตอร์ กรุนแบร์ก
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
"สำหรับการค้นพบ ปรากฏการณ์ ความต้านทานแม่เหล็ก ขนาดยักษ์ (Giant magnetoresistive effect) ของพวกเขา"
2551/2008 โยอิชิโร นัมบุ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบกลไกการทำลายสมมาตรที่เกิดขึ้นเอง (Spontaneous symmetry breaking) ในฟิสิกส์ที่เล็กกว่าอะตอม (subatomic physics)"
มาโกโตะ โคบายาชิ
โตชิฮิเดะ มาสคาวะ
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น "สำหรับการค้นพบต้นกำเนิดของสมมาตรที่ถูกทำลาย ซึ่งทำนายการมีอยู่ของ ควาร์ก อย่างน้อยสามตระกูล ในธรรมชาติ"
2552/2009 ชาร์ลส ก. เกา  สหราชอาณาจักร "สำหรับความสำเร็จที่เป็นกุญแจพื้นฐานเกี่ยวกับการส่งผ่านแสงในเส้นใยนำแสงสำหรับการสื่อสารเชิงทัศนศาสตร์"
วิลลาร์ด ส. บอยล์
จอร์จ อ. สมิธ
ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา
 สหรัฐ
"สำหรับการประดิษฐ์ วงจรกึ่งตัวนำ ที่เกี่ยวกับการรับภาพ - ตัวตรวจวัดซีซีดี (CCD)"
2553/2010 อันเดร ไกม
คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ
 รัสเซีย/ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
 รัสเซีย/ สหราชอาณาจักร
"สำหรับการทดลองบุกเบิก เกี่ยวกับ กราฟีน วัสดุสองมิติ"
2554/2011 ซอล เพิร์ลมุตเตอร์ (Saul Perlmutter)
อดัม รีสส์ (Adam Riess)
ไบรอัน ชมิดท์ (Brian Schmidt)
 สหรัฐ
 สหรัฐ
 สหรัฐ/ ออสเตรเลีย
"สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับซูเปอร์โนวาและการค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายด้วยอัตราเร่งคงที่" [7]
2555/2012 แซร์ฌ อาร็อช
(Serge Haroche)
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส "สำหรับวิธีทดลองแบบเปิดโลกที่ช่วยให้สามารถทำการวัด และ จัดการระบบควอนตัม เฉพาะเจาะจงแต่ละระบบได้".[8]
เดวิด เจ. ไวน์แลนด์
(David J. Wineland)
 สหรัฐ
2556/2013 ฟร็องซัว อ็องแกลร์
(François Englert)
 เบลเยียม "สำหรับการค้นพบทฤษฎีกลไกของฮิกส์ (Higgs mechanism) ซึ่งสนับสนุนความเข้าใจเรื่องการกำเนิดมวลของอนุภาคต่าง ๆ โดยทฤษฎีดังกล่าวได้รับการยืนยันจากการค้นพบอนุภาคมูลฐานฮิกส์ จากการทดลองโดยใช้เครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่ (LHC) ในเซิร์น ตรวจวัดโดยเครื่อง ATLAS และ CMS[9][10]
ปีเตอร์ ฮิกส์
(Peter Higgs)
 สหราชอาณาจักร
2557/2014 อิซามุ อาคาซากิ
(Isamu Akasaki)
 ญี่ปุ่น "สำหรับนวัตกรรมไดโอดเปล่งแสงสีน้ำเงิน ซึ่งสร้างแหล่งพลังงานแสงขาวที่สว่างจ้าและประหยัดพลังงาน"[11]
ฮิโรชิ อามาโนะ
(Hiroshi Amano)
 ญี่ปุ่น
ชูจิ นากามูระ
(Shuji Nakamura)
 ญี่ปุ่น
 สหรัฐ
2558/2015 ทะกะอะกิ คะจิตะ
(Takaaki Kajita, 梶田隆章)
 ญี่ปุ่น "สำหรับการค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน ซึ่งชี้ให้เห็นว่านิวตริโนนั้นมีมวล"[12]
อาร์เธอร์ บี. แมคโดนัลด์
(Arthur B. McDonald)
 แคนาดา
2559/2016 เดวิด เจ. เธาเลส (David J. Thouless)
ดันแคน ฮัลเดน (Duncan Haldane)
ไมเคิล คอสเตอร์ลิตซ์ (Michael Kosterlitz)
 สหราชอาณาจักร/ สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร/ สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร/ สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบทางทฤษฎีของการเปลี่ยนผ่านเฟสทอพอโลยีและเฟสทอพอโลยีของสสาร"[13]
2560/2017 เรเนอร์ ไวส์ (Rainer Weiss)
แบร์รี แบริช (Barry Barish)
คิป ธอร์น (Kip Thorne)
 สหรัฐ
 สหรัฐ
 สหรัฐ
"สำหรับการมีส่วนร่วมสำคัญในโครงการไลโกและการตรวจหาคลื่นความโน้มถ่วง"[14]
2561/2018 อาร์เธอร์ แอชกิน
(Arthur Ashkin)
 สหรัฐ "สำหรับการประดิษฐ์คิดค้นครั้งสำคัญในสาขาฟิสิกส์เลเซอร์"[15]
เฌราร์ มูรู
(Gérard Mourou)
 ฝรั่งเศส
ดอนนา สตริกแลนด์
(Donna Strickland)
 แคนาดา
2562/2019 จิม พีเบิลส์  แคนาดา
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบทฤษฎีทางจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ"[16]
มีแชล มายอร์  สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์"[16]
ดีดีเย เกโล  สวิตเซอร์แลนด์
2563/2020 โรเจอร์ เพนโรส  สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบว่าการก่อตัวของหลุมดำเป็นการทำนายของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป"[17]
ไรน์ฮาร์ด เกนเซล  เยอรมนี "สำหรับการค้นพบวัตถุกะทัดรัดมวลยวดยิ่งที่ใจกลางดาราจักรของเรา"[17]
แอนเดรีย เกซ  สหรัฐ
2564/2021 ชูกูโร มานาเบะ  ญี่ปุ่น "สำหรับแบบจำลองภูมิอากาศของโลก ซึ่งแสดงความแปรปรวนและการคาดการณ์ที่เชื่อถือได้ของภาวะโลกร้อน"[18]
เคลาส์ ฮัสเซิลมัน  เยอรมนี
จอร์โจ ปารีซี  อิตาลี "สำหรับการค้นพบปฏิสัมพันธ์ของความไม่เป็นระเบียบและความผันผวนในระบบทางกายภาพ ตั้งแต่ระดับอะตอมถึงดาวเคราะห์"[18]
2565/2022 อาแล็ง อัสแป  ฝรั่งเศส "สำหรับการทดลองโฟตอนเชิงพัวพัน ซึ่งเป็นการละเมิดอสมการเบลล์และบุกเบิกวิทยาการสารสนเทศเชิงควอนตัม"[19]
จอห์น เคลาเซอร์  สหรัฐ
อันโทน ไซลิงเงอร์  ออสเตรีย
2566/2023 ปีแยร์ อาก็อสตีนี  ฝรั่งเศส
 สหรัฐ
"สำหรับวิธีการทดลองการกำเนิดแสงกะพริบระดับอัตโตวินาที เพื่อศึกษาพลศาสตร์อิเล็กตรอนของสสาร"[20]
แฟแร็นตส์ กรออุส  ฮังการี
อาน ลุยเย  ฝรั่งเศส
2567/2024 จอห์น ฮอปฟีลด์
(John Hopfield)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบพื้นฐานและการประดิษฐ์ ซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้ของเครื่องด้วยโครงข่ายประสาทเทียม"[21]
เจฟฟรีย์ ฮินตัน
(Geoffrey Hinton)
 สหราชอาณาจักร
 แคนาดา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Nobel Prize amounts". The Nobel Prize. สืบค้นเมื่อ 29 September 2023.
  2. "รายนามผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์". the Nobel Foundation. 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-08-31.
  3. "The Nobel Prize in Physics 1967". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-10-09.
  4. "The Nobel Prize in Physics 1968". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-10-09.
  5. "The Nobel Prize in Physics 1969". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-10-09.
  6. "The Nobel Prize in Physics 1970". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-10-09.
  7. "The Nobel Prize in Physics 2011". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2011-10-04.
  8. "The Nobel Prize in Physics 2012". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2012-10-09.
  9. "The Nobel Prize in Physics 2013 Press Release" (PDF). Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2013-10-08.
  10. "The Nobel Prize in Physics 2013". CERN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
  11. "The Nobel Prize in Physics 2014". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ October 7, 2014.
  12. "The Nobel Prize in Physics 2015". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ October 6, 2015.
  13. "The Nobel Prize in Physics 2016". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ October 8, 2016.
  14. "The Nobel Prize in Physics 2017". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ October 3, 2017.
  15. "The Nobel Prize in Physics 2018". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ October 2, 2018.
  16. 16.0 16.1 "The Nobel Prize in Physics 2019". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 8, 2019.
  17. 17.0 17.1 "The Nobel Prize in Physics 2020". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 6, 2020.
  18. 18.0 18.1 "The Nobel Prize in Physics 2021" (PDF). Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 5 October 2021.
  19. "The Nobel Prize in Physics 2022". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 4 October 2022.
  20. "The Nobel Prize in Physics 2023". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 3 October 2023.
  21. "The Nobel Prize in Physics 2024". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ October 8, 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]