ฟริตซ์ แซร์นีเกอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟริตซ์ แซร์นีเกอ
แซร์นีเกอในปี 1953
เกิด16 กรกฎาคม ค.ศ. 1888(1888-07-16)
อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
เสียชีวิต10 มีนาคม ค.ศ. 1966(1966-03-10) (77 ปี)
อาเมอร์สโฟร์ต เนเธอร์แลนด์
สัญชาติดัตช์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม
มีชื่อเสียงจากกล้องจุลทรรศน์แบบเฟสคอนทราสต์
พหุนามแซร์นีเกอ
คู่สมรสDora van Bommel van Vloten (1930-1945)
Lena Koperberg-Baanders (ตั้งแต่ 1954)[1]
รางวัลเหรียญรางวัลรัมฟอร์ด (1952)
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (1953)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยโกรนิงเงิน
มีอิทธิพลต่อยาโกบึส กัปไตน์

ฟริตซ์ แซร์นีเกอ (ดัตช์: Fritz Zernike; 16 กรกฎาคม 1888 – 10 มีนาคม 1966) เป็นนักฟิสิกส์ชาวดัตช์ ในปี 1953 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์แบบเฟสคอนทราสต์

ชีวประวัติ[แก้]

แซร์นีเกอเกิดในเมืองอัมสเตอร์ดัม เรียนที่มหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม เป็นผู้ช่วยที่มหาวิทยาลัยโกรนิงเงินในปี 1913 และเป็นศาสตราจารย์ที่นั่นตั้งแต่ปี 1920 ถึง 1958 ในปี 1930 เขาพบว่าเราสามารถสังเกตตำแหน่งเฟสของแสงผ่านการทดลองโดยใช้เกรตติงการเลี้ยวเบน ในปี 1936 เขาได้สร้างกล้องจุลทรรศน์แบบเฟสคอนทราสต์โดยใช้หลักการนี้ขึ้นสำเร็จ กล้องจุลทรรศน์แบบเฟสคอนทราสต์สามารถสังเกตความแตกต่างบางส่วนในดรรชนีหักเห และได้รับการนำมาใช้อย่างแพร่หลายกับตัวอย่างโปร่งใส จุลินทรีย์ที่มีชีวิต และยา

เขายังมีผลงานอื่น ๆ รวมถึงพหุนามแซร์นีเกอสำหรับความคลาดทางทัศนศาสตร์ของเลนส์

เขาได้รับเหรียญรางวัลรัมฟอร์ดในปี 1952 และรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1953

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Nobel Prize in Physics 1953".