ฌ็อง แปแร็ง
ฌ็อง บาติสต์ แปแร็ง | |
---|---|
เกิด | 30 กันยายน ค.ศ. 1870 ลีล ![]() |
เสียชีวิต | 17 เมษายน ค.ศ. 1942 นิวยอร์กซิตี ![]() ![]() | (71 ปี)
สัญชาติ | ![]() |
ศิษย์เก่า | École Normale Supérieure |
มีชื่อเสียงจาก | ลักษณะของรังสีแคโทด การเคลื่อนที่ของบราวน์ |
รางวัล | รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (1926) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ฟิสิกส์ |
สถาบันที่ทำงาน | École Normale Supérieure มหาวิทยาลัยปารีส |
ฌ็อง บาติสต์ แปแร็ง (ฝรั่งเศส: Jean Baptiste Perrin; 30 กันยายน ค.ศ. 1870 – 17 เมษายน ค.ศ. 1942) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1926
ปี ค.ศ. 1895 แปแร็งแสดงให้เห็นว่า รังสีแคโทดประกอบขึ้นจากคอร์พัสเคิลที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ เขาคำนวณเลขอาโวกาโดรด้วยกระบวนการหลายแบบ และอธิบายพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ของไฮโดรเจน
หลังจากที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เผยแพร่ทฤษฎีว่าด้วยการเคลื่อนที่ของบราวน์ในรูปของอะตอมในปี ค.ศ. 1905 แปแร็งได้ทำการทดลองเพื่อทดสอบและรับรองการคาดการณ์ของไอน์สไตน์ และช่วยยืนยันทฤษฎีอะตอมของดาลตันซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมานานนับศตวรรษ
จากผลงานนี้ และผลงานอื่นๆ เกี่ยวกับโครงสร้างที่ไม่ต่อเนื่องของสสาร ทำให้แปแร็งได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1926 และเป็นอันสิ้นสุดการโต้เถียงอันยาวนานว่าด้วยลักษณะที่แท้จริงทางกายภาพของโมเลกุล
อ้างอิง[แก้]
- Kyle, R A (1979). "Jean Baptiste Perrin". JAMA. 242 (8): 744. doi:10.1001/jama.242.8.744. PMID 379381.
{{cite journal}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|month=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- 1926 Nobel Prize
- Atoms, แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Dalziel Hammick, ใน Internet Archive
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- CS1 errors: unsupported parameter
- CS1 errors: empty unknown parameters
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
- ชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส
- บุคคลจากลีล
- ศิษย์เก่าจากเอกอลนอร์มาลซูว์เปรีเยอร์
- บุคคลจากเอกอลนอร์มาลซูว์เปรีเยอร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยปารีส
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2413
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2485
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์