ปีเตอร์ เซมัน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ปีเตอร์ เซมัน | |
---|---|
เกิด | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1865 โซนเนอแมเรอ, ประเทศเนเธอร์แลนด์ |
เสียชีวิต | ตุลาคม 9, 1943 อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ | (78 ปี)
สัญชาติ | เนเธอร์แลนด์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยไลเดิน |
มีชื่อเสียงจาก | ปรากฏการณ์เซมัน |
คู่สมรส | Johanna Elisabeth Lebret (สมรส 1895–1943) |
รางวัล |
|
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ฟิสิกส์ |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส |
ปีเตอร์ เซมัน (ดัตช์: Pieter Zeeman; 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1865 – 9 ตุลาคม ค.ศ. 1943) เป็นนักฟิสิกส์ชาวดัตช์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1902 ร่วมกับแฮ็นดริก โลเรินตส์ จากการค้นพบปรากฏการณ์เซมัน
ชีวิตในวันเด็ก
[แก้]เซมันเกิดในเมืองโซนเนอแมเรอ (Zonnemaire) ซึ่งเป็นเมืองขนาดเล็กที่อยู่บนเกาะสเคาเวิน-เดยเฟอลันด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เขาเริ่มมีความสนใจในฟิสิกส์ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ๆ ในปี ค.ศ. 1883 เกิดปรากฏการณ์แสงออโรราเหนือที่สามารถมองเห็นได้ที่เนเธอร์แลนด์ โดยตอนนั้นเซมันเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเมืองซีริกเซ (Zierikzee) เขาได้วาดภาพและอธิบายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และได้มีผู้นำเอาไปเผยแพร่ชื่อ The careful observations of Professor Zeeman from his observatory in Zonnemaire
แเมื่อเขาเรียนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปี ค.ศ. 1883 เขาได้เดินทางไปเมืองเดลฟท์เพื่อไปศึกษาเพิ่มเติมในด้านภาษาคลาสสิก (ภาษากรีกและโรมัน) และหลังจากนั้นก็ได้ศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เขาได้พักอาศัยอยู่ในเมืองเดลฟท์ เขาได้ไปพบกับไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส ซึ่งเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของเขา
การศึกษาและอาชีพ
[แก้]หลังจากที่เซมันได้ผ่านการทดสอบในปี ค.ศ. 1885 เขาก็ได้เข้าศึกษาฟิสิกส์ในมหาวิทยาลัยไลเดิน อยู่ภายใต้การควบคุมของไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส และแฮ็นดริก โลเรินตส์ ในปี ค.ศ. 1890 ก่อนที่เขาจะทำวิทยานิพนธ์เสร็จ เขาได้ไปเป็นผู้ช่วยของโลเรินตส์ และสิ่งนี้ก็ได้พาเขาไปสู่การโปรแกรมการทำวิจัยของปรากฏการณ์เคอร์ (Kerr effect) ในปี ค.ศ. 1893 เขาก็ได้เสนอวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจากปรากฏการณ์เคอร์ คือเป็นการสะท้อนของแสงโพลาไรซ์บนพื้นผิวที่เป็นแม่เหล็ก หลังจากที่เขาจบระดับปริญญาเอกแล้วเขาก็ได้เดินทางไปอยู่ที่สถาบันฟรีดริช โคลเราช์ ในเมืองสทราซบูร์ ในปี ค.ศ. 1895 เมื่อเขากลับมาจากเมืองสทราซบูร์ เซมันก็ได้ไปเป็นวิทยากรภายนอกในวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ในเมืองไลเดิน ในปีเดียวกันนี้เขาก็ได้แต่งงานกับโจแอนนา อลิซาเบธ ลีเบรธ (Johanna Elisabeth Lebret) มีชีวิตอยู่ในปี ค.ศ. 1873–1962 มีลูกสาวด้วยกัน 3 คน และลูกชายอีก 1 คน
ปี ค.ศ. 1896 3 ปีหลังจากที่เขาทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์เคอร์เสร็จ เขาขัดคำสั่งของหัวหน้างานของเขาและได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวัดค่าการแยกของเส้นสเปกตรัมจากสนามแม่เหล็กที่เข้มข้น จึงถูกไล่ออกจากการกระทำ แต่เขาก็ได้รับการพิสูจน์ภายหลัง จนในปี ค.ศ. 1902 เขาก็ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์สำหรับการค้นคว้าของเขาที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ปรากฏการณ์เซมัน และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยวิทยานิพนธ์ของเขา เขาได้ทำการค้นคว้าผลของสนามแม่เหล็กบนแหล่งกำเนิดแสง โลเรินตส์ได้รู้จักกับผลงานของเซมันเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1896 ในที่ประชุมของราชบัณฑิตยสภาศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์เนเธอร์แลนด์ในอัมสเตอร์ดัม เมื่อเรื่องนี้ได้นำไปเผยแพร่โดยโอนเนิส และในวันถัดมา โลเรินตส์ก็ได้เชิญเซมันไปที่ห้องทำงานของเขาและได้ให้เซมันนำเสนองานที่เขาได้ค้นพบ โดยอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีของโลเรินตส์คือ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
สิ่งสำคัญของการค้นพบของเซมันได้ถูกนำไปเผยแพร่ และไปช่วยสนับสนุนงานของโลเรินตส์ที่เกี่ยวกับการปล่อยของแสงโพลาไรซ์จากงานของสนามแม่เหล็กที่ค้นพบไว้ก่อนหน้า ขอบคุณงานของเซมันที่ได้ไขข้อสงสัยของการสั่นของอนุภาคที่เกิดขึ้นในงานของโลเรินตส์ที่เป็นประจุลบและมีน้ำหนักเบากว่าอะตอมของไฮโดรเจนเป็นพัน ๆ เท่า การสรุปผลงานนี้ได้เกิดขึ้นก่อนการค้นพบอิเล็กตรอนของทอมสัน ปรากฏการณ์เซมันถือเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการอธิบายโครงสร้างอะตอม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Fellows of the Royal Society". London: Royal Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-16.