ข้ามไปเนื้อหา

ดอนนา สตริกแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดอนนา สตริกแลนด์
ดอนนา สตริกแลนด์ใน ค.ศ. 2017
เกิดดอนนา ธีโอ สตริกแลนด์
(1959-05-27) 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1959 (65 ปี)
Guelph, แคนาดา
การศึกษา
มีชื่อเสียงจาก
คู่สมรสDoug Dykaar
บุตร2
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยวอเทอร์ลู
วิทยานิพนธ์Development of an ultra-bright laser and an application to multi-photon ionization (1988)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกเฌราร์ มูรู
เว็บไซต์University website

ดอนนา ธีโอ สตริกแลนด์ (อังกฤษ: Donna Theo Strickland; เกิด 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1959)[1][2][3] เป็นนักฟิสิกส์ทัศนศาสตร์ชาวแคนาดาและเป็นผู้บุกเบิกสาขาเลเซอร์ชนิดพัลส์ (pulsed lasers) เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 2018 พร้อมกับเฌราร์ มูรู (Gérard Mourou) สำหรับการคิดค้น chirped pulse amplification[4] เธอเป็นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยวอเทอร์ลู[5]

เธอเคยเป็นทั้งวุฒิบัณฑิต รองประธาน และประธานของสมาคมทัศนศาสตร์ (The Optical Society) และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานของคณะกรรมการที่ปรึกษา (Presidential Advisory Committee) ของสมาคม

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

[แก้]

สตริกแลนด์เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1959 ณ เมือง Guelph รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา แม่ของเธอคือ Edith J. ซึ่งเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ[6] ส่วนพ่อ Lloyd Strickland เป็นวิศวกรไฟฟ้า[1] เธอตัดสินใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์เพราะโปรแกรมฟิสิกส์วิศวกรรมของมหาวิทยาลัยสอนเกี่ยวกับเลเซอร์และอิเล็กโตรออฟติกส์ซึ่งเป็นด้านที่เธอสนใจ[6] ชั้นเรียนของเธอที่แมคมาสเตอร์มีผู้หญิงเพียงสามคนจากทั้งหมด 25 คน เธอจบการศึกษาและได้รับปริญญาสาขาฟิสิกส์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเมื่อ ค.ศ. 1981[7] เธอศึกษาต่อปริญญาเอก ณ สถาบันแห่งทัศนศาสตร์ (Institute of Optics) จนได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรอเชสเตอร์ใน ค.ศ. 1989[8][9]

เธอได้ทำการวิจัยปริญญาเอกของเธอในห้องทดลองสำหรับพลังเลเซอร์ (Laboratory for Laser Energetics) โดยมี เฌราร์ มูรู เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา[10] สตริกแลนด์และมูรูทำงานเพื่อพัฒนารูปแบบทางการทดลองที่สามารถเพิ่มพลังสูงสุดของเลเซอร์ชนิดพัลส์ เพื่อข้ามขีดจำกัดของการที่ส่วนขยายเลเซอร์มักถูกทำลายเมื่อความเข้มของเลเซอร์ชนิดพัลส์ถึง gigawatts/cm2 เทคนิค chirped pulse amplification ที่พวกเขาคิดค้นในปี ค.ศ. 1985 ยืดพัลส์ของเลเซอร์แต่ละอันทั้งในเชิงสเปกตรัมและเชิงเวลาก่อนจะขยาย จากนั้นจึงรวมแต่ละอันเข้าด้วยกันตามระยะเวลาเดิม ทำให้สามารถสร้างพัลส์แสงแบบสั้นเป็นพิเศษที่มีความเข้มระดับเทอราวัตต์ (terawatt)[1] การใช้ chirped pulse amplification ทำให้สามรถสร้างระบบเลเซอร์พลังสูงที่มีขนาดเล็กลง เช่น "เลเซอร์เทอราวัตต์แบบตั้งโต๊ะ"[10] งานนี้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 2018[11]

อาชีพ

[แก้]
กลุ่ม ultrafast laser ของสตริกแลนด์ ณ มหาวิทยาลัยวอเทอร์ลู ค.ศ. 2017

ตั้งแต่ ค.ศ. 1988 จนถึง 1991 สตริกแลนด์เป็นนักวิจัย ณ National Research Council of Canada โดยเธอทำงานร่วมกับ พอล คอร์คัม (Paul Corkum) ในกลุ่ม Ultrafast Phenomena ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่รู้จักในฐานะที่ผลิตเลเซอร์พัลส์สั้นที่ทรงพลังที่สุดในโลก[12] เธอทำงานในแผนกเลเซอร์ของ Lawrence Livermore National Laboratory ตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ถึง ค.ศ. 1992 และได้เข้าร่วมเป็นพนักงาน ณ Advanced Technology Center for Photonics and Opto-electronic Materials ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันใน ค.ศ. 1992 เธอเข้าร่วมมหาวิทยาลัยวอเทอร์ลูใน ค.ศ. 1997 ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์[8] เธอกลายเป็นศาสตราจารย์หญิงด้านฟิสิกส์ที่ทำงานเต็มเวลาคนแรกของมหาวิทยาลัยวอเทอร์ลู[13] ปัจจุบันสตริกแลนด์เป็นศาสตราจารย์ซึ่งนำกลุ่ม ultrafast laser ซึ่งพัฒนาระบบเลเซอร์แรงสูงสำหรับการค้นคว้าด้านทัศนศาสตร์แบบไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear optics)[5]

รางวัล

[แก้]
Strickland shares how a trip to the science centre with her father at the age of five helped shape her career in optics, 2018

รางวัลโนเบล

[แก้]

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2018 สตริกแลนด์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์สำหรับงานด้าน chirped pulse amplification ร่วมกับที่ปรึกษาปริญญาเอกของเธอ เฌราร์ มูรู โดย อาร์เธอร์ แอชกิน (Arthur Ashkin) ได้รับรางวัลอีกครึ่งหนึ่งสำหรับอีกงานเกี่ยวกับคีมจับเชิงแสง (optical tweezers) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน

สตริกแลนด์และมูรูเผยแพร่งานชิ้นบุกเบิกของพวกเขาที่มีชื่อว่า "Compression of amplified chirped optical pulses" ใน ค.ศ. 1985 ขณะที่สตริกแลนด์ยังเป็นนักศึกษาปริญญาเอกภายใต้มูรู[a] การคิดข้น chirped pulse amplification สำหรับ lasers ของพวกเขา ณ ห้องทดลองสำหรับพลังเลเซอร์ในรอเชสเตอร์[10] นำไปสู่การพัฒนาด้านลำแสงพลังสูงแบบสั้นพิเศษ ด้วยความที่ลำแสงเหล่านี้มีความแหลมคมและยังสามารถใช้ได้ในระยะเวลาสั้นเป็นพิเศษทำให้พวกมันสามารถใช้ตัดสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ จนถูกนำไปใช้ในการขึ้นรูปขนาดเล็กด้วยเลเซอร์ (laser micromachining) การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ การแพทย์ การศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นมูลฐาน และในด้านอื่น ๆ งานวิจัยนี้ทำให้แพทย์สามารถทำการผ่าตัดตาโดยใช้เลเซอร์เพื่อทำให้สายตาเป็นปกติได้[18] เธอกล่าวว่าหลังพัฒนาเทคนิคขึ้นมา พวกเขาก็รู้ว่ามันจะเป็นการค้นพบที่สำคัญ[11] สตริกแลนด์เป็นผู้หญิงคนที่สามที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์และเป็นผู้หญิงคนแรกในรอบ 55 ปี หลังจาก มารี กูว์รี ใน ค.ศ. 1903 และ Maria Goeppert-Mayer ใน ค.ศ. 1963[5][19]

หลังได้รับรางวัลโนเบล หลายคนต่างแปลกใจที่เธอยังไม่ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์เต็มตัว โดยสตริกแลนด์อธิบายว่าเธอ "ไม่เคยสมัคร" ขอตำแหน่งศาสตราจารย์[20] "เพราะตำแหน่งไม่ได้ทำให้เงินเดือนมากขึ้น" ดังนั้นเธอจึง "ไม่เคยจัดการกรอกเอกสาร" เธอยังกล่าวอีกว่า "ฉันทำในสิ่งที่ฉันอยากทำและสิ่งนั้นไม่คุ้มที่จะทำ"[6]

งานพิมพ์บางส่วน

[แก้]
  • Strickland, Donna; Mourou, Gerard (1985). "Compression of amplified chirped optical pulses". Optics Communications. 56 (3): 219–221. CiteSeerX 10.1.1.673.148. doi:10.1016/0030-4018(85)90120-8. ISSN 0030-4018.
  • Maine, P.; Strickland, D.; Bado, P.; Pessot, M.; Mourou, G. (1988). "Generation of ultrahigh peak power pulses by chirped pulse amplification". IEEE Journal of Quantum Electronics. 24 (2): 398–403. doi:10.1109/3.137. ISSN 0018-9197.
  • Strickland, D.; Corkum, P. B. (1994). "Resistance of short pulses to self-focusing". Journal of the Optical Society of America B. 11 (3): 492–497. doi:10.1364/JOSAB.11.000492.

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

สตริกแลนด์แต่งงานกับ Douglas Dykaar นักฟิสิกส์เช่นกัน[7] พวกเขามีลูกสองคน[7]

บันทึก

[แก้]
  1. Strickland attempted to add Steve Williamson as an author of the paper, but Williamson removed the name as "he hadn't done enough".[6][17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Strickland, Donna Theo (1988). Development of an ultra-bright laser and an application to multi-photon ionization (PDF) (PhD). University of Rochester. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 July 2013. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  2. Lindinger, Manfred (2 October 2018). "Eine Zange aus lauter Licht". Frankfurter Allgemeine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  3. "Donna Strickland – Facts – 2018". Nobel Foundation. 6 October 2018. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  4. "Physics Nobel prize won by Arthur Ashkin, Gérard Mourou and Donna Strickland". The Guardian. 2 October 2018. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Donna Strickland". University of Waterloo. 2 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2 October 2018.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Booth, Laura (3 October 2018). "Scientist caught in a Nobel whirlwind". Waterloo Region Record. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  7. 7.0 7.1 7.2 Semeniuk, Ivan (2 October 2018). "Canada's newest Nobel Prize winner, Donna Strickland, 'just wanted to do something fun'". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Biographies – Donna T. Strickland". The Optical Society. สืบค้นเมื่อ 2 October 2018.
  9. "Donna Strickland". Education Program for Photonics Professionals. University of Waterloo. 11 September 2012. สืบค้นเมื่อ 2 October 2018.
  10. 10.0 10.1 10.2 Valich, Lindsey (2 October 2018). "Rochester breakthrough in laser science earns Nobel Prize". Newscenter. University of Rochester. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  11. 11.0 11.1 11.2 Murphy, Jessica (2 October 2018). "Donna Strickland: The 'laser jock' Nobel prize winner". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2 October 2018.
  12. Page, Shelley (19 October 1990). "Laser lab makes short work of super beam". Ottawa Citizen.
  13. Nusca, Andrew (2018-10-17). "Nobel Laureate Donna Strickland: Yes, Women Are Joining Physics. But We've Got Work to Do". Fortune (magazine). สืบค้นเมื่อ 2018-10-17.
  14. "Past Sloan Fellows". Alfred P. Sloan Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 2 October 2018.
  15. "Cottrell Scholars" (PDF). Research Corporation for Science Advancement. สืบค้นเมื่อ 2 October 2018.
  16. "2008 OSA Fellows". The Optical Society. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  17. Strickland, Donna; Mourou, Gerard (15 October 1985). "Compression of amplified chirped optical pulses". Optics Communications. 55 (6): 447–449. doi:10.1016/0030-4018(85)90151-8. ISSN 0030-4018.
  18. "'Optical Tweezers' and Tools Used for Laser Eye Surgery Snag Physics Nobel". Scientific American. 2 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2 October 2018.
  19. Rincon, Paul (2 October 2018). "First woman Physics Nobel winner in 55 years". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2 October 2018.
  20. Crowe, Cailin (2 October 2018). "'I Never Applied': Nobel Winner Explains Associate-Professor Status, but Critics Still See Steeper Slope for Women". The Chronicle of Higher Education. สืบค้นเมื่อ 7 October 2018.