ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนนนทรีวิทยา"

พิกัด: 13°42′26″N 100°32′48″E / 13.707197°N 100.546753°E / 13.707197; 100.546753
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fight588 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Fight588 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| group = [[สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน]]
| group = [[สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน]]
| principal_label = ผู้อำนวยการ
| principal_label = ผู้อำนวยการ
| principal = นางสาวสุวภี อุ้ยนอง<small>(รองผู้อำนวยการโรงเรียน รักษาการในตำแหน่ง)
| principal = นางสาวสุวภี อุ้ยนอง<br><small>(รองผู้อำนวยการโรงเรียน รักษาการในตำแหน่ง)</small>
| viceprincipal_label = รองผู้อำนวยการ
| viceprincipal_label = รองผู้อำนวยการ
| viceprincipal = นางสาวสุวภี อุ้ยนอง<br>นางจอมขวัญ จิรภัทรสกุล<br>นางสาวลดาวัลย์ ชั้นประดับ<br>นางสาวนันท์นภัส จำปารัตน์
| viceprincipal = นางสาวสุวภี อุ้ยนอง<br>นางจอมขวัญ จิรภัทรสกุล<br>นางสาวลดาวัลย์ ชั้นประดับ<br>นางสาวนันท์นภัส จำปารัตน์
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
| free_label = ต้นไม้
| free_label = ต้นไม้
| free_text = [[นนทรี|ต้นนนทรี]]
| free_text = [[นนทรี|ต้นนนทรี]]
| นักเรียน = 1,731 คน (2562)
| นักเรียน = 1,731 คน (2563)
| website = [http://www.nonsi.ac.th www.nonsi.ac.th]
| website = [http://www.nonsi.ac.th www.nonsi.ac.th]
}}
}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:48, 18 ธันวาคม 2563

โรงเรียนนนทรีวิทยา
Nonsiwitthaya School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ท. / N.S.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญพลํ สงฺฆสฺส สามคฺคี (สามัคคีคือพลัง)
สถาปนา2 กรกฎาคม พ.ศ. 2496
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1010720072
ผู้อำนวยการนางสาวสุวภี อุ้ยนอง
(รองผู้อำนวยการโรงเรียน รักษาการในตำแหน่ง)
จำนวนนักเรียน1,731 คน (2563)
สี  น้ำเงิน   เหลือง   เทา
เพลงนนทรีงาม, มาร์ชนนทรี
ต้นไม้ต้นนนทรี
เว็บไซต์www.nonsi.ac.th

โรงเรียนนนทรีวิทยา (อังกฤษ: Nonsiwitthaya School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ เป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประวัติโรงเรียน

ในอดีตขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ กำลังดำเนินการจัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงเรียน โรงเรียนนี้มีชื่อเรียกที่คุรุสภาว่า “โรงเรียนมหาเมฆ” ต่อเมื่อเปิดเรียนในวันที่ 2 กรกฎาคม 2496 จึงใช้ชื่อว่า “โรงเรียนนนทรี” และได้เพิ่มเติมเป็น “โรงเรียนนนทรีวิทยา” เมื่อ พ.ศ. 2513

นายจง ศรีสนธิ์ เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรกด้วยตำแหน่ง “ครูใหญ่” โดยมีอดีตกำนันชื่อ นายฉัตร บานเย็น เป็นผู้อุปการะโรงเรียน การดำเนินการก่อสร้างโรงเรียน เริ่มด้วยกระทรวงศึกษาธิการจัดหาที่เรียนให้แก่นักเรียน เพราะมีนักเรียนจำนวนมากไม่มีที่เรียน นายวิฑูรย์ ทิวทอง รองอธิบดีกรมวิสามัญศึกษา นายโชติ สุคนธานิช หัวหน้ากองโรงเรียนรัฐบาล ในสมัยเป็นผู้ดำเนินการจัดหาซื้อที่ดิน ณ ท้องที่ทุ่งมหาเมฆ ตำบลช่องนนทรี อำเภอยานนาวา หวัดพระนคร ได้ที่ดินจำนวน 51 ไร่ 1 งาน 92 ตารางวา ในราคาตารางวาละ 100 บาท ด้วยเงินงบประมาณ 1,902,000 บาท และเงิน กศ.ส. 652,000 บาท ได้จัดที่ดินและก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว หลังคามุงจาก ฝาลำแพนกั้นห้องเป็นสี่ห้องครึ่ง มีโต๊ะครู 3 ชุด โต๊ะม้านั่งนักเรียนแบบยาวๆ นั่งได้ 2 – 3 คน จำนวน 88 ชุด ส้วมซึม 2 ที่นั่ง 1 แห่ง เปิดทำการสอนนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียนด้วยจำนวนนักเรียน 53 คน

เมื่อแรกเริ่มก่อตั้งนั้นสภาพพื้นที่ของโรงเรียนเป็นทุ่งนา การคมนาคมไม่สะดวก โรงเรียนไม่มีทางเข้า–ออก เพราะที่ดินของโรงเรียนไม่มีทางออกสู่ถนนใหญ่ เจ้าของที่ดินบริเวณใกล้เคียงโรงเรียนตีรั้วสังกะสีบริเวณหน้าโรงเรียน ทำให้นักเรียนไม่สามารถออกสู่ถนนใหญ่ได้ ครูใหญ่ จง ศรีสนธิ์ ได้ขออนุญาตเจ้าของที่ดินเพื่อขอเปิดสังกะสีเพียงแผ่นเดียวให้มีทางออกสู่ถนนใหญ่แต่ก็ไม่ได้ผล แม้อดีตกำนัน นายฉัตร ผู้อุปการะโรงเรียน จะช่วยเจรจาอย่างไรก็ไร้ผล เพราะเจ้าของที่ดินเกรงว่าจะเสียสิทธิในที่ดินในส่วนที่เปิดให้นั้นต่อไปในภายภาคหน้า

เมื่อโรงเรียนมีปัญหา นักเรียนมีความเดือนร้อนกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ส่งให้นางสมัยสวาท พงศทัต เลขานุการกรมวิสามัญศึกษาโดยมีหนังสือของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการติดต่อเจรจากับเจ้าของที่ดินก็ยังไม่เป็นผลสำเร็จ จนในที่สุด นายวิฑูรย์ ทิวทอง นายโชติ สุคนธวนิช และ นายไสว สวัสดิ์พูน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมวิสามัญศึกษา หัวหน้ากองโรงเรียนรัฐบาลและประจำแผนก ตามลำดับ พร้อมด้วยกำนัน ฉัตร บานเย็น ผู้อุปการะโรงเรียนได้ติดต่อเจรจากับพระยากฤษณราชอำนายศิลป์ อยู่หลายต่อหลายครั้งจึงสำเร็จ โดยกล่าวว่าจะมีผู้ขายให้ในราคาตารางวาละ 500 บาท ซึ่งได้ที่ดินทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโรงเรียนกว้าง 3 วา ยาว 50 วา คิดเป็นเงิน 75,000 บาท ทางกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงิน 150,000 บาท เพื่อซื้อที่ดินและจัดทำถนนเป็นทางเข้า–ออกโรงเรียนในปี พ.ศ. 2497

พ.ศ. 2498 ได้รับเงินอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นเงิน 905,000 บาท สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 2 ชั้น 14 ห้องเรียน นับว่าเป็นอาคารเรียนถาวรหลังแรก ในการก่อสร้างสิ้นเงินไปเพียง 890,000 บาท ครูใหญ่จง ศรีสนธิ์ ได้ขออนุมัติกรมฯ เพื่อใช้เงินที่เหลือขุดดินถมทำสนามสูง 30 ซม. กว้าง 60 เมตร ยาว 100 เมตร ซึ่งนายฉัตร บานเย็น ผู้อุปการะโรงเรียนได้ช่วยรับไปดำเนินการให้จนแล้วเสร็จ

พ.ศ. 2500 โรงเรียนได้รับงบประมาณเพื่อสร้างอาคารไม้ 2 ชั้น 12 ห้องเรียน เป็นเงิน 700,000 บาท ถึงแม้โรงเรียนจะมีอาคารเพิ่มขึ้นมีจำนวนห้องเรียนมากขึ้นแต่ก็ยังไม่เพียงพอแก่จำนวนนักเรียน โรงเรียนจึงเปิดทำการสอน 2 ผลัด มีรถรับ–ส่ง นักเรียนของโรงเรียนเอง 1 คัน และกรมวิสามัญศึกษาได้ส่งมาให้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในการเดินทางของนักเรียนอีกจำนวน 4 คัน ซึ่งขณะนั้นมีนักเรียนจำนวน 745 คน ครูอาจารย์ 35 คน

พ.ศ. 2501 นายทองสุก เกตุโรจน์ ได้มาเป็นผู้บริหารโรงเรียนแทน ผู้บริหารคนแรกของโรงเรียน คือ ครูใหญ่จง ศรีสนธิ์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2501 และได้บริหารโรงเรียนเพียง 1 ปี ก็มีการสับเปลี่ยนผู้บริหารคนใหม่

พ.ศ. 2502 นายบุญอวบ บูรณะบุตร ก็เข้ามาบริหารโรงเรียนแทนนายทองสุก เกตุโรงจน์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2502 ในปี พ.ศ. 2502 โรงเรียนก็ได้รับงบประมาณ 700,000 บาทเพื่อสร้างอาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 12 ห้องเรียนและได้งบประมาณ 25,000 บาท เพื่อสร้างโรงอาหารกึ่งหอประชุมในรูปแบบตัว L

พ.ศ. 2505 นายสวัสดิ์ ศรีเพ็ญ ก็เข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนต่อจากนายบุญอวบ บูรณะบุตร โรงเรียนได้รับงบประมาณปรับปรุงโรงอาหารกึ่งหอประชุมในรูปแบบตัว L ให้เต็มรูปแบบและปรับปรุงเป็นห้องคหกรรม และเนื่องจากโรงเรียนมีอาคารเรียน จำนวนห้องเรียนเพียงพอกับจำนวนนักเรียน การเรียน 2 ผลัดจึงงดไป คงเป็นการเรียนการสอนในรอบปกติเพียงรอบเดียว ในปี พ.ศ. 2506

พ.ศ. 2507 นายสิทธิ์ บัณฑิตวงษ์ ได้เป็นผู้บริหารโรงเรียนนนทรีต่อจากนายสวัสดิ์ ศรีเพ็ญ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2507

พ.ศ. 2512 นายสนิท ธารีรัชต ได้รับตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนนนทรีต่องจากนายสิทธิ์ บัณฑิตวงษ์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2512 และในปี พ.ศ. 2512 โรงเรียนก็ได้รับงบประมาณเพื่อสร้างอาคารเรียนโครงเสริมเหล็กเป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 18 ห้องเรียน ด้วยงบประมาณ 1,800,000 บาท

พ.ศ. 2513 โรงเรียนนนทรีได้เพิ่มชื่อเป็น “โรงเรียนนนทรีวิทยา”

พ.ศ. 2515 กรุงเทพมหานครตัดถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านโรงเรียน ทำให้ที่ดินของโรงเรียนถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยเสียที่ดินไป 10 ไร่เศษ และต้องรื้อถอนอาคารเรียนถาวรหลังแรกที่โรงเรียนมีอยู่ออก

พ.ศ. 2516 นส.จำรูญรัตน์ ชมภูมิ่ง ได้รับตำแหน่งผู้บริหารต่อจากนายสนิท ธารีรัชต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2516 ในปี พ.ศ. 2516 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนเสริมเหล็ก 4 ชั้น 32 ห้องเรียน (แบบ 432) แต่ยังไม่เต็มรูปแบบ

เนื่องจากโรงเรียนนนทรีวิทยาเป็นที่นิยมของประชาชน มีความเจริญในด้านอาคารสถานที่ตลอดจนในด้านการศึกษาเล่าเรียนและการกีฬา โรงเรียนจึงเลื่อนฐานะเป็นโรงเรียนชั้นพิเศษ ตำแหน่งผู้บริหารเป็นผู้อำนวยการชั้นพิเศษ โรงเรียนมีความพร้อมทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ด้านอาคารสถานที่ มีสนามฟุตบอล สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล นักเรียนได้รับการฝึกหัดเป็นอย่างดี จนในที่สุดในปี พ.ศ. 2516 มีนักบาสบอลรุ่นใหญ่ของโรงเรียน ได้ครองถ้วยชนะเลิศบาสเกตบอลของกรมพลศึกษา เป็นปีแรก

พ.ศ. 2517 โรงเรียนได้รับความนิยมจากประชาชนยิ่งขึ้น มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน จนปรากฏว่ามีนักเรียนเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนมากขึ้นและมีมากกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา โรงเรียนมีความจำเป็นต้องสนองนโยบายกรมฯ ปรากฏว่ามีจำนวนนักเรียนมากถึง 36,000 คน มีครูอาจารย์ 217 คน โรงเรียนไม่มีห้องเรียน ไม่มีอาคารเรียน จึงต้องเปิดทำการสอนเป็น 2 ผลัด ส่วนในด้านการกีฬาก็มีความสามารถขึ้นเสมือนเป็นเงาแห่งความเจริญของโรงเรียน นักบาสเกตบอลรุ่นใหญ่ของโรงเรียนสามารถครองถ้วยชนะเลิศมวยสมัครเล่นนักเรียนของกรมพลศึกษา อีก 1 รุ่น

พ.ศ. 2518 นางนิตยา จูฑามาตย์ ได้ผู้บริหารโรงเรียนนนทรีวิทยาต่อจากนางสาวจำรูญรัตน์ ชมภูนิ่ง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2518 และในปีนี้โรงเรียนก็ได้งบประมาณต่อเติมอาคารเรียนเสริมแบบ 432 เต็มรูปแบบ การส่งเสริมการกีฬาทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาบาสเกตบอลนักเรียนรุ่นใหญ่ของโรงเรียนนนทรีวิทยา ได้ครองถ้วยชนะเลิศบาสเกตบอลของกรมพลศึกษาเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ฟุตบอลรุ่นเล็กของโรงเรียนก็สามารถครองถ้วยชนะเลิศของกรมพลศึกษาเป็นปีแรก เช่นกัน

พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้เข้าโครงการ คมช. รุ่นที่ 13 และได้สร้างรั้วคอนกรีต รอบบริเวณโรงเรียนส่วนที่เป็นสถานที่ทำการเรียน และได้งบประมาณสร้างบ้านพักครู 2 หลัง ราคาหลังละ 750,000 บาท พร้อมกับได้งบประมาณสร้างโรงฝึกงานโลหะ–ไฟฟ้า 1 หลัง เป็นเงิน 750,000 บาท

พ.ศ. 2519 โรงเรียนต้องเสียเนื้อที่ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างถนนลอยฟ้า สายท่าเรือ – ดินแดง ที่ดินของโรงเรียนส่วนที่เป็นบ้านพักครู เหลือเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 55 ตารางวา ส่วนที่เป็นอาคารสถานที่สำหรับเรียน เหลือเนื้อที่ 28 ไร่ 38 ตารางวา ถึงแม้โรงเรียนจะกระทบกระเทือนจากการเสียที่ดินบางส่วนให้แก่การทางพิเศษไป แต่สนามของโรงเรียนส่วนที่เหลือก็ยังใช้ประโยชน์แก่นักเรียนเหมือนเช่นเคย นักบาสเกตบอลรุ่นใหญ่ของโรงเรียนได้ทำชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนอีก โดยสามารถครองถ้วยชนะเลิศบาสเกตบอลของกรมพลศึกษาเป็นปีที่สี่ติดๆ กัน

พ.ศ. 2520 นางสาลี สุขะปิณฑะ ได้มารับตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนแทนนางนิตยา จูฑามาตย์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2520 ในปีนี้กรมฯ ได้จัดสรรงบประมาณในกรณีเร่งด่วนด้วยการสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น 3 หลัง ในราคาหลังละ 120,000 บาท และผู้ปกครองของนักเรียนได้เล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญของการที่ช่วยเหลือโรงเรียนในด้านส่งเสริมการพัฒนาอาคาร สถานที่ ตลอดเงินทุนประเภทต่างๆ ซึ่งถ้าผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมด้วยแล้วก็จะทำให้การบริหารงานของโรงเรียนเป็นไปได้ตามเป้าหมายและจุดประสงค์รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้จัดตั้ง “สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนนนทรีวิทยา” ขึ้น โดยมีนายสุวรรณ รักเหย้า เป็นนายกสมาคมฯ

พ.ศ. 2521 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ ใต้ถุนโล่ง 4 ชั้นด้วยเงิน 3,580,000 บาท ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครู 2 หลัง ราคาหลังละ 85,000 บาท เมื่อโรงเรียนมีอาคารเรียน จำนวนห้องเรียนพอสมควรโรงเรียนได้ปรับปรุงโรงอาหารกึ่งหอประชุมตามรูปแบบตัว L เป็นโรงฝึกงานยนต์และคหกรรม มีการดัดแปลงอาคารชั่วคราว 2 หลัง เป็นโรงอาหารซึ่งขณะนั้นมีสภาพพอใช้ได้ แต่จะอยู่ในพื้นที่ต่ำและไม่ถูกลักษณะเท่าที่ควร

พ.ศ. 2522 นางจำนวน คล่องการเขียน ได้มาดำรงต่ำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนนนทรีวิทยา ต่อจากนางสาลี สุขะปิณฑะ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2522 ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนนนทรีวิทยา คนเดิมกำลังติดต่อเจรจาขอเงินทดแทนค่าที่ดินจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงและก่อสร้างอาคารเรียนที่รื้อถอนไป

พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้รับเงินทดแทนค่าที่ดินเพื่อบูรณะทรัพย์สินจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นเงิน 14 ล้านบาทเศษ ซึ่งเงินจำนวนนี้โรงเรียนได้จัดทำโครงการเพื่อนำมาปรับปรุงอาคารสถานที่ เช่น โรงพละ ทำรั้วคอนกรีตรอบบริเวณที่เป็นบ้านพักครู สร้างส้วม ห้องน้ำ นักเรียน ชาย – หญิง ต่อเติมอาคารเรียนแบบพิเศษใต้ถุนโล่งเป็นห้องเรียนและห้องกิจกรรมรักษาดินแดน ปรับปรุงพื้นที่ทำถนนภายในโรงเรียน ทำท่อระบายน้ำรอบโรงเรียน สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล และส่วนหนึ่งได้กันเอาไว้สร้างอาคารอเนกประสงค์ ในปี 2526 ด้วยเงิน 7,560,000 บาท

ในปีนี้เอง บริษัท ส.พลัง นำโดยคุณสงวน ศรีศุภชัยยา ได้บริจาคดินถมบริเวณโรงเรียนซึ่งปกติต่ำกว่าระดับถนนและบางที่ยังเป็นท้องร่องเป็นจำนวนดิน 1,000 คัน รถดั้ม พร้อมกับนำรถเกรดมาเกรดดินให้ราบเรียบ และในปี 2524 ได้นำดินมาถมในส่วนที่ยังไม่ราบเรียบเพียงพออีก 700 คันรถดั้ม พร้อมนำรถเกรดมาเกรดดินในบริเวณโรงเรียนให้ราบเรียบดังปัจจุบัน

พ.ศ. 2524 โรงเรียนมีแผนการจัดโรงเรียนเต็มรูปแบบ 66 ห้องเรียน โรงเรียนมีอาคารเรียนที่ทันสมัยและเพียงพอแก่จำนวนนักเรียน ดังนั้นการเรียนการสอนในปีการศึกษานี้ จึงได้จัดการเรียนการสอนเพียงผลัดเดียว เป็นรอบปกติ ขณะเดียวกันโรงเรียนได้ขออนุมัติรื้อถอน อาคารไม้ 2 ชั้น 12 ห้องเรียน ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังหอประชุมเพื่อเตรียมการสร้างอาคารอเนกประสงค์และสภาพของอาคารชำรุดหมดสภาพการใช้งาน

พ.ศ. 2524 โรงเรียนได้เข้าโครงการ โรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และได้ผ่านการประเมินผลให้เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรในเดือนกันยายน 2526

พ.ศ. 2525 โรงเรียนได้จัดสร้างเรือนเพาะชำ โดยขออนุมัติกรมธนารักษ์ใช้โครงสร้างของอาคารเรียนชั่วคราวหลังที่ 3 ซึ่งใช้เงินบำรุงการศึกษาจำนวน 54,000 บาท ในการปรับปรุง

พ.ศ. 2525 โรงเรียนได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในฐานะจัดห้องสมุดได้อย่างดียิ่ง และได้รับรางวัลบรรณารักษ์ดีเด่น ทั้งนี้จากการคัดเลือกของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2525 ได้จัดตั้งมูลนิธิโรงเรียนนนทรีวิทยา โดยมีนางนิตยา จูฑามาตย์ เป็นประธานมูลนิธิฯ

พ.ศ. 2525 นางมาลัย ภูเวียง ได้รับคะแนนเสียงให้เป็นนายกสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนนนทรีวิทยา เป็นครั้งที่ 2

โรงเรียนนนทรีวิทยามีสมาคมผู้ปกครองและครู, สมาคมศิษย์เก่า และมีมูลนิธิของโรงเรียน อันเป็นผลทำให้โรงเรียนมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น จะเห็นได้ว่าในด้านการพัฒนาอาคารสถานที่ ส่งเสริมการเรียนการสอน การกีฬา จนเป็นที่รู้จักของชุมชนและเป็นที่เชื่อถือของประชาชนในด้านการส่งเสริมจริยธรรม ความประพฤติของนักเรียน

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

  • เครื่องหมายประจำโรงเรียน : เป็นรูปอาร์ม (โล่ ที่ปรากฏในภาพด้านบน) พื้นสีน้ำเงิน เหลือง เทา ตัวอักษร น.ท. มีความหมายว่า " ลูกนนทรีต้องมีเกียรติเชื่อถือได้ "
  • คติพจน์ประจำโรงเรียน : พลํ สงฺฆสฺส สามคฺคี " ความสามัคคีคือพลัง "
  • คำขวัญประจำโรงเรียน  : เรียนดี ประพฤติดี มีความสะอาด ฉลาดรอบรู้ สู้งาน
  • พระพุทธรูปประจำโรงเรียน : พระพุทธศากยมุนี ศรีนนทรีโรจนฤทธิ์
  • สีประจำโรงเรียน :
  • น้ำเงิน คือ ความสามัคคี องอาจกล้าหาญ อดทนและเสียสละ
  • เหลือง คือ ความประพฤติดี มีระเบียบวินัย และมีคุณธรรม
  • เทา คือ ความฉลาด ความรอบรู้ และสู้งาน
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นนนทรี

การจัดการเรียนการสอน

โรงเรียนนนทรีวิทยา เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1-ม.3

หลักสูตรประกอบด้วยวิชาบังคับ ซึ่งนักเรียนทุกคนต้องเรียนเหมือนกัน และมีวิชาเลือกเสรีอย่างหลากหลาย ให้นักเรียนมีโอกาสเลือกเรียนตามความถนัด โดยมีครูที่ปรึกษา และครูแนะแนว ให้คำแนะนำและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-ม.6 ประกอบด้วยแผนการเรียน ดังนี้

  1. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  2. แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์
  3. แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส
  4. แผนการเรียนทั่วไป(สังคมศึกษา-ภาษาไทย)

แหล่งข้อมูลอื่น

13°42′26″N 100°32′48″E / 13.707197°N 100.546753°E / 13.707197; 100.546753